เวียงจันทน์
- บทความนี้กล่าวถึงเมืองหลวง สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงเวียงจันทน์ และสำหรับอาณาจักรล้านช้างในอดีต ดูที่ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เวียงจันทน์ ວຽງຈັນ | |
---|---|
เมืองหลวง | |
![]() | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 17°58′N 102°36′E / 17.967°N 102.600°E | |
ประเทศ | ![]() |
ก่อตั้ง | คริสต์ศตวรรษที่ 9 |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 3,920 ตร.กม. (1,510 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 174 เมตร (570 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน พ.ศ. 2563) | |
• ทั้งหมด | 948,477 คน |
• ความหนาแน่น | 240 คน/ตร.กม. (630 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | เวียงจันทน์ |
เวียงจันทน์ (ลาว: ວຽງຈັນ, ออกเสียง: [ʋíəŋ tɕàn]) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 487,321 คน แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 948,477 คน
เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรมย์
ประวัติศาสตร์[แก้]
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรีของไทย (ในสมัยกรุงธนบุรี) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของสยามนับตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากสยาม สยามจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่กรุงเทพมหานคร ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอาราม เช่น หอพระแก้ว วัดสีสะเกด เท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
พ.ศ. 2436 ดินแดนลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เวียงจันทน์ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองของลาวในอาณัติของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อประเทศลาวประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้กำหนดให้กรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวจนถึงทุกวันนี้
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เวียงจันทน์ตั้งอยู่ในและเป็นเมืองเอกของนครหลวงเวียงจันทน์
เวียงจันทน์ประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ ดังนี้:
แผนที่ | รหัส | ชื่อ | ลาว | อังกฤษ |
---|---|---|---|---|
01-01 | จันทบุรี | ຈັນທະບູລີ | Chanthabuly | |
01-02 | ศรีโคตรบอง | ສີໂຄດຕະບອງ | Sikhottabong | |
01-03 | ไชยเชษฐา | ໄຊເສດຖາ | Xaysetha | |
01-04 | ศรีสัตตนาค | ສີສັດຕະນາກ | Sisattanak | |
01-07 | หาดทรายฟอง | ຫາດຊາຍຟອງ | Hadxayfong |
ภูมิศาสตร์[แก้]
เวียงจันทน์อยู่ในช่วงโค้งของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแนวกั้นระหว่างประเทศไทยและลาว (ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬของไทย)
ภูมิอากาศ[แก้]
แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เวียงจันทน์ (วิธีอ่าน) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ข้อมูลภูมิอากาศของเวียงจันทน์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 28.4 (83.1) |
30.3 (86.5) |
33.0 (91.4) |
34.3 (93.7) |
33.0 (91.4) |
31.9 (89.4) |
31.3 (88.3) |
30.8 (87.4) |
30.9 (87.6) |
30.8 (87.4) |
29.8 (85.6) |
28.1 (82.6) |
31.1 (88) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 16.4 (61.5) |
18.5 (65.3) |
21.5 (70.7) |
23.8 (74.8) |
24.6 (76.3) |
24.9 (76.8) |
24.7 (76.5) |
24.6 (76.3) |
24.1 (75.4) |
22.9 (73.2) |
19.3 (66.7) |
16.7 (62.1) |
21.8 (71.2) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 7.5 (0.295) |
13.0 (0.512) |
33.7 (1.327) |
84.9 (3.343) |
245.8 (9.677) |
279.8 (11.016) |
272.3 (10.72) |
334.6 (13.173) |
297.3 (11.705) |
78.0 (3.071) |
11.1 (0.437) |
2.5 (0.098) |
1,660.5 (65.374) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 1 | 2 | 4 | 8 | 15 | 18 | 20 | 21 | 17 | 9 | 2 | 1 | 118 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 254.2 | 217.5 | 217.0 | 225.0 | 207.7 | 153.0 | 148.8 | 136.4 | 138.0 | 248.0 | 234.0 | 257.3 | 2,436.9 |
แหล่งที่มา1: World Meteorological Organization[2] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory.[3] |
การคมนาคม[แก้]
จากประเทศไทย[แก้]
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สร้างข้ามแม่น้ำโขงระยะทาง 18 กิโลเมตร เพื่อข้ามระหว่างหนองคาย เข้ามายังเมืองเวียงจันทน์ โดยเป็นเส้นทางหลักสำหรับการเดินทางและการขนส่ง หลังจากนั้นก็มี เดิมเรียกสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แต่เนื่องจากมีการสร้างสะพานเชื่อมเพิ่มขึ้น จีงเรียกด้วยหมายเลข 1 และสะพานมิตรภาพ 1 นี้ยังมีการขนส่งด้วยรถไฟขนานอยู่บนสะพาน คาดว่าจะเป็นการขนส่งระหว่างไทยกับลาวที่มีต้นทุนต่ำที่สุด
การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวก็สะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีหลายสายการบินบินตรงจากกรุงเทพมหานคร ถึงเวียงจันทน์ หรือกรุงเทพมหานคร ถึงอุดรธานี แล้วมีรถโดยสารบริการส่งข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวต่อไป
จากประเทศจีน[แก้]
มีโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ในการสร้างรถไฟความเร็วปานกลางจากเวียงจันทน์ไปยังยูนนาน
ภายในประเทศลาว[แก้]
การเดินทางภายในประเทศลาว มีรถโดยสารประจำทางกระจายทั่วเมือง และมีการโดยสารโดยเอกสาร ด้วย คือ แท็กซี่มิเตอร์ ตุ๊กตุ๊ก สกายแล็ป (สองชนิดหลังต้องอาศัยการต่อราคาเอง ราคาการเดินทางแต่ละครั้งไม่ตายตัว)
การท่องเที่ยว[แก้]
เวียงจันทน์มีชื่อเสียงเรื่องการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมามากมายในแต่ละปี เนื่องจากเวียงจันทน์เป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ผสมความทันสมัยอย่างลงตัว
สถานที่สำคัญ[แก้]
- ปะตูไซ สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของปวงชนลาว พ้นจากการเป็นเมืองขึ้น โดยเลียนแบบประตูชัยในฝรั่งเศส แต่ใช้ศิลปะลาว
- หอพระแก้ว เดิมเป็นวัด เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์และมีร้านขายของที่ระลึก
- พระธาตุหลวง พระธาตุ (สถูป) ขนาดใหญ่สีทองอร่าม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นเครื่องหมายในดวงตราสำคัญของประเทศ
- วัดสีสะเกด อีกวัดหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม มีพระพุทธรูปใหญ่ และเล็กเรียงรายอยู่มากที่สุด
- ตลาดจีนชั่งเจี่ยง
ร้านอาหาร ภัตตาคาร[แก้]
อาหารประจำชาติของลาว คือ อาหารแนว ตำ ยำ ปิ้งย่าง และเฝอ (ก๋วยเตี๋ยว) โดยมีอิทธิพลอาหารผสมของแถบอินโดจีนจากจีน เวียดนาม และอิทธิพลจากการเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในเวียงจันทน์ จึงมีร้านอาหารพื้นเมือง ร้านกาแฟ ร้านขนมปังเลื่องชื่ออยู่มากมาย และหลายร้านก็ขายอาหารลาว ไทย อเมริกัน ยุโรป ปะปนกันก็มี
การศึกษา[แก้]
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
มหาวิทยาลัยสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์แห่งชาติลาว
เศรษฐกิจ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณุสข[แก้]
โรงพยาบาลมโหสถ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำประเทศลาว
โรงพยาบาลเชษฐาธิราช เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำประเทศลาวอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจีน จะเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศลาวและทันสมัยที่สุดจำนวน500เตียง
เมืองพี่น้อง[แก้]
กรุงเทพมหานคร, ไทย
หนองคาย, ไทย
จิตตะกอง, บังกลาเทศ
พนมเปญ, กัมพูชา
นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
จีเรบน, อินโดนีเซีย
เกียวโต, ญี่ปุ่น
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "World Weather Information Service — Vientiane". World Meteorological Organisation. สืบค้นเมื่อ 2010-10-31.
- ↑
"World Weather Information Service - Vientiane (1951-2000)". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ 14-05-2010. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ Climatological Information for Vientiane, Laos, accessed 24 April 2012.
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เวียงจันทน์ |