นอร์เอพิเนฟรีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่ออื่น |
|
ข้อมูลทางสรีรวิทยา | |
เนื้อเยื่อต้นกำเนิด | โลคัสซีรูเลอัส; ระบบประสาทซิมพาเทติก; อะดรีนัลเมดัลลา |
เนื้อเยื่อเป้าหมาย | ทั่วร่างกาย |
ตัวรับ | α1, α2, β1, β3 |
กระตุ้น | ยาซิมพาโทมิเมติก, โคลนิดีน, ไอโซพรีนาลีน |
ยับยั้ง | ยาแก้ซึมเศร้าไตรไซคลิก, เบตาบล็อกเกอร์, ยาระงับอาการทางจิต |
สารต้นกำเนิด | โดพามีน |
ชีวสังเคราะห์ | โดพามีน บีตา-มอนอออกซิเจเนส |
เมแทบอลิซึม | MAO-A; COMT |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.000.088 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C8H11NO3 |
มวลต่อโมล | 169.180 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
นอร์เอพิเนฟรีน (อังกฤษ: norepinephrine, ย่อ NE) หรือ นอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline, ย่อ NA) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มสารสื่อประสาทแคทีโคลามีน ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในร่างกาย คำว่านอร์อะดรีนาลีนมาจากรากศัพท์ภาษาละตินที่แปลว่า "อยู่ที่/อยู่ติดกับไต" และใช้ทั่วไปในสหราชอาณาจักร ขณะที่คำนอร์เอพิเนฟรีนมีความหมายเดียวกันแต่รากศัพท์มาจากภาษากรีก นิยมใช้ในสหรัฐมากกว่า[1] ชื่อนอร์เอพิเนฟรีนยังเป็นชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ หรือชื่อสามัญทั่วไปของสารนี้ในรูปแบบยารักษาความดันโลหิตต่ำมาก[2] นอร์เอพิเนฟรีนถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1946 โดยอูล์ฟ ฟอน ออยเลอร์ นักสรีรวิทยาชาวสวีเดน[3]
นอร์เอพิเนฟรีนถูกผลิตที่นิวเคลียสที่เรียกว่าโลคัสซีรูเลอัสในสมองส่วนพอนส์[4] นอกจากนี้ยังสามารถผลิตได้ที่อะดรีนัลเมดัลลาในต่อมหมวกไต[5] โดยสังเคราะห์จากกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน ให้กลายเป็นไทโรซีน โดพามีน และนอร์เอพิเนฟรีน[6] นอร์เอพิเนฟรีนเป็นสารสื่อประสาทหลักในระบบประสาทซิมพาเทติก ทำงานคล้ายเอพิเนฟรีนคือจับกับตัวรับอะดรีเนอร์จิกแล้วกระตุ้นการทำงานของร่างกายหลายส่วน เช่น อัตราหัวใจเต้น ความดันเลือด การเผาผลาญกลูโคสเป็นพลังงาน การไหลเวียนเลือดไปที่กล้ามเนื้อโครงร่าง การสร้างและเรียกความทรงจำ และการใส่ใจจดจ่อ[7] นอร์เอพิเนฟรีนจะถูกหลั่งน้อยในช่วงนอนหลับก่อนจะเพิ่มขึ้นในช่วงตื่นตัว และจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อร่างกายอยู่ในช่วงการตอบสนองโดยสู้หรือหนี อันเป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย[8]
นอร์เอพิเนฟรีนจัดเป็นหนึ่งในกลุ่มยาซิมพาโทมิเมติก ซึ่งเป็นยากระตุ้นที่เสริมการทำงานของตัวทำการเอนโดจีนัสในระบบประสาทซิมพาเทติก[9] โดยให้ทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มอัตราหัวใจเต้นและความดันเลือดต่ำระดับวิกฤต[10] Surviving Sepsis Campaign แนะนำให้ใช้นอร์เอพิเนฟรีนในการรักษาช็อกเหตุพิษติดเชื้อที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการคืนน้ำ ร่วมกับวาโซเพรสซินและเอพิเนฟรีน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Aronson JK (Feb 2000). "'Where name and image meet'—the argument for 'adrenaline'". British Medical Journal. 320 (7233): 506–9. doi:10.1136/bmj.320.7233.506. PMC 1127537. PMID 10678871.
- ↑ "(-)-noradrenaline". IUPHAR database. International Union of Basic and Clinical Pharmacology. สืบค้นเมื่อ 2 January 2016.
- ↑ "norepinephrine". Britannica. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
- ↑ Sara SJ, Bouret S (2012). "Orienting and reorienting: the locus coeruleus mediates cognition through arousal". Neuron. 76 (1): 130–41. doi:10.1016/j.neuron.2012.09.011. PMID 23040811.
- ↑ "Norepinephrine". Hormone Health Network. September 4, 2019. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
- ↑ Musacchio JM (2013). "Chapter 1: Enzymes involved in the biosynthesis and degradation of catecholamines". ใน Iverson L (บ.ก.). Biochemistry of Biogenic Amines. Springer. pp. 1–35. ISBN 978-1-4684-3171-1.
- ↑ Dellwo, Adrienne (February 7, 2020). "What Norepinephrine Does (or Doesn't Do) for You". Verywell Health. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
- ↑ Henry Gleitman, Alan J. Fridlund and Daniel Reisberg (2004). Psychology (6 ed.). W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-97767-7.
- ↑ "Adrenergic drug". Britannica. สืบค้นเมื่อ August 22, 2020.
- ↑ Gardenhire DS (2013). Rau's Respiratory Care Pharmacology. Elsevier Health Sciences. p. 88. ISBN 978-0-323-27714-3.
- ↑ Rhodes A, Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonelli M, Ferrer R, และคณะ (March 2017). "Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock: 2016" (PDF). Critical Care Medicine. 45 (3): 486–552. doi:10.1097/CCM.0000000000002255. PMID 28098591.
We recommend norepinephrine as the first-choice vasopressor (strong recommendation, moderate quality of evidence).
[ลิงก์เสีย]