โรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Chronic renal disease, kidney failure, impaired kidney function[1] |
![]() | |
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรับการรักษาด้วยการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง | |
สาขาวิชา | วักกวิทยา |
อาการ | ระยะแรก: ไม่มีอาการ[2] ระยะหลัง: ขาบวม, อ่อนเพลีย, อาเจียน, เบื่ออาหาร, สับสน[2] |
ภาวะแทรกซ้อน | โรคระบบหัวใจหลอดเลือด, ความดันเลือดสูง, โลหิตจาง[3][4] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว[5] |
สาเหตุ | เบาหวาน, ความดันเลือดสูง, ไตอักเสบ, โรคไตมีถุงน้ำจำนวนมาก[5][6] |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจเลือด, การตรวจปัสสาวะ[7] |
การรักษา | การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต, ใช้ยาปรับความดันเลือด, น้ำตาล, คอเลสเตอรอล, การบำบัดทดแทนไต, การปลูกถ่ายไต[8][9] |
ความชุก | 753 ล้านคน (ค.ศ. 2016)[1] |
การเสียชีวิต | 1.2 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[6] |
โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งค่อย ๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี[2][5] ในช่วงแรกมักไม่มีอาการ หรือมีอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้[2] ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ความดันเลือดสูง โรคกระดูก และโลหิตจาง[3][4][10]
สาเหตุของโรคมีหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่ เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไตอักเสบ และโรคไตมีถุงน้ำจำนวนมาก เป็นต้น[5][6] ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีคนในครอบครัวป่วยโรคไตเรื้อรัง[2] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อคำนวณหาค่าอัตราการกรองของไตโดยประมาณ และการตรวจหาโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ[7] ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือตรวจชิ้นเนื้อไตเพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง[5] โรคนี้มีความรุนแรงได้หลากหลาย โดยมีระบบจัดระดับความรุนแรงของโรคที่ใช้กันแพร่หลายอยู่หลายระบบ[11][12]
ทางการแพทย์แนะนำให้ผู้มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ[9] การรักษาในระยะแรกเริ่มอาจเป็นการใช้ยาลดความดัน ยาเบาหวาน และยาลดไขมันในเลือดหากมีข้อบ่งชี้ โดยส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ยาลดความดันในกลุ่มสารยับยั้งเอซีอีและแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์เป็นกลุ่มแรก เนื่องจากมีผลช่วยชะลอการเสื่อมของไตและลดโอกาสเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดได้[13] อาจต้องใช้ยาขับปัสสาวะชนิดออกฤทธิ์ที่ลูปหากมีอาการบวมน้ำหรือยังควบคุมความดันเลือดไม่ได้[9][14][15] ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์[9] คำแนะนำอื่น ๆ เช่น มีกิจกรรมทางกายที่กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น ลดอาหารที่มีโซเดียม กินโปรตีนให้เหมาะสมไม่มากไม่น้อยเกินไป[9][16] หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โลหิตจาง หรือโรคกระดูก อาจต้องได้รับการรักษาตามอาการ[17][18] กรณีเป็นรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้การบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดทางเส้นเลือด การฟอกเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง หรือการปลูกถ่ายไต[8]
ข้อมูล ค.ศ. 2016 ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังราว 753 ล้านคน เป็นผู้ชาย 336 ล้านคน และเป็นผู้หญิง 417 ล้านคน[1] ข้อมูล ค.ศ. 2015 ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไตเรื้อรัง 1.2 ล้านคน เพิ่มจากข้อมูล ค.ศ. 1990 ที่พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไตเรื้อรัง 409,000 คน[6][19] โรคที่พบร่วมกันเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตที่พบมากที่สุดคือความดันเลือดสูง 550,000 คน ตามมาด้วยเบาหวาน 418,000 คน และไตอักเสบ 238,000 คน[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Bikbov B, Perico N, Remuzzi G (23 พฤษภาคม 2018). "Disparities in Chronic Kidney Disease Prevalence among Males and Females in 195 Countries: Analysis of the Global Burden of Disease 2016 Study". Nephron. 139 (4): 313–318. doi:10.1159/000489897. PMID 29791905.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "What Is Chronic Kidney Disease?". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
- ↑ 3.0 3.1 Liao MT, Sung CC, Hung KC, Wu CC, Lo L, Lu KC (2012). "Insulin resistance in patients with chronic kidney disease". Journal of Biomedicine & Biotechnology. 2012: 691369. doi:10.1155/2012/691369. PMC 3420350. PMID 22919275.
- ↑ 4.0 4.1 "Kidney Failure". MedlinePlus (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "What is renal failure?". Johns Hopkins Medicine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2017.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 GBD 2015 Mortality Causes of Death Collaborators (ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
{{cite journal}}
:|author1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ 7.0 7.1 "Chronic Kidney Disease Tests & Diagnosis". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
- ↑ 8.0 8.1 "Kidney Failure". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 "Managing Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. ตุลาคม 2016.
- ↑ KDIGO: Kidney Disease Improving Global Outcomes (สิงหาคม 2009). "KDIGO Clinical Practice Guideline for the Diagnosis, Evaluation, Prevention, and Treatment of Chronic Kidney Disease-Mineral and Bone Disorder (CKD-MBD)" (PDF). Kidney Int. 76 (Suppl 113). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 ธันวาคม 2016.
- ↑ "Summary of Recommendation Statements". Kidney International Supplements. 3 (1): 5–14. มกราคม 2013. doi:10.1038/kisup.2012.77. PMC 4284512. PMID 25598998.
- ↑ Ferri FF (2017). Ferri's Clinical Advisor 2018 E-Book: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. pp. 294–295. ISBN 9780323529570.
- ↑ Xie X, Liu Y, Perkovic V, Li X, Ninomiya T, Hou W, และคณะ (พฤษภาคม 2016). "Renin-Angiotensin System Inhibitors and Kidney and Cardiovascular Outcomes in Patients With CKD: A Bayesian Network Meta-analysis of Randomized Clinical Trials". American Journal of Kidney Diseases (Systematic Review & Meta-Analysis). 67 (5): 728–41. doi:10.1053/j.ajkd.2015.10.011. PMID 26597926.
- ↑ Wile D (กันยายน 2012). "Diuretics: a review". Annals of Clinical Biochemistry. 49 (Pt 5): 419–31. doi:10.1258/acb.2011.011281. PMID 22783025.
- ↑ James PA, Oparil S, Carter BL, Cushman WC, Dennison-Himmelfarb C, Handler J, และคณะ (กุมภาพันธ์ 2014). "2014 evidence-based guideline for the management of high blood pressure in adults: report from the panel members appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8)". JAMA. 311 (5): 507–20. doi:10.1002/14651858.CD011339.pub2. PMC 6485696. PMID 24352797.
- ↑ "Eating Right for Chronic Kidney Disease | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2019.
- ↑ "Anemia in Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
- ↑ "Mineral & Bone Disorder in Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2017.
- ↑ GBD 2013 Mortality Causes of Death Collaborators (มกราคม 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442.
{{cite journal}}
:|author1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) Table 2, p. 137
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- Dialysis Complications of Chronic Renal Failure จาก eMedicine
- Chronic Renal Failure Information เก็บถาวร 15 มีนาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก Great Ormond Street Hospital
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |