เทสโทสเตอโรน (ยา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทสโทสเตอโรน
(Testosterone)
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/tɛˈstɒstərn/ teh-STOS--rohn[1]
ชื่อทางการค้าAndrogel, Testim, Testogel, อื่น ๆ
ชื่ออื่นAndrost-4-en-17β-ol-3-one
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa614041
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: X (มีอันตราย)
  • ห้ามใช้เนื่องจากสภาพทารกวิรูป
ช่องทางการรับยาผ่านผิวหนัง (เจล ครีม ยาทา แผ่นแปะผิวหนัง) ทาน (testosterone undecanoate) แปะหรือทาแก้ม เป็นเจลทาในจมูก ยาฉีดในกล้ามเนื้อ (ester) การฝังเม็ดยาใต้ผิวหนัง
ประเภทยาแอนโดรเจน, สเตอรอยด์แอแนบอลิก
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผลทางปาก - ต่ำมาก เนื่องจากเมแทบอลิซึมเมื่อผ่านตับรอบแรก
การจับกับโปรตีน97.0-99.5% (กับ sex hormone-binding globulin และ albumin)[2]
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (หลัก ๆ โดยรีดักชันและ conjugation)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ2-4 ชม.[ต้องการอ้างอิง]
การขับออกปัสสาวะ (90%), อุจจาระ (6%)
ตัวบ่งชี้
  • (8R,9S,10R,13S,14S,17S) -17-hydroxy-10,13-dimethyl-1,2,6,7,8,9,11,12,14,15,16,17-dodecahydrocyclopenta[a]phenanthren-3-one
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC19H28O2
มวลต่อโมล288.431 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
การหมุนระนาบแสงโพลาไรซ์+110.2°
จุดหลอมเหลว155 องศาเซลเซียส (311 องศาฟาเรนไฮต์)
  • O=C4\C=C2/[C@] ([C@H]1CC[C@@]3([C@@H] (O)CC[C@H]3[C@@H]1CC2)C) (C)CC4
  • InChI=1S/C19H28O2/c1-18-9-7-13(20)11-12(18)3-4-14-15-5-6-17(21)19(15,2)10-8-16(14)18/h11,14-17,21H,3-10H2,1-2H3/t14-,15-,16-,17-,18-,19-/m0/s1 checkY
  • Key:MUMGGOZAMZWBJJ-DYKIIFRCSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เทสโทสเตอโรน เป็นทั้งยาและฮอร์โมนสเตอรอยด์ที่เกิดโดยธรรมชาติ[3] เป็นยารักษาต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินในชาย และมะเร็งเต้านมบางชนิด[3] และอาจใช้เพิ่มสมรรถภาพของนักกีฬาโดยเป็นยาโด๊ป[3] ไม่ชัดเจนว่า การให้เทสโทสเตอโรนเพื่อระดับที่มีน้อยเกินเนื่องจากอายุมากขึ้นมีประโยชน์หรือโทษ[4] เทสโทสเตอโรนสามารถใช้เป็นแบบเจลหรือแผ่นแปะที่ผิวหนัง ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นเม็ดที่อมไว้ในแก้ม หรือเป็นยาเม็ดทาน[3]

ผลข้างเคียงของเทสโทสเตอโรนที่สามัญรวมทั้งสิว บวม และนมใหญ่ขึ้น[3] ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายรวมทั้งความเป็นพิษต่อตับ โรคหัวใจ และความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม[3] หญิงและเด็กที่ได้รับฮอร์โมนโดยไม่ได้ตั้งใจอาจเกิดบุรุษภาพ[3] แนะนำว่า ไม่ให้คนไข้มะเร็งต่อมลูกหมากใช้ยานี้[3] ถ้ามารดาใช้ยาเมื่อตั้งครรภ์หรือเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมของแม่ ก็จะเป็นอันตรายต่อทารก[3] เทสโทสเตอโรนเป็นยาอย่างหนึ่งในตระกูลแอนโดรเจน[3]

เทสโทสเตอโรนได้แยกเป็นสารต่างหากครั้งแรกเมื่อปี 1935[5] อัตราการใช้ได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าในสหรัฐอเมริกาในระหว่างปี 2001-2011[6] มันอยู่ในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก คือยาซึ่งมีประสิทธิผลมากที่สุดปลอดภัยที่สุดอันจำเป็นในระบบสาธารณสุข[7] เป็นยาที่ไม่ได้อยู่ใต้สิทธิบัตร[3] และค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของยา[8]

การแพทย์[แก้]

การใช้เทสโทสเตอโรนทางการแพทย์โดยหลักก็เพื่อรักษาชายที่ผลิตเทสโทสเตอโรนตามธรรมชาติน้อยเกิน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกิน (hypogonadism) หรือการขาดแอนโดรเจน (hypoandrogenism)[9] เป็นการรักษาที่เรียกว่า การบำบัดทดแทนฮอร์โมน (hormone replacement therapy, HRT) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งซึ่งเฉพาะเจาะจงกว่าว่า การบำบัดทดแทนเทสโทสเตอโรน (TRT) หรือการบำบัดทดแทนแอนโดรเจน (ART) เพื่อดำรงรักษาระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดให้อยู่ในพิสัยปกติของชาย แต่การผลิตเทสโทสเตอโรนที่ลดลงตามอายุก็ได้ก่อความสนใจเพื่อให้ใช้เทสโทสเตอโรนเพิ่ม[10]

การขาด[แก้]

การขาดเทสโทสเตอโรน (บางครั้งเรียกด้วยว่า hypotestosteronism และ hypotestosteronemia) เป็นการผลิตเทสโทสเตอโรนต่ำผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดเพราะความบกพร่องของอัณฑะ (primary hypogonadism) หรือการทำงานผิดปกติของไฮโปทาลามัส-ต่อมใต้สมอง (secondary hypogonadism) และอาจมีตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดภายหลัง[11]

ระดับต่ำเนื่องจากสูงอายุ[แก้]

ระดับเทสโทสเตอโรนอาจลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ[12][13] องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) แจ้งเมื่อปี 2015 ว่า ทั้งประโยชน์และความปลอดภัยในการให้เทสโทสเตอโรนเพิ่มยังไม่มีหลักฐานในการรักษาระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเนื่องจากสูงอายุ[4] และบังคับให้ป้ายยาแสดงคำเตือนถึงความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้น[4]

หญิงแปลงเพศ[แก้]

เพื่อให้ได้ผลเป็นบุรุษภาพในหญิง เทสโทสเตอโรนจะให้กับหญิงเปลี่ยนเพศโดยเป็นส่วนของการบำบัดด้วยฮอร์โมนให้เป็นชาย (masculinizing hormone therapy)[14] โดยให้ได้ถึงระดับฮอร์โมนเฉลี่ยในชาย[15]

หญิง[แก้]

การให้เทสโทสเตอโรนในระดับต่ำ ๆ ได้ผลต่อความผิดปกติคือมีความต้องการทางเพศน้อย (hypoactive sexual desire disorder, HSDD) ในหญิง[16] แต่ความปลอดภัยของมันในระยะยาวก็ยังไม่ชัดเจน[16] การรักษาระดับแอนโดรเจนต่ำด้วยเทสโทสเตอโรนโดยทั่วไปในหญิง ไม่แนะนำถ้ามีเหตุจากต่อมใต้สมองทำงานน้อยเกิน (hypopituitarism) เนื่องจากต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ หรือเนื่องจากการตัดรังไข่ออก[16] และก็ไม่แนะนำให้ใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานทางประชาน ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ความแข็งแรงของกระดูก และสุขภาพที่ดีโดยทั่วไป[16]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2014 ที่วิเคราะห์งานศึกษา 35 งานซึ่งรวมหญิงหลังวัยหมดระดู 5,000 คนที่ต่อมหมวกไตทำงานเป็นปกติพบว่า ระดับเทสโทสเตอโรนสัมพันธ์กับการทำงานทางเพศที่ดีกว่าอย่างสำคัญในหลาย ๆ ด้าน[17] รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งกว่า การถึงจุดสุดยอด อารมณ์เพศ และความพึงพอใจทางเพศเป็นต้น[17] หญิงที่หมดระดูเนื่องจากตัดรังไข่ออก มีการทำงานทางเพศที่ดีกว่าถ้าได้เทสโทสเตอโรน เทียบกับหญิงที่หมดระดูโดยปกติ[17] นอกจากเรื่องเพศแล้ว เทสโทสเตอโรนยังสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของไขมันในเลือด รวมทั้งการลดระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง และการเพิ่มระดับไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ[17] แต่ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ก็ค่อนข้างน้อย ดังนั้น ผลระยะยาวต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจึงยังไม่ชัดเจน[17] ความเปลี่ยนแปลงถ้าใช้ยาทาน (testosterone undecanoate) จะชัดกว่าเทียบกับยาแปะผิว (parenteral testosterone)[17] เทสโทสเตอโรนไม่มีผลสำคัญต่ออารมณ์ซึมเศร้าหรือความกังวล ไม่มีผลต่อค่าวัดต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งน้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย หรือความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก (bone mineral density)[17] ในอีกมุมหนึ่ง มันมีผลสำคัญต่อผลข้างเคียงที่ให้ลักษณะเพศชาย (androgenic) รวมทั้งสิวขึ้นและขนตัวและหน้าดกขึ้น (hirsutism) แต่ลักษณะเพศชายอื่น ๆ รวมทั้งน้ำหนักขึ้น ศีรษะล้าน และเสียงต่ำลง มีรายงานอยู่บ้างแต่ไม่ได้รวมเข้าในการวิเคราะห์เพราะข้อมูลไม่พอ[17] คุณภาพหลักฐานโดยทั่วไปจัดว่า ต่ำ และไม่สามารถสรุปได้ในบางเรื่อง เช่น ความปลอดภัยระยะยาวของยา[17]

ส่วนงานวิเคราะห์อภิมานปี 2017 ซึ่งรวมหญิงหลังวัยหมดระดู 3,000 ราย ก็พบคล้ายกันว่า ยาเทสโทสเตอโรนสำหรับแปะได้ผลปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเรื่องเพศในระยะสั้นเมื่อรักษาความผิดปกติคือมีความต้องการทางเพศน้อย (HSDD)[18] ผลไม่พึงประสงค์ที่ให้ลักษณะเพศชายรวมทั้งสิวขึ้นและขนตัวดก (hypertrichosis) จะมีอุบัติการณ์มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่ต่างอย่างสำคัญในเรื่องการเพิ่ม "ขนที่ใบหน้า หัวล้าน เสียงต่ำ อาการทางปัสสาวะ เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ ปัญหาบริเวณที่แปะยา จำนวนผลไม่พึงประสงค์โดยรวม ผลไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง เหตุผลในการถอนตัวออกจากงานศึกษา และจำนวนหญิงที่ร่วมงานจนสำเร็จ" เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม[18]

แม้เทสโทสเตอโรนจะมีประสิทธิผลปรับปรุงการทำงานทางเพศของหญิงหลังวัยหมดระดู แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ผลเช่นเดียวกันในหญิงก่อนวัยระดูหมด[19] เพราะงานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 รายงานว่า งานวิจัยไม่พบสหสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างความต้องการทางเพศกับระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดของหญิงก่อนวัยหมดระดู และการรักษาหญิงดังกล่าวด้วยเทสโทสเตอโรนระดับต่ำ ก็ไม่พบว่าเพิ่มการทำงานทางเพศในงานศึกษาโดยมาก[19]

การใช้นอกวงการแพทย์[แก้]

นักกีฬา[แก้]

นักกีฬาบางพวกใช้เทสโทสเตอโรนเป็นยาโด๊ปเพื่อเพิ่มสมรรถภาพ[20] และจัดเป็นสารสร้างกล้ามเนื้อ/แอแนบอลิก (anabolic) โดยอยู่ในรายการสารและวิธีการต้องห้ามขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (WADA)[20] การทดแทนฮอร์โมนจะทำให้ระบบไร้ท่อปรับคือลดการผลิตฮอร์โมน ดังนั้น เมื่อหยุดให้ยา การผลิตฮอร์โมนโดยธรรมชาติจะต่ำกว่าที่ดั้งเดิมเป็นเสียอีก[ต้องการอ้างอิง]

สเตอรอยด์สร้างกล้ามเนื้อที่ให้ลักษณะชาย (Anabolic-androgenic steroid, AAS) รวมทั้งเทสโทสเตอโรนและรูปแบบที่เป็นเอสเทอร์ต่าง ๆ ของมัน ก็ได้ใช้เพื่อเพิ่มการเพาะ ความแข็งแรง และความทนของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดเพราะมันเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนของกล้ามเนื้อโดยตรง ดังนั้น ใยกล้ามเนื้อก็จะใหญ่ขึ้นและซ่อมแซมตัวเองได้เร็วขึ้นกว่าคนปกติ[ต้องการอ้างอิง]

หลังจากเรื่องอื้อฉาวต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่นเรื่องที่เกิดในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 องค์กรกีฬาต่าง ๆ ก็ได้กลับควบคุมหรือควบคุม AAS อย่างเคร่งครัดมากขึ้น ในปี 1990 รัฐสภาสหรัฐได้ออกกฎหมายกำหนด AAS ว่าเป็นสารควบคุม[21] การใช้มันถือว่าเป็นปัญหาในวงการกีฬาปัจจุบัน เพราะทั้งนักกีฬาและแล็บมืออาชีพต่าง ๆ ก็ทำการอย่างสุด ๆ เพื่อปิดบังการใช้ยาจากกรรมการควบคุม การใช้สเตอรอยด์ได้กลายเป็นเรื่องดังอีกในปี 2007 เนื่องจากนักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดาคริส เบนวาได้ฆ่าภรรยาและลูกชายแล้วฆ่าตัวตาย แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าการใช้สเตอรอยด์เป็นปัจจัยในเหตุการณ์ฆาตกรรรมนี้[ต้องการอ้างอิง]

นักกีฬาหญิงบางคนอาจมีระดับเทสโทสเตอโรนสูงกว่าคนอื่นโดยธรรมชาติ และอาจถูกขอให้ยินยอมการพิสูจน์ยืนยันเพศ หรือให้ผ่าตัด หรือให้ใช้ยาเพื่อลดระดับเทสโทสเตอโรน[22] ซึ่งกลายเป็นเรื่องพิพาท โดยศาลอนุญาโตตุลาการสำหรับการกีฬา (CAS) ได้งดนโยบายของสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติไว้ เพราะไม่มีหลักฐานพอเพื่อเชื่อมระดับแอนโดรเจนสูงกับสมรรถภาพที่ดีขึ้นของนักกีฬา[23][24]

การตรวจการลอบใช้[แก้]

มีวิธีการตรวจเทสโทสเตอโรนสำหรับนักกีฬาหลายอย่าง โดยมากตรวจปัสสาวะ รวมทั้งการวัดอัตราส่วนของเทสโทสเตอโรน/เอพิเทสโทสเตอโรน (epitestosterone) ซึ่งปกติจะน้อยกว่า 6, ของเทสโทสเตอโรน/ลูทิไนซิงฮอร์โมน (luteinizing hormone), และของคาร์บอน-13/คาร์บอน-12 (เพราะ เทสโทสเตอโรนที่ผลิตเป็นยาจะมีคาร์บอน-13 น้อยกว่าเทสโทสเตอโรนธรรมชาติ) ในวิธีการตรวจสอบบางอย่าง ประวัติค่าวัดของบุคคลอาจใช้เป็นพิสัยอ้างอิงเมื่อตีความผลวัดที่น่าสงสัย อีกวิธีการหนึ่งที่กำลังตรวจสอบก็คือการตรวจจับเทสโทสเตอโรนที่ให้เพิ่ม โดยปกติเป็นเอสเทอร์ ในผม[25][26][27][28]

ข้อห้ามใช้[แก้]

ข้อห้ามใช้เด็ดขาดของเทสโทสเตอโรนรวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก, ฮีมาโทคริตสูงกว่า 54%, ภาวะหัวใจวายที่ไม่ได้รักษา, โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจต่าง ๆ, และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) ที่ไม่ได้รักษา[29] นักวิชาการบางท่านก็ชี้มะเร็งเต้านมว่าเป็นข้อห้ามใช้เด็ดขาดด้วยเช่นกัน[29] แต่จริง ๆ แอนโดรเจนต่าง ๆ รวมทั้งเทสโทสเตอโรนก็ใช้เพื่อรักษามะเร็งเต้านมด้วยเหมือนกัน[30] ข้อห้ามใช้ย่อย ๆ ลงมารวมทั้งการมีแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (PSA) สูงในชายที่เสี่ยงสูงต่อการมีมะเร็งต่อมลูกหมากเนื่องจากชาติพันธุ์หรือประวัติในครอบครัว, การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างรุนแรง, และฮีมาโทคริตสูงกว่า 50%[29]

ผลข้างเคียง[แก้]

ผลที่ไม่พึงประสงค์อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยเช่นผิวมัน สิว ผมร่วง และผิวหนังอักเสบที่ผิวมัน (seborrhea)[A] ซึ่งอาจป้องกันหรือลดได้โดยใช้ยา 5α-reductase inhibitor[32] ในหญิง เทสโทสเตอโรนอาจทำให้ขนตัวและหน้าดก (hirsutism) เสียงทุ้มขึ้น และการเพิ่มบุรุษภาพอื่น ๆ การใช้เทสโทสเตอโรนเพิ่มอาจระงับการสร้างสเปิร์มในชาย ซึ่งในบางกรณีทำให้เกิดเป็นหมันแบบฟื้นได้[33]

เต้านมโตในชายหรือการเจ็บนมอาจเกิดเมื่อใช้เทสโทสเตอโรนในขนาดสูง เนื่องจากการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนโดยเอนไซม์อะโรมาเทส (aromatase) ให้เป็นเอสโทรเจนคือ estradiol มากเกิน[34] การรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนโดยเฉพาะในขนาดมาก อาจสัมพันธ์กับอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ความหงุดหงิดหรือดุเพิ่ม อารมณ์เพศเพิ่ม การแข็งตัวเองขององคชาต และฝันเปียก[35][36][37][38]

ผลข้างเคียงอื่นรวมทั้งฮีมาโทคริตสูงขึ้น ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยการเจาะเส้นเลือดดำ (venipuncture) และอาจเพิ่มปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ[39]

องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) กล่าวในปี 2015 ว่า ทั้งประโยชน์และความปลอดภัยในการให้เทสโทสเตอโรนเพิ่มยังไม่มีหลักฐานเนื่องกับการมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเนื่องจากสูงอายุ[4] และบังคับให้ป้ายยาแสดงคำเตือนถึงความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้น[4] โดยต่อมาบังคับให้แสดงปัญหาในเรื่องการใช้ผิด ๆ และการติดยา[40]

ผลไม่พึงประสงค์ระยะยาว[แก้]

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[แก้]

ผลไม่พึงประสงค์ของการใช้เทสโทสเตอโรนเป็นยา รวมทั้งมีปัญหาทางหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น (เช่นโรคหลอดเลือดสมองและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด) และการถึงความตาย โดยได้หลักฐานจากงานศึกษาที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน 3 งานในชายที่ทดแทนเทสโทสเตอโรนด้วยยา[41] นอกจากนั้น การตายเพิ่มขึ้นถึง 30% และกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดในชายที่สูงอายุกว่า ก็ยังมีรายงานด้วย[42] เนื่องจากอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของปัญหาหลอดเลือดหัวใจเทียบกับกลุ่มควบคุม ในโปรแกรมศึกษา Testosterone in Older Men with Mobility Limitations (TOM) ซึ่งเป็นส่วนของการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมขององค์กร National Institute of Aging คณะกรรมการเฝ้าสังเกตความปลอดภัยถึงต้องหยุดระงับการศึกษาก่อนเวลา[43]

วันที่ 31 มกราคม 2014 เพราะรายงานว่ามีโรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และความตายในชายที่ใช้เทสโทสเตอโรนตามที่องค์กรอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติ องค์กรจึงประกาศว่าจะตรวจสอบปัญหา[44] ต่อมาในเดือนกันยายนปีเดียวกัน องค์กรจึงประกาศเนื่องกับโอกาสปัญหาหลอดเลือดหัวใจที่ไม่พึงประสงค์ ว่าองค์กรจะทบทวนความเหมาะสมและความปลอดภัยของการบำบัดทดแทนเทสโทสเตอโรน (TRT)[45][46][47] ปัจจุบัน องค์กรบังคับให้แสดงคำเตือนในป้ายยาที่อนุมัติทั้งหมดเกี่ยวกับการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) และภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดในปอด (pulmonary embolism)[48]

จนถึงปี 2010 ไม่มีงานศึกษาไหนที่แสดงผลของการใช้ยาเทสโทสเตอโรนต่อความเสี่ยงตาย มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[49][50] แต่งานศึกษาหลังจากนั้นได้ยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ[51] งานศึกษาปี 2013 ซึ่งตีพิมพ์ใน JAMA รายงานว่า "การบำบัดรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนสัมพันธ์อย่างสำคัญกับความเสี่ยงต่อผลไม่พึงประสงค์ที่เพิ่มขึ้น" งานศึกษานี้เริ่มขึ้นหลังจากที่การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มงานก่อน ที่บำบัดชายด้วยเทสโทสเตอโรนแล้วได้หยุดก่อนเวลา "เนื่องจากปัญหาหลอดเลือดหัวใจที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งสร้างประเด็นความปลอดภัยของการบำบัดด้วยเทสโทสเตอโรน"[42]

มะเร็งต่อมลูกหมาก[แก้]

เมื่อมีมะเร็งต่อมลูกหมากที่กำลังโตอย่างช้า ๆ นักวิชาการเชื่อว่า การใช้เทสโทสเตอโรนจะเพิ่มอัตราการเติบโตของมะเร็ง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทสโทสเตอโรนกับการพัฒนาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็ยังไม่มีหลักฐานพอสรุปได้[52] อย่างไรก็ดี วรรณกรรมการแพทย์ก็เตือนถึงความเสี่ยงมะเร็งที่สัมพันธ์กับการใช้ยาเทสโทสเตอโรน[53]

ยาอาจเร่งการเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีอยู่แล้ว สำหรับคนไข้ที่กำลังรักษาด้วยการระงับแอนโดรเจน (androgen deprivation)[39] วิทยาลัยแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NAM) แนะนำให้แพทย์คัดกรองคนไข้ที่อาจมีมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการใช้นิ้วคลำตรวจต่อมลูกหมาก (digital rectal exam) และตรวจระดับแอนติเจนเฉพาะต่อมลูกหมาก (PSA) ก่อนเริ่มให้ยา และให้สอดส่องระดับ PSA และฮีมาโทคริตอย่างระมัดระวังในช่วงการรักษา[12] คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ มีอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากไม่เท่ากัน[54] มีการเสนอว่าเป็นเพราะความแตกต่างของฮอร์โมนทางเพศ รวมทั้งเทสโทสเตอโรน[54]

ความขัดแย้งที่ปรากฏเยี่ยงนี้ อาจเป็นเพราะมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคสามัญมาก ในการตรวจศพชายช่วงอายุแปดสิบ 80% จะมีมะเร็งต่อมลูกหมาก[55]

การตั้งครรภ์และการให้นมลูก[แก้]

เทสโทสเตอโรนห้ามใช้เมื่อตั้งครรภ์และแนะนำไม่ให้ใช้เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนม[56] แอนโดรเจนต่าง ๆ เช่น เทสโทสเตอโรน เป็นสารก่อวิรูป (teratogen) และปรากฏว่าเป็นอันตรายต่อทารก เช่น ก่อบุรุษภาพและอวัยวะเพศที่ไม่ชัดเจน

ปฏิสัมพันธ์กับยาอื่น ๆ[แก้]

5α-Reductase inhibitors[แก้]

ยากลุ่ม 5α-Reductase inhibitor เช่น finasteride และ dutasteride สามารถเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดเล็กน้อยโดยยับยั้งเมแทบอลิซึมของมัน[57] คือยับยั้งการแปลงเทสโทสเตอโรนให้เป็นเมแทบอไลต์ที่มีฤทธิ์มากกว่าได้แก่ ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (DHT) นี่มีผลลดระดับ DHT ในเลือดอย่างมาก ซึ่งโดยปกติก็มีความเข้มข้นต่ำกว่าเทสโทสเตอโรนมากอยู่แล้ว[57][58] อนึ่ง ระดับ DHT ในเนื้อเยื่อ "ที่ให้ลักษณะชาย" (คือเนื้อเยื่อที่แสดงออกเอนไซม์ 5α-reductase) ก็ลดลงอย่างสำคัญ[57][58] ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีกำลังต่อฤทธิ์บางอย่างของเทสโทสเตอโรน[59][60]

ยกตัวอย่างเช่น การเจริญเติบโตของร่างกาย การงอกขนที่ใบหน้า และการเจริญเติบโตขององคชาต เป็นผลของเทสโทสเตอโรนที่อาจระงับด้วย 5α-reductase inhibitor และนี่มีผลที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ในช่วงเกิดวัยเจริญพันธุ์[60][61]

ในอีกมุมหนึ่ง 5α-reductase inhibitor อาจป้องกันหรือลดผลข้างเคียงของเทสโทสเตอโรนซึ่งให้บุรุษภาพที่ไม่ต้องการรวมทั้งผมร่วง ผิวมัน และผิวหนังอักเสบที่ผิวมัน[A][59] นอกจากยับยั้งการเปลี่ยนเทสโทสเตอโรนเป็น DHT ยา 5α-reductase inhibitor ยังป้องกันไม่ให้สร้างสเตอรอยด์ประสาท (neurosteroid) เช่น 3α-androstanediol จากเทสโทสเตอโรน และนี่อาจมีผลทางจิตประสาทในชายบางพวก[62]

สารยับยั้งอะโรมาเทส[แก้]

สารยับยั้งอะโรมาเทส (aromatase inhibitor) เช่น anastrozole ช่วยป้องกันเอนไซม์อะโรมาเทสไม่ให้แปลงเทสโทสเตอโรนเป็น estradiol[59] เพราะส่วนน้อยของเทสโทสเตอโรนจะแปลงเป็น estradiol นี่จึงไม่มีผลต่อระดับเทสโทสเตอโรน แต่ก็สามารถป้องกันผลข้างเคียงของเอสโทรเจน เช่น เต้านมโตในชาย ที่เกิดเมื่อให้ยาเทสโทสเตอโรนในระดับสูง[59] แต่ estradiol ก็มีการป้อนกลับเชิงลบกับระบบแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล การป้องกันไม่ให้สร้างมันจึงสามารถลดกระบวนการป้อนกลับ แล้วลดการยับยั้งการสร้างเทสโทสเตอโรนของต่อมบ่งเพศ และดังนั้น จึง เพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนที่ผลิตในร่างกาย[63] การบำบัดด้วยเทสโทสเตอโรนบางครั้งจะรวมกับการให้ยายับยั้งอะโรมาเทส สำหรับชายที่มีภาวะต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินทุติยภูมิ (secondary hypogonadism) ผู้ต้องการมีลูกกับคู่ครอง[64]

สารยับยั้ง Cytochrome P450[แก้]

สารยับยั้งและสารเหนี่ยวนำเอนไซม์กลุ่ม cytochrome P450 เช่น CYP3A4 มีความสัมพันธ์น้อยมากหรือไม่มีกับระดับเทสโทสเตอโรนในเลือด[ต้องการอ้างอิง]

ยาต้านแอนโดรเจนและเอสโทรเจน[แก้]

ยาต้านแอนโดรเจน เช่น cyproterone acetate, spironolactone, และ bicalutamide สามารถยับยั้งผลให้บุรุษภาพและผลสร้างกล้ามเนื้อของเทสโทสเตอโรน[65][66] เอสโทรเจนก็สามารถลดผลของเทสโทสเตอโรนโดยเพิ่มการผลิต sex hormone-binding globulin (SHBG) ในตับ ซึ่งก็จะเพิ่มระดับในเลือดของ SHBG และเพราะ SHBG เป็นโปรตีนขนส่งที่จับกับแอนโดรเจนเช่นเทสโทสเตอโรนและ DHT และดังนั้น มันก็จะลดความเข้มข้นของแอนโดรเจนในรูปแบบที่เป็นอิสระเหล่านี้[66][67]

เภสัชวิทยา[แก้]

ผลทางสรีรภาพ[แก้]

เทสโทสเตอโรนเป็นลิแกนด์ซึ่งมีสัมพรรคภาพสูงเมื่อเชื่อมกับหน่วยรับแอโดรเจนในนิวเคลียส (nuclear androgen receptor, AR) รวมทั้งเป็นตัวทำการ (agonist) ของหน่วยรับด้วย อนึ่ง เทสโทสเตอโรนยังจับกับหน่วยรับแอนโดรเจนที่เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane androgen receptor, mARs) เช่น GPRC6A และ ZIP9 แล้วเริ่มสภาพกัมมันต์ของ mARs เหล่านั้น นอกจากนั้น เทสโทสเตอโรนยังเพิ่มฤทธิ์ได้เมื่อแปลงโดยอาศัยเอนไซม์ 5α-reductase กลายเป็นแอนโดรเจนที่มีฤทธิ์แรงกว่าคือ DHT ภายในเนื้อเยื่อที่ "ให้ลักษณะชาย" (คือที่แสดงออก 5α-reductase) เช่น ต่อมลูกหมาก ถุงพักน้ำอสุจิ (seminal vesicle) ผิวหนัง และปุ่มรากผม เมื่อเทียบกับเทสโทสเตอโรน สาร AAS สังเคราะห์อื่น ๆ โดยมาก (รวมทั้ง DHT) จะไม่มีการเพิ่มฤทธิ์เช่นนี้โดยเท่ากันหรือโดยประการทั้งปวง ซึ่งเป็นเหตุให้สารเหล่านี้มีผลสร้างกล้ามเนื้อและให้บุรุษภาพที่ไม่เหมือนกัน[68]

นอกจาก DHT แล้ว เทสโทสเตอโรนยังเปลี่ยนเป็นเอสโทรเจนที่อัตราประมาณ 0.3% โดยอาศัยเอนไซม์อะโรมาเทส[69] ซึ่งเกิดภายในเนื้อเยื่อหลายอย่างโดยเฉพาะเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) ตับ และสมอง แต่โดยหลักก็ที่เนื้อเยื่อไขมัน[69]

หลังจากเทสโทสเตอโรนได้แปลงเป็น DHT แล้ว ก็จะสร้างและสลายเป็น 3α-androstanediol (3α-diol) ซึ่งเป็นสเตอรอยด์ประสาทและ positive allosteric modulator ของ GABAA receptor ที่มีกำลัง, และเป็น 3β-androstanediol ซึ่งเป็นตัวทำการที่มีกำลังและมีบุริมสิทธิ (preferential) กับ Estrogen receptor beta (ERβ)[70] เมแทบอไลต์เหล่านี้รวมทั้ง estradiol อาจมีบทบาทที่เป็นผลของเทสโทสเตอโรนในสมอง รวมทั้งแก้ซึมเศร้า แก้วิตกกังวล คลายเครียด ทำให้มีความสุข และให้มีแรงจูงใจทางเพศ[70]

ผลต่อร่างกายและสมอง[แก้]

หน่วยรับแอนโดรเจน (AR) แสดงออกในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายรวมทั้งองคชาต อัณฑะ หลอดเก็บอสุจิ (epididymis) ต่อมลูกหมาก ถุงพักน้ำอสุจิ ไขมัน ผิวหนัง กระดูก ไขกระดูก กล้ามเนื้อ กล่องเสียง หัวใจ ตับ ไต ต่อมใต้สมอง ไฮโปทาลามัส และสมองส่วนต่าง ๆ[71][72] ผ่านการก่อกัมมันต์ของ AR (รวมทั้ง mAR) เทสโทสเตอโรนจึงมีผลมากมายรวมทั้ง[71][73]

  • โปรโหมตการเติบโต การทำงาน และการบำรุงรักษาต่อมลูกหมาก ถุงพักน้ำอสุจิ และองคชาต ทั้งในช่วงวัยเจริญพันธุ์และหลังจากนั้น
  • โปรโหมตการเติบโตและการบำรุงรักษากล้ามเนื้อ โดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย
  • ทำให้ไขมันสะสมใต้ผิวหนังในรูปแบบของชายและลดไขมันร่างกายโดยทั่วไป
  • ระงับพัฒนาการของเต้านมที่มีเหตุจากเอสโทรเจน แต่ก็ยังอาจมีภาวะเต้านมโตในชายผ่านการแปลงเป็น estradiol มากเกินเมื่อระดับเทสโทสเตอโรนสูง
  • บำรุงรักษาผิวหนังให้แข็งแรงสมบูรณ์ มีผิวพรรณดี ได้ความชุ่มชื้น และลดการแก่ตัวของผิวหนัง แต่ก็อาจทำให้ผิวมัน มีสิว หรือเกิดผิวหนังอักเสบที่ผิวมัน[A]
  • โปรโหมตการงอกของขนใบหน้าและขนตัว แต่ก็เป็นเหตุให้หัวล้านหรือขนตัวและหน้าดก (hirsutism)
  • ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโตและทำให้กระดูกไหล่ผายออกในช่วงวัยเจริญพันธุ์
  • ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนในตับ เช่น การผลิต sex hormone-binding globulin (SHBG) และโปรตีนมากมายอื่น ๆ
  • เพิ่มการผลิต erythropoietin ในไต และดังนั้น เป็นการกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกและเพิ่มระดับฮีมาโทคริต
  • สร้างการป้อนกลับเชิงลบกลับไปยังแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัลโดยระงับการหลั่งฮอร์โมนกลุ่ม gonadotropin รวมทั้ง follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) จากต่อมใต้สมอง ดังนั้น จึงระงับการผลิตฮอร์โมนทางเพศจากต่อมบ่งเพศ ระงับการสร้างสเปิร์ม และระงับภาวะเจริญพันธุ์ (fertility)
  • ควบคุมระบบปรับขนาดหลอดเลือด (vasomotor system) และอุณหภูมิร่างกายผ่านไฮโปทาลามัส และดังนั้น จึงป้องกันภาวะร้อนจัด (hot flash) เนื่องจากฮอร์โมน
  • ควบคุมการทำงานของสมอง ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ ความหงุดหงิด/ความดุ กิจกรรมทางเพศ รวมทั้งระบบประชานและความจำ
  • เพิ่มความต้องการทางเพศและการทำงานขององคชาต รวมทั้งการแข็งเองขององคชาตและฝันเปียก
  • เพิ่มความเสี่ยงการเจริญเกินของต่อมลูกหมาก (BPH) และมะเร็งต่อมลูกหมาก รวมทั้งเร่งการลุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ลดการเจริญเติบโตของเต้านมและลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม

เมแทบอลิซึมและการกำจัดออก[แก้]

เทสโทสเตอโรนที่ทานจะไม่มีฤทธิ์ยกเว้นมีขนาดสูงมาก เพราะดูดซึมได้ไม่ดีและเกิดเมแทบอลิซึมรอบแรก (first-pass metabolism) ในตับในระดับสูง[66] อนึ่ง แอนโดรเจนที่เป็นสเตอรอยด์รวมทั้งเทสโทสเตอโรนเป็นพิษต่อตับ และดังนั้น การทานยาเทสโทสเตอโรนในขนาดสูงอาจเป็นอันตรายต่อตับเนื่องจากมีระดับในตับสูงกว่าที่มีตามธรรมชาติ[74] แทนที่จะทาน เทสโทสเตอโรนสามารถให้โดยไม่ผ่านทางเดินอาหารในรูปแบบเป็นเจลและครีมทา เป็นยาแปะ เป็นเม็ดยาอมที่แก้ม และยาฝังใต้ผิวหนัง[66][75] นอกจากนั้น มันยังสามารถให้ผ่านการฉีดยาในกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์ได้นาน (depot intramuscular injection) ในรูปแบบของเอสเทอร์ที่ต้องผ่านเมแทบอลิซึมในร่างกายเพื่อออกฤทธิ์ (ester prodrug) เช่น testosterone cypionate, testosterone enanthate และ testosterone propionate รวมทั้ง testosterone undecanoate ซึ่งมีฤทธิ์นานเป็นพิเศษ[66] ส่วน testosterone buciclate มีฤทธิ์นานยิ่งกว่าแบบอื่น ๆ แต่ก็ยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้เป็นยา[66]

แม้เทสโทสเตอโรนจะไม่ให้ใช้ทาน แต่ testosterone undecanoate ซึ่งเป็นเอสเทอร์แบบหนึ่งก็ได้อนุมัติให้เป็นยาทาน[66] เนื่องจากมีคุณลักษณะทางเคมีพิเศษเพราะมีโซ่เอสเทอร์ที่ยาวมาก จึงทำให้ testosterone undecanoate รอดผ่านเมแทบอลิซึมของตับรอบแรกได้เป็นบางส่วน แล้วดูดซึมเข้าทางเดินอาหารเข้าไปยังระบบน้ำเหลืองโดยตรง และต่อจากนั้น ระบบไหลเวียน[66] ในบรรดา testosterone undecanoate ที่เข้าไปถึงระบบไหลเวียน 90-100% จะขนส่งไปทางระบบน้ำเหลือง[76] เอสเทอร์แบบนี้ไม่เป็นพิษต่อตับในขนาดที่ใช้[66] แต่ก็มีเมแทบอลิซึมและการกำจัดออกที่ไม่แน่นอน ดังนั้น จึงต้องทาน 2-4 ครั้งต่อวันพร้อมอาหาร[66]

นอกจาก testosterone undecanoate การใช้เทสโทสเตอโรนร่วมกับยากลุ่ม 5α-reductase inhibitor เช่น dutasteride สามารถทำให้เทสโทสเตอโรนมีฤทธิ์เมื่อทานเป็นแคปซูลบรรจุยาละลายในน้ำมัน[77] เพราะลดเมแทบอลิซึมรอบแรกของเทสโทสเตอโรนในตับ[77]

การดูดซึม[แก้]

สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) ทางปากของเทสโทสเตอโรนต่ำจนเรียกว่าไม่มีเลยก็ได้[73][78] ส่วนของ testosterone undecanoate ทางปากอยู่ที่ 3-7%[76][79] เจลเทสโทสเตอโรนสำหรับทามีสภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพที่ 10% เมื่อทาที่บริเวณผิวหนังที่แนะนำรวมทั้งท้อง แขน ไหล่ และต้นขา[80] สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพของยาฝังเรียกได้ว่าอยู่ที่ 100%[81] ส่วนสภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพของยาฉีดในกล้ามเนื้อทั่วไปเกือบถึง 95%[82]

การกระจายตัว[แก้]

เมื่ออยู่ในระบบไหลเวียน 97.0-99.5% ของเทสโทสเตอโรนจะจับอยู่กับโปรตีนพลาสมาโดยจะจับกับ SHBG อย่างแน่น และจับกับ albumin อย่างอ่อน ๆ และมี 0.5-3.0% ที่เป็นอิสระ (free testosterone)[2][2]

ในบรรดาที่อยู่ในระบบไหลเวียน 30-44% จับอยู่กับ SHBG และ 54-68% จับกับ albumin[2] ที่จับอยู่กับ albumin จะเรียกว่า เทสโทสเตอโรนพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailable testosterone)[2] คือไม่เหมือนกันเทสโทสเตอโรนที่จับอยู่กับ SHBG เทสโทสเตอโรนพร้อมใช้ทางชีวภาพจะจับอยู่กับโปรตีนพลาสมาอย่างอ่อน ๆ จึงมีฤทธิ์ทางชีวภาพคล้ายกับเทสโทสเตอโรนอิสระในระดับหนึ่ง[2]

เมื่อเรียกรวม ๆ กัน (คือ free, bioavailable, และ SHBG-bound) เทสโทสเตอโรนที่อยู่ในระบบไหลเวียนทั้งหมดเรียกจะเรียกว่า total testosterone[2]

Pharmacokinetics ของเทสโทสเตอโรนในรูปแบบเอสเทอร์ต่างๆ[71][83]
สูตร การให้ยา t½ MRT
Testosterone undecanoate ทางปาก 1.6 ชม. 3.7 ชม.
Testosterone propionate ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 0.8 วัน 1.5 วัน
Testosterone enanthate
(ในน้ำมันละหุ่ง)
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 4.5 วัน 8.5 วัน
Testosterone undecanoate
(ในน้ำมันเมล็ดชา)
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 20.9 วัน 34.9 วัน
Testosterone undecanoate
(ในน้ำมันละหุ่ง)
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 33.9 วัน 36.0 วัน
Testosterone buciclate
(สารแขวนลอยในน้ำ)
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 29.5 วัน 60.0 วัน
ระดับเทสโทสเตอโรนภายใน 16 สัปดาห์ เมื่อฉีดเอสเทอร์ต่าง ๆ ของเทสโทสเตอโรนเข้ากล้ามเนื้อ ในชายที่ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกิน[71]

เมแทบอลิซึม[แก้]

เทสโทสเตอโรนจะสลายในตับโดยหลักด้วยกระบวนการรีดักชันอาศัยเอนไซม์ 5α-reductase และ 5β-reductase และกระบวนการจับคู่ (conjugation) ผ่านการถ่ายโอนกรดกลูคูรอนิก (glucuronidation) และซัลเฟต (sulfation)[2][65][84] เมทาบอไลต์หลัก ๆ ในปัสสาวะของเทสโทสเตอโรนก็คือ androsterone glucuronide และ etiocholanolone glucuronide[2][65][84][85]

ครึ่งอายุในการกำจัด (elimination half-life) ของเทสโทสเตอโรนจะต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับการให้ยาและสูตรยา[73] testosterone undecanoate ที่ใช้ทานเป็นแคปซูลน้ำมันมีครึ่งอายุ (terminal half-life) ที่ 1.6 ชม.[71] เพราะมีครึ่งอายุสั้นมาก จึงต้องทานวันละ 2-4 ครั้ง[71] ส่วนการให้เทสโทสเตอโรนแบบอื่น ๆ รวมทั้งเจลและยาน้ำที่ใช้ทา ยาแปะ และยาเม็ดสำหรับอม จะมีผลที่ยาวนานกว่าและสามารถให้บ่อยน้อยกว่าขึ้นอยู่กับรูปแบบและสูตร เช่น วันละครั้ง วันละสองครั้ง หรือทุก ๆ สองวัน[73][71]

สำหรับเทสโทสเตอโรนที่ไม่ใช่เอสเทอร์และให้โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ครึ่งอายุจะสั้นมากโดยอยู่ที่ประมาณ 10 นาที เทียบกับของเอสเทอร์ที่ให้โดยฉีดเหมือนกันซึ่งมีครึ่งอายุยาวนานกว่ามาก[73][71] เมื่อให้ในรูปแบบละลายน้ำมัน ครึ่งชีวิตอยู่ที่ 0.8 วันสำหรับ testosterone propionate, 4.5 วันสำหรับ testosterone enanthate, 20.9 วัน (ในน้ำมันเมล็ดชา), 33.9 วัน (ในน้ำมันละหุ่ง) สำหรับ testosterone undecanoate, และ 29.5 วันสำหรับ testosterone buciclate[73][71] แม้ค่าวัดอย่างแม่นยำจะไม่มีสำหรับ testosterone cypionate ที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เมแทบอลิซึมและการกำจัดของมันเชื่อว่า เหมือนกับ testosterone enanthate โดยมีรูปแบบการปล่อยเข้าสู่ร่างกายที่คล้ายกันมาก[59][71]

เนื่องจากมีครึ่งชีวิตต่าง ๆ กัน เอสเทอร์ของเทสโทสเตอโรนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจึงให้บ่อยไม่เท่ากัน[86] testosterone propionate จะฉีด 2-3 ครั้งต่ออาทิตย์, testosterone enanthate และ testosterone cypionate จะฉีดหนึ่งครั้งทุก ๆ 2-4 สัปดาห์, testosterone undecanoate และ testosterone buciclate ฉีดทุก ๆ 10-14 สัปดาห์[86] เพราะมีฤทธิ์ไม่นาน testosterone propionate ปัจจุบันจึงไม่ค่อยได้ใช้ และ testosterone undecanoate ก็เป็นเอสเทอร์ที่นิยมสำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[73][71] testosterone undecanoate และ testosterone buciclate อาจใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพียงแค่ 4 ครั้งต่อปี[73][71]

ส่วนยาที่ฝังใต้ผิวหนังมีครึ่งชีวิต (absorption half-life) ที่ 2.5 เดือน[73] และปกติจะต้องฝังใหม่ทุก ๆ 4-5 เดือน[87]

การกำจัด[แก้]

เทสโทสเตอโรนและเมทาบอไลต์ของมันจะกำจัดออกทางปัสสาวะ[88] โดยขับออกเป็น androsterone glucuronide และ etiocholanolone glucuronide เป็นหลัก[85] แต่ก็ขับออกในรูปแบบอื่น ๆ ด้วยรวมทั้ง testosterone glucuronide (1%), testosterone sulfate (0.03%), และ androstanediol glucuronides[85][89] เทสโทสเตอโรนที่ไม่ได้เปลี่ยนสภาพมีน้อยมากในปัสสาวะ (น้อยกว่า 0.01%)[88][89]

เคมี[แก้]

เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ androstane ที่เกิดโดยธรรมชาติ และมีสูตรเคมีคือ androst-4-en-17β-ol-3-one[90] โดยมีพันธะคู่ระหว่างตำแหน่ง C4 กับ C5 (ซึ่งทำให้มันเป็น androstene) และมีหมู่ทำหน้าที่ (functional group) เป็นกลุ่มคีโทนที่ตำแหน่ง C3 และมีหมู่ไฮดรอกซิล (แอลกอฮอล์) ที่ตำแหน่ง C17β[90]

สารอนุพันธ์[แก้]

เอสเทอร์ของเทสโทสเตอโรนจะมีส่วนเป็นเอสเทอร์กรดไขมันที่ชอบลิพิด โดยมีลูกโซ่ยาวต่าง ๆ กัน ที่ตำแหน่ง C17β[91] เอสเทอร์ของเทสโทสเตอโรนหลัก ๆ รวมทั้ง testosterone cypionate, testosterone enanthate, testosterone propionate, และ testosterone undecanoate[66][90][92]

สารที่ต้องผ่านเมแทบอลิซึมในร่างกายเพื่อออกฤทธิ์ โดยมีอีเธอร์ (ether prodrug) ที่ตำแหน่ง C17β คือ cloxotestosterone acetate ก็วางตลาดขายด้วยเหมือนกัน แม้จะมีข้อมูลน้อยมาก และใช้น้อยมากหรือไม่ได้ใช้แล้ว[90] สารที่คล้ายกันอีกอย่างคือ silandrone ก็มีด้วย แต่ก็ไม่เคยวางตลาดขาย และเด่นตรงที่มีฤทธิ์เมื่อใช้ทาน[90] อนึ่ง androgen prohormone หรือสารตั้งต้นของเทสโทสเตอโรน เช่น dehydroepiandrosterone (DHEA), androstenediol, และ androstenedione ก็มีด้วย และจะแปลงเป็นเทสโทสเตอโรนในระดับต่าง ๆ กันเมื่อทาน[93] แต่ไม่เหมือนกับ prodrug ที่เป็นเอสเทอร์และอีเธอร์ prohormone เหล่านี้มีฤทธิ์ให้บุรุษภาพและสร้างกล้ามเนื้ออ่อน ๆ เท่านั้น[93]

AAS ที่สังเคราะห์ขึ้นล้วนเป็นสารอนุพันธ์ของเทสโทสเตอโรน[93] ตัวอย่างเด่น ๆ รวมทั้ง nandrolone (19-nortestosterone), metandienone (17α-methyl-δ1-testosterone), และ stanozolol (17α-alkylated derivative of DHT) แต่ไม่เหมือนเทสโทสเตอโรน AAS ที่มี alkyl ที่ตำแหน่ง 17α เช่น metandienone และ stanozolol จะมีฤทธิ์เมื่อทาน นี่เกิดเพราะเป็นหมู่ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งยับยั้งเมแทบอลิซึมที่ตำแหน่ง C17β เมื่อผ่านตับรอบแรก โดยเปรียบเทียบกัน AAS โดยมากที่ไม่มี alkyl ที่ตำแหน่ง 17α เช่น nandrolone จะไม่มีฤทธิ์ทางปาก แต่ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในรูปแบบเป็นเอสเทอร์ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณี nandrolone จะเป็น nandrolone decanoate หรือ nandrolone phenylpropionate

ประวัติ[แก้]

เทสโทสเตอโรนได้แยกระบุแล้วสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1935[94] ต่อมาในปี 1937 ก็ได้วางขายในตลาดเป็นยาในรูปแบบเม็ดเพื่อฝังใต้ผิวหนัง และต่อจากนั้น ในรูปแบบเอสเทอร์เพื่อฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่มีฤทธิ์สั้นคือ testosterone propionate[59][73][95] ส่วน methyltestosterone ซึ่งเป็น AAS สังเคราะห์ และแอนโดรเจนที่มีฤทธิ์ทางปากตัวแรกสุด ได้ทำขึ้นในปี 1935 แต่ก็เป็นพิษต่อตับ ในที่สุดจึงได้เลิกใช้ทางการแพทย์[95] ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 เอสเทอร์ของเทสโทสเตอโรนที่ออกฤทธิ์นาน คือ testosterone enanthate และ testosterone cypionate ก็ได้สังเคราะห์ขึ้น[95] ซึ่งใช้ทดแทน testosterone propionate โดยมาก และกลายเป็นเอสเทอร์หลักของเทสโทสเตอโรนที่ใช้ทางการแพทย์มากกว่าครึ่งศตวรรษ[95] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 testosterone undecanoate ก็ทำขึ้นเพื่อใช้ทานในยุโรป[95] ส่วน testosterone undecanoate ซึ่งใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อแม้จะได้ใช้ในประเทศจีนเป็นเวลาหลายปีแล้ว[96] แต่ก็ไม่ได้วางขายในยุโรปและสหรัฐอเมริกาจนกระทั่งหลังจากนั้นมาก คือในช่วงแรกของคริสต์ทศวรรษ 2000 และในปี 2014 ตามลำดับ[2][97]

สังคมและวัฒนธรรม[แก้]

การใช้[แก้]

ในสหรัฐอเมริการช่วงคริสต์วรรษ 2000 ทั้งบริษัทและผู้มีชื่อเสียงในสื่อต่างก็ได้พยามขายไอเดียว่า ชายก็มีวัยทองคล้ายกับหญิง แต่แนวคิดเช่นนี้ก็ไม่ได้การยอมรับจากวงการแพทย์[98][99] นอกจากนั้น โฆษณาทั้งจากบริษัทผลิตยาที่ขายเทสโทสเตอโรนและ human growth hormone และจากบริษัทผลิตอาหารเสริมที่ขายยา "ชูกำลัง" สำหรับชายที่อายุมากขึ้น ต่างก็เน้น "ความจำเป็น" ของชายกลางคนเพื่อได้เทสโทสเตอโรน[100] แถมก็ยังมีภาวะทางการแพทย์ที่เรียกว่าต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง (late-onset hypogonadism) ด้วย แต่ตาม นพ. สองท่านที่เขียนบทบรรณาธิการปี 2015 ของ วารสารสมาคมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุอเมริกัน ภาวะนี้วินิจฉัยและรักษาเกินควร[100] แพทย์สองท่านได้ให้ข้อสังเกตว่า ในสหรัฐ "การขายเทสโทสเตอโรนเพิ่มจาก 324 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,300 ล้านบาท) ในปี 2002 เป็น 2,000 ล้านเหรียญ (62,141 ล้านบาท) ในปี 2012 และจำนวนขนาดยาที่ใช้รักษาเพิ่มจาก 100 ล้านชุดในปี 2007 ไปเป็น 500 ล้านชุดในปี 2012 โดยยังไม่รวมแหล่งอื่น ๆ รวมทั้งเภสัชปรุงยา (compounding pharmacies) อินเทอร์เน็ต และที่ขายให้คนใช้โดยตรง"[100]

คดีความ[แก้]

ในปี 2014 มีคดีจำนวนหนึ่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งโจทก์ฟ้องบริษัทผลิตเทสโทสเตอโรนโดยอ้างว่า เพิ่มอัตราโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายในชายสูงอายุที่ใช้เทสโทสเตอโรน[101]

งานวิจัย[แก้]

ความซึมเศร้า[แก้]

มีการใช้เทสโทสเตอโรนเพื่อรักษาความซึมเศร้าในชายวัยกลางคนที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ แต่งานทบทวนวรรณกรรมปี 2014 ก็ไม่พบประโยชน์ต่ออารมณ์ของชายที่มีระดับเทสโทสเตอโรนปกติ หรืออารมณ์ของชายสูงอายุที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ[102]

หัวใจวาย[แก้]

การใช้เทสโทสเตอโรนสามารถเพิ่มสมรรถภาพการออกกำลังกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และลดช่วงการเกิดคลื่นหัวใจ คือ QT interval ในชายที่มีภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (CHF) งานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 แสดงว่า ในช่วงการศึกษาเป็นเวลา 3-6 เดือน การรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนปรากฏว่าปลอดภัยและมีประสิทธิผลโดยทั่วไป และเมื่อไม่พิจารณามะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว นักวิจัยก็ไม่พบเหตุผลเพื่อจำกัดการใช้ยาในชายคนไข้ CHF[103] งานทบทวนวรรณกรรมปี 2012 ก็พบสมรรถภาพการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น โดยผู้วิจัยเชื่อว่า ประโยชน์ก็ควรจะมีกับหญิงด้วย อาศัยกลไกการทำงานของยา และผลคงที่คงวาซึ่งได้จากงานวิจัยกลุ่มเล็ก (หญิง 32 คน)[104] อย่างไรก็ดี งานศึกษาทั้งสองต่างก็สนับสนุนให้มีการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่ใหญ่ขึ้นและยาวขึ้น เพื่อให้สามารถกำหนดผลให้ชัดเจน[103][104]

การคุมกำเนิดในชาย[แก้]

เทสโทสเตอโรนในรูปแบบของเอสเทอร์ เช่น testosterone undecanoate และ testosterone buciclate ได้มีการศึกษาและโปรโหมตเป็นยาคุมกำเนิดในชาย คล้ายกับยาอิงเอสโทรเจนที่ใช้ในหญิง การสร้างสเปิร์มซึ่งลดลงแล้วโดยเป็นผลของเทสโทสเตอโรน สามารถลดลงได้อีกโดยเติมฮอร์โมนสังเคราะห์กลุ่ม progestin เช่น norethisterone enanthate และ levonorgestrel butanoate เพื่อเพิ่มผลการคุมกำเนิด[105][106]

การไม่สามารถถึงจุดสุดยอด[แก้]

กำลังมีการพัฒนาเทสโทสเตอโรนเพื่อใช้ในจมูกในขนาดต่ำเพื่อรักษาการไม่สามารถถึงจุดสุดยอดในหญิง[107]

หัวล้าน[แก้]

งานศึกษาพบว่า ในหญิง 76 คนทั้งก่อนและหลังวัยหมดระดูที่ผมบางลง 63% จะมีผมกลับคืนมาอีกเมื่อรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนเม็ดใต้ผิวหนัง ซึ่งให้ผลเป็นระดับเทสโทสเตอโรนโดยเฉลี่ยมากกว่า 300 ng/dL เป็นเวลา 12 เดือน[108] โดยไม่มีหญิงใดที่รายงานว่าหัวล้านหรือผมบางลงในช่วงการรักษา[108]

อื่น ๆ[แก้]

การบำบัดด้วยเทสโทสเตอโรนอาจมีผลดีต่อการรักษาโรคเบาหวานชนิด 2[109] ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำยังสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย[110][111]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Seborrhoeic dermatitis หรือ seborrhoeic eczema หรือ seborrhea เป็นผิวหนังอักเสบเรื้อรังหรือกลับเกิดขึ้นอีก แต่ไม่รุนแรง ซึ่งเป็นที่หนังศีรษะ ใบหน้า และลำตัว ปกติจะปรากฏเป็นเกล็ด ๆ คัน และแดง โดยเกิดมากที่สุดในบริเวณที่บริบูรณ์ด้วยต่อมไขผิวหนัง (sebaceous gland) ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มันจะปรากฏเป็นเกล็ดหนังศีรษะ หรือเป็นสีแดง ๆ ที่รอยพับที่จมูกร่วมริมฝีปาก (nasolabial fold) ขี้รังแคก็เป็นรูปแบบของโรคอย่างหนึ่งโดยไม่มีอาการอักเสบ[31]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Testosterone". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2018. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Melmed, Shlomo; Polonsky, Kenneth S.; Larsen, P. Reed; Kronenberg, Henry M. (11 November 2015). Williams Textbook of Endocrinology. Elsevier Health Sciences. pp. 709, 711, 765. ISBN 978-0-323-34157-8.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 "Testosterone". Drugs.com. American Society of Health-System Pharmacists. 4 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2016. สืบค้นเมื่อ 3 September 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Testosterone Products: Drug Safety Communication - FDA Cautions About Using Testosterone Products for Low Testosterone Due to Aging; Requires Labeling Change to Inform of Possible Increased Risk of Heart Attack And Stroke". FDA. 3 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2015. สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
  5. Taylor, William N (2002). Anabolic Steroids and the Athlete (2 ed.). McFarland. p. 180. ISBN 978-0-7864-1128-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2016.
  6. Desroches, B; Kohn, TP; Welliver, C; Pastuszak, AW (April 2016). "Testosterone therapy in the new era of Food and Drug Administration oversight". Translational Andrology and Urology. 5 (2): 207–12. doi:10.21037/tau.2016.03.13. PMC 4837303. PMID 27141448.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  8. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 197. ISBN 978-1-284-05756-0.
  9. Winn, Katherine L. Margo | Robert. "Testosterone Treatments: Why, When, and How? - American Family Physician". www.aafp.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 3 October 2016.
  10. Myers, JB; Meacham, RB (2003). "Androgen replacement therapy in the aging male". Reviews in Urology. 5 (4): 216–26. PMC 1508369. PMID 16985841.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Gould, DC; Petty, R (August 2000). "The male menopause: does it exist?: for: some men need investigation and testosterone treatment". The Western Journal of Medicine. 173 (2): 76–8. doi:10.1136/ewjm.173.2.76. PMC 1070997. PMID 10924412.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 Liverman, Catharyn T.; Blazer, Dan G.; Institute of Medicine (US) Committee on Assessing the Need for Clinical Trials of Testosterone Replacement Therapy (2004-01-01). "Introduction". Testosterone and Aging: Clinical Research Directions. National Academies Press (US). doi:10.17226/10852. ISBN 978-0-309-09063-6 – โดยทาง www.ncbi.nlm.nih.gov.
  13. Yeap, BB; Almeida, OP; Hyde, Z; Norman, PE; Chubb, SA; Jamrozik, K; Flicker, L (May 2007). "In men older than 70 years, total testosterone remains stable while free testosterone declines with age. The Health in Men Study". European Journal of Endocrinology / European Federation of Endocrine Societies. 156 (5): 585–94. doi:10.1530/EJE-06-0714. PMID 17468195.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. "Gender dysphoria - Treatment". NHS Gov.uk. 21 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2013. สืบค้นเมื่อ 31 October 2013.
  15. Gorton, R. Nick; Buth, Jamie; Spade, Dean. "Medical Therapy and Health Maintenance for Transgender Men: A Guide For Health Care Providers" (PDF). Lyon-Martin Women's Health Services. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2016. สืบค้นเมื่อ 11 December 2016.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 Wierman, ME; Arlt, W; Basson, R; Davis, SR; Miller, KK; Murad, MH; Rosner, W; Santoro, N (October 2014). "Androgen therapy in women: a reappraisal: an Endocrine Society clinical practice guideline". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 99 (10): 3489–510. doi:10.1210/jc.2014-2260. PMID 25279570.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 17.7 17.8 Elraiyah, T; Sonbol, MB; Wang, Z; Khairalseed, T; Asi, N; Undavalli, C; Nabhan, M; Firwana, B; Altayar, O; Prokop, L; Montori, VM; Murad, MH (2014). "Clinical review: The benefits and harms of systemic testosterone therapy in postmenopausal women with normal adrenal function: a systematic review and meta-analysis". J. Clin. Endocrinol. Metab. 99 (10): 3543–50. doi:10.1210/jc.2014-2262. PMC 5393495. PMID 25279572.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. 18.0 18.1 Achilli, C; Pundir, J; Ramanathan, P; Sabatini, L; Hamoda, H; Panay, N (2017). "Efficacy and safety of transdermal testosterone in postmenopausal women with hypoactive sexual desire disorder: a systematic review and meta-analysis". Fertil. Steril. 107 (2): 475-482.e15. doi:10.1016/j.fertnstert.2016.10.028. PMID 27916205.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. 19.0 19.1 Reed, BG; L, Bou Nemer; Carr, BR (2016). "Has testosterone passed the test in premenopausal women with low libido? A systematic review". Int J Womens Health. 8: 599–607. doi:10.2147/IJWH.S116212. PMC 5066846. PMID 27785108.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. 20.0 20.1 "S1. Anabolic Agents | List of Prohibited Substances and Methods". English. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.
  21. "Anabolic Steroid Control Act" (PDF). United States Sentencing Commission. 1990. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2016.
  22. Karkazis, Katrina; Jordan-Young, Rebecca (11 April 2014). "The Trouble With Too Much T". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2014. สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.
  23. Fagan, Kate (13 August 2016). "Katie Ledecky is crushing records, so why are we still worried about Caster Semenya?". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2016. สืบค้นเมื่อ 27 August 2016.
  24. Padawer, Ruth (28 June 2016). "The Humiliating Practice of Sex-Testing Female Athletes". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 August 2016.
  25. Strahm, E; Emery, C; Saugy, M; Dvorak, J; Saudan, C (December 2009). "Detection of testosterone administration based on the carbon isotope ratio profiling of endogenous steroids: international reference populations of professional soccer players". British Journal of Sports Medicine. 43 (13): 1041–44. doi:10.1136/bjsm.2009.058669. PMC 2784500. PMID 19549614.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Kicman, AT; Cowan, DA (January 2009). "Subject-based profiling for the detection of testosterone administration in sport". Drug Testing and Analysis. 1 (1): 22–4. doi:10.1002/dta.14. PMID 20355155.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  27. Pozo, OJ; Deventer, K; Van Eenoo, P; Rubens, R; Delbeke, FT (August 2009). "Quantification of testosterone undecanoate in human hair by liquid chromatography-tandem mass spectrometry". Biomedical Chromatography. 23 (8): 873–80. doi:10.1002/bmc.1199. PMID 19353724.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Baselt, RC (2008). Disposition of Toxic Drugs & Chemicals in Man (8th ed.). Foster City, Calif: Biomedical Publications. pp. 1501-04. ISBN 978-0-9626523-7-0.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  29. 29.0 29.1 29.2 Kavoussi, Parviz; Costabile, Raymond A.; Salonia, Andrea (19 October 2012). Clinical Urologic Endocrinology: Principles for Men’s Health. Springer Science & Business Media. pp. 65-. ISBN 978-1-4471-4405-2.
  30. Michael Clinton Perry (2008). The Chemotherapy Source Book. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 368-. ISBN 978-0-7817-7328-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017.
  31. "Seborrhoeic dermatitis and dandruff". www.dermnetnz.org. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
  32. Grech, A; Breck, J; Heidelbaugh, J (October 2014). "Adverse effects of testosterone replacement therapy: an update on the evidence and controversy". Therapeutic Advances in Drug Safety. 5 (5): 190–200. doi:10.1177/2042098614548680. PMC 4212439. PMID 25360240.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. "Contraceptive efficacy of testosterone-induced azoospermia in normal men. World Health Organization Task Force on methods for the regulation of male fertility". Lancet. 336 (8721): 955–9. October 1990. doi:10.1016/0140-6736(90)92416-F. PMID 1977002.
  34. Rhoden, EL; Morgentaler, A (February 2004). "Treatment of testosterone-induced gynecomastia with the aromatase inhibitor, anastrozole". International Journal of Impotence Research. 16 (1): 95–7. doi:10.1038/sj.ijir.3901154. PMID 14963480. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. Yates, William R. (2000). "Testosterone in Psychiatry". Archives of General Psychiatry. 57 (2): 155. doi:10.1001/archpsyc.57.2.155. ISSN 0003-990X.
  36. Johnson, JM; Nachtigall, LB; Stern, TA (2013). "The effect of testosterone levels on mood in men: a review". Psychosomatics. 54 (6): 509–14. doi:10.1016/j.psym.2013.06.018. PMID 24016385.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. Davidson, JM; Kwan, M; Greenleaf, WJ (1982). "Hormonal replacement and sexuality in men". Clin Endocrinol Metab. 11 (3): 599–623. doi:10.1016/s0300-595x(82)80003-0. PMID 6814798.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Bagatell, Carrie; Bremner, William J. (27 May 2003). Androgens in Health and Disease. Springer Science & Business Media. pp. 144, 259–261, 351. ISBN 978-1-59259-388-0.
  39. 39.0 39.1 Pastuszak, AW; Pearlman, AM; Lai, WS; Godoy, G; Sathyamoorthy, K; Liu, JS; Miles, BJ; Lipshultz, LI; Khera, M (August 2013). "Testosterone replacement therapy in patients with prostate cancer after radical prostatectomy". The Journal of Urology. 190 (2): 639–44. doi:10.1016/j.juro.2013.02.002. PMC 4544840. PMID 23395803.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  40. "Testosterone and Other Anabolic Androgenic Steroids (AAS) : FDA Statement - Risks Associated With Abuse and Dependence". FDA. 25 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.
  41. Finkle, WD; Greenland, S; Ridgeway, GK; Adams, JL; Frasco, MA; Cook, MB; Fraumeni, JF; Hoover, RN (January 2014). "Increased risk of non-fatal myocardial infarction following testosterone therapy prescription in men" (PDF). PLoS ONE. 9 (1): e85805. Bibcode:2014PLoSO...985805F. doi:10.1371/journal.pone.0085805. PMC 3905977. PMID 24489673. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. 42.0 42.1 Vigen, R; O'Donnell, CI; Barón, AE; Grunwald, GK; Maddox, TM; Bradley, SM; Barqawi, A; Woning, G; Wierman, ME; Plomondon, ME; Rumsfeld, JS; Ho, PM (November 2013). "Association of testosterone therapy with mortality, myocardial infarction, and stroke in men with low testosterone levels". JAMA. 310 (17): 1829–36. doi:10.1001/jama.2013.280386. PMID 24193080.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  43. Basaria, S; Coviello, AD; Travison, TG; Storer, TW; Farwell, WR; Jette, AM; Eder, R; Tennstedt, S; Ulloor, J; Zhang, A; Choong, K; Lakshman, KM; Mazer, NA; Miciek, R; Krasnoff, J; Elmi, A; Knapp, PE; Brooks, B; Appleman, E; Aggarwal, S; Bhasin, G; Hede-Brierley, L; Bhatia, A; Collins, L; LeBrasseur, N; Fiore, LD; Bhasin, S (8 July 2010). "Adverse events associated with testosterone administration". The New England Journal of Medicine. 363 (2): 109–22. doi:10.1056/NEJMoa1000485. PMC 3440621. PMID 20592293.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. Staff (2014-01-31). "FDA evaluating risk of stroke, heart attack and death with FDA-approved testosterone products" (PDF). U.S. Food and Drug Administration. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2014. สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
  45. Tavernise, Sabrina (17 September 2014). "F.D.A. Panel Backs Limits on Testosterone Drugs". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  46. "FDA Panel To Review Testosterone Therapy Appropriateness and Safety". CNN News. 5 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.
  47. "Joint Meeting for Bone, Reproductive and Urologic Drugs Advisory Committee (BRUDAC) and the Drug Safety And Risk Management Advisory Committee (DSARM AC) - FDA background documents for the discussion of two major issues in testosterone replacement therapy (TRT) : 1. The appropriate indicated population for TRT, and 2. The potential for adverse cardiovascular outcomes associated with use of TRT" (PDF). Food and Drug Administration. 17 September 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.
  48. "FDA adding general warning to testosterone products about potential for venous blood clots". FDA. 19 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 9 October 2014.
  49. Haddad, RM; Kennedy, CC; Caples, SM; Tracz, MJ; Boloña, ER; Sideras, K; Uraga, MV; Erwin, PJ; Montori, VM (January 2007). "Testosterone and cardiovascular risk in men: a systematic review and meta-analysis of randomized placebo-controlled trials". Mayo Clinic Proceedings. 82 (1): 29–39. doi:10.4065/82.1.29. PMID 17285783.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  50. Fernández-Balsells, MM; Murad, MH; Lane, M; Lampropulos, JF; Albuquerque, F; Mullan, RJ; Agrwal, N; Elamin, MB; Gallegos-Orozco, JF; Wang, AT; Erwin, PJ; Bhasin, S; Montori, VM (June 2010). "Clinical review 1: Adverse effects of testosterone therapy in adult men: a systematic review and meta-analysis". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 95 (6): 2560–75. doi:10.1210/jc.2009-2575. PMID 20525906.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  51. "Testosterone Products: Drug Safety Communication - FDA Investigating Risk of Cardiovascular Events". FDA. 2014-01-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2014. สืบค้นเมื่อ 3 February 2014.
  52. Rhoden EL, Averbeck MA (Nov 2009). "Testosterone therapy and prostate carcinoma". Current Urology Reports. 10 (6): 453–59. doi:10.1007/s11934-009-0072-1. PMID 19863857. S2CID 20250546.
  53. Gaylis FD, Lin DW, Ignatoff JM, Amling CL, Tutrone RF, Cosgrove DJ (Aug 2005). "Prostate cancer in men using testosterone supplementation". The Journal of Urology. 174 (2): 534–38, discussion 538. doi:10.1097/01.ju.0000165166.36280.60. PMID 16006887.
  54. 54.0 54.1 Calistro Alvarado L (2010). "Population differences in the testosterone levels of young men are associated with prostate cancer disparities in older men". American Journal of Human Biology. 22 (4): 449–455. doi:10.1002/ajhb.21016. PMID 20087895. S2CID 21117845.
  55. Bostwick DG, Burke HB, Djakiew D, Euling S, Ho SM, Landolph J, Morrison H, Sonawane B, Shifflett T, Waters DJ, Timms B (Nov 2004). "Human prostate cancer risk factors". Cancer. 101 (10 Suppl): 2371–2490. doi:10.1002/cncr.20408. PMID 15495199. S2CID 24807561.
  56. "Testosterone Pregnancy and Breastfeeding Warnings". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2014. สืบค้นเมื่อ 1 February 2014.
  57. 57.0 57.1 57.2 Jameson, J. Larry; de Kretser, David M.; Marshall, John C.; De Groot, Leslie J. (7 May 2013). Endocrinology Adult and Pediatric: Reproductive Endocrinology. Elsevier Health Sciences. pp. 1-. ISBN 978-0-323-22152-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017.
  58. 58.0 58.1 Blume-Peytavi, Ulrik; Whiting, David A.; Trüeb, Ralph M. (26 June 2008). Hair Growth and Disorders. Springer Science & Business Media. pp. 182-. ISBN 978-3-540-46911-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017.
  59. 59.0 59.1 59.2 59.3 59.4 59.5 Llewellyn, William (2011). Anabolics. Molecular Nutrition Llc. pp. 385–394, 413, 426, 607, 666. ISBN 978-0-9828280-1-4.
  60. 60.0 60.1 Bagatelle, Carrie; Bremner, William J. (27 May 2003). Androgens in Health and Disease. Springer Science & Business Media. pp. 78-. ISBN 978-1-59259-388-0.
  61. Baskin, Laurence S (6 December 2012). Hypospadias and Genital Development. Springer Science & Business Media. pp. 37-. ISBN 978-1-4419-8995-6.
  62. Neurosteroids. Frontiers E-books. pp. 357–358. ISBN 978-2-88919-078-2.
  63. Simpson, ER (September 2003). "Sources of estrogen and their importance". J. Steroid Biochem. Mol. Biol. 86 (3–5): 225–30. doi:10.1016/S0960-0760(03)00360-1. PMID 14623515.
  64. Nieschlag, volume editor, Eberhard Nieschlag, Hermann M. Behre, Susan; Behre, Hermann M.; Nieschlag, Susan (2009). Andrology : male reproductive health and dysfunction (3rd ed.). Berlin: Springer. p. 459. ISBN 978-3-540-78354-1. {{cite book}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  65. 65.0 65.1 65.2 Wecker, Lynn; Watts, Stephanie; Faingold, Carl; Dunaway, George; Crespo, Lynn (1 April 2009). Brody's Human Pharmacology. Elsevier Health Sciences. pp. 468–469. ISBN 0-323-07575-4.
  66. 66.00 66.01 66.02 66.03 66.04 66.05 66.06 66.07 66.08 66.09 66.10 Becker, Kenneth L. (2001). Principles and Practice of Endocrinology and Metabolism. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 1116, 1119, 1152, 1182–1185, 1195–1197. ISBN 978-0-7817-1750-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2017.
  67. Wein, Alan J.; Kavoussi, Louis R.; Partin, Alan W.; Peters, Craig A. (23 October 2015). Campbell-Walsh Urology. Elsevier Health Sciences. pp. 7207-. ISBN 978-0-323-26374-0.
  68. Kicman, AT (June 2008). "Pharmacology of anabolic steroids". British Journal of Pharmacology. 154 (3): 502–21. doi:10.1038/bjp.2008.165. PMC 2439524. PMID 18500378.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  69. 69.0 69.1 Burtis, Carl A.; Ashwood, Edward R.; Bruns, David E. (14 October 2012). Tietz Textbook of Clinical Chemistry and Molecular Diagnostics. Elsevier Health Sciences. pp. 1947-. ISBN 1-4557-5942-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2016.
  70. 70.0 70.1 Kohtz, AS; Frye, CA (2012). "Dissociating behavioral, autonomic, and neuroendocrine effects of androgen steroids in animal models". Methods in Molecular Biology (Clifton, N.J.). 829: 397–431. doi:10.1007/978-1-61779-458-2_26. PMID 22231829.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  71. 71.00 71.01 71.02 71.03 71.04 71.05 71.06 71.07 71.08 71.09 71.10 71.11 Nieschlag, Eberhart; Behre, Hermann M.; Nieschlag, Susan (2010-01-13). Andrology: Male Reproductive Health and Dysfunction. Springer Science & Business Media. pp. 49–54, 441–446. ISBN 978-3-540-78355-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2016.
  72. Strauss, Jerome F; Barbieri, Robert L; Gargiulo, Antonio R (23 December 2017). Yen & Jaffe's Reproductive Endocrinology E-Book: Physiology, Pathophysiology, and Clinical Management. Elsevier Health Sciences. pp. 292-. ISBN 978-0-323-58232-2.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  73. 73.00 73.01 73.02 73.03 73.04 73.05 73.06 73.07 73.08 73.09 Nieschlag, Eberhart; Behre, Hermann M. (6 December 2012). Testosterone: Action - Deficiency - Substitution. Springer Science & Business Media. pp. 1-, 9, 309–331, 350. ISBN 978-3-642-72185-4.
  74. Smith, Eric Wane; Maibach, Howard I. (2 November 2005). Percutaneous Penetration Enhancers, Second Edition. CRC Press. pp. 413-. ISBN 978-1-4200-3920-7.
  75. Bandeira, Francisco; Gharib, Hossein; Golbert, Airton; Griz, Luiz; Faria, Manuel (26 October 2013). Endocrinology and Diabetes: A Problem-Oriented Approach. Springer Science & Business Media. pp. 88-. ISBN 978-1-4614-8684-8.
  76. 76.0 76.1 Lemke, Thomas L.; Williams, David A. (2012-01-24). Foye's Principles of Medicinal Chemistry. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 1360-. ISBN 978-1-60913-345-0.
  77. 77.0 77.1 Corona, G; Rastrelli, G; Vignozzi, L; Maggi, M (2012). "Emerging medication for the treatment of male hypogonadism". Expert Opin Emerg Drugs. 17 (2): 239–59. doi:10.1517/14728214.2012.683411. PMID 22612692.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  78. Karch, Steven B. (21 December 2006). Drug Abuse Handbook, Second Edition. CRC Press. pp. 700-. ISBN 978-1-4200-0346-8.
  79. Touitou, Elka; Barry, Brian W. (27 November 2006). Enhancement in Drug Delivery. CRC Press. pp. 122-. ISBN 978-1-4200-0481-6.
  80. Jones, Hugh (25 September 2008). Testosterone Deficiency in Men. OUP Oxford. pp. 89-. ISBN 978-0-19-954513-1.
  81. Bhasin, Shalender (13 February 1996). Pharmacology, Biology, and Clinical Applications of Androgens: Current Status and Future Prospects. John Wiley & Sons. pp. 462-. ISBN 978-0-471-13320-9.
  82. Conceptual Pharmacology. Universities Press. 2010. pp. 8-. ISBN 978-81-7371-679-9.
  83. Behre, HM; Abshagen, K; Oettel, M; Hübler, D; Nieschlag, E (1999). "Intramuscular injection of testosterone undecanoate for the treatment of male hypogonadism: phase I studies". Eur. J. Endocrinol. 140 (5): 414–9. doi:10.1530/eje.0.1400414. PMID 10229906.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  84. 84.0 84.1 Becker, Kenneth L. (2001). Principles and Practice of Endocrinology and Metabolism. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 1116, 1119, 1183. ISBN 978-0-7817-1750-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2014.
  85. 85.0 85.1 85.2 Thieme, Detlev; Hemmersbach, Peter (18 December 2009). Doping in Sports. Springer Science & Business Media. pp. 53-. ISBN 978-3-540-79088-4.
  86. 86.0 86.1 Yeung, Sai-Ching Jim; Escalante, Carmen P.; Gagel, Robert F. (2009). Medical Care of Cancer Patients. PMPH-USA. pp. 247-. ISBN 978-1-60795-008-0.
  87. Kumar, Parvenu; Clark, Michael L (4 June 2012). Kumar and Clark's Clinical Medicine. Elsevier Health Sciences. pp. 976-. ISBN 0-7020-5304-X.
  88. 88.0 88.1 Karch, Steven B.; Drummer, Olaf (26 December 2001). Karch's Pathology of Drug Abuse (third ed.). CRC Press. pp. 486-. ISBN 978-1-4200-4211-5.
  89. 89.0 89.1 Labhart, A (6 December 2012). Clinical Endocrinology: Theory and Practice. Springer Science & Business Media. pp. 450-. ISBN 978-3-642-96158-8.
  90. 90.0 90.1 90.2 90.3 90.4 Elks, J (14 November 2014). The Dictionary of Drugs: Chemical Data: Chemical Data, Structures and Bibliographies. Springer. pp. 641–642. ISBN 978-1-4757-2085-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2017.
  91. Jameson, J. Larry; De Groot, Leslie J. (25 February 2015). Endocrinology: Adult and Pediatric. Elsevier Health Sciences. pp. 2387-. ISBN 978-0-323-32195-2.
  92. Chapple, Christopher R.; Steers, William D. (10 May 2011). Practical Urology: Essential Principles and Practice: Essential Principles and Practice. Springer Science & Business Media. pp. 228-. ISBN 978-1-84882-034-0.
  93. 93.0 93.1 93.2 Gregory, Haff G.; Travis, Triplett N. (23 September 2015). Essentials of Strength Training and Conditioning 4th Edition. Human Kinetics. pp. 229, 233. ISBN 978-1-4925-0162-6.
  94. Taylor, William N. (2002-01-16). Anabolic Steroids and the Athlete (2nd ed.). McFarland. pp. 180-. ISBN 978-0-7864-1128-3.
  95. 95.0 95.1 95.2 95.3 95.4 Hoberman, John (21 February 2005). Testosterone Dreams: Rejuvenation, Aphrodisia, Doping. University of California Press. pp. 134-. ISBN 978-0-520-93978-3.
  96. Mundy, Anthony R.; Fitzpatrick, John; Neal, David E.; George, Nicholas J. R. (26 July 2010). The Scientific Basis of Urology. CRC Press. pp. 294-. ISBN 978-1-84184-749-8.
  97. Profile)), ((Adis RD (2004). "Testosterone Undecanoate—Schering AG". Drugs. 5 (6): 368–369. doi:10.2165/00126839-200405060-00012.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  98. "Male Menopause". www.nhs.uk. NHS Choices. 8 April 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2016. สืบค้นเมื่อ 7 October 2016.
  99. Gorski, David (25 November 2013). ""Low T": The triumph of marketing over science « Science-Based Medicine". Science-Based Medicine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2016.
  100. 100.0 100.1 100.2 Perls, T; Handelsman, DJ (April 2015). "Disease mongering of age-associated declines in testosterone and growth hormone levels". Journal of the American Geriatrics Society. 63 (4): 809–11. doi:10.1111/jgs.13391. PMID 25809947.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  101. Harris, Andrew. "Abbott Labs Sued by Five Men Claiming Androgel Injuries". Bloomberg.com. Bloomberg, L.P. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 16 June 2014.
  102. Amanatkar, HR; Chibnall, JT; Seo, BW; Manepalli, JN; Grossberg, GT (February 2014). "Impact of exogenous testosterone on mood: a systematic review and meta-analysis of randomized placebo-controlled trials" (PDF). Annals of Clinical Psychiatry. 26 (1): 19–32. PMID 24501728. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-13. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  103. 103.0 103.1 Wang, W; Jiang, T; Li, C; Chen, J; Cao, K; Qi, LW; Li, P; Zhu, W; Zhu, B; Chen, Y (May 2016). "Will testosterone replacement therapy become a new treatment of chronic heart failure? A review based on 8 clinical trials". Journal of Thoracic Disease. 8 (5): E269-77. doi:10.21037/jtd.2016.03.39. PMC 4842839. PMID 27162680.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  104. 104.0 104.1 Toma, M; McAlister, FA; Coglianese, EE; Vidi, V; Vasaiwala, S; Bakal, JA; Armstrong, PW; Ezekowitz, JA (May 2012). "Testosterone Supplementation in Heart Failure: A Meta-Analysis". Circulation: Heart Failure. 5 (3): 315–21. doi:10.1161/CIRCHEARTFAILURE.111.965632. PMID 22511747.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  105. Wang, C; Festin, MP; Swerdloff, RS (2016). "Male Hormonal Contraception: Where Are We Now?". Current Obstetrics and Gynecology Reports. 5: 38–47. doi:10.1007/s13669-016-0140-8. PMC 4762912. PMID 26949570.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  106. Chao, JH; Page, ST (July 2016). "The current state of male hormonal contraception". Pharmacology & Therapeutics. 163: 109–17. doi:10.1016/j.pharmthera.2016.03.012. PMID 27016468.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  107. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2017. สืบค้นเมื่อ 5 September 2017.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  108. 108.0 108.1 Herskovitz, I; Tosti, A (2013). "Female pattern hair loss". Int J Endocrinol Metab. 11 (4): e9860. doi:10.5812/ijem.9860. PMC 3968982. PMID 24719635.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  109. Traish, AM; Saad, F; Guay, A (2009). "The dark side of testosterone deficiency: II. Type 2 diabetes and insulin resistance". Journal of Andrology. 30 (1): 23–32. doi:10.2164/jandrol.108.005751. PMID 18772488.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  110. Pike, CJ; Rosario, ER; Nguyen, TV (April 2006). "Androgens, aging, and Alzheimer's disease". Endocrine. 29 (2): 233–41. doi:10.1385/ENDO:29:2:233. PMID 16785599.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  111. Rosario, ER; Chang, L; Stanczyk, FZ; Pike, CJ (September 2004). "Age-related testosterone depletion and the development of Alzheimer disease". JAMA. 292 (12): 1431–32. doi:10.1001/jama.292.12.1431-b. PMID 15383512.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]