เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
|
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง[1] หรือ กวางสี หรือ กวางไซ[2] (จีนตัวย่อ: 广西壮族自治区; จีนตัวเต็ม: 廣西壯族自治區; พินอิน: Guǎngxī Zhuàngzú Zìzhìqū; จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (อักษรจีน: 桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตปกครองตนเองกวางซีจ้วงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลหูหนาน ประเทศจีน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศเวียดนาม และทะเลจีนใต้
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 เมือง หรือจังหวัด (市) 7 เทศมณฑลระดับเมือง 56 เทศมณฑล (县) 34 เขต (区) และ 12 เขตปกครองตนเอง (自治县)
เมืองฉงซั่ว (崇左市) | ||
---|---|---|
ประเภท | ชื่อ | |
เขต | เจียงโจว (江州区) | |
เมือง | ผิงเฉียง (凭祥市) | |
เทศมณฑล | หนิงหมิง (宁明县) ฝูสุย (扶绥县) หลงโจว (龙州县) ต้าซิน (大新县) เทียนเติ่ง (天等县) | |
เมืองไป๋เซ่อ (百色市) | ||
เขต | โย่เจียง (右江区) | |
เมือง | จิ้งซี (靖西市) | |
เทศมณฑล | หลินหยุน (凌云县) ผิงกั่ว (平果县) ซีหลิน (西林县) เล่อเย่ (乐业县) เต๋มเป่า (德保县) เถียนหลิน (田林县) เถียนหยาง (田阳县) เถียนตง (田东县) น่าโป (那坡县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติเก้อ หลงหลิน (隆林各族自治县) | |
เมืองเป่ยไห (北海市) | ||
เขต | ไห่เฉิง (海城区) หยินไห่ (银海区) เตี่ยชังกั่ง (铁山港区) | |
เทศมณฑล | เหอปู่ (合浦县) | |
เมืองกุ้ยกั่ง (贵港市) | ||
เขต | กั๋งเป่ย (港北区) กั๋งหนาน (港南区) ถันถาง (覃塘区) | |
เมือง | กุ้ยผิง (桂平市) | |
เทศมณฑล | ผิงหนาน (平南县) | |
เมืองกุ้ยหลิน (桂林市) | ||
เขต | เชี่ยนชาน (象山区) ชิ่วเฟิง (秀峰区) เตี๋ยไซ่ (叠彩区) ชีชิง (七星区) ยั่นชาน (雁山区) หลินกุ้ย (临桂区) | |
เทศมณฑล | หยานชั่ว (阳朔县) หลิงชวน (灵川县) ฉวนโจว (全州县) ผิงเก้ (平乐县) ชิงอัน (兴安县) ก้วนหยาง (灌阳县) หลี่ปู่ (荔浦县) ซือหยวน (资源县) หย่งฝู (永福县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติเก้อ หลงเชิ่ง (龙胜各族自治县) ชนชาติเย้า กงเฉง (恭城瑶族自治县) | |
เมืองเหอฉือ (河池市) | ||
เขต | จิงเฉิงเจียน (金城江区) | |
เมือง | หยีโจว (宜州市) | |
เทศมณฑล | เทียนเอ๋อ (天峨县) เฝิ้งชาน (凤山县) หนานตัน (南丹县) ตงหลาน (东兰县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติเหมาหนาน หวนเจียง (环江毛南族自治县) ชนชาติหมู่เหล่า หลัวเฉิง (罗城仫佬族自治县) ชนชาติเย้า ตูอัน (都安瑶族自治县) ชนชาติเย้า ปาหม่า (巴马瑶族自治县) ชนชาติเย้า ต้าฮั่ว (大化瑶族自治县) | |
เมืองฝังเฉิงกัง (防城港市) | ||
เขต | กั๋งโข่ว (港口区) ฝังเฉิง (防城区) | |
เมือง | ตงชิง (东兴市) | |
เทศมณฑล | ชั่งซือ (上思县) | |
เมืองเหอโจว (贺州市) | ||
เขต | บาปู้ (八步区) | |
เทศมณฑล | จงชาน (钟山县) เจาผิง (昭平县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติเย้า ฝู้ชวน (富川瑶族自治县) | |
เมืองไหลบิน (来宾市) | ||
เขต | ชิงปิน (兴宾区) | |
เมือง | เหอชาน (合山市) | |
เทศมณฑล | เชี่ยงโจว (象州县) อู่ชวน (武宣县) ชินเฉิง (忻城县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติเย้า จินซิ่ว (金秀瑶族自治县) | |
เมืองหลิวโจว (柳州市) | ||
เขต | เฉิงจง (城中区) หยูเฟิง (鱼峰区) หลิวเป่ย (柳北区) หลิ่วหนาน (柳南区) | |
เทศมณฑล | หลิ่วเจียง (柳江县) หลิ่วเฉิง (柳城县) ลู่ไซ่ (鹿寨县) หลงอัน (融安县) | |
เขตปกครองตนเอง | ชนชาติม้ง หลงฉุ่ย (融水苗族自治县) ชนชาติต้ง ซันเจียง (三江侗族自治县) | |
เมืองหนานหนิง (南宁市) | ||
เขต | ชิงชิ่ว (青秀区) ชิงหนิง (兴宁区) ชีเชียงถัง (西乡塘区) เหลียงชิ่ง (良庆区) เจียงหนาน (江南区) ยงหนิง (邕宁区) อู่หมิง (武鸣区) | |
เทศมณฑล | หลงอัน (隆安县) หม่าชาน (马山县) ชั่งหลิน (上林县) บินหยาง (宾阳县) เหิง (横县) | |
เมืองชินโจว (钦州市) | ||
เขต | ชินหนาง (钦南区) ชินเป่ย (钦北区) | |
เทศมณฑล | อู่เป่ย (浦北县) หลิงชาน (灵山县) | |
เมืองอู่โจว (梧州市) | ||
เขต | วั่นซิ่ว (万秀区) ฉางโจว (长洲区) หลงสู (龙圩区) | |
เมือง | เฉินซี่อ (岑溪市) | |
เทศมณฑล | ชังอู๋ (苍梧县) เถิง (藤县) เหมิงชาน (蒙山县) | |
เมืองยู่หลิน (玉林市) | ||
เขต | อู้โจว (玉州区) (福绵区) | |
เมือง | เป่ยหลิว (北流市) | |
เทศมณฑล | หลง (容县) ลู่ชวน (陆川县) โป๋ป๋าย (博白县) ชิงเย่ (兴业县) |
ภูมิประเทศ[แก้]
กว่างซีมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแอ่งกระทะและเทือกเขาขนาดเล็กที่ยาวคดเคี้ยวติดต่อกันเทือกเขาสำคัญได้แก่ ภูเขาต้าหมิงซันและต้าเหยาซัน เป็นต้น
ภูมิอากาศ[แก้]
สภาพอากาศแบบเขตร้อน โดยทางเหนือเป็นเขตร้อนแถบเอเชียกลาง ทางใต้เป็นเขตร้อนแถบเอเชียใต้ อุณหภูมิเฉลี่ย 16-23 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุก ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 5.5-15.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-2,800มิลลิเมตรต่อปี
ทรัพยากร[แก้]
กว่างซีเป็นหนึ่งในสิบเขตมณฑลที่ผลิตแร่ที่สำคัญของประเทศที่มีการสำรวจพบปริมาณสะสมมากติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ
เศรษฐกิจ[แก้]
ปี พ.ศ. 2546 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มีมูลค่าถึง 273,321 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.2% มูลค่าการเติบโตในภาคเกษตรกรรม 62,818 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 4.0% ภาคอุตสาหกรรม 100,592 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.5% ภาคบริการ 109,911 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 10.0% สัดส่วนจีดีพีในการผลิตทั้งสามภาคคิดเป็น 23.0 : 36.8 : 40.2
เกษตรกรรม[แก้]
ปี พ.ศ. 2546 มูลค่าการผลิตโดยรวมของสินค้าเกษตรกรรม ปศุสัตว์และประมงรวม 96,558 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.0% มีการลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 3.6 % ปริมาณการผลิตตลอดปี 14.84 ล้านตัน ลดลง 645,600 ตัน คิดเป็น 4.2 % การใช้พื้นที่สำหรับพืชเศรษฐกิจเ พิ่มขึ้น 2.4 % โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าว เพิ่มขึ้น 70 % น้ำตาลเพิ่มขึ้น 32.8 % ขณะที่มูลค่าการผลิตด้านการปศุสัตว์และประมง มีสัดส่วนเป็น 44.9 % ผลผลิตหลักคือ ข้าวนาน้ำ ข้าวโพด มัน เป็นต้น
อุตสาหกรรม[แก้]
อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า รถยนต์ เครื่องจักรกล การถลุงโลหะ ทำน้ำตาล อาหาร เป็นต้น อุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนพิเศษได้แก่ อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2544)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (ตอนพิเศษ 117ง): 2. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544.
- ↑ http://www.homebankstore.com/dl/ebookthbl/170.pdf
|