คัต
คัต | |
---|---|
Catha edulis | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Celastrales |
วงศ์: | Celastraceae |
สกุล: | Catha |
สปีชีส์: | C. edulis |
ชื่อทวินาม | |
Catha edulis (Vahl) Forssk. ex Endl. |
คัต หรือ แกต (khat, qat[1]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Catha edulis) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในจงอยแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับ พืชชนิดนี้มีความสำคัญในทางสังคมของบริเวณดังกล่าวมาหลายพันปี[2] ชาวแอฟริกาและชาวเยเมนนิยมนำใบมาเคี้ยว ในใบมีสารที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนอย่างอ่อน ทำให้รู้สึกสนุกสนาน
การปลูกและใช้ประโยชน์
[แก้]คัตเป็นพืชที่มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น คัตและกัตในเยเมน คาตและญาดในโซมาเลีย และชัตในเอธิโอเปีย[2] ในภาษาโอโรโมเรียกว่าญิมา และภาษาลูกันดาเรียกว่ามายิรูงิ คัตถูกใช้เป็นพืชให้สารกระตุ้นในประเทศในแถบจงอยแอฟริกาและคาบสมุทรอาหรับ การเคี้ยวคัตเป็นเช่นเดียวกับการดื่มกาแฟ และใช้ในการติดต่อทางสังคม ในยูกันดา ใช้ปลูกทางภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศ [2] ในเคนยาปลูกที่เขตเมรู แม้ว่าการเคี้ยวคัตยังจำกัดเฉพาะบริเวณแหล่งการปลูกในแถบทะเลแดง[2] แต่ยังพบคัตในบริเวณแอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ โมซัมบิกและเขตร้อน [3]ใบสดและยอดอ่อนใช้เคี้ยว หรือทำให้แห้งและบริโภคเช่นเดียวกับใบชา เพื่อใช้เป็นยากระตุ้นประสาท ใบและลำต้นอ่อนใช้เคี้ยวกับกัมหรือถั่วลิสงทอดเพื่อให้เคี้ยวง่าย ปัจจุบันมีการส่งออกไปยังอังกฤษ เวลส์ โรม อัมสเตอร์ดัม แคนาดา อิสราเอล ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์[4] และสหรัฐอเมริกา ในเยเมน การเคี้ยวคัตถือเป็นเรื่องปกติในการเข้าสังคมของผู้ชาย เ[5] และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางธุรกิจในการสนับสนุนการตัดสินใจ หญิงชาวเยเมนบางส่วนอาจเข้าร่วมการเคี้ยวคัตกับสามีในวันหยุดได้ ในประเทศอื่น นอกเหนือจากพื้นที่ที่มีการบริโภคสูง การเคี้ยวคัตมีในงานเลี้ยงหรืองานสังคมเป็นครั้งคราว เกษตรกรและผู้ใช้แรงงานใช้ลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน คนขับรถและนักเรียนใช้บรรเทาความง่วง
คัตเป็นที่นิยมในเยเมน การปลูกคัตใช้ทรัพยากรทางการเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศ น้ำราว 40% ของประเทศใช้ในการรดพืชชนิดนี้ [6] ด้วยผลผลิตที่เพิ่มขึ้นราว 10 - 15% ทุกปี ใบคัตหนึ่งถุงต่อวันต้องใช้น้ำราว 500 ลิตรในการผลิต [7] การใช้น้ำสูงมาก ระดับน้ำใต้ดินในซานาอาลดลง ทำให้รัฐบาลต้องอพยพประชาชนในซานาอาไปยังชายฝั่งทะเลแดง [5]
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการปลูกคัตในเยเมนอย่างกว้างขวางเพราะให้รายได้สูง ในปี พ.ศ. 2544 ประมาณว่ารายได้จากการปลูกคัตคิดเป็น 2.5 ล้านเรียลเยเมนต่อเฮกตาร์ ระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2543 พื้นที่ปลูกคัตเพิ่มจาก 8,000 เป็น 103,000 เฮกตาร์[8]
ต้นคัตใช้เวลาถึง 8 ปีในการโตเต็มที่ นอกจากแสงสว่างและน้ำแล้ว คัตต้องการการดูแลน้อยมาก พืชชนิดนี้ต้องรดน้ำมากเดือนละครั้งก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อให้แตกยอดที่อ่อนนิ่ม ต้นคัตเก็บเกี่ยวได้ปีละสี่ครั้ง
ผลกระทบต่อสุขภาพ
[แก้]การบริโภคคัตทำให้เกิดความรู้สึกสบายและตื่นเต้น คล้ายกับกาแฟเข้มข้น [2] ผลของการกินทางปากของแคทิโนนออกฤทธิ์เร็วกว่าผลของเม็ดยาแอมเฟตามีน คือประมาณ 15 นาที เมื่อเทียบกับแอมเฟตามีนที่เป็น 30 นาที คัตสามารถชักนำให้เกิดพฤติกรรมคลั่งไคล้ได้เช่นเดียวกับแอมเฟตามีน [10] การใช้คัตทำให้เกิดอาการท้องผูก เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือด
อาการถอนยาของคัตได้แก่ภาวะซึมเศร้าและหงุดหงิด ฝันร้าย ร่างกายสั่นเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากการใช้คัตเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อการทำงานของตับ ฟันดำ ความต้องการทางเพศลดลง ไม่มีหลักฐานว่าคัตส่งผลกระทบต่อจิตใจ[11]
ผลกระทบ:[12]: 6–13
ผลกระทบระยะสั้น:
- ความตื่นตัว[12]: 6
- ความเร้าอารมณ์[12]: 5
- ความเชื่อมั่น[12]: 6
- อาการท้องผูก[12]: 9
- รู้สึกสบาย[2]
- รู้สึกเป็นมิตร[12]: 7
- นอนไม่หลับ[12]: 7
- ระงับความอยากอาหาร[12]: 8
- ช่างพูด[12]: 8
- ความคิดผิดปกติ[12]: 9
ผลกระทบระยะยาว:
- ภาวะซึมเศร้า [12]: 10
ผลกระทบเฉียบพลัน:
เคมีและเภสัชวิทยา
[แก้]ฤทธิ์การกระตุ้นของคัตเดิมเชื่อว่าเป็นผลมาจากสารที่เรียก กาติน (katin) แคทีน (cathine) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีเนทิลเอมีนที่แยกได้จากพืช นอกจากนั้น สารสกัดจากใบสดของพืชยังมีสารประกอบอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์ได้มากกว่าแคทีน ใน พ.ศ. 2518 ได้แยกอัลคาลอยด์ที่เรียกแคทิโนน ซึ่งไม่ได้คงตัวมากและสลายตัวกลายเป็นแคทีนและนอร์ฟีดรีน สารเคมีเหล่านี้อยู่ในกลุ่มฟีนิลโพรพาโนลามีน ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของฟีเนทิลลามีน ซึ่งใกล้เคียงกับแอมเฟตามีนและแคทีโคเอมีน อีพิเนฟพริน และนอร์อีพิเนฟพริน [11] ที่จริงแล้ว แคทิโนนและแคทีนมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกันแอมเฟตามีน[18] บางครั้งคัตจะสับสนกับเมทแคทิโนน หรือที่เรียกว่าแคต ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับแคทิโนน แต่ฤทธิ์ในการเสพติดของเมทแคทิโนนจะแรงกว่าการใช้คัต [19]
เมื่อใบคัตแห้ง แคทิโนนสลายตัวไปภายใน 48 ชั่วโมง เหลือเพียงแคทีน การขนส่งคัตที่เก็บเกี่ยวแล้วด้วยการห่อใบและกิ่งก้านในถุงพลาสติกหรือการห่อด้วยใบตองช่วยรักษาความชื้นและทำให้แคทิโนนคงเหลืออยู่ และยังมีการพรมน้ำหรือแช่เย็นระหว่างขนส่งด้วย
การควบคุม
[แก้]ใน พ.ศ. 2508 คณะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผลิตยาเสพติดขององค์การอนามัยโลกได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับคัต การเสพติดพืชชนิดนี้เป็นปัญหาในแต่ละบริเวณ และควรมีการควบคุม [20] ต่อมา ใน พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้จัดให้เป็นพืชเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจในระดับอ่อนถึงปานกลาง (น้อยกว่ายาสูบและแอลกอฮอล์)[21] แม้ว่าองค์การอนามัยโลกไม่ได้พิจารณาว่าคัตเป็นยาเสพติดระดับรุนแรง[2] แต่ก็เป็นพืชที่ผลกฎหมายในบางประเทศ ในขณะที่บางประเทศสามารถผลิตและขายได้อย่างถูกกฎหมาย [22]
แอฟริกา
[แก้]เอธิโอเปีย
[แก้]คัตถูกกฎหมายในเอธิโอเปีย[23]
โซมาเลีย
[แก้]คัตถูกกฎหมายในโซมาเลีย[23]
จิบูตี
[แก้]คัตถูกกฎหมายในจิบูตี[24]
เคนยา
[แก้]คัตถูกกฎหมายในเคนยา แต่สารออกฤทธิ์สองชนิดคือคาทิโนนและแคทีนเป็นสารเสพติดประเภทซี [25]
แอฟริกาใต้
[แก้]ในแอฟริกาใต้ คัตถือเป็นพืชอนุรักษ์[26]
ยูกันดา
[แก้]คัตหรือมิราอาถูกกฎหมายในยูกันดา แต่มีความพยายามจะคว่ำบาตร[27]
เอเชีย
[แก้]จีน
[แก้]คัตผิดกฎหมายในจีน[28]
อินโดนีเซีย
[แก้]คัตถูกกฎหมายในอินโดนีเซีย[ต้องการอ้างอิง]
มาเลเซีย
[แก้]คัตผิดกฎหมายในมาเลเซีย[ต้องการอ้างอิง]
ฟิลิปปินส์
[แก้]คัตผิดกฎหมายในฟิลิปปินส์ [ต้องการอ้างอิง]
ซาอุดิอาระเบีย
[แก้]คัตผิดกฎหมายในซาอุดิอาระเบีย[29]
ไทย
[แก้]คัตถูกกฎหมายในไทย แต่สารออกฤทธิ์สองชนิดคือคาทิโนนและแคทีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 1 และประเภท 2 ตามลำดับ [30][ต้องการอ้างอิง]
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
[แก้]คัตผิดกฎหมายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[ต้องการอ้างอิง]
ยุโรป
[แก้]เดนมาร์ก
[แก้]คัตผิดกฎหมายในเดนมาร์กตั้งแต่ พ.ศ. 2536 [31]
ฟินแลนด์
[แก้]คัตเป็นยาเสพติดผิดกฎหมายในฟินแลนด์ [32] การใช้และขายถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ขับขี่รถที่ตรวจพบเมทาบอไลท์ของคัตในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมีความผิด
โรมาเนีย
[แก้]คัตผิดกฎหมายในโรมาเนีย [ต้องการอ้างอิง]
สวีเดน
[แก้]ยาเสพติดชนิดนี้ถูกห้ามใช้ในสวีเดนตั้งแต่ พ.ศ. 2532 [31]
ฝรั่งเศส
[แก้]คัตถูกห้ามใช้เป็นสารกระตุ้นในฝรั่งเศส [11]
โอเชียเนีย
[แก้]นิวซีแลนด์
[แก้]ในนิวซีแลนด์ คัตจัดเป็นยาเสพติดระดับซี ในระดับเดียวกับกัญชาและcodeine.[33]
อเมริกาใต้
[แก้]ในอเมริกาใต้ ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับคัต
การวิจัย
[แก้]ใน พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยมินนิโซตาได้จัดโปรแกรมวิจัยเรื่องคัต ซึ่งเป็นโปรแกรมการวิจัยและการฝึกอบรมเชิงบูรณาการ [34] เน้นที่ผลกระทบต่อพฤติกรรมทางประสาทและสุขภาพของคัต นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. มุสตาฟา อัลอับซี โดยได้ทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันยาเสพติดแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา [35] โปรแกรมวิจัยเรื่องคัตนี้ดำเนินการที่ชาร์มเอลชิก อียิปต์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 [36] โดยร่วมมือกับองค์กรวิจัยสมองนานาชาติและหน่วยงานท้องถิ่น
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ either from impaired insight into symptoms by the khat chewer, delay to care, or poorly understood pathophysiological mechanisms
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dickens, Charles (1856) [Digitized February 19, 2010]. "The Orsons of East Africa". Household Words: A Weekly Journal, Volume 14. Bradbury & Evans. p. 176. สืบค้นเมื่อ 9 January 2014. (Free eBook)
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 Al-Mugahed, Leen (2008). "Khat Chewing in Yemen: Turning over a New Leaf: Khat Chewing Is on the Rise in Yemen, Raising Concerns about the Health and Social Consequences". Bulletin of the World Health Organization. 86 (10): 741–2. doi:10.2471/BLT.08.011008. PMC 2649518. PMID 18949206. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 9 January 2014.
- ↑ "Catha edulis". Plantzafrica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-22. สืบค้นเมื่อ 15 January 2014.
- ↑ Simon, O'Rourke (13 December 2006). "Concerns over African methamphetamine-like drug in Hamilton". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 12 October 2011.
- ↑ 5.0 5.1 Kirby, Alex (7 April 2007). "Yemen's khat habit soaks up water". BBC News. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
- ↑ Marshall, Tim (15 January 2010). "Sky News report on Yemen's Qat". Sky News. สืบค้นเมื่อ 4 April 2010.
- ↑ Filkins, Dexter (11 April 2011). "After the Uprising". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.
- ↑ The Encyclopedia of Yemen (ภาษาอาหรับ) (2nd ed.). Alafif Cultural Foundation. 2003. pp. 2309–2314.
{{cite encyclopedia}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ Nutt, D; King, LA; Saulsbury, W; Blakemore, C (24 March 2007). "Development of a rational scale to assess the harm of drugs of potential misuse". Lancet (London, England). 369 (9566): 1047–53. PMID 17382831.
- ↑ 10.0 10.1 Peter, Kalix. (1983), "The Pharmacology of Khat and of the Khat Alkaloid Cathinone", ใน Randrianame, M.; Szendrei, K.; Tongue, A. (บ.ก.), The Health and Socioeconomic Aspects of Khat Use, Lausanne, Switzerland: Intl. Council on Drug and Addictions, pp. 140–143
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Drugs.com (1 January 2007). "Complete Khat Info".
- ↑ 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 12.13 12.14 12.15 12.16 12.17 12.18 12.19 Al Zarouni, Yousif (2015). The Effects of Khat (Catha Edulis) (First ed.). London: Yousif Al Zarouni. ISBN 978-1-326-24867-3.
- ↑ "Long-term effects of chronic khat use: impaired inhibitory control". Frontiers in cognition. 12 January 2011. สืบค้นเมื่อ 17 January 2011.
- ↑ Al-Motarreb, A. L.; Broadley, K. J. (October–December 2003). "Coronary and aortic vasoconstriction by cathinone, the active constituent of khat". Autonomic & Autacoid Pharmacology. 23 (5–6): 319–26. doi:10.1111/j.1474-8673.2004.00303.x.
- ↑ "Khat - DrugInfo Clearinghouse". Druginfo.adf.org.au. 20 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-29. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
- ↑ Hassan, Nageeb; Gunaid, Abdullah; Murray-Lyon, Iain. "British-Yemeni Society: The impact of khat-chewing on health: a re-evaluation". Al-bab.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-07. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
- ↑ 17.0 17.1 Mateen, F. J.; Cascino, G. D. (November 2010). "Khat Chewing: A smokeless gun?". Mayo Clinic Proceedings. 85 (11): 971–3. doi:10.4065/mcp.2010.0658. PMC 2966359. PMID 21037041.
- ↑ Cox, G. (2003). "Adverse effects of khat: a review". Advances in Psychiatric Treatment. 9 (6): 456–63. doi:10.1192/apt.9.6.456.
- ↑ "DF - Khat". Drugfree.org. สืบค้นเมื่อ 26 January 2014.
- ↑ "World Health Organization Expert Committee on Dependence-producing Drugs: Fourteenth Report". United Nations Office of Drugs and Crime. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2003.
- ↑ Nutt, D.; King, L.A.; Saulsbury, C.; Blakemore, Colin (March 2007). "Development of a rational scale to assess the harm of drugs of potential misuse". Lancet. 369 (9566): 1047–53. doi:10.1016/S0140-6736(07)60464-4. PMID 17382831. S2CID 5903121.
- ↑ see Law Library of Congress (May 2015) Legal status of khat in selected jurisdictions
- ↑ 23.0 23.1 Manghi, Rita Annoni; Broers, Barbara; Khan, Riaz; Benguettat, Djamel; Khazaal, Yasser; Zullino, Daniele Fabio (2009). "Haight-Ashbury Free Medical Clinic". Journal of Psychoactive Drugs. 41 (1): 1–10. doi:10.1080/02791072.2009.10400669. PMID 19455904. S2CID 30637165.
- ↑ Thomson Gale (Firm), Countries of the World and Their Leaders Yearbook 2007, Volume 1, (Thomson Gale: 2006), p.545.
- ↑ "SAPTA - Khat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2012.
- ↑ "Protected Trees" (PDF). Department of Water Affairs and Forestry, Republic of South Africa. 3 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 July 2010.
- ↑ Barasa, Lucas (19 October 2015). "Miraa farmers seek Uhuru's help to open Uganda, Tanzania markets for stimulant" (PDF). Newspaper. The Daily nation. p. 24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-24. สืบค้นเมื่อ 23 December 2015.
- ↑ "Visitors Please Do Not Carry Khat into China". May 4, 2014.
- ↑ "Khat (catha edulis)". Ekhat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 29 June 2013.
- ↑ http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=3185[ลิงก์เสีย]
- ↑ 31.0 31.1 "Khat:Social harms and legislation" (PDF). สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
- ↑ "Khat use on the increase in Finland". HELSINGIN SANOMAT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011.
- ↑ "Misuse of Drugs Act 1975 No 116". legislation.govt.nz. July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 March 2015.
- ↑ "al'Absi Launches the Khat Research Program" (Press release). Med.umn.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2009. สืบค้นเมื่อ 4 April 2010.
- ↑ "KRP". Khatresearch.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-13. สืบค้นเมื่อ 4 April 2010.
- ↑ "KRP Symposium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2010.
- จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555