คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 29

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีสฤษดิ์
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2506
วันแต่งตั้ง9 กุมภาพันธ์​ พ.ศ. 2502
วันสิ้นสุด8 ธันวาคม​ พ.ศ. 2506
(4 ปี 302 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หัวหน้ารัฐบาลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ประวัติ
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 28
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29 (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

รายชื่อคณะรัฐมนตรี[แก้]

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502[1]

  1. พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
  3. นายโชติ คุณะเกษม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  4. พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  5. นายสวัสดิ์ มหาผล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
  6. พลตรี พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  7. พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  8. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  9. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  10. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
  11. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์
  12. พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  13. นายบุณย์ เจริญไชย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี[แก้]

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502[แก้]

พ้นจากตำแหน่ง[แก้]

โยกย้ายตำแหน่ง[แก้]

แต่งตั้ง[แก้]

26 สิงหาคม พ.ศ. 2502[แก้]

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

9 กันยายน พ.ศ. 2502[แก้]

แต่งตั้ง[แก้]

23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506[แก้]

แต่งตั้ง[แก้]

มีการจัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ จึงมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี[3]

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506[4]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]