ขุนบรม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าอภิปราย หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ทันที โดยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน ซึ่งเมื่อตรวจสอบและแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออก |
ขุนบรมราชาธิราช หรือ ขุนบรม เป็นพ่อต้นตระกูลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในตำนานของชาวลาวปัจจุบัน
ในตำนาน[แก้]
ตำนานของขุนบรมได้กล่าวว่าผู้คนสมัยโบราณโหดร้ายมาก เทพองค์หนึ่งจึงได้ลงทัณฑ์คนกลุ่มนั้นโดยทำให้โลกน้ำท่วม หลังจากนั้นเทพก็ได้ส่งผู้นำจากสวรรค์ ๓ ท่านพร้อมกับกระบือเป็นพาหนะ ผู้นำสามท่านนี้จะได้เป็นเจ้าแห่งคนกลุ่มใหม่บนโลก ในที่สุดผู้นำสามท่านกับกระบือตัวนั้นก็ได้มาเยียบแผ่นดินโลกในเมืองแถน ต่อมาเมื่อแผ่นดินนั้นกลายเป็นนาสำหรับปลูกข้าว กระบือตัวนั้นก็ตายและมีบวบด้วยกิ่งก้านสาขาออกมาจากรูจมูกของศพ จากตัวบวบไปถึงกิ่งก้านนั้นเผ่ามนุษย์ก็เกิดมา ซึ่งเผ่าที่มีผิวคล้ำออกมาจากบริเวณนั้นด้วยอาวุธแหลม และอีกเผ่าหนึ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันด้วยการขุด
เทพต่างๆก็ได้สอนกลุ่มคนไทสร้างบ้านและเก็บเกี่ยวข้าว พวกเขาได้รับการอบรมและคำสอนวิธีการประพฤติตัวและพิธีกรรมต่างๆ จากนั้นกลุ่มชาวไทก็ได้ขยายใหญ่ขึ้นจึงทำให้ชุมชนต้องการผู้ปกครอง ผู้ที่จะทำให้กลุ่มไทนี้อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ เทพใหญ่จึงเลยส่งพระโอรสของพระองค์เองมีนามว่าขุนบรมมาบนโลก เพื่อที่จะเป็นผู้นำของกลุ่มไทนี้ ขุนบรมได้ปกครองกลุ่มไทนี้มา ๒๕ ปี โดยสอนพวกเขาการใช้เครื่องมือใหม่ๆ และแนะนำศิลปะใหม่ๆ หลังจาก ๒๕ ปีนี้ ขุนบรมทรงได้แบ่งอาณาจักรไท โดยให้พระโอรสของพระองค์ทั้ง ๗ ท่านครองแต่ละส่วนของอาณาจักร พระโอรสที่มีอายุสูงสุด ขุนลอ ได้ปกครองเมืองชวา(ปัจจุบันนี้คือหลวงพระบาง) และพระโอรสที่เหลือได้ปกครอง เมืองเชียงขวาง เมืองอยุธยา เมืองเชียงใหม่ เมืองสิบสองปันนา เมืองหงสาวดี และอีกเมืองหนึ่งที่ไม่มีใครรู้แน่นอนแต่สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนามปัจจุบัน.
ในทางวิชาการ[แก้]
นักวิชาการหลายท่านได้นับถือว่านิทานของขุนบรมได้อธิบายการอพยบของกลุ่มชาวไทจากดินแดนจีน(เปรียบเทียบเป็นสวรรค์ในตำนาน)ไปภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(เปรียบเทียบเป็นดินแดนใหม่) ระบบของการแบ่งและขยายอาณาจักรสำหรับพระโอรสทั้ง ๗ ในตำนาน ก็แสดงให้เห็นถึงการบริหารองค์กรหมู่บ้านของชาวไทโบราณ หมู่บ้านเหล่านั้นเรียกว่า "เมือง"
ราชวงศ์ขุนบรมมหาราชา[แก้]
ราชวงศ์ขุนบรมมหาราชา กษัตริย์ของอาณาจักรน่านเจ้า(อ้ายลาว)นั้นได้มีพระโอรส ๙ องค์ และ ๗ ใน ๙ นั้นได้ครองเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรต่างๆในบริเวณที่เรียกว่า "แหลมทอง" ได้แก่:
- ขุนลอ (อ้ายลอ)ปกครองเมืองชวา (ปัจจุบันหลวงพระบาง)
- ขุนผาล้าน (ยี่ผาล้าน)ปกครองเมืองสิบสองปันนา
- ขุนจุลง (สามจุลง)ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม (ปัจจุบันเวียดนาม) จัมปา แปลว่า ช่องบัว โกฐแบบช่องบัว
- ขุนคำผง (ไสคำผง) ปกครองเมืองเชียงใหม่
- ขุนอิน (งั่วอิน) ปกครองเมืองศรีอยุธยา
- ขุนกม (ลกกม) ปกครองเมืองหงสาวดี (อินทรปัต)
- ขุนเจือง (เจ็ดเจือง) ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง)
พญามังรายจากเมืองเชียงใหม่และพระเจ้าอู่ทองจากเมืองศรีอยุธยาได้รับคำนับถือว่าเดิมทีแล้วมาจากราชวงศ์ขุนบรมของลาว.
นักวิชาการ David K. Wyatt เชื่อว่าตำนานของขุนบรมสามารถช่วยให้ความเข้าใจลึกซึ้งประวัติศาสตร์ของชาวไทโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ตำนานของขุนบรมหลายรุ่นเกิดขึ้นนานที่สุดเมื่อ พ.ศ. ๑๒๔๑ ในเชียงขวาง และอาณาจักรกลุ่มคนที่พูดกลุ่มภาษาไท ก็มีการสร้างอาณาจักรต่างๆ ในปีหลัง จาก พ.ศ. นั้น ข้อมูลนี้สามารถอธิบายการขยายตัวของกลุ่มชาวไท และสามารถให้เหตุผลที่เป็นตำนานว่าทำไมชาวไทถึงแยกกันอยู่แบบนี้ นักวิเคราะห์ผู้ชำนาญด้านภาษาได้วิเคราะห์ว่าการแบ่งกลุ่มของชาวไทโบราณเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๗ และ ๑๑ การแบ่งแยกนี้เกิดขึ้นคู่กันกับเส้นภูมิภาคคล้ายกับการแบ่งแยกในตำนานของขุนบรม และกลุ่มไทได้อพยบออกมาจากแผ่นดินที่เคยอาศัยมานานในเวียดนามปัจจุบัน ซึ่งในบริเวณนั้นก็ยังมีคนพูดกลุ่มภาษาไทอยู่ ที่อาจจะแยกตัวออกมาก่อนกลุ่มอืนในประวัติศาสตร์แล้ว.
อ้างอิง[แก้]
- Wyatt, David K., Thailand: A Short History, New Haven (Yale University Press), 2003. ISBN 0-300-08475-7
ดูเพิ่ม[แก้]
- Khun Borom Stories (ภาษาอังกฤษ)