บูโพรพิออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บูโพรพิออน
Skeletal formula of bupropion
Ball-and-stick model of the (S) isomer of the bupropion molecule
1 : 1 mixture (racemate)
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/bjuːˈpr.pi.ɒn/
bew-proh-pee-on
ชื่อทางการค้าWellbutrin, Zyban, อื่นๆ
ชื่ออื่นAmfebutamone; 3-Chloro-N-tert-butyl-β-keto-α-methylphenethylamine;
3-Chloro-N-tert-butylcathinone;
Bupropion hydrochloride[1]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa695033
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: B2
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
Dependence
liability
ไม่มี – น้อยมาก
Addiction
liability
ไม่มี – น้อยมาก
ช่องทางการรับยายา: รับประทาน
นันทนาการ: รับประทาน, สูดดม, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีน84% (บูโพรพิออน), 77% (สารเมแทโบไลท์ไฮดรอกซีบูโพรพิออน), 42% (สารเมแทโบไลท์ธรีโอไฮโดรบูโพรพิออน)[2]
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (ส่วนใหญ่เกิดไฮดรอกซิเลชันที่ CYP2B6 แต่บางส่วนอาจเกิดที่ CYP1A2, CYP2A6, CYP2C9, CYP3A4, CYP2E1 และ CYP2C19)[2][3][4][5]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ12–30 ชั่วโมง[4][6]
การขับออกทางไต (87%; 0.5% ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง), ทางอุจจาระ (10%)[2][3][4]
ตัวบ่งชี้
  • (RS) -2- (tert-Butylamino) -1- (3-chlorophenyl) propan-1-one
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC13H18ClNO
มวลต่อโมล239.74 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C (C (C) NC (C) (C) C) C1=CC=CC (Cl) =C1
  • InChI=1S/C13H18ClNO/c1-9 (15-13 (2,3) 4) 12 (16) 10-6-5-7-11 (14) 8-10/h5-9,15H,1-4H3 checkY
  • Key:SNPPWIUOZRMYNY-UHFFFAOYSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม
บูโพรพิออนรสำหรับรับประทานในรูปแบบยาออกฤทธิ์นาน ความแรง 300 มิลลิกรัม/เม็ด ชื่อการค้า Wellbutrin XL ซึ่งถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 โดยแวเลียนต์ฟาร์มาซูติคอลส์ (Valeant Pharmaceuticals)

บูโพรพิออน (อังกฤษ: Bupropion) เป็นยาที่ใช้สำหรับแก้ซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่เป็นหลัก[7][8][9] มีจำหน่ายในชื่อการค้า Wellbutrin และ Zyban เป็นต้น แม้เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่ให้ผลดีด้วยตัวเองแล้ว ยังใช้เป็นยาเสริมยาอื่นในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกแรกอย่างสารยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่[10] ปัจจุบัน บูโพรพิออนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด ในประเทศส่วนใหญ่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์[11]

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปากแห้ง นอนไม่ค่อยหลับ กระสับกระส่ายและปวดศีรษะ ผลข้างเคียงร้ายแรง ได้แก่ มีความเสี่ยงการชักในโรคลมชักและฆ่าตัวตายสูงขึ้น ความเสี่ยงต่อการชักทำให้มีการถอนยาจากตลาดอยู่ช่วงหนึ่ง และมีการลดขนาดแนะนำของยา เมื่อเทียบกับยาแก้ซึมเศร้าตัวอื่นบางตัวแล้ว ยานี้ไม่ได้ทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศหรือง่วงนอนมากเท่า และอาจทำให้น้ำหนักลด ไม่ชัดเจนว่าหากใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรจะปลอดภัยหรือไม่

บูโพรพิออนเป็นยาแก้ซึมเศร้านอกแบบ ออกฤทธิ์เป็นสารยับยั้งการเก็บกลับนอร์อีพิเนฟริน–โดพามีน (NDRI) และสารต้านตัวรับนิโคตินิก (nicotinic receptor antagonist) ในทางเคมี บูโพรพิออนเป็นอะมิโนคีโตนซึ่งอยู่ในกลุ่มคาทิโนนทดแทน (substituted cathinones) และคล้ายกับฟีนีไทลามีน (phenethylamines)

นาริแมนเมห์ตา (Nariman Mehta) เป็นผู้สังเคราะห์ยาครั้งแรก และบริษัทเคมีภัณฑ์เบอร์โรส์เวลคัม (Burroughs Wellcome) จดสิทธิบัตรใน ค.ศ. 1974 บูไพรพิออนได้รับการรับรองสำหรับใช้เป็นยาทางการแพทย์ในสหรัฐใน ค.ศ. 15 ซึ่งขณะนั้นเรียกด้วยชื่อสามัญว่า แอมเฟบูตาโมน (amfebutamone) ก่อนมีการเปลี่ยนชื่อใน ค.ศ. 2000[12] ในสหรัฐ ราคาขายปลีกต่อขนาดน้อยกว่า 0.50 ดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2018 ทั้งนี้ ใน ค.ศ. 2016 เป็นยาที่แพทย์สั่งมากที่สุดเป็นอันดับที่ 28 และเป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐ โดยแพทย์สั่งกว่า 28 ล้านครั้ง

การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์[แก้]

โรคซึมเศร้า[แก้]

การวิเคราะห์อภิมานปี 2018 พบหลักฐานอ่อนสนับสนุนการใช้บูโพรพิออนสำหรับโรคซึมเศร้า โดยมีการทดลองอยู่ไม่กี่ครั้ง และมีหลักฐานอยู่น้อยซึ่งแสดงว่าบูโพรพิออนมีฤทธิ์แก้ซึมเศร้าอย่างอ่อน การวิเคราะห์อภิมานปี 2016 พบว่าการบำบัดด้วยบูโพรพิออนสำหรับโรคซึมเศร้าดีกว่ายาหลอก การทดลองส่วนใหญ่ซึ่งเปรียบเทียบบูโพรพิออนกับยาแก้ซึมเศร้าตัวอื่นแสดงประสิทธิผลค้ลายกัน แต่ข้อค้นพบนี้บางส่วนตั้งอยู่บนหลักฐานคุณภาพต่ำ การวิเคราะห์อภิมานปี 2009 พบว่าบูโพรพิออนมีประสิทธิผลพอ ๆ กับยาที่สั่งอย่างกว้างขวางชนิดอื่น รวมทั้งฟลูอ็อกเซทีนและพาร็อกเซทีน แม้มีการสังเกตแนวโน้มสนับสนุนประสิทธิพลังของเอสไซตาโลแพรม เซอร์ทราลีน และเว็นลาฟาซีนเหนือบูโพรพิออน และยังพบว่าเมอร์เทซาพีนมีประสิทธิผลมากกว่าบูโพรพิออน

บูโพรพิออนได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2006 สำหรับป้องกันการเกิดโรค​ซึมเศร้า​ตาม​ฤดู​กาล (seasonal affective disorder; SAD)[13] ในบางประเทศ (ได้แก่ ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร) การใช้บูโพรพิออนเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรค​ซึมเศร้า​ตาม​ฤดู​กาลนั้นถือเป็นการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้[14][15] บทปฏิทรรศน์คอคแครนว่าด้วยการใช้บูโพรพิออนแบบออกฤทธิ์นานสำหรับรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบว่าบูโพรพิออนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคซ้ำ ทว่า ผู้ใช้ยาสามในสี่จะไม่ได้ประโยชน์จากการรักษาและอาจเสี่ยงเกิดอันตรายได้

บูโพรพิออนมีคุณลักษณะหลายประการที่ทำให้มันต่างจากยาแก้ซึมเศร้าตัวอื่น ตัวอย่างเช่น ยานี้ไม่ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศและยังไม่สัมพันธ์กับภาวะง่วงซึมหรือน้ำหนักเกินซึ่งต่างจากยาแก้ซึมเศร้าส่วนใหญ่ ในผู้ซึมเศร้าที่มีอาการง่วงซึมและอ่อนเพลีย พบว่าบูโพรพิออนมีประสิทธิภาพมากกว่าสารยับยั้งการเก็บกลับซีโรโทนินแบบเจาะจง (SSRI) ในการบรรเทาอาการเหล่านี้ ดูเหมือนมีข้อดีเล็กน้อยสำหรับ SSRI เหนือบูโพรพิออนในการบำบัดโรคซึมเศร้าชนิดกังวล

การใช้ยาบูโพรพิออนเสริม SSRI ที่มีการสั่งเป็นวิธีที่พบทั่วไปเมื่อบุคคลไม่ตอบสนองกับ SSRI แม้ดังนี้มิใช่ข้อบ่งชี้ที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ การใช้ยาบูโพรพิออนเพิ่มใน SSRI (ที่พบบ่อยที่สุดคือฟลูอ็อกเซทีนหรือเซอร์ทราลีน) อาจทำให้อาการในผู้ป่วยบางคนดีขึ้นในผู้ที่ตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้าอันดับแรกอย่างไม่สมบูรณ์

การเลิกบุหรี่[แก้]

แพทย์สั่งบูโพรพิออนเพื่อช่วยเลิกบุหรี่[16][17] บูโพรพิออนลดความรุนแรงของอาการขาดนิโคตินและลดอาการถอนนิโคตินได้[18] ทั้งนี้ ประสิทธิผลของบูโพรพิออนในการงดเสพบุหรี่ลดลงตามเวลา โดยผู้ใช้ยา 20% ยังงดเสพบุหรี่ได้เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี บูโพรพิออนเพิ่มโอกาสการเลิกบุหรี่ประมาณ 1.6 เท่า ประสิทธิผลของบูโพรพิออนเปรียบได้กับการบำบัดการทดแทนนิโคติน แต่มีประสิทธิผลน้อยกว่าวาเรนิคลิน (varenicline)[18]

การศึกษาในสัตว์บ่งชี้ว่า การบริหารบูโพรพิออนในขนาดต่ำกว่าขนาดแนะนำในการรักษาอาจมีผลเสริมคุณสมบัติการให้รางวัล (rewarding properties) ของนิโคตินได้ กล่าวคือ การได้รับยานี้ในขนาดต่ำจะกระตุ้นให้เกิดการบริหารนิโคตินให้กับตนเองของสัตว์ทดลอง (nicotine self-administration) แต่การได้รับบูโพรพิออนขนาดสูงจะช่วยลดการทำงานของระบบรางวัลได้[19] ในออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร บูโพรพิออนเป็นการใช้ที่ได้รับอนุญาตอย่างเดียว ในสหรัฐ องค์การอาหารและยาอนุญาตการวางตลาดของบูโพรพิออนสำหรับโรคซึมเศร้าและการเลิกบุหรี่[14][15]

โรคซนสมาธิสั้น[แก้]

ยังไม่ชัดเจนว่าบูโพรพิออนปลอดภัยหรือมีประสิทธิผลสำหรับการรักษาโรคซนสมาธิสั้นในเด็กหรือไม่ แนวทางปี 2007 ว่าด้วยการรักษาโรคซนสมาธิสั้นจากวิทยาลัยจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นแห่งอเมริกาสังเกตว่าหลักฐานสำหรับบูโพรพิออน "อ่อนมาก" จนองค์การอาหารและยาไม่น่าอนุมัติการรักษา ผลของยายัง "ด้อยกว่าสารที่ได้รับอนุญาตอย่างมาก ... ฉะนั้นอาจเป็นการรอบคอบสำหรับแพทย์ในการแนะนำให้ทดลองบำบัดด้วยพฤติกรรมก่อนในขั้นนี้ ก่อนเดินหน้าสารในลำดับที่สอง" ในทางคล้ายกัน แนวทางกระทรวงบริการสาธารณสุขของรัฐแห่งเท็กซัสแนะนำให้พิจารณาบูโพรพิออนหรือยาแก้ซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกเป็นการรักษาลำดับที่ 4 หลังลองใช้สารกระตุ้นต่างกันสองชนิดและอะโทม็อกเซทีน (atomoxetine)

นอกจากนี้ยังไม่ชัดเจนว่าบูโพรพิออนปลอดภัยหรือมีประสิทธิผลสำหรับการบำบัดโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ เพราะหลักฐานเปรียบเทียบระหว่างบูโพรพิออนกับยาหลอกสำหรับการบำบัดโรคสมาธิสั้นที่มีอยู่มีคุณภาพต่ำ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ[แก้]

บูโพรพิออนมีโอกาสก่อให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศน้อยกว่ายาแก้ซึมเศร้าตัวอื่น การศึกษาหลายครั้งแสดงให้เห็นว่าบูโพรพิออนไม่เพียงมีผลข้างเคียงต่อระบบเพศน้อยกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่นเท่านั้น แต่ที่จริงยังช่วยบรรเทาภาวะหย่อนสมรรถนะทางเพศได้ด้วย[20] จากการสำรวจจิตแพทย์พบว่า บูโพรพิออนจัดเป็นยาทางเลือกแรกสำหรับการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่มียากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินเหนี่ยวนำ แม้ไม่ใช่ข้อบ่งใช้ที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุญาต นอกจากนี้ยังมีการศึกษาหลายครั้งที่เสนอว่าบูโพรพิออนอาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในหญิงความต้องการทางเพศลดลง (hypoactive sexual desire disorder) ที่ไม่ซึมเศร้าด้วย[21]

โรคอ้วน[แก้]

การใช้บูโพรพิออนเพื่อรักษาโรคอ้วนเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 6–12 เดือนอาจทำให้น้ำหนักลดลงได้มากกว่ายาหลอกเฉลี่ย 2.7 กิโลกรัม[22] แต่ผลนี้ไม่ได้แตกต่างจากผลลดน้ำหนักจากยาอื่นหลายชนิด เช่น ไซบูทรามีน หรือออร์ลิสแตท เป็นต้น[22] ยังมีการศึกษาบูโพรพิออนผสมกับนาลเทรกโซน[23] ข้อกังวลเกี่ยวกับบูโพรพิออนมีความดันโลหิตสูงขึ้นและอัตราหัวใจเต้นเร็วขึ้น[23] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ยาสูตรผสมนี้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาให้ใช้เป็นยารักษาโรคอ้วน[24]

วัตถุประสงค์อื่น[แก้]

มีข้อถกเถียงว่าการเติมยาแก้ซึมเศร้าอย่างบูโพรพิออนกับยาควบคุมอารมณ์มีประโยชน์ในบุคคลซึมเศร้าสองขั้วหรือไม่ แต่บทปฏิทัศน์ล่าสุดสรุปว่า บูโพรพิออนในสถานการณ์นี้ไม่มีอันตรายอย่างสำคัญและบางทีอาจให้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญได้[25][26] ส่วนการใช้บูโพรพิออนเพื่อบำบัดรักษาการติดโคเคนนั้นพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ แต่มีหลักฐานอ่อนว่าอาจมีประโยชน์ในการรักษาการติดเมแทมเฟตามีน[27] ข้อมูลจากการศึกษาหลายการศึกษาบ่งชี้ว่าบูโพรพิออนลดระดับสารตัวกลางอักเสบ (inflammatory mediators) ชนิดทีเอ็นเอฟ-อัลฟา จึงมีการเสนอแนะว่าอาจมีประโยชน์ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease) หรือภาวะภูมิต้านตนเองอื่น ๆ แต่ยังมีการศึกษาทางคลินิกน้อยมาก[28] ทั้งนี้ บูโพรพิออนสามารถไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังเช่นเดียวกันกับยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่น[29] ยกเว้นดูล็อกซีทีน (Cymbalta)[30] อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาพบว่า บูโพรพิออนนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดเหตุโรคเส้นประสาท (Neuropathic pain) บางชนิดได้[31]

ข้อห้ามใช้[แก้]

ฉลากยาระบุว่า ไม่ควรใช้บูโพรไพออนในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก หรือผู้ที่มีความผิดปกติอื่นที่ทำให้ความทนต่อการกระตุ้นให้เกิดอาการชักของร่างกาย (seizure threshold) ลดลง เช่น โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ, โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา, เนื้องอกในสมองที่ยังเป็นอยู่, ดื่มหรือถอนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรืออยู่ระหว่างการใช้หรือถอนยาเบ็นโซไดอาเซพีน รวมไปถึงผู้ที่อยู่ระหว่างการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์มอนอเอมีนออกซิเดส (MAOIs) เมื่อเปลี่ยนจากยากลุ่มดังกล่าวมาใช้บูโพรพิออน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้พ้นช่วงกำจัดยาเดิมออกก่อน (washout period) โดยปกติประมาณ 2 สัปดาห์[4] ทั้งนี้ ควรระมัดระวังการใช้เป็นพิเศษในผู้ที่มีการบาดเจ็บของตับ, โรคไตเรื้อรังขั้นรุนแรง และโรคความดันโลหิตสูงรุนแรง รวมไปถึงการใช้ยาในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อความคิดฆ่าตัวตายสูงขึ้น[4]

อาการไม่พึงประสงค์[แก้]

การชักถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์สำคัญที่สุดของบูโพรพิออน อุบัติการณ์การชักที่สูงเป็นสาเหตุให้มีการถอนออกจากตลาดยาในช่วง ค.ศ. 1986–1989 ความเสี่ยงต่อการชักแปรผันตรงกับขนาดยาอย่างมาก แต่ยังขึ้นอยู่กับรูปแบบยาเตรียมเช่นกัน บูโพรพิออนรูปแบบออกฤทธิ์เนิ่นจะมีอุบัติการณ์การชักประมาณร้อยละ 0.1 เมื่อใช้ยาในขนาดที่น้อยกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน และร้อยละ 0.4 ที่ขนาด 300–400 มิลลิกรัมต่อวัน[32] ส่วนบูโพรพิออนในรูปแบบออกฤทธิ์ทันทีจะมีอุบัติการณ์การชักร้อยละ 0.4 เมื่อใช้ยาในขนาดต่ำกว่า 450 มิลลิกรัมต่อวัน และเพิ่มเป็นร้อยละ 5 เมื่อใช้ยาในขนาด 450–600 มิลลิกรัมต่อวัน[32] เมื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดอาการชักครั้งแรกที่ไม่มีปัจจัยกระตุ้น (unprovoked seizure) ในกลุ่มประชากรทั่วไปจะเกิดขึ้นได้ประมาณร้อยละ 0.07–0.09 และความเสี่ยงดังกล่าวในกลุ่มประชากรที่ได้รับการรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าชนิดอื่นทั่วไปมีประมาณร้อยละ 0.1–1.5 เมื่อใช้ยาขนาดที่แนะนำ[33] ทั้งนี้ มีรายงานว่าโรคซึมเศร้าเองเพิ่มโอกาสการชัก และการศึกษาที่สอบสวนข้อมูลการทดลองทางคลินิกขององค์การอาหารและยาสหรัฐพบว่า ส่วนใหญ่การใช้ยาต้านซึมเศร้าในขนาดต่ำหรือปานกลางอาจไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการชักโดยสิ้นเชิง[34] อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเดียวกันยังพบว่า ในกลุ่มยาที่ใช้ต้านซึมเศร้าทุกชนิดนั้น มีบูโพรพิออนและโคลมิพรามีนที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการชักที่สูงขึ้น[34]

ยายังอาจก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงที่อาจรุนแรงได้ในผู้ที่ได้ยาบางคนทั้งในผู้ที่เคยและไม่เคยมีประวัติความดันโลหิตสูงเดิม ความถี่ของผลข้างเคียงนี้น้อยกว่าร้อยละ 1 และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมือเทียบกับยาหลอก[4] บทปฏิทัศน์ข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งจัดทำขึ้นใน ค.ศ. 2008 บ่งชี้ว่า บูโพรพิออนปลอดภัยสำหรับใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจรุนแรงหลายรูปแบบ[35]

ในสหราชอาณาจักร มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยามากกว่า 7,600 รายงานจากระบบการรายงานพิเศษสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากยาที่เรียกว่า Yellow Card Scheme ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าอาจมีความสัมพันธ์กับการใช้บูโพรพิออน โดยรายงานเหล่านั้นล้วนเป็นรายงานที่เกิดขึ้นใน 2 ปีหลังจากที่บูโพรพิออนได้รับการรับรองจากองค์กรควบคุมยาและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ (Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency, MHRA) ในช่วงเวลานั้นมีผู้ได้รับบูโพรพิออนสำหรับช่วยเลิกบุหรี่มากถึง 540,000 คน นอกจากนี้ MHRA ยังได้รับรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จนอันตรายถึงแก่ชีวิตจำนวน 60 รายงานที่คาดว่าอาจเกิดจากการใช้ Zyban (ชื่อการค้าของบูโพรพิออนในสหราชอาณาจักร) โดย MHRA ได้ออกมาให้ข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวว่า "กรณีศึกษาตามรายงานดังกล่าวนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะโรคร่วมของแต่ละรายอาจให้คำอธิบายเพิ่มเติมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้"[36] ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาขนาดใหญ่ที่ทำการศึกษาความปลอดภัยของบูโพรพิออนในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9,300 คน และให้ผลการทดลองที่บ่งชี้ว่า อัตราการตายของผู้สูบบุหรี่ที่ได้รับบูโพรพิออนเพื่อช่วยเลิกบุหรี่นั้นไม่ได้สูงไปกว่าอัตราการตายโดยธรรมชาติของผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุในช่วงวัยเดียวกันแต่อย่างใด[37]

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าทั่วไปนั้นมักก่อให้อาการไม่พึงประสงค์ที่พบเห็นได้บ่อย คือ อาการง่วงซึม (somnolence) การศึกษาทางคลินิกถึงความชุกของการเกิดอาการดังกล่าวในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออนพบว่า ความชุกดังกล่าวไม่ได้แตกต่างไปจากยาหลอกจนมีนัยยะแต่อย่างใด และเมื่อเปรียบเทียบกับยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกและทราโซโดนพบว่า บูโพรไพออนทำให้เกิดการง่วงซึมได้น้อยกว่ายาดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากบูโพรพิออนส่งผลต่อตัวรับฮีสตามีนและตัวรับเซโรโทนินได้น้อยกว่า[38][39][40][41] ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนิน (SSRIs) ก็ให้ผลไปในทางเดียวกันกับที่ทำการศึกษาเทียบกับยากลุ่มไตรไซคลิก ดังแผนภาพแสดงด้านบน[42][43][44][45][46]

อาการด้านจิตเวช[แก้]

การศึกษาทางคลินิกหลังจากบูโพรพิออนได้รับการขึ้นทะเบียนยาพบว่า ความคิดและพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในผู้ที่ใช้ยาบูโพรพิออนนั้นพบอุบัติการณ์การเกิดได้น้อยมาก กระนั้นองค์การอาหารและยาได้มีการกำหนดกำหนดกฏไว้ว่า ยาต้านซึมเศร้าทุกชนิด รวมถึงบูโพรพิออน จะต้องมีกล่องข้อความเตือนบนฉลากยาถึงความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 25 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้า โดยอิงข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสิถิติที่ดำเนินการโดยองค์การอาหารและยาเอง ซึ่งพบว่า การใช้ยาต้านซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมหรือความคิดที่จะฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นได้ประมาณ 2 เท่า และ 1.5 เท่า ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18–24 ปี[47] อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิเคราะห์ขององค์การอาหารและยาข้างต้นซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลรวมของการศึกษาอื่นจำนวน 295 การศึกษาที่เกี่ยวเนื่องกับยาต้านซึมเศร้าจำนวน 11 ชนิดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ กลับพบว่า การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงต่อการพฤติกรรมหรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออนไม่ได้มีความแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอกจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญทางสถิติแต่อย่างใด[47] แต่ในกรณีที่มีการสั่งใช้ยาบูโพรพิออนเพื่อเป็นสารช่วยเลิกบุหรี่นั้นจะมีความกังวลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าวไม่มากเท่าใดนัก โดยข้อมูลจากการวิเคราะห์วรรณกรรมขององค์การความร่วมมือคอเครนเมื่อ ค.ศ. 2014 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการฆ่าตัวตายกับการใช้ยาบูโพรพิออนนั้นยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดเท่าใดนัก[48] ต่อมาในปี ค.ศ. 2016 องค์การอาหารและยาได้ประกาศให้นำกล่องข้อความเตือนถึงความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางจิตออกจากฉลากของบูโพรพิออน เฉพาะในกรณีการใช้เพื่อเป็นสารช่วยเลิกบุหรี่[49]

ในปี ค.ศ. 2009 องค์การอาหารและยาได้ออกประกาศเตือนถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บูโพรพิออนเพื่อเลิกบุหรี่กับการมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป, กระวนกระวาย และไม่เป็นมิตร และจากข้อมูลที่ได้จากผู้ให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่พบว่าบางรายมีอาการซึมเศร้าหรือทำให้อาการซึมเศร้าที่มีอยู่เดิมรุนแรงมากขึ้น มีความคิดอยากตายหรืออยากฆ่าตัวตาย รวมไปถึงเคยพยายามที่จะฆ่าตัวตาย[50] โดยคำเตือนที่ประกาศออกมานี้อิงจากผลการทบทวนข้อมูลของรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากสารช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งพบว่ามีรายงานจำนวน 10 รายงานที่พบการเกิดพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการฆ่าตัวตายในผู้ที่ได้รับบูโพรพิออนในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่มีการบันทึกรายงาน[51] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการวิเคราะห์วรรณกรรมอย่างเป็นระบบเมื่อปี ค.ศ. 2011 พบว่า การเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติทางจิตของบูโพรพิออนนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มเท่านั้น อาทิ ผู้ป่วยที่มีประวัติมีความผิดปกติทางจิตมาก่อน, ผู้ป่วยที่มีการใช้สารเสพติด, ผู้ที่ใช้ยาอื่นที่เกิดอันตรกิริยากับบูโพรพิออน รวมถึงการใช้บูโพรพิออนในขนาดสูงก็อาจก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวได้เช่นกัน โดยผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตมาก่อนอยู่แล้วอาจมีอาการแย่ลงได้เมื่อได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออน[52] โดยความผิดปกติทางจิตจากบูโพรพิออนที่พบเกิดขึ้นในการศึกษาดังกล่าว ได้แก่ หลงผิด, ประสาทหลอน, หวาดระแวง และสับสน โดยส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะลดลงหรือหายไปเมื่อลดขนาดหรือหยุดบูโพรพิออนที่ใช้ในการรักษา รวมไปถึงการใช้ยาอื่นเพื่อระงับอาการทางจิตที่เกิดขึ้น[4][52] อย่างไรก็ตาม การเพิ่มเบนโซไดอะซีปีนในการรักษาอาการจิตแทนที่จะเป็นยาระงับอาการทางจิตอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า หากอิงตามรูปแบบของการรักษาโรคจิตที่เกิดจากแอมเฟตามีน[53] ดังนั้น จึงอาจพอสรปุได้ว่า อาการทางจิตที่เกิดขึ้นจากการใช้บูโพรพิออนนั้นมีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย ได้แก่ การใช้บูโพรพิออนในขนาดสูง ประวัติการเป็นโรคจิตหรืออารมณ์สองขั้ว ยาอื่นที่ใช้ร่วม เช่น ลิเทียม หรือเบนโซไดอะซีปีน การมีอายุมาก และการใช้สารเสพติด เป็นต้น[52][54]

ในการศึกษาขนาดใหญ่เมื่อปี ค.ศ. 1999 ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมที่ใช้บูโพรพิออนเพื่อเป็นสารช่วยในการเลิกสูบบุหรี่หรือการรักษาภาวะซึมเศร้าพบว่ายาดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดอาการถอนยาแต่อย่างใด[55] แต่ในปี ค.ศ. 2002 กลับรายงานผู้ป่วยสองรายที่มีอาการถอนยาเมื่อหยุดการใช้ยาบูโพรพิออนที่ใช้เพื่อในการเลิกสูบบุหรี่ แต่ผู้บันทึกได้ให้คำแนะนำว่า เพื่อป้องกันการเกิดอาการถอนยาบูโพรพิออนดังเช่นกรณีนี้ ควรลดขนาดบูโพรพิออนลงทีละน้อยจนกระทั่งผู้ป่วยหยุดยาได้ในที่สุด[56] แต่ข้อมูลการสั่งใช้บูโพรพิออนในปัจจุบันนั้นให้ข้อมูลที่แตกต่างไปจากกรณีดังข้างต้น โดยระบุว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการลดขนาดยาลงทีละน้อยในผู้ที่ต้องการหยุดการรักษาด้วยบูโพรพิออน[2]

การได้รับยาเกินขนาด[แก้]

บูโพรพิออนจัดเป็นยาที่อันตรายในระดับปานกลางเมื่อได้รับยาเกินขนาด[57][58] ในกรณีที่ได้รับในขนาดสูงเกินกว่าที่แนะนำในแนวทางการรักษาอย่างมีนัยยะ จะพบการเกิดการชักได้ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ส่วนอาการอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ประสาทหลอน, สูญเสียสติสัมปชัญญะ, และหัวใจเต้นผิดจังหวัด มีรายงานการได้รับยาบูโพรพิออนเกินขนาดร่วมกับยาอื่น จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ กล้ามเนื้อหดเกร็ง เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ซึม มึนงง โคม่า และระบบหายใจทำงานล้มเหลว โดยส่วนใหญ่แล้วอาการผิดปกติของผู้ที่ได้บูโพรพิออนเกินขนาดสามารถผันกลับมาเป็นปกติได้ แต่ในบางรายอาจมีความรุนแรงจนอันตรายถึงชีวิตจากการชักแบบรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้และความผิดปกติของระบบหัวใจหลอดเลือด[4]

เด็กส่วนใหญ่ที่รับประทานบูโพรพิออนในจำนวนหนึ่งหรือสองเม็ดโดยบังเอิญพบว่า เด็กเหล่านั้นไม่แสดงอาการผิดปกติใด [59]

อันตรกิริยา[แก้]

เนื่องจากบูโพรพิออนเป็นยาที่ถูกเมแทบอลิซึมโดยเอนไซม์ CYP2B6 จึงสามารถเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์นี้ได้ ซึ่งรวมไปถึงยาพาร็อกซีทีน, เซอร์ทราลีน, ฟลูอ็อกเซทีน, ไดแอซิแพม, โคลพิโดเกรล, และออเฟเนดรีน โดยผลที่เกิดขึ้นจากอันตรกิริยานี้จะทำให้ความเข้มข้นของบูโพรพิออนในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น ในขณะที่โฮดรอกซีบูโพรพิออนซึ่งเป็นสารเมแทโบไลท์จะมีความเข้มข้นลดลง ในทางตรงกันข้าม ฤทธิ์ของบูโพรพิออนอาจลดลงได้เมื่อใช้ร่วมกับยาที่กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ CYP2B6 เช่น คาร์บามาซีปีน, คลอไตรมาโซล, ไรแฟมพิซิน, ริโตนาเวียร์, สาโทเซนต์จอห์น, ฟีโนบาร์บิทอล, เฟนิโทอิน และอื่นๆ[60] นอกจากนี้ เนื่องด้วยบูโพรพิออนเองก็สามารถยับยั้งเอนไซม์ CYP2D6 ได้อย่างดี (Ki = 21 μM),[2][19] เช่นเดียวกันกับสารเมแทโบไลท์ของบูโพรไพออนอย่างโฮดรอกซีบูโพรพิออนก็สามารถยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวได้เช่นกัน (Ki = 13.3 μM) ซึ่งผลจากการยับยั้งเอนไซม์นี้จะทำให้ยาอื่นที่มีความจำเป็นต้องถูกเมแทบอลิซึมเอนไซม์ดังกล่าวถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ช้าลง[2][3][4][60] ยกตัวอย่างเช่น สัดส่วนของเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (ซึ่งถูกเมแทบอลิซึมได้โดยเอนไซม์ CYP2D6 เป็นส่วนใหญ่) ต่อสารเมแทโบไลท์หลักเดกซ์โทรแฟนจะเพิ่มขึ้นมากถึง 35 เท่า เมื่อบริหารยาให้กับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการใช้บูโพรพิออนขนาด 300 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาทั้งสองชนิดนี้บ่งชี้ได้ถึงการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่สำคัญ แม้กระทั่งยาที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์ (ในบางประเทศ เดกซ์โทรเมทอร์แฟนจัดเป็นยาที่ไม่จำเป็นต้องมีการสั่งใช้โดยแพทย์)[60]

ดังที่กล่าวก่อนหน้านี้ว่า บูโพรพิออนทำให้ความทนต่อการกระตุ้นให้เกิดอาการชักของร่างกาย (seizure threshold) ลดต่ำลง[61] แต่หากใช้บูโพรพิออนร่วมกับยาอื่นที่ส่งผลดังกล่าวได้ อาทิ คาร์บาพีแนม, สารโคลิเนอร์จิก, ฟลูออโรควิโนโลน, อินเตอร์เฟียรอน, คลอโรควิน, เมโฟลควิน, ลินเดน, ธีโอฟิลลีน, systemic คอร์ติโคสเตอรอยด์ที่ให้ทางระบบ (เช่น เพรดนิโซน), และยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกบางชนิด (เช่น โคลมิพรามีน) อาจทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชักเพิ่มขึ้นกว่าเดิมได้[4] นอกจากนี้ ข้อมูลประกอบการสั่งใช้ยาได้ระบุไว้ว่า ในผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรลดปริมาณการดื่มลง เนื่องจากบูโพรพิออนอาจส่งผลลดความทนต่อแอลกอฮอล์ลงได้ในบางราย ประกอบทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในระหว่างการใช้บูโพรพิออนยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการชักได้มากขึ้นกว่าเดิมได้[4] รวมไปถึง ห้ามใช้บูโพรพิออนในผู้ที่อยู่ระหว่างการหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้เบนโซไดอะซีปีนแบบทันทีทันใดด้วย[62] และควรระมัดระวังการใช้บูโพรพิออนร่วมกับยาที่ยับยั้งเอนไซม์มอนอเอมีนออกซิเดส (MAOI) เนื่องจากอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงวิกฤตได้[63]

เภสัชวิทยา[แก้]

คุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของบูโพรพิออนและสารเมแทบอไลต์ในมนุษย์[64][65][66][67][68]
บูโพรพิออน R,R-
ไฮดรอกซี
บูโพรพิออน
S,S-
ไฮดรอกซี
บูโพรพิออน
ธรีโอ-
ไฮโดร
บูโพรพิออน
อีริโธร-
ไฮโดร
บูโพรพิออน
ปริมาณ (ความเข้มข้นในกระแสเลือดเปรียบเทียบกับบูโพรพิออน) และค่าครึ่งชีวิต
ปริมาณ 100% 800% 160% 310% 90%
ค่าครึ่งชีวิต 10 ชั่วโมง (IR)
17 ชั่วโมง (SR)
21 ชั่วโมง 25 ชั่วโมง 26 ชั่วโมง 26 ชั่วโมง
ความแรงในการยับยั้ง (เปรียบเทียบกับการยับยั้งการเก็บกลับ DA ของบูโพรพิออน)
การเก็บกลับ DA 100% ND ND ND ND
การเก็บกลับ NE 27% ND ND ND ND
การเก็บกลับ 5-HT 2% ND ND ND ND
นิโคตินิก α3β4 53% 15% 10% ND ND
นิโคตินิก α4β2 8% 3% 29% ND ND
นิโคตินิก α1* 12% 13% 13% ND ND
DA: โดปามีน; NE: นอร์เอพิเนฟรีน; 5-HT: เซโรโทนิน; ND: ไม่มีข้อมูล

เภสัชพลศาสตร์[แก้]

บูโพรพิออนจัดเป็นยาในกลุ่มยาที่ยับยั้งการเก็บกลับนอร์อีพิเนฟรินและโดปามีน (NDRI)[69] นอกจากนี้แล้วยังดูเหมือนว่าบูโพรพิออนยังสามารถออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นการหลั่งโดปามีนและนอร์อีพิเนฟริน (NDRA) ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นกลไกที่พบได้ทั่วไปในสารกลุ่มคาทิโนน[70][71][72] อย่างไรก็ตาม เมื่อบูโพรพิออนได้รับการบริหารเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยการรับประทาน ยานี้จะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนได้เป็นสารเมแทบอไลต์ที่ออกฤทธิ์หลายชนิด ซึ่งสารเมแทบอไลต์แต่ละชนิดนี้ก็มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยารวมถึงเมตาบอลิซึมรอบแรก (first pass metabolism) ที่แตกต่างกันออกไป[69][70] โดยสัดส่วนความเข้มข้นในกระแสเลือดของสารเมแทบอไลต์จะสูงกว่าความเข้มข้นของบูโพรพิออนเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บูโพรพิออนถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายอย่างรววดเร็ว[69][70][73] ทั้งนี้ สารเมแทบอไลต์หลักและมีความสำคัญที่สุดของบูโพรพิออน คือ ไฮดรอกซีบูโพรพิออน ซึ่งมีฤทธิ์จำเพาะต่อการยับยั้งการเก็บกลับนอร์อีพิเนฟริน (และดูเหมือนว่าจะกระตุ้นการหลั่งนอร์อีพิเนฟรินได้) และปิดกั้นตัวรับนิโคตินิกแอซิติลโคลีน (nAChR) เป็นอย่างมาก และไม่มีผลโดปามีนจนถึงระดับที่มีนัยสำคัญ ในกรณีที่ได้รับการบริหารยาบูโพรพิออนโดยการรับประทาน ความเข้นข้นของสารเมแทบอไลต์จากพื้นที่ใต้กราฟจะสูงกว่าบูโพรพิออนมากถึง 16–20 เท่า[69] ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ผลที่เกิดจากบูโพรพิออนเองนั้นยังไม่อาจทราบได้แน่ชัดเท่าใดนัก ถึงแม้ที่ผ่านมาจะมีการศึกษาจนสามารถทำความเข้าใจถึงผลต่อร่างกายที่เกิดจากสารเมแทบอไลต์หลักของบูโพรพิออนอย่างไฮดรอกซีบูโพรพิออนได้เป็นอย่างดีก็ตาม[69][70][74]

ฤทธิ์ทางโดพามิเนอร์จิค[แก้]

บูโพรพิออนจัดเป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเก็บกลับโดปามีนได้ โดยการปิดกั้นการทำงานของโดพามีนทรานสปอตเตอร์และนอร์อีพิเนฟรินทรานสปอตเตอร์[75][76][77] ซึ่งการยับยั้งการเก็บกลับโดปามีนผ่านการปิดกั้นโปรตีนขนส่งนอร์อีพิเนฟรินนี้จะเกิดได้เด่นชัดมากที่สุดในสมองคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ของมนุษย์[75] ส่วนสัมพรรคภาพการจับ (Ki) และความแรงในการยับยั้ง (เช่น ความเข้มข้นของสารที่ยับยั้งเป้าหมายได้ร้อยละ 50 หรือ IC50) ของบูโพรพิออนต่อโดพามีนทรานสปอตเตอร์ของมนุษย์มีค่าประมาณ 526 นาโนโมลาร์ (nM) และ 443 nM ตามลำดับ[76][77]

ฤทธิ์ต้านนิโคทินิคและฤทธิ์อื่น [แก้]

เป็นที่ทราบกันว่า บูโพรพินอนสามารถออกฤทธิ์เป็นตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขัน (non-competitive inhibitor) ต่อตัวรับนิโคตินิกแอซิติลโคลีนชนิด α3β2, α3β4, α4β2 และยับยั้งตัวรับนิโคตินิกชนิด α7 อย่างอ่อน[70][78] ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ดังกล่าวนั้นมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เแค่สำหรับการเลิกสูบบุหรี่เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการรักษาโรคซึมเศร้าอีกด้วย[69][70][73][79] นอกจากนี้ สารเมแทบอไลต์ของบูโพรพิออนเองก็ยังสามารถออกฤทธิ์เป็นตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขันต่อตัวรับข้างต้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไฮดรอกซีบูโพรพิออนซึ่งเป็นสารเมแทบอไลต์หลักที่มีฤทธิ์แรงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารเมแทบอไลต์อื่นของบูโพรพิออน[69][80][81][82][83] ณ ระดับความเข้มข้นที่เห็นผลในการรักษา บูโพรพิออนและไฮดรอกซีบูโพรพิออนจะออกฤทธิ์เป็นสารควบคุมแบบยับยั้ง (negative allosteric modulator) ต่อตัวรับเซโรโทนินชนิด 3A (5-HT3A)[84] โดยข้อมูลแสดงคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของบูโพรพิออนและสารเมแทบอไลต์ต่างๆของบูโพรพิออนนั้นดังแสดงไว้ในตารางด้านบน นอกจากบูโพรพิออนจะส่งผลต่อตัวรับต่างๆดังตารางแล้ว ยานี้ยังสามารถยับยั้งตัวรับอะดรีเนอร์จิกชนิด α1 และตัวรับฮีสตามีนชนิด H1ได้อย่างอ่อน ซึ่งมีความแรงในการยับยั้งการเก็บกลับโดปามีนได้ประมาณร้อยละ 14 และ 9 ตามลำดับ[64]

เภสัชจลนศาสตร์[แก้]

การเมแทบอลิซึม ขั้นที่ I ของสารราซิมิกบูโพรพิออนไปเป็นสารเมแทบอไลต์มีฤทธิ์ชนิดต่างๆ โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของกลุ่มเอนไซม์ ไซโตโครม P450 และคาร์บอนิลรีดักเทส

เมื่อเข้าสู่ร่างกาย บูโพรพิออนจะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับโดยกลุ่มเอนไซม์ไซโตโครม P450 ไอโซเอนไซม์ CYP2B6[32] จนได้เป็นสารเมแทบอไลต์ที่มีฤทธิ์หลายชนิด R,R-hydroxybupropion, S,S-hydroxybupropion, threo-hydrobupropion และ erythro-hydrobupropion เป็นอาทิ ซึ่งสารเมแทบอไลต์เหล่านั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงต่อไปจนได้ผลิตภัณฑ์สุดท้านเป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ และถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะเป็นลำดับถัดไป ทั้งนี้ บูโพรพิออนและสารเมแทบอไลต์ลำดับแรกอย่างไฮดรอกซีบูโพรพิออนนั้นสามารถยับยั้งการทำงานของไอโซเอนไซม์ CYP2D6 ของตับได้เป็นอย่างดี ซึ่งไอโซเอนไซม์ดังกล่าวนั้นนอกจากจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงบูโพรพิออนและสารเมแทบอไลต์ของยานี้แล้ว ยังมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงยาอื่น รวมไปถึงสารเมแทบอไลต์ของยาอื่นอีกหลายชนิด[19] จึงเป็นเหตุผลที่ว่าเหตุใดบูโพรพิออนจึงสามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาอื่นได้มากชนิด[2][3][4][60]

ผลทางชีวภาพของบูโพรพิออนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างนัยยะ กล่าวคือ ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยานี้นั้นจะขึ้นอยู่กับสารเมแทบอไลต์ที่มีฤทธิ์แต่ละชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเมแทบอไลต์ S,S-ไฮดรอกซีบูโพรพิออน ซึ่งมีความแรงมากที่สุด จนมีการนำสารเมแทบอลไต์นี้ไปผลิตเป็นยาชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า ราดาฟาซีน โดยบริษัทแกล็กโซสมิธไคลน์[85] แต่มีเหตุจำเป็นต้องหยุดการพัฒนายาดังกล่าวลงในปี ค.ศ. 2006 เนื่องมาจากการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากยาให้ผลลัพธ์ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ[86]

ดังที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า บูโพรไพออนนั้นจำเป็นต้องถูกเปลี่ยนแปลงเป็นไฮดรอกซีบูโพรพิออนโดย CYP2B6 ซึ่งเป็นไอโซไซม์ของระบบไซโตโครม P450 แต่ในบางสภาวะเอนไซม์ดังกล่าวอาจมีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีการเปลี่ยนแปลงบูโพรพิออนเร็วขึ้นมากกว่าปกติ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์เหนี่ยวนำให้มีการทำงานของ CYP2B6 มากขึ้น[87] นอกจากกลไกดังกล่าวแล้ว บูโพรพิออนยังถูกเปลี่ยนแปลงผ่านเอนไซม์อื่นที่นอกเหนือจากไอโซไซม์ในระบบไซโตโครม P450 อาทิ เอนไซม์คอร์ติโซนรีดักเทสที่เปลี่ยนบูโพรไพออนไปเป็น ธรีโอ-ไฮโดรบิวโพรพิออน[19][87] อย่างไรก็ตาม สารเมแทบอไลต์จากบูโพรพิออนอย่างอีริโธร-ไฮโดรบูโพรพิออนนั้น ยังไม่ทราบได้แน่ชัดว่าถูกเปลี่ยนแปลงจากบูโพรพิออนได้ด้วยกระบวนการใด[19]

การเมแทบอลิซึมของบูโพรพิออนนั้นมีความผันผวนค่อนข้างสูง จะเห็นได้จากขนาดยาที่ให้ผลในการรักษา (effective dose) ในผู้ที่ได้รับการบริหารยาโดยการรับประทานนั้นอาจมีความแตกต่างกันมากถึง 5.5 เท่า (ช่วงครึ่งชีวิตกว้างถึง 12–30 ชั่วโมง) ส่วนขนาดยาที่ให้ผลในการรักษาของไฮดรอกซีบูโพรพิออนนั้นอาจต่างกันมากถึง 7.5 เท่า (ช่วงครึ่งชีวิตกว้าง 15–25 ชั่วโมง)[4][6][88] ส่วนเมแทบอไลต์อื่นของบูโพรพิออน เช่น อีริโธรไฮโดรบูโพรพิออน และธรีโอไฮโดรบูโพรพิออนนั้นมีครึ่งชีวิตประมาณ 23-43 ชั่วโมงและ 24-50 ชั่วโมง ตามลำดับ[2][4] จากความผันผวนด้านเภสัชจลนศาสตร์ของบูไรพิออนและสารเมแทบอไลต์หลักอย่างไฮดรอกซีบูโพรพิออน นักวิจัยบางคนได้แนะนำให้มีการการติดตามความเข้มข้นของสารทั้งสองชนิดนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการปรับเปลี่ยนแบบแผนการรักษาให้เหมาะสมผู้ป่วยแต่ละราย[89] นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดผลบวกลวงจากการตรวจแอมเฟตามีนในปัสสาวะของผู้ที่ได้รับการรักษาความผิดปกติใดๆด้วยบูโพรพิออน[90][91][92]

ในปี ค.ศ. 2016 ได้มีการค้นพบสารเมแทบอไลต์หลักชนิดใหม่ของบูโพรพิออนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยานี้ผ่านไอโซไซม์ CYP2C19[93] ได้แก่ 4'-OH-bupropion, erythro-4'-OH-hydrobupropion และ threo-4'-OH-hydrobupropion ซึ่งมีปริมาณรวมกันประมาณร้อยละ 24 ของบูโพรพิออนทั้งหมดที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ[93] ถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากนักกับสารเมแทบอไลต์อื่นที่ค้นพบก่อนหน้านี้ เช่น ไฮดรอกซีบูโพรพิออน, ธรีโอไฮโดรบูโพรพิออน, และอีริโธรไฮโดรบูโพรพิออน คิดเป็นสัดส่วนรวมกันประมาณร้อยละ 23 ของบูโพรพิออนทั้งหมดที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ[93]

เภสัชเคมี[แก้]

บูโพรพิออนเป็นสารที่เป็นอนุพันธ์ของคาทิโนน ซึ่งถูกสังเคราะห์ขึ้นได้ผ่านกระบวนการทางเคมี 2 ขั้นตอน โดยมีสารตั้งต้นเป็น 3'-chloro-propiophenone โดยตำแหน่งอัลฟาที่อยู่ใกล้กับหมู่คีโตนจะถูกเติมด้วยอะตอมของโบรมีน เรียกปฏิกิริยานี้ว่า การเติมแฮโลเจนของคีโตน (ketone halogenation) เป็นลำดับแรก จากนั้นจะเกิด Nucleophilic substitution ของโบรโมคีโตนดังกล่าวที่ตำแหน่งอัลฟาด้วย t-butylamine ในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก และได้ผลิตภัณฑ์เป็นบูโพรพิออนที่อยู่ในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ คิดเป็นผลผลิตร้อยละ 75–85% ของสารตั้งต้นทั้งหมด[94][95]

Bupropion synthesis diagram
3'-คลอโร-โพรพิโอฟีโนน
3'-คลอโร-2-โบรโมโพรพิโอฟีโนน
บูโพรพิออนไฮโดรคลอไรด์
แผนภาพแสดงดระบวนการสังเคราะห์บูโพรพิออนจาก 3'-คลอโร-โพรพิโอฟีโนน

ประวัติและการค้นพบ[แก้]

กราฟแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลชีวสมมูลของบูโพรพิออนชนิดออกฤทธิ์นานขนาด 150 มิลลิกรัมที่อิมแพกซ์แลบอราทอรีส์ผลิตให้บริษัทเทวา กับที่ไบโอวาอิลผลิตให้แกล็กโซสมิธไคลน์

บูโพรพิออนถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นโดยนาริแมน เมห์ต้าจากบริษัทเคมีภัณฑ์เบอร์โรส์ เวลคัม (ปัจจุบันคือ แกล็กโซสมิธไคลน์) เมื่อปี ค.ศ. 1969 ได้มีการจดสิทธิบัตรยาดังกล่าวในปี ค.ศ. 1974[94] และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกาให้ใช้เป็นยาสำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1985 ภายหลังจากได้รับการรับรองได้นี้ได้มีการผลิตบูโพรพิออนออกจำหน่ายในตลาดยาภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin[96] อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่บูโพรพิออนก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์การชักของผู้ที่ใช้ยานี้อย่างมีนัยสำคัญ แม้จะเป็นการใช้ในขนาดที่แนะนำในการรักษาก็ตาม ทำให้บูโพรพิออนถูกถอนออกจากตลาดยาในปี ค.ศ. 1986 ต่อจากนั้น การศึกษาทางคลินิกพบว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดการชักในผู้ที่ใช้บูโพรพิออนนั้นมีความแปรผันตรงกับขนาดยาที่ใช้เป็นอย่างมาก จึงได้มีการนำบูโพรพิออนกลับเข้ามาใช้ในทางคลินิกใหม่ใน ค.ศ. 1989 แต่ด้วยขนาดแนะนำในการรักษาต่อวันที่ลดต่ำลง[97]

ในปี ค.ศ. 1996 องค์การอาหารและยาได้ประกาศรับรองบูโพรพิออนรูปแบบออกฤทธิ์นานภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin SR ที่ต้องชนิดรับประทานวันละ 2 ครั้ง ต่างจาก Wellbutrin ที่เป็นบูโพรพิออนรูปแบบที่ออกฤทธิ์ทันทีที่จำเป็นต้องรับประทานยาถึงวันละ 3 ครั้ง[98] ต่อมาปี ค.ศ. 2003 องค์การอาหารและยาได้รับรองบูโพรพิออนรูปแบบออกฤทธิ์นานอีกชนิดหนึ่ง คือ Wellbutrin XL ซึ่งสามารถบริหารได้โดยการรับประทานเพียงวันละ 1 ในเวลานั้นทั้ง Wellbutrin SR และ XL เป็นยาต้นแบบที่มีจำหน่ายเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยในแคนาดา ยาต้นแบบบูโพรพิออนภายใต้ชื่อ Wellbutrin XR นั้นอยู่ภายใต้การกระจายสินค้าโดยบริษัทมีแลน ส่วนข้อบ่งใช้ของบูดพรพิออนในการเป็นสารช่วยเลิกบุหรี่นั้นได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาเมื่อปี ค.ศ. 1997 ในชื่อการค้า Zyban[98] จากนั้นในปี ค.ศ. 2006 Wellbutrin XL ก็ได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลด้วยเพิ่มเติม[99]

ในฝรั่งเศส บริษัทมีแลนเป็นบริษัทที่ได้รับการอนุญาตให้วางตลาดบูโพรพิออนเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2001 ด้วยขนาดสูงสุดไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน[100] แต่เฉพาะรูปแบบออกฤทธิ์นานที่มีข้อบ่งใช้สำหรับเป็นสารช่วยในการเลิกบุหรี่ ต่อมาในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 แกล็กโซสมิธไคลน์ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายบูโพรพิออนที่มีข้อบ่งใช้สำหรับผู้ใหญ่ที่มีโรคซึมเศร้าในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นที่คาดหวังของบริษัทว่าอาจได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายยาดังกล่าวในตลาดยาของประเทศอื่นในยุโรปเช่นกันในอนาคต[101]

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ผู้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้บริโภคจำนวน 2 รายอย่าง ConsumerLab.com และ The People's Pharmacy ได้ตีพิมพ์ผลการทดสอบการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบูโพรพิออนที่มีชื่อการค้าที่แตกต่างกัน[102] The People's Pharmacy ได้รับรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอาการไม่พึงประสงค์และการลดลงของประสิทธิภาพของยาบูโพรพิออนต้นแบบซึ่งได้รับแจ้งต่อ ConsumerLab.com เพื่อให้มีการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา ผลการทดสอบพบว่า "หนึ่งในยาต้นแบบจำนวนหนึ่งของ Wellbutrin XL ขนาด 300 มิลลิกรัม ที่ถูกจำหน่ายภายใต้ชื่อ Budeprion XL 300 มิลลิกรัม มีคุณสมบัติที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการไม่ตรงตามที่ควรจะเป็นเช่นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ"[103] แต่องค์การอาหารและยาได้เข้ามาตรวจสอบข้อร้องเรียนดังกล่าวและได้ผลสรุปว่า Budeprion XL นั้นมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับ Wellbutrin XL ในด้านชีวปริมาณออกฤทธิ์ของทั้งบูโพรพิออนและสารเมแทบอไลต์หลักที่ออกฤทธิ์อย่างไฮดรอกซีบูโพรพิออน นอกจากนี้ องค์การอาหารและยายังกล่าวด้วยว่า การแปรปรวนของอารมณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติและเกิดขึ้นประจวบเหมาะกับเวลาน่าจะเป็นคำอธิบายที่เหมาะสมในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าที่แย่ลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากเปลี่ยนยาจาก Wellbutrin XL เป็น Budeprion XL[104] แต่ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2012 องค์การอาหารและยาเองได้ประกาศแย้งถึงประเด็นดังข้างต้น หลังตรวจสอบพบว่า "Budeprion XL 300 มิลลิกรัมไม่ผ่านการทดสอบความเท่าเทียมกันทางผลการรักษา (Therapeutic equivalence) เมื่อเปรียบเทียบกับ Wellbutrin XL 300 มิลลิกรัม"[105] อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาไม่ได้ทดสอบชีวสมมูลของยาสามัญอื่นๆ ของ Wellbutrin XL 300 มิลลิกรัม แต่ขอให้ผู้ผลิตทั้ง 4 รายส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบนี้ไปยังองค์การอาหารและยาภายในเดือนมีนาคม 2013 เพื่อให้องค์การอาหารและยาได้ทำการพิจารณาสูตรยาสามัญของยาดังกล่าวจากผู้ผลิตบางรายที่อาจไม่ได้รับชีวสมมูล[105] โดยผลการพิจารณาที่ประกาศออกมาในช่วงเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นพบว่า ไม่มียาสามัญของ Wellbutrin XL 300 มิลลิกรัม จากผู้ผลิตใดที่ไม่มีชีวสมมูลกับยาต้นแบบ[106]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 องค์การอาหารและยาได้อนุมัติการขึ้นทะเบียนบูโพรพิออนในรูปเกลือไฮโดรโบรไมด์แทนรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ ภายใต้ชื่อการค้า Aplenzin ซึ่งผลิตโดย ซาโนฟี่-อเวนตีส.[107]

ในปี ค.ศ. 2012 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ประกาศปรับแกล็กโซสมิธไคลน์เป็นจำนวน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในฐานความผิดส่วนหนึ่งจากการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ Wellbutrin สำหรับการลดน้ำหนักและรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพเทางเพศโดยไม่ได้รับอนุญาต[108]

สังคมและวัฒนธรรม[แก้]

การใช้เพื่อนันทนาการ[แก้]

หากอิงตามการจัดจำแนกยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทของรัฐบาลสหรัฐ บูโพรพิออนจะถูกจัดให้เป็นยาในกลุ่มยาที่ไม่อาจนำไปใช้ในทางที่ผิดได้[109] อย่างไรก็ตาม การศึกษาในสัตว์ทดลองอย่างลิงกระรอกและหนู พบว่าบูโพรพิออนอาจสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการบริหารยาบูโพรพิออนในรูปแบบฉีดด้วยตนเอง (self-administration) ของสัตว์ทดลองดังกล่าวได้ ซึ่งการเกิดพฤติกรรมดังกล่าวโดยส่วนมากแล้วมักเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการติดยาได้อย่างนัยยะ[19] ทั้งนี้ มีการบันทึกกรณีศึกษาหรือมีการพบเห็นการใช้บูโพรพิออนไปในทางที่ผิดอยู่ประปราย แต่หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์บ่งชี้ให้เห็นว่าการบริหารยาบูโพรพิออนโดยการรับประทานนั้นมีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับการบริหารยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำในแง่ของการกระตุ้นให้เกิดการติดยาดังเช่นที่เกิดขึ้นในกรณีของโคเคนหรือแอมเฟตามีน[110] โดยการบริหารบูโพรพิออนในช่องทางอื่นที่ผิดแปลกไปจากที่ควรจะเป็น อย่างการฉีดเข้าหลอดเลือดดำและการสูดพ่นนั้น พบว่ามีบันทึกรายงายการใช้บูโพรพิออนในทางที่ผิดโดยการบริหารยาผ่านช่องทางดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักโทษในเรือนจำ[111][112][113]

ชื่อสามัญและชื่อการค้า[แก้]

บูโพรพิออน (Bupropion) เป็นชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ (International Nonproprietary Name: INN) และ ชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษ (British Approved Name: BAN) ขณะที่บูโพรพิออนไฮโดรคลอไรด์ (bupropion hydrochloride) นั้นจัดเป็นชื่อยาที่รับอนุญาตแบบอเมริกา (United States Adopted Name: USAN)[114] โดยบูโพรพิออนมีชื่อ INN เดิมว่า แอมฟีบูทาโมน (Amfebutamone)[115] ปัจจุบันมีการผลิตบูโพรพิออนออกจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลกภายใต้ชื่อการค้าที่แตกต่างกันออกไป ดังแสดงในกล่องข้อความด้านล่าง รวมไปถึงสูตรผสมระหว่างบูโพรพิออนกับนาลเทรกโซน[116]

รายชื่อชื่อการค้า

บูโพรพิออนถูกผลิตออกจำหน่ายในตลาดยาทั่วโลกภายใต้ชื่อการค้าที่แตกต่างกันหลายชื่อ ได้แก่ Aplenzin, Budeprion SR, Bup, Bupredol, Buproban, Bupropion GSK, BuPROPion HCL SR Watson, Bupropion Hydrochloride Anchen, Bupropion Hydrochloride Apotex, BuPROPion Hydrochloride Cadista, Bupropion Hydrochloride Mylan, Bupropion Hydrochloride Sandoz, buPROPion Hydrochloride SR actavis, Bupropion Hydrochloride Sun Pharma, buPROPion Hydrochloride Torrent Pharma, Bupropion Hydrochloride Wockhardt, buPROPion Hydrochloride XL actavis, BuPROPion Hydrochloride XL Watson, Bupropion SR Sanis Health, Bupropionhydrochlorid HEXAL, Bupropionhydrochloride GSK, Buprotrin, Butrin, Buxon, Carmubine, Depnox-SR, Elontril, Elontril XL, Forfivo XL, Funnix, Global buPROPion HCL, Le Fu Ting, Odranal, PMS-Bupropion SR, Prewell, Quomem, ratio-Bupropion SR, Sandoz Bupropion SR, Voxra, Wellbutrin, Wellbutrin Retard, Wellbutrin SR, Wellbutrin XL, Wellbutrin XR, Yue Ting, Zetron, Zyban, Zyban LP, Zybex SR, ZyGenerics Bupropion Hydrochloride XL, และ Zyntabac.[116]

นอกจากนี้ยังมีผลิตบูโพรพิออนออกจำหน่ายในรูปแบบยาสูตรผสมกับนาลเทรกโซนภายใต้ชื่อการค้า Contrave[116]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bupropion". PubChem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มกราคม 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "Zyban 150 mg prolonged release film-coated tablets – Summary of Product Characteristics (SPC)". electronic Medicines Compendium. GlaxoSmithKline UK. 1 สิงหาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Prexaton Bupropion hydrochloride PRODUCT INFORMATION". TGA eBusiness Services. Ascent Pharma Pty Ltd. 2 ตุลาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2013.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 FDA Buproprion Label Last revised December 16, 2014 as described on the FDA Label Website. See that site for updates. Page accessed April 8, 2016
  5. Zhu, A. Z. X.; Zhou, Q.; Cox, L. S.; Ahluwalia, J. S.; Benowitz, N. L.; Tyndale, R. F. (3 กันยายน 2014). "Gene Variants in CYP2C19 Are Associated with Altered In Vivo Bupropion Pharmacokinetics but Not Bupropion-Assisted Smoking Cessation Outcomes". Drug Metabolism and Disposition. 42 (11): 1971–1977. doi:10.1124/dmd.114.060285. PMC 4201132. PMID 25187485.
  6. 6.0 6.1 Brunton, L; Chabner, B; Knollman, B (2010). Goodman and Gilman's The Pharmacological Basis of Therapeutics (12th ed.). New York: McGraw-Hill Professional. ISBN 978-0-07-162442-8.
  7. Morton, Ian; Morton, I.K.; Hall, Judith M. (1999). Concise Dictionary of Pharmacological Agents: Properties and Synonyms. Springer Science & Business Media. pp. 57–. ISBN 978-0-7514-0499-9.
  8. Dictionary of Organic Compounds. CRC Press. pp. 104–. ISBN 978-0-412-54090-5.
  9. Index Nominum 2000: International Drug Directory. Taylor & Francis. มกราคม 2000. pp. 38–. ISBN 978-3-88763-075-1.
  10. Fava M, Rush AJ, Thase ME, และคณะ (2005). "15 years of clinical experience with bupropion HCl: from bupropion to bupropion SR to bupropion XL". Prim Care Companion J Clin Psychiatry. 7 (3): 106–13. doi:10.4088/pcc.v07n0305. PMC 1163271. PMID 16027765.
  11. "Bupropion (By mouth)". PubMed Health. Bethesda, USA: National Institute of Health. 1 มิถุนายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2014.
  12. The INN originally assigned in 1974 by the World Health Organization was "amfebutamone". In 2000, the INN was reassigned as bupropion. See World Health Organization (2000). "International Nonproprietary Names for Pharmaceutical Substances (INN). Proposed INN: List 83" (PDF). WHO Drug Information. 14 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2009.
  13. "First drug for seasonal depression". FDA Consum. 40 (5): 7. 2006. PMID 17328102.
  14. 14.0 14.1 Rossi, S, บ.ก. (2013). Australian Medicines Handbook (2013 ed.). Adelaide: The Australian Medicines Handbook Unit Trust. ISBN 978-0-9805790-9-3.
  15. 15.0 15.1 Joint Formulary Committee (2015). British National Formulary (BNF) (69 ed.). London, UK: Pharmaceutical Press. ISBN 978-0-85711-156-2.
  16. Wilkes, S (2008). "The use of bupropion SR in cigarette smoking cessation". International journal of chronic obstructive pulmonary disease. 3 (1): 45–53. doi:10.2147/copd.s1121. PMC 2528204. PMID 18488428.
  17. Hughes, JR; Stead, LF; Hartmann-Boyce, J; Cahill, K; Lancaster, T (8 มกราคม 2014). "Antidepressants for smoking cessation". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1: CD000031. doi:10.1002/14651858.CD000031.pub4. PMID 24402784.
  18. 18.0 18.1 Wu P, Wilson K, Dimoulas P, Mills EJ (2006). "Effectiveness of smoking cessation therapies: a systematic review and meta-analysis". BMC Public Health. 6: 300. doi:10.1186/1471-2458-6-300. PMC 1764891. PMID 17156479.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 19.4 19.5 Dwoskin LP, Rauhut AS, King-Pospisil KA, Bardo MT (2006). "Review of the pharmacology and clinical profile of bupropion, an antidepressant and tobacco use cessation agent". CNS Drug Rev. 12 (3–4): 178–207. doi:10.1111/j.1527-3458.2006.00178.x. PMID 17227286.
  20. Stahl SM, Pradko JF, Haight BR, Modell JG, Rockett CB, Learned-Coughlin S (2004). "A review of the neuropharmacology of bupropion, a dual norepinephrine and dopamine reuptake inhibitor". Prim Care Companion J Clin Psychiatry. 6 (4): 159–166. doi:10.4088/PCC.v06n0403. PMC 514842. PMID 15361919.
  21. Foley KF, DeSanty KP, Kast RE (กันยายน 2006). "Bupropion: pharmacology and therapeutic applications". Expert Rev Neurother. 6 (9): 1249–65. doi:10.1586/14737175.6.9.1249. PMID 17009913.
  22. 22.0 22.1 Li Z, Maglione M, Tu W, Mojica W, Arterburn D, Shugarman LR, Hilton L, Suttorp M, Solomon V, Shekelle PG, Morton SC (เมษายน 2005). "Meta-analysis: pharmacologic treatment of obesity". Ann. Intern. Med. 142 (7): 532–46. doi:10.7326/0003-4819-142-7-200504050-00012. PMID 15809465.
  23. 23.0 23.1 Ryan DH, Bray GA (มิถุนายน 2013). "Pharmacologic treatment options for obesity: what is old is new again". Current hypertension reports. 15 (3): 182–9. doi:10.1007/s11906-013-0343-6. PMID 23625271.
  24. "Contrave label" (PDF). United States Food and Drug Administration. 10 กันยายน 2014. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2015.
  25. Gijsman HJ, Geddes JR, Rendell JM, Nolen WA, Goodwin GM (กันยายน 2004). "Antidepressants for bipolar depression: a systematic review of randomized, controlled trials". Am J Psychiatry. 161 (9): 1537–47. doi:10.1176/appi.ajp.161.9.1537. PMID 15337640.
  26. Yatham LN, Kennedy SH, O'Donovan C, Parikh SV, MacQueen G, McIntyre RS, Sharma V, Beaulieu S (ธันวาคม 2006). "Canadian Network for Mood and Anxiety Treatments (CANMAT) guidelines for the management of patients with bipolar disorder: update 2007". Bipolar Disord. 8 (6): 721–39. doi:10.1111/j.1399-5618.2006.00432.x. PMID 17156158.
  27. Kampman KM (มิถุนายน 2008). "The search for medications to treat stimulant dependence". Addict Sci Clin Pract. 4 (2): 28–35. doi:10.1151/ascp084228. PMC 2797110. PMID 18497715.
  28. Mikocka-Walus AA, Turnbull DA, Moulding NT, Wilson IG, Andrews JM, Holtmann GJ (2006). "Antidepressants and inflammatory bowel disease: a systematic review". Clin Pract Epidemiol Ment Health. 2: 24. doi:10.1186/1745-0179-2-24. PMC 1599716. PMID 16984660.
  29. Urquhart DM, Hoving JL, Assendelft WW, Roland M, van Tulder MW (2008). Urquhart DM (บ.ก.). "Antidepressants for non-specific low back pain". Cochrane Database Syst Rev (1): CD001703. doi:10.1002/14651858.CD001703.pub3. PMID 18253994.
  30. "FDA clears Cymbalta to treat chronic musculoskeletal pain". FDA Press Announcements. Food and Drug Administration. 4 พฤศจิกายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2013. The U.S. Food and Drug Administration ... approved Cymbalta (duloxetine hydrochloride) to treat chronic musculoskeletal pain, including discomfort from osteoarthritis and chronic lower back pain.
  31. Shah TH, Moradimehr A (สิงหาคม 2010). "Bupropion for the treatment of neuropathic pain". Am J Hosp Palliat Care. 27 (5): 333–6. doi:10.1177/1049909110361229. PMID 20185402.
  32. 32.0 32.1 32.2 Hales E, Yudofsky JA, บ.ก. (2003). The American Psychiatric Press Textbook of Psychiatry. Washington, DC: American Psychiatric Publishing, Inc.
  33. Pisani F, Oteri G, Costa C, Di Raimondo G, Di Perri R (2002). "Effects of psychotropic drugs on seizure threshold". Drug Saf. 25 (2): 91–110. doi:10.2165/00002018-200225020-00004. PMID 11888352.
  34. 34.0 34.1 Alper K, Schwartz KA, Kolts RL, Khan A (สิงหาคม 2007). "Seizure incidence in psychopharmacological clinical trials: an analysis of Food and Drug Administration (FDA) summary basis of approval reports". Biol. Psychiatry. 62 (4): 345–54. doi:10.1016/j.biopsych.2006.09.023. PMID 17223086.
  35. Taylor D (ธันวาคม 2008). "Antidepressant drugs and cardiovascular pathology: a clinical overview of effectiveness and safety". Acta Psychiatr Scand. 118 (6): 434–42. doi:10.1111/j.1600-0447.2008.01260.x. PMID 18785947.
  36. "Zyban (bupropion hydrochloride) – safety update". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency. 24 กรกฎาคม 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2006.
  37. Hubbard R, Lewis S, West J, Smith C, Godfrey C, Smeeth L, Farrington P, Britton J (ตุลาคม 2005). "Bupropion and the risk of sudden death: a self-controlled case-series analysis using The Health Improvement Network". Thorax. 60 (10): 848–50. doi:10.1136/thx.2005.041798. PMC 1747199. PMID 16055620.
  38. Branconnier RJ, Cole JO, Ghazvinian S (พฤษภาคม 1983). "Clinical pharmacology of bupropion and imipramine in elderly depressives". J Clin Psychiatry. 44 (5 Pt 2): 130–3. PMID 6406441.
  39. Masco HL, Kiev A, Holloman LC (กรกฎาคม 1994). "Safety and efficacy of bupropion and nortriptyline in outpatients with depression". Curr Ther Res. 55 (7): 851–63. doi:10.1016/S0011-393X(05)80779-9.
  40. Feighner J, Hendrickson G, Miller L (กุมภาพันธ์ 1986). "Double-blind comparison of doxepin versus bupropion in outpatients with a major depressive disorder". Clin Psychopharmacol. 6 (1): 27–32. PMID 3081600.
  41. Weisler RH, Johnston JA, Lineberry CG (มิถุนายน 1994). "Comparison of bupropion and trazodone for the treatment of major depression". J Clin Psychopharmacol. 14 (3): 170–9. PMID 8027413.
  42. Medical Economics (2005). Physician’s Desk Reference. Montvale, NJ: Thomson PDR. p. 1655–1659, 1659–1663, 1663–1668. ISBN 9781563634987.
  43. Croft H, Settle E Jr, Houser T, Batey SR, Donahue RM, Ascher JA (1999). "A placebo-controlled comparison of the antidepressant efficacy and effects on sexual functioning of sustained-release bupropion and sertraline". Clin Ther. 21 (4): 643-58. doi:10.1016/S0149-2918(00)88317-4. PMID 10363731.
  44. Kavoussi RJ, Segraves RT, Hughes AR, Ascher JA, Johnston JA (ธันวาคม 1997). "Double-blind comparison of bupropion sustained release and sertraline in depressed outpatients" (PDF). J Clin Psychiatry. 58 (12): 532–537.
  45. Coleman CC, King BR, Bolden-Watson C, Book MJ, Segraves RT, Richard N, Ascher J, Batey S, Jamerson B, Metz A (กรกฎาคม 2001). "A placebo-controlled comparison on sexual functioning of bupropion SR and fluoxetine". Clin Ther. 23 (7): 1040-58. PMID 11519769.
  46. Weihs KL, Settle EC Jr, Batey SR, Houser TL, Donahue RM, Ascher JA (มีนาคม 2000). "Bupropion sustained-release versus paroxetine for the treatment of depression in the elderly". J Clin Psychiatry. 61 (3): 196-202. PMID 10817105.
  47. 47.0 47.1 Levenson M, Holland C. "Antidepressants and suicidality in adults: statistical evaluation. (Presentation at Psychopharmacologic Drugs Advisory Committee; December 13, 2006)". U.S. Food and Drug Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2007.
  48. Hughes, JR; Stead, LF; Hartmann-Boyce, J; Cahill, K; Lancaster, T (8 มกราคม 2014). "Antidepressants for smoking cessation". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 1: CD000031. doi:10.1002/14651858.CD000031.pub4. PMID 24402784.
  49. Commissioner, Office of the. "Safety Alerts for Human Medical Products - Chantix (varenicline) and Zyban (bupropion) : Drug Safety Communication – Mental Health Side Effects Revised". www.fda.gov (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2016.
  50. "Public Health Advisory: FDA requires new boxed warnings for the smoking cessation drugs Chantix and Zyban". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 1 กรกฎาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009.
  51. "The smoking cessation aids varenicline (marketed as Chantix) and bupropion (marketed as Zyban and generics) suicidal ideation and behavior" (PDF). Drug Safety Newsletter. U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2 (1): 1–4. 2009.
  52. 52.0 52.1 52.2 Kumar S, Kodela S, Detweiler JG, Kim KY, Detweiler MB (พฤศจิกายน–ธันวาคม 2011). "Bupropion-induced psychosis: folklore or fact? A Systematic Review of the Literature". Gen Hosp Psychiatry. 33 (12): 612–7. doi:10.1016/j.genhosppsych.2011.07.001. PMID 21872337.
  53. Javelot T, Javelot H, Baratta A, Weiner L, Messaoudi M, Lemoine P (ธันวาคม 2010). "Acute psychotic disorders related to bupropion: review of the literature". Encephale. 36 (6): 461–71. doi:10.1016/j.encep.2010.01.005. PMID 21130229.
  54. Nemeroff CB, Schatzberg AF (2006). Essentials of clinical psychopharmacology. Washington, D.C: American Psychiatric Publishing. p. 146. ISBN 1-58562-243-5.
  55. Johnston JA (1999). "Discontinuation of Therapy With Bupropion SR". Prim Care Companion J Clin Psychiatry. 1 (5): 165. PMC 181084. PMID 15014680.
  56. Berigan TR (เมษายน 2002). "Bupropion-associated withdrawal symptoms revisited: a case report". Prim Care Companion J Clin Psychiatry. 4 (2): 78. doi:10.4088/PCC.v04n0208a. PMC 181231. PMID 15014751.
  57. Taylor, D; Carol, P; Shitij, K (2012). The Maudsley prescribing guidelines in psychiatry. West Sussex: Wiley-Blackwell. ISBN 978-0-470-97969-3.
  58. White N, Litovitz T, Clancy C (ธันวาคม 2008). "Suicidal antidepressant overdoses: a comparative analysis by antidepressant type". Journal of Medical Toxicology. 4 (4): 238–250. doi:10.1007/BF03161207. PMC 3550116. PMID 19031375.
  59. Beuhler MC, Spiller HA, Sasser HC (มีนาคม 2010). "The outcome of unintentional pediatric bupropion ingestions: a NPDS database review". J Med Toxicol. 6 (1): 4–8. doi:10.1007/s13181-010-0027-4. PMC 3550434. PMID 20213217.
  60. 60.0 60.1 60.2 60.3 Jefferson JW, Pradko JF, Muir KT (พฤศจิกายน 2005). "Bupropion for major depressive disorder: Pharmacokinetic and formulation considerations". Clin Ther. 27 (11): 1685–95. doi:10.1016/j.clinthera.2005.11.011. PMID 16368442.
  61. Vila-Rodriguez, Fidel; Dobek, Christine E; Blumberger, Daniel M; Downar, Jonathan; Daskalakis, Zafiris J (2015). "Risk of seizures in transcranial magnetic stimulation: a clinical review to inform consent process focused on bupropion". Neuropsychiatric Disease and Treatment: 2975. doi:10.2147/NDT.S91126. ISSN 1178-2021.
  62. Eric Wooltorton (มกราคม 2002). "Bupropion (Zyban, Wellbutrin SR) : reports of deaths, seizures, serum sickness" (PDF). CMAJ. 166 (1): 68. PMC 99232.
  63. Feinberg SS (2004). "Combining stimulants with monoamine oxidase inhibitors: a review of uses and one possible additional indication". J Clin Psychiatry. 65 (11): 1520–4. doi:10.4088/jcp.v65n1113. PMID 15554766.
  64. 64.0 64.1 Horst WD, Preskorn SH (ธันวาคม 1998). "Mechanisms of action and clinical characteristics of three atypical antidepressants: venlafaxine, nefazodone, bupropion". J Affect Disord. 51 (3): 237–54. doi:10.1016/S0165-0327(98)00222-5. PMID 10333980.
  65. Johnston AJ, Ascher J, Leadbetter R, Schmith VD, Patel DK, Durcan M, Bentley B (2002). "Pharmacokinetic optimisation of sustained-release bupropion for smoking cessation". Drugs. 62 (Suppl 2): 11–24. doi:10.2165/00003495-200262002-00002. PMID 12109932.
  66. Xu H, Loboz KK, Gross AS, McLachlan AJ (มีนาคม 2007). "Stereoselective analysis of hydroxybupropion and application to drug interaction studies". Chirality. 19 (3): 163–70. doi:10.1002/chir.20356. PMID 17167747.
  67. Bondarev ML, Bondareva TS, Young R, Glennon RA (สิงหาคม 2003). "Behavioral and biochemical investigations of bupropion metabolites". European Journal of Pharmacology. 474 (1): 85–93. doi:10.1016/S0014-2999(03)02010-7. PMID 12909199.
  68. Damaj MI, Carroll FI, Eaton JB, Navarro HA, Blough BE, Mirza S, Lukas RJ, Martin BR (กันยายน 2004). "Enantioselective effects of hydroxy metabolites of bupropion on behavior and on function of monoamine transporters and nicotinic receptors". Mol. Pharmacol. 66 (3): 675–82. doi:10.1124/mol.104.001313. PMID 15322260.
  69. 69.0 69.1 69.2 69.3 69.4 69.5 69.6 Dwoskin, Linda P. (29 มกราคม 2014). Emerging Targets & Therapeutics in the Treatment of Psychostimulant Abuse. Elsevier Science. pp. 177–216. ISBN 978-0-12-420177-4.
  70. 70.0 70.1 70.2 70.3 70.4 70.5 Lemke, Thomas L.; Williams, David A. (24 มกราคม 2012). Foye's Principles of Medicinal Chemistry. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 611–613. ISBN 978-1-60913-345-0.
  71. Arias HR, Santamaría A, Ali SF (2009). "Pharmacological and neurotoxicological actions mediated by bupropion and diethylpropion". Int. Rev. Neurobiol. 88: 223–55. doi:10.1016/S0074-7742(09)88009-4. PMID 19897080.
  72. Labbate, Lawrence A.; Fava, Maurizio; Rosenbaum, Jerrold F.; Arana, George W. (28 มีนาคม 2012). Handbook of Psychiatric Drug Therapy. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 64–. ISBN 978-1-4511-5307-1.
  73. 73.0 73.1 Warner C, Shoaib M (กันยายน 2005). "How does bupropion work as a smoking cessation aid?". Addict Biol. 10 (3): 219–31. doi:10.1080/13556210500222670. PMID 16109583.
  74. Ascher JA, Cole JO, Colin JN, และคณะ (กันยายน 1995). "Bupropion: a review of its mechanism of antidepressant activity". J Clin Psychiatry. 56 (9): 395–401. PMID 7665537.
  75. 75.0 75.1 Stahl SM (มีนาคม 2017). "Bupropion". Prescriber's Guide: Stahl's Essential Psychopharmacology (6th ed.). Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. pp. 107–112. ISBN 9781108228749. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2018.
  76. 76.0 76.1 "Bupropion: Biological activity". IUPHAR/BPS Guide to Pharmacology. International Union of Basic and Clinical Pharmacology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2018.
    Target: DAT
    Type: Inhibitor
    Action: Inhibition
    Affinity: 6.3
    Units: pIC50 ... (IC50 4.43x10−7 M)
  77. 77.0 77.1 Simonsen U, Comerma-Steffensen S, Andersson KE (ตุลาคม 2016). "Modulation of Dopaminergic Pathways to Treat Erectile Dysfunction". Basic & Clinical Pharmacology & Toxicology. 119 (Suppl 3): 63–74. doi:10.1111/bcpt.12653. PMID 27541930. Bupropion is so far the only antidepressant with some selectivity for DAT over NET and SERT with Ki values (nM) of, respectively, 526, 52,600 and 9100 for the three transporters.
  78. Carroll FI, Blough BE, Mascarella SW, Navarro HA, Lukas RJ, Damaj MI (2014). "Bupropion and bupropion analogs as treatments for CNS disorders". Adv. Pharmacol. 69: 177–216. doi:10.1016/B978-0-12-420118-7.00005-6. PMID 24484978.
  79. Arias HR (2009). "Is the inhibition of nicotinic acetylcholine receptors by bupropion involved in its clinical actions?". Int. J. Biochem. Cell Biol. 41 (11): 2098–108. doi:10.1016/j.biocel.2009.05.015. PMID 19497387.
  80. Damaj MI, Carroll FI, Eaton JB (กันยายน 2004). "Enantioselective effects of hydroxy metabolites of bupropion on behavior and on function of monoamine transporters and nicotinic receptors". Mol. Pharmacol. 66 (3): 675–82. doi:10.1124/mol.104.001313. PMID 15322260.
  81. Zhu AZ, Cox LS, Nollen N (ธันวาคม 2012). "CYP2B6 and bupropion's smoking-cessation pharmacology: the role of hydroxybupropion". Clin. Pharmacol. Ther. 92 (6): 771–7. doi:10.1038/clpt.2012.186. PMC 3729209. PMID 23149928.
  82. Foxhall, Lewis E.; Rodriguez, Maria Alma (2014). Advances in Cancer Survivorship Management. Springer. pp. 265–. ISBN 978-1-4939-0986-5.
  83. Johnson, Bankole A. (10 ตุลาคม 2010). Addiction Medicine: Science and Practice. Springer Science & Business Media. pp. 433–. ISBN 978-1-4419-0338-9.
  84. Pandhare A, Pappu AS, Wilms H, Blanton MP, Jansen M (2016). "The antidepressant bupropion is a negative allosteric modulator of serotonin type 3A receptors". Neuropharmacology. 113 (Pt A): 89–99. doi:10.1016/j.neuropharm.2016.09.021. PMID 27671323.
  85. "GlaxoSmithKline (GSK) Reviews Novel Therapeutics For CNS Disorders And Confirms Strong Pipeline Momentum" (Press release). PRNewswire. 23 พฤศจิกายน 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2007.
  86. GlaxoSmithKline (26 กรกฎาคม 2006). "Pipeline Update" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 กันยายน 2007.   (136 KB). Press release. Retrieved on 18 August 2007.
  87. 87.0 87.1 Meyer A, Vuorinen A, Zielinska AE, Strajhar P, Lavery GG, Schuster D, Odermatt A (กันยายน 2013). "Formation of threohydrobupropion from bupropion is dependent on 11β-hydroxysteroid dehydrogenase 1". Drug metabolism and disposition: the biological fate of chemicals. 41 (9): 1671–8. doi:10.1124/dmd.113.052936. PMC 3876805. PMID 23804523.
  88. Hesse LM, He P, Krishnaswamy S, Hao Q, Hogan K, von Moltke LL, Greenblatt DJ, Court MH (เมษายน 2004). "Pharmacogenetic determinants of inter-individual variability in bupropion hydroxylation by cytochrome P450 2B6 in human liver microsomes". Pharmacogenetics. 14 (4): 225–38. doi:10.1097/00008571-200404000-00002. PMID 15083067.
  89. Preskorn SH (1991). "Should bupropion dosage be adjusted based upon therapeutic drug monitoring?". Psychopharmacol Bull. 27 (4): 637–43. PMID 1813908.
  90. Weintraub D, Linder MW (2000). "Amphetamine positive toxicology screen secondary to bupropion". Depress Anxiety. 12 (1): 53–4. doi:10.1002/1520-6394(2000)12:1<53::AID-DA8>3.0.CO;2-4. PMID 10999247.
  91. Nixon AL, Long WH, Puopolo PR, Flood JG (มิถุนายน 1995). "Bupropion metabolites produce false-positive urine amphetamine results". Clin. Chem. 41 (6 Pt 1): 955–6. PMID 7768026.
  92. Casey, E.R.; Scott, M.G.; Tang, S.; Mullins, M.E. (มิถุนายน 2011). "Frequency of false positive amphetamine screens due to bupropion using the Syva EMIT II immunoassay". J Med Toxicol. 7: 105–8. doi:10.1007/s13181-010-0131-5. PMC 3724447. PMID 21191682.
  93. 93.0 93.1 93.2 Sager JE, Choiniere JR, Chang J, Stephenson-Famy A, Nelson WL, Isoherranen N (2016). "Identification and Structural Characterization of Three New Metabolites of Bupropion in Humans". ACS Med Chem Lett. 7 (8): 791–6. doi:10.1021/acsmedchemlett.6b00189. PMID 27660681.
  94. 94.0 94.1 Mehta NB (25 มิถุนายน 1974). "United States Patent 3,819,706: Meta-chloro substituted α-butylamino-propiophenones". USPTO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2008.
  95. Perrine DM, Ross JT, Nervi SJ, Zimmerman RH (2000). "A Short, One-Pot Synthesis of Bupropion (Zyban, Wellbutrin)". Journal of Chemical Education. 77 (11): 1479. Bibcode:2000JChEd..77.1479P. doi:10.1021/ed077p1479.
  96. "Wellbutrin entry in the Orange Book". U.S. Food and Drug Administration Center for Drug Evaluation and Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2007.
  97. "Bupropion (Wellbutrin)". eMedExpert.com. 31 มีนาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 สิงหาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2013.
  98. 98.0 98.1 Whitten L (เมษายน 2006). "Bupropion helps people with schizophrenia quit smoking". National Institute on Drug Abuse Research Findings. 20 (5). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013.
  99. "Seasonal affective disorder drug Wellbutrin XL wins approval". CNN. 14 มิถุนายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2007.
  100. "Zyban : sevrage tabagique et sécurité d'emploi" [Zyban: smoking cessation and job security] (Press release) (ภาษาฝรั่งเศส). Agence française de sécurité sanitaire des produits de santé. 18 มกราคม 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2011.
  101. GlaxoSmithKline (16 มกราคม 2007). "GlaxoSmithKline receives first European approval for Wellbutrin XR" (Press release). GlaxoSmithKline. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2011.
  102. "Generic drug equality questioned". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2007.
  103. Stenson, Jacqueline (12 ตุลาคม 2007). "Report questions generic antidepressant". msnbc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2007.
  104. "Review of therapeutic equivalence: generic bupropion XL 300 mg and Wellbutrin XL 300 mg". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2008.
  105. 105.0 105.1 "Budeprion XL 300 mg not therapeutically equivalent to Wellbutrin XL 300 mg" (Press release). FDA. 3 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2013.
  106. "FDA Update". FDA. ตุลาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2015.
  107. Waknine, Yael (8 พฤษภาคม 2008). "FDA Approvals: Advair, Relistor, Aplenzin". Medscape. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008.
  108. Thomas K, Schmidt MS (2 กรกฎาคม 2012). "Glaxo agrees to pay $3 billion in fraud settlement". The New York Times.
  109. "Abuse potential of common psychiatric medications". Substance abuse treatment for persons with HIV/AIDS. Treatment Improvement Protocol. Rockville: Substance Abuse and Mental Health Services Administration. pp. 83–4.
  110. Lile JA, Nader MA (2003). "The abuse liability and therapeutic potential of drugs evaluated for cocaine addiction as predicted by animal models". Current Neuropharmacology. 1: 21–46. doi:10.2174/1570159033360566.
  111. Antidepressant Wellbutrin becomes 'poor man's cocaine' on Toronto streets Global News 18 September 2013.
  112. Philipps, DeAnne (กุมภาพันธ์ 2012). "Wellbutrin®: Misuse and Abuse by Incarcerated Individuals". Journal of Addictions Nursing. 23 (1): 65–69. doi:10.3109/10884602.2011.647838. PMID 22468662.
  113. Baribeau, Danielle & Araki, Keyghobad Farid (พฤษภาคม–มิถุนายน 2013). "Intravenous Bupropion: A Previously Undocumented Method of Abuse of a Commonly Prescribed Antidepressant Agent". Journal of Addiction Medicine. 7 (3): 216–217. doi:10.1097/ADM.0b013e3182824863. PMID 23519045.
  114. I.K. Morton; Judith M. Hall (2012). Concise Dictionary of Pharmacological Agents: Properties and Synonyms. Berlin, Germany: Springer Science & Business Media. p. 57. ISBN 9789401059077.
  115. Holm KJ, Spencer CM (เมษายน 2000). "Bupropion: a review of its use in the management of smoking cessation". Drugs. 59 (4): 1007–24. PMID 10804045. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015.
  116. 116.0 116.1 116.2 "Bupropion International Brands". Drugs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]