เดอร์โลทาไพด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอร์โลทาไพด์
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าSlentrol
AHFS/Drugs.comDirlotapide
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATCvet
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีนสูง[1]
การเปลี่ยนแปลงยาตับ
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ5–18 ชั่วโมง (เพิ่มขึ้นเมื่อให้ยาซ้ำ)
การขับออกอุจจาระ, ปัสสาวะ
ตัวบ่งชี้
  • 1-Methyl-N-[(1S) -2- (methyl- (phenylmethyl) amino) -2-oxo-1-phenylethyl]-5-[​[oxo-[2-[4- (trifluoromethyl) phenyl]phenyl]methyl]amino]-2-indolecarboxamide
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEMBL
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC40H33F3N4O3
มวลต่อโมล674.71 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • FC (F) (F) c1ccc (cc1) c2ccccc2C (=O) Nc3cc4c (cc3) n (c (c4) C (=O) N[C@@H](c5ccccc5) C (=O) N (Cc6ccccc6) C) C
  • InChI=1S/C40H33F3N4O3/c1-46 (25-26-11-5-3-6-12-26) 39 (50) 36 (28-13-7-4-8-14-28) 45-38 (49) 35-24-29-23-31 (21-22-34 (29) 47 (35) 2) 44-37 (48) 33-16-10-9-15-32 (33) 27-17-19-30 (20-18-27) 40 (41,42) 43/h3-24,36H,25H2,1-2H3, (H,44,48) (H,45,49)/t36-/m0/s1 checkY
  • Key:TUOSYWCFRFNJBS-BHVANESWSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เดอร์โลทาไพด์ (อังกฤษ: Dirlotapide)  เป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะอ้วนลงพุงในสุนัข[1] ถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และ/หรือโซเอทิส (Zoetis) วางจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้า สเลนทรอล (Slentrol)

กลไกการออกฤทธิ์[แก้]

เดอร์โลทาไพด์ออกฤทธิ์ยับยั้งโปรตีนที่ใช้ในการขนส่งไตรกลีเซอไรด์ (microsomal triglyceride transfer protein; MTTP) แบบจำเพาะเจาะจง ทำให้การดูดซึมไขมันลดลง และเป็นผลให้การสังเคราะห์และการหลั่งไลโพโปรตีน (lipoproteins) เข้าสู่กระแสเลือดลดน้อยลงในที่สุด ส่วนผลที่ทำให้เกิดการลดลงของน้ำหนักนั้น ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่ชัด คาดว่าน่าจะเกิดจากการที่เดอร์โลทาไพด์ มีผลกระตุ้นให้เกิดสัญญาณที่บอกถึงความอิ่มตัวของเซลล์ไขมันไปยังลำไส้เล็ก[2]

ข้อบ่งใช้[แก้]

เดอร์โลทาไพด์มีวางจำหน่ายในรูปแบบยารับประทานชนิดยาน้ำแขวนตะกอน และยานี้ไม่มีการใช้ในมนุษย์ แมว หรือนกแก้ว ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2007 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (U.S. Food and Drug Administration; FDA) ได้มีการรับรองให้มีการใช้เดอร์โลทาไพด์สำหรับการรักษาภาวะอ้วนลงพุงในสุนัข ซึ่งถือเป็นยาตัวแรกที่ได้รับการรับรองให้ใช้สำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวในสุนัข[2][3]

ในปัจจุบันเดอร์โลทาไพด์เป็นยาที่ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาภาวะอ้วนลงพุงในสุนัขและช่วยลดความอยากอาหาร และยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งโดยทั่วไปมักจะประกอบไปด้วยการใช้วิธีการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย ทั้งนี้ ขนาดยาเดอร์โลทาไพด์ต่อการใช้ 1 เดือนนั้นโดยทั่วไปมักคำนวณตามน้ำหนักของสุนัข

ผลการศึกษาในสุนัข[แก้]

ข้อมูลจากการศึกษาหนึ่งที่ระบุไว้ในเอกสารแนบของบรรจุภัณฑ์ แต่ไม่มีการระบุแหล่งอ้างอิงในแน่ชัดในเอกสารดังกล่าว ระบุว่า สุนัขที่มีภาวะอ้วนลงพุงที่รับประทานเดอร์โลทาไพด์เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 4 เดือนมีน้ำหนักลดลงประมาณ 11.8% ซึ่งถือเป็นระดับที่แตกต่างจากสุนัขที่ไม่ได้รับประทานยาดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ[4]

รูปแบบและขนาดการบริหารยา[แก้]

ในปัจจุบันเดอร์โลทาไพด์มีวางจำหน่ายในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน รับประทานเพียงวันละ 1 ครั้ง ค่าครึ่งชีวิตการกำจัดยามีค่าประมาณ 5–18 ชั่วโมง แต่จะเพิ่มขึ้นได้เมื่อมีการบริหารยาซ้ำ ขนาดยาที่ใช้ในการรักษานั้นจะคำนวณตามน้ำหนักตัวของสุนัข โดยจะเริ่มใช้ยาในขนาดต่ำก่อนใน 14 วันแรกของการรักษา จากนั้นหากสุนัขสามารถทนต่อการใช้ยาได้ จึงเพิ่มขนาดยาในการบริหารยาในแต่ละครั้ง ทั้งนี้ควรมีการประเมินน้ำหนักตัวของสุนัขโดยสัตวแพทย์เดือนละ 1 ครั้งในช่วงการรักษา และควรมีการปรับขนาดยาตามน้ำหนักตัวของสุนัขที่ลดลง หลังจากที่น้ำหนักของสุนัขลดลงจนถึงระดับปกติแล้ว ให้รับประทานเดอร์โลทาไพด์ต่อเนื่องอีก 3 เดือน[2]

อาการไม่พึงประสงค์[แก้]

การใช้เดอร์โลทาไพด์นั้นจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของสัตว์แพทย์ เนื่องจากยาดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้ อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำลายไหล เบื่ออาหาร ระดับเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการทำงานประสานงานกันของกล้ามเนื้อผิดปกติ (uncoordination) นอกจากนี้แล้ว ยาดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดการแพ้ยาได้ ซึ่งมักมีอาการที่รุนแรง ได้แก่ หน้าบวม ผื่นบวม คัน ท้องเสียโดยฉับพลัน อาเจียน ช็อก ชัก เหงือกซีด เท้าเย็น หรือในกรณีที่รุนแรงมากอาจหมดสติ หรือเสียชีวิตได้ จึงไม่แนะนำให้มีการใช้ยาดังกล่าวในมนุษย์[2] ทั้งนี้ จากการศึกษาในสุนัขพบว่าเดอร์โลทาไพด์ไม่มีผลทำให้สุนัขเกิดการขาดวิตามินที่ละลายในไขมัน[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Slentrol (dirlotapide) Oral Solution (5 mg/ml, 1%) for Use in Dogs Only. Full Prescribing Information" (PDF). zoetisUS.com. Pfizer Animal Health. Div. of Pfizer Inc. NY, NY 10017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Klonoff, David C. (May 2007). "Dirlotapide, a U.S. Food and Drug Administration-Approved First-in-Class Obesity Drug for Dogs—Will Humans Be Next?". J Diabetes Sci Technol. 1 (3): 314–316. PMC 2769592. สืบค้นเมื่อ January 17, 2016.
  3. "FDA approves 1st drug for obese dogs". Yahoo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2007-01-06.
  4. Pfizer Inc. (October 2006). "Slentrol package insert. NADA #141-260. 820 600 000". Pfizer Animal Health. NY, New York.
  5. Chandler CE, Wilder DE, Pettini JL, Savoy YE, Petras SF, Chang G, Vincent J, Harwood HJ (October 2003). "CP-346086: an MTP inhibitor that lowers plasma cholesterol and triglycerides in experimental animals and in humans". J Lipid Res. 44 (10): 1887–1901. doi:10.1194/jlr.M300094-JLR200. PMID 12837854. สืบค้นเมื่อ January 17, 2016.