ข้ามไปเนื้อหา

จอห์น เลย์ฟิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
John Layfield
ชื่อเกิดJohn Charles Layfield
เกิด (1966-11-29) 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966 (58 ปี)[1]
Sweetwater, Texas,
United States[2]
ที่พักBermuda[3]
การศึกษาAbilene Christian University
คู่สมรสCindy Womack (สมรส 1994; หย่า 2003)
Meredith Whitney (สมรส 2005)
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนBad Santa
Blackjack Bradshaw[2]
Bradshaw[2]
Death Mask[2][2]
JBL
John "Bradshaw" Layfield[2][4]
Johnny Hawk[2]
Justin Bradshaw[2]
Vampiro Americano[2]
ส่วนสูง6 ft 6 in (1.98 m)[4]
น้ำหนัก292 lb (132 kg)[4]
มาจากSweetwater, Texas as Bradshaw
New York City as John Layfield
Roscoe, Texas as Justin Bradshaw/Blackjack Bradshaw
ฝึกหัดโดยBlack Bart[5]
Brad Rheingans[2][5]
เปิดตัว1992[2][5]
รีไทร์2009[6]

จอห์น ชาลส์ เลย์ฟิลด์ (John Charles Layfield) เกิด 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966[1] เป็นอดีตนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อ จอห์น "แบรดชอว์" เลย์ฟิลด์ (John "Bradshaw" Layfield) หรือ เจบีแอล (JBL)

ประวัติ

[แก้]

แบรดชอว์เคยเป็นนักอเมริกันฟุตบอลมาก่อน[7] หลังจากที่เขาเป็นนักมวยปล้ำเขาก็ปล้ำอยู่หลายสมาคมใช้ชื่อว่า จัสติน ฮอว์ก แบรดชอว์[2] ได้แชมป์แทกทีมคู่กับ Sweetwater และย้ายมาในสมาคม WWE ใช้ชื่อว่า แบล็คแจ็ค แบรดชอว์ และคว้าแชมป์ NWA North American Champions[8] ในโนเวย์เอาท์ 1998[9] พักหนึ่งได้รวมทีมกับรอน ซิมมอนส์ หรือฟารุก ใช้ชื่อทีมว่า APA ต่อมาก็ได้ร่วมกลุ่มของดิอันเดอร์เทเกอร์ อย่าง Ministry of Darkness[10] ทั้งคู่ก็ได้แชมป์แทกทีม[11] ในต้นปี 2002 ก็เริ่มมีการดราฟท์ตัวนักมวยปล้ำทำให้ทั้งคู่แยกสังกัดกัน[12] ในปี 2003 ทั้งคู่ได้กลับมารวมกลุ่มเป็น APA อีกครั้ง ไม่นานก็แยกทีมกันโดยฟารุกมีปัญหากับทางWWE ทำให้ฟารุกโดนไล่ออก แบรดชอว์เลยต้องเปลี่ยนบทเป็นอธรรมใช้ชื่อ จอห์น "แบรดชอว์" เลย์ฟิลด์ (เจบีแอล) หลังจากนั้นก็มีบทบาทมากขึ้น[13] ในเดอะเกรทอเมริกันแบช 2004 เจบีแอลสามารถคว้าแชมป์ WWEได้จากเอ็ดดี เกอร์เรโร[14] จากนั้นเจบีแอลก็สามารถเอาตัวรอดจากการป้องกันแชมป์หลายต่อหลายครั้งด้วยการเอาชนะอันเดอร์เทเกอร์, บูเกอร์ ที, เคิร์ต แองเกิล และบิ๊กโชว์ แต่ว่าในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21ก็เสียแชมป์ให้จอห์น ซีนา[15] หลังจากนั้นเจบีแอลก็ขอชิงแชมป์คืนจากซีนาหลายครั้งแต่ก็ทำไม่สำเร็จ[16][17]

เจบีแอลสามารถคว้าแชมป์ยูเอสจากการชนะคริส เบนวาในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 22[18][19] และได้ท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทกับเรย์ มิสเตริโอในJudgment Day แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะเรย์ได้[20] และอีกคืนถัดมาในสแมคดาวน์ เรย์ได้เรียกบ็อบบี แลชลีย์ออกมาชิงแชมป์ยูเอสกับเจบีแอลโดยไม่ให้ทันตั้งตัว เจบีแอลจึงเสียแชมป์ให้กับแลชลีย์ไปอย่างง่ายดาย[21] และเรย์ก็ได้ยื่นข้อเสนออีกว่าจะให้เจบีแอลชิงแชมป์กับเรย์อีกครั้ง หากแพ้เจบีแอลต้องออกจากสแมคดาวน์ ผลปรากฏว่าเจบีแอลแพ้หมดรูป ทำให้เจบีแอลต้องกลายไปเป็นผู้บรรยายคู่กับไมเคิล โคลนานนับปีเลยทีเดียว ในปลายปี 2007 เจบีแอลได้เปิดศึกกับคริส เจริโค เพราะในแมตช์ชิงแชมป์ WWE กับแรนดี ออร์ตันในอาร์มาเกดดอน (2007) ออร์ตันเหวี่ยงเจริโคไปโดนเจบีแอลที่กำลังนั่งเป็นผู้บรรยายอยู่ในตอนนั้น ทำให้เจบีแอลโกรธจึงถีบหน้าเจริโค ทำให้ไม่ได้แชมป์[22] ในรอยัลรัมเบิล (2008) แมตช์แห่งความแค้นกับเจริโค เจบีแอลชนะฟาล์ว เพราะเจริโคเอาเก้าอี้ฟาดเจบีแอล[23]

ในช่วงท้ายปี 2008 เจบีแอลได้ยื่นมือเข้ามาช่วยครอบครัวของชอว์น ไมเคิลส์ โดยมีข้อแม้ว่าชอว์นจะต้องทำให้เจบีแอลได้เป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ต่อมาในการหาผู้ท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในรอยัลรัมเบิล (2009) ชอว์นก็ช่วยให้เจบีแอลได้เป็นผู้ท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท โดยจัดการเจอริโคและออร์ตัน ด้วยท่า Sweet Chin Music แล้วให้เจบีแอลทำ Clothesline From Hell ใส่ชอว์นจับกดนับ 3 ไป ในรอยัลรัมเบิล เจบีแอลได้เป็นผู้ท้าชิงแชมป์โลกกับจอห์น ซีนา โดยมีชอว์นมาเป็นผู้ช่วยอยู่ข้างเวทีพอเริ่มการปล้ำการต่อสู้ก็ดำเนินไปอย่างดุเดือดจนถึงที เจบีแอลจะ Big Boot ใส่ซีนา แต่หลบได้ไปโดนกรรมการแทน ชอว์นที่อยู่ข้างล่างจึงขึ้นมาบนเวที เจบีแอลจึงบอกให้ Sweet Chin ใส่ซีนา แต่ชอว์นกลับ Sweet Chin ใส่เจบีแอล แล้ว Sweet Chin ใส่ซีนา ก่อนจะกลับไปชอว์นก็ลากเจบีแอลที่สลบมาจับกดซีนา แต่ซีนาก็ยังไม่ยอมแพ้และเจบีแอลก็ถูกใส่ Attitude Adjustment จับกดนับ 3 ไป ในโนเวย์เอาท์ (2009) เจบีแอลได้ท้าชอว์นให้เจอกับตนเองเพราะแค้นเหตุการณ์ในรอยัลรัมเบิล ในแมตช์นี้ภรรยาของชอว์นก็มาดูอยู่ข้างเวทีด้วย การต่อสู้ดำเนินไป เจบีแอลทำ Clothesline From Hell ใส่ชอว์นไป 2 ครั้ง จนตกลงมาข้างเวทีฝั่งที่ภรรยาของชอว์นอยู่ เจบีแอลได้แสดงอาการดูถูกเหยียดหยามชอว์นต่อหน้าภรรยาของเขา ภรรยาของชอว์นจึงชกหน้าเจบีแอลไป 1 ครั้ง ชอว์นฮึดสู้และ Sweet Chin ใส่เจบีแอลจับกดชนะไป แล้วกลับมาเป็นชอว์นคนเดิม หลังจากที่ต้องตกอยู่ใต้คำสั่งของเจบีแอล

ในรอว์ 9 มีนาคม 2009 เจบีแอลคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลได้จากซีเอ็ม พังก์ ทำให้เป็นแชมป์แกรนด์สแลมคนที่11 และแชมป์ทริปเปิลคราวน์คนที่20[24] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25เสียแชมป์ให้กับเรย์ในเวลาสั้นเพียง 21 วินาที หลังแมตช์เจบีแอลตะโกนคำว่า "I quit!" ประกาศลาออกจาก WWE ในความจริงคือ JBL นั้นมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกไขสันหลังจนต้องเลิกปล้ำ[25] ปี 2011 เจบีแอลได้กลับมา WWE อีกครั้งในรอว์ เพื่อเซ็นสัญญาเป็นกรรมการพิเศษในแมตช์ระหว่างไมเคิล โคลกับเจอร์รี ลอว์เลอร์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 และบอกว่าโคลคิดถูกแล้วที่เลือกเขาเป็นกรรมการพิเศษ แต่ขณะที่กำลังจะเซ็นสัญญานั้น สโตน โคลด์ สตีฟ ออสตินได้ออกมา และจัดการเจบีแอลด้วยท่าสตันเนอร์ แล้วเซ็นสัญญาเป็นกรรมการพิเศษแทน ปี 2012 เจบีแอลได้มางานมอบรางวัลหอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี เพื่ออันเชิญ รอน ซิมมอนส์ หรือ ฟารุก อดีตคู่แท็กทีมของเจบีแอล เข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี[26] ในเดือนกันยายน 2012 เจบีแอลได้เซ็นสัญญาเป็นผู้บรรยาย WWE และลาออกจากตำแหน่งในปี 2017[27][28] ในปี 2020 ได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศ WWE Hall of Fame[29]

ผลงานแสดง

[แก้]

เว็บซีรีส์

[แก้]
ปี รายการ รับบท หมายเหตุ
2012–present The JBL Show Himself series regular

ผลงานความสำเร็จ

[แก้]

ฟุตบอลวิทยาลัย

[แก้]
  • Abilene Christian University
    • 1989 NCAA Division II All–American

มวยปล้ำอาชีพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Texas Births, 1926–1995". "Family Tree Networks". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-08. สืบค้นเมื่อ July 26, 2009.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 "John Bradshaw Layfield Profile". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ March 27, 2008.
  3. Burgess, Don (February 10, 2012). "If they weren't booing me, I wasn't doing my job". Bermuda Sun. สืบค้นเมื่อ March 2, 2012.
  4. 4.0 4.1 4.2 JBL on wwe.com, September 5, 2013
  5. 5.0 5.1 5.2 "Cagematch profile".
  6. Layfield, John (April 6, 2009). "JBL No More, Thank You". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2009. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
  7. "July 2005 - Abilene Christian University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ 2012-09-20.
  8. 8.0 8.1 "NWA – North American Heavyweight Title History". Solie's Title Histories. สืบค้นเมื่อ April 26, 2008.
  9. "No Way Out 1998 official results". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-26.
  10. "Acolytes Protection Agency (A.P.A.) Profile". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-04-26.
  11. "Acolytes' first World Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-11. สืบค้นเมื่อ 2008-04-26.
  12. 12.0 12.1 "WWE Hardcore Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ April 26, 2008.
  13. Stevens, Lee (2009-01-06). "Under the Microscope - 1/5 WWE Raw: HBK's "history," Axiomatic Jericho, Substantial Penalty for Early Withdrawal". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08.
  14. "JBL vs. Eddie Guerrero in a Texas Bullrope Match for the WWE Championship". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-27.
  15. "John Cena vs. John Bradshaw Layfield - WWE Championship". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  16. "Second Chance". WWE. 2005-04-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  17. "John Cena vs. JBL in an I Quit Match for the WWE Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-04-28.
  18. "JBL def. Chris Benoit (new United States Champion)". WWE. 2006-04-02. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03.
  19. "JBL's first United States Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29.
  20. Ed Williams III (2006-05-21). "Rey Mysterio's dream ride somehow continues". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
  21. Dee, Louie (2006-05-26). "Kiss Him Goodbye". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29.
  22. Robinson, Bryan. "Saved by a 'wrestling god'". WWE. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
  23. Adkins, Greg (2008-01-27). "Bad Blood". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29.
  24. Adkins, Greg (2008-01-27). "Bad Blood". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-04-29.
  25. Plummer, Dale (2009-04-06). "Wrestlemania 25: HBK-Undertaker steals the show". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.
  26. Tucker, Benjamin (2012-03-31). "Complete WWE Hall of Fame ceremony recap". PW Torch. สืบค้นเมื่อ 2012-04-28.
  27. Scherer, Dave (November 8, 2012). "WWE-JBL UPDATE". PWInsider. สืบค้นเมื่อ November 11, 2012.
  28. "JBL announces his departure from WWE Smackdown's broadcast team". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ September 1, 2017.
  29. Melok, Bobby (March 3, 2020). "JBL to be inducted into WWE Hall of Fame Class of 2020". WWE. สืบค้นเมื่อ March 4, 2020.
  30. "Catch Wrestling Association World Tag Team Title". WrestlingTitles.com. สืบค้นเมื่อ April 7, 2008.
  31. @CACReunion (May 24, 2022). "And the 2022 CAC Iron Mike Award Winner Is..." (ทวีต). สืบค้นเมื่อ May 25, 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  32. Alvarez, Bryan (November 15, 2011). "Tues update: Tons more from Raw, UFC vs. New York notes, more WWE Twitter madness, HDNet signs new MMA deal, MMA legend heading to ROH, tons more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ November 15, 2011.
  33. "G.W.F. Tag Team Title". wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ December 28, 2007.
  34. "M.C.W. Southern Tag Team Title". WrestlingTitles.com. สืบค้นเมื่อ July 4, 2008.
  35. Hoops, Brian (January 15, 2019). "Pro wrestling history (01/15): Big John Studd wins 1989 Royal Rumble". Wrestling Observer Figure Four Online. สืบค้นเมื่อ January 18, 2019.
  36. "O.V.W. Southern Tag Team Title". wrestling-titles.com. สืบค้นเมื่อ December 28, 2007.
  37. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2005". The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ January 21, 2015.
  38. Royal Duncan & Gary Will (2000). Wrestling Title Histories (4th ed.). Archeus Communications. ISBN 0-9698161-5-4.
  39. "JBL's Title History". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2008. สืบค้นเมื่อ December 28, 2007.
  40. "WWE Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ May 1, 2008.
  41. "JBL's first Intercontinental Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 9, 2009.
  42. "WWE Intercontinental Championship". สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
  43. "WWE United States Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ May 1, 2008.
  44. "WWE European Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ May 1, 2008.
  45. "World Tag Team Championship official title history". WWE. สืบค้นเมื่อ May 1, 2008.
  46. 46.0 46.1 Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA: 1–40. ISSN 1083-9593.
  47. 47.0 47.1 Meltzer, Dave (January 26, 2015). "Jan. 26, 2015 Wrestling Observer Newsletter: 2014 awards issue w/ results & Dave's commentary, Conor McGregor, and much more". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 25. ISSN 1083-9593.
  48. Meltzer, Dave (January 25, 2016). "January 25, 2016 Wrestling Observer Newsletter: 2015 Observer Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 34. ISSN 1083-9593.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]