เตงจี๋
เตงจี๋ (เติ้ง จือ) | |
---|---|
鄧芝 | |
ขุนพลทหารรถรบและทหารม้า (車騎將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 243 – ค.ศ. 251 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋ว (兗州刺史) (ในนาม) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 234 – ค.ศ. 243 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลทัพหน้า (前將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 234 – ค.ศ. 243 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
เสนาธิการทัพหน้า (前軍師) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 234 – ค.ศ. 243 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลเชิดชูยุทธ (揚武將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 227 – ค.ศ. 234 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ผู้ดูแลทหารส่วนกลาง (中監軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 227 – ค.ศ. 234 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ราชเลขาธิการ (尚書) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ป. 221 – ค.ศ. 227 | |
กษัตริย์ | เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
เจ้าเมืองก๋งฮาน (廣漢太守) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ป. 221 | |
นายอำเภอผี (郫令) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ป. 214 – ค.ศ. ? | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 178[1] อำเภอซินเหย่ มณฑลเหอหนาน |
เสียชีวิต | 251 (73 ปี)[2] |
ที่ไว้ศพ | อำเภอจื่อถง มณฑลเสฉวน |
บุตร | เตงเลียง |
บุพการี |
|
ญาติ | เตงอู (บรรพบุรุษ) |
อาชีพ | ขุนนาง นักการทูต ขุนพล |
ชื่อรอง | ปั๋วเหมียว (伯苗) |
บรรดาศักดิ์ | หยางอู่ถิงโหว (陽武亭侯) |
เตงจี๋ (ค.ศ. 178 - 251)[a][2][1] มีชื่อภาษาจีนกลางว่า เติ้ง จือ (จีน: 鄧芝) ชื่อรอง ปั๋วเหมียว (จีน: 伯苗) เป็นขุนนางราชสำนัก นักการทูต และขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน สืบเชื้อสายจากเตงอู (เติ้ง ยฺหวี่) ขุนพลของจักรพรรดิฮั่นกองบู๊ เตงจี๋เริ่มรับราชการในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกโดยอยู่ภายใต้ขุนศึกเล่าปี่ มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่อำเภอผี หลังเล่าปี่พบว่าเตงจี๋เป็นผู้มีความสามารถ เตงจี๋จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอของอำเภอผีและภายหลังเป็นเจ้าเมืองของเมืองก๋งฮานและราชเลขาธิการตามลำดับ ในปี ค.ศ. 223 ผู้สำเร็จราชการจูกัดเหลียงส่งเตงจี๋ในฐานะทูตของจ๊กก๊กไปพบซุนกวนผู้ปกครองของง่อก๊กอันเป็นรัฐพันธมิตรของจ๊กก๊ก และฟื้นคืนความเป็นพันธมิตรระหว่างจ๊กก๊กและง่อก๊กเพื่อต่อต้านวุยก๊กอันเป็นรัฐอริร่วม เตงจี๋ปฏิบัติภารกิจสำเร็จและได้รับการยกย่องจากซุนกวนในเรื่องที่ช่วยเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างง่อก๊กและจ๊กก๊ก ในปี ค.ศ. 227 เตงจี๋กลายเป็นขุนพลและเข้าร่วมในการบุกวุยก๊กโดยจ๊กก๊กครั้งแรก ร่วมกับจูล่งนำกองรบล่อเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของโจจิ๋นขุนพลวุยก๊ก แม้ว่าเตงจี๋และจูล่งจะพ่ายแพ้ในยุทธการ แต่ทั้งคู่ก็สามารถรวบรวมกำลังป้องกันอย่างแน่นหนาระหว่างการล่าถอยและลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด หลังจูกัดเหลียงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 234 เตงจี๋ขึ้นมามีตำแหน่งขุนพลระดับสูงและประจำอยู่บริเวณที่เป็นนครฉงชิ่งในปัจจุบัน เป็นเวลาราว 10 ปีก่อนจะถูกเรียกตัวกลับเซงโต๋นครหลวงของจ๊กก๊กด้วยวัยราว 70 ปีเพื่อรับตำแหน่งเป็นขุนพลทหารรถรบและทหารม้า ในปี ค.ศ. 248 เตงจี๋ปราบปรามกบฏในเมืองฝูหลิง (บริเวณอำเภอเผิงฉุ่ย นครฉงชิ่งในปัจจุบัน) เตงจี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 251
ชีวประวัติช่วงต้น
[แก้]เตงจี๋เกิดในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในอำเภอซินเอี๋ย (新野縣 ซินเหย่เซี่ยน) เมืองงีหยง (義陽郡 อี๋หยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอซินเหย่ มณฑลเหอหนาน สืบเชื้อสายจากเตงอู (鄧禹 เติ้ง ยฺหวี่) ขุนพลของจักรพรรดิฮั่นกองบู๊ (漢光武帝 ฮั่นกวางอู่ตี้) ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[4]
ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เตงจี๋ย้ายไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ที่เอ๊กจิ๋วเตงจี๋ไม่เป็นที่รู้จักในหมู่คนท้องถิ่นมากนัก จึงตัดสินใจไปปรึกษาจาง ยฺวี้ ขุนนางระดับล่างในเอ๊กจิ๋วซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะหมอดู จาง ยฺวี้บอกเตงจี๋ว่า "เมื่อท่านอายุมากกว่าเจ็ดสิบ ท่านจะขึ้นมามีตำแหน่งเป็นมหาขุนพล และได้รับบรรดาศักดิ์โหว"[5]
ภายหลังเตงจี๋ได้ยินว่าบังยี่ เจ้าเมืองปาเส (巴西郡 ปาซีจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครล่างจง มณฑลเสฉวน) มีชื่อเสียงในเรื่องการเลี้ยงผู้ติดตาม จึงเดินทางไปหาและกลายเป็นหนึ่งในผู้ติดตามของบังยี่[6][3]
รับใช้เล่าปี่
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เดินทางไปง่อก๊กในฐานะทูตของจ๊กก๊ก
[แก้]ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 221 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 222 เล่าปี่นำทัพเข้ารบกับซุนกวนอดีตพันธมิตรผู้ทำลายความเป็นพันธมิตรในปี ค.ศ. 219 โดยการยึดอาณาเขตของเล่าปี่ทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋วและประหารชีวิตกวนอูขุนพลคนสำคัญคนหนึ่งของเล่าปี่ อย่างไรก็ตาม เล่าปี่กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยินต่อทัพซุนกวนในยุทธการที่อิเหลง[7]
ก่อนเล่าปี่สวรรคตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 223[8] ซุนกวนพยายามสงบศึกกับเล่าปี่หลังยุทธการที่อิเหลง เล่าปี่จึงส่งซ่ง เหว่ย์ (宋瑋) และบิฮุยเป็นผู้แทนพระองค์ไปพบกับซุนกวนและตกลงสงบศึก[9] หลังการสวรรคตของเล่าปี่ จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการของเล่าเสี้ยนพระโอรสและผู้สืบราชบัลลังก์ของเล่าปี่ เนื่องจากเวลานั้นเล่าเสี้ยนยังทรงพระเยาว์[8]
เมื่อจูกัดเหลียงกลัวว่าซุนกวนจะทำลายสัญญาสงบศึก จึงยังไม่แน่ใจว่าจะทำการประการใด[10] เตงจี๋มาเข้าพบจูกัดเหลียงและบอกว่า "ฝ่าบาทยังทรงพระเยาว์และอ่อนแอ พระองค์เพิ่งขึ้นครองบัลลังก์ เราควรส่งทูตไปง่อเพื่อฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรกับง่อขึ้นใหม่" จูกัดเหลียงตอบว่า "ข้าก็คิดเรื่องนี้มานานแล้วแต่ยังไม่พบผู้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้ บัดนี้ข้าพบผู้เหมาะสมแล้ว" เตงจี๋ถามว่าใครคือผู้ที่จูกัดเหลียงเห็นว่าเหมาะสม จูกัดเหลียงตอบว่า "เป็นท่านนั่นเอง" จึงตั้งให้เตงจี๋เป็นทูตของจ๊กก๊กไปยังง่อก๊กเพื่อพบซุนกวน[11]
การเดินทางไปง่อก๊กครั้งแรก
[แก้]เมื่อเตงจี๋เดินทางมาถึงง่อก๊ก ซุนกวนปฏิเสธที่จะให้เตงจี๋เข้าพบ เตงจี๋จึงเขียนฎีกาถึงซุนกวนว่า "กระหม่อมมาที่นี่วันนี้ไม่เพียงเพื่อประโยชน์ของจ๊ก แต่เพื่อประโยชน์ของง่อด้วย"[12] ซุนกวนจึงให้เตงจี๋เข้าเฝ้าและตรัสว่า "ข้าปรารถนาโดยแท้ที่จะผูกพันธมิตรกับจ๊ก แต่ข้ากังวลว่าเจ้าผู้ครองจ๊กยังเยาว์วัยและอ่อนแอ จ๊กเองก็เล็กและอ่อนแอถึงขั้นไม่อาจช่วยตัวเองจากการถูกพิชิตโดยวุย นั่นจึงเป็นเหตุที่ทำให้ข้าต้องไตร่ตรองใหม่"[13]
เตงจี๋ตอบว่า
"ง่อและจ๊กสองรัฐครอบคลุมสี่มณฑล ในขณะที่ฝ่าบาทเป็นวีรบุรุษของยุค จูกัดเหลียงก็เป็นวีรบุรุษของยุคเช่นกัน จ๊กมีเขาสูงเป็นปราการธรรมชาติ ในขณะที่ง่อมีแม่น้ำเป็นแนวป้องกันธรรมชาติ หากเราใช้ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์นี้ร่วมกันและสานสัมพันธไมตรีต่อกัน เราก็สามารถพิชิตดินแดนที่บุกเข้าไป เรายังสามารถตั้งมั่นอยู่ได้หากเราถอย นี่เป็นวิถีธรรมชาติของสรรพสิ่ง หากฝ่าบาททรงเห็นด้วยที่จะส่งพระโอรสไปเป็นตัวประกันที่วุย วุยก็จะเรียกพระองค์ไปยังราชสำนักหรือขอรัชทายาทของพระองค์ไปรับใช้วุย หากฝ่าบาทปฏิเสธ วุยก็ใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างถือว่าฝ่าบาทเป็นกบฏและเข้าโจมตีฝ่าบาท หากเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว จ๊กก็จะตามร่วมผสมโรงชิงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชิงได้จากฝ่าบาท แผ่นดินกังหนำก็จะไม่ใช่ของฝ่าบาทอีกต่อไป"[14]
ซุนกวนไตร่ตรองเป็นเวลานานก่อนจะตรัสตอบว่า "ท่านพูดถูก" จึงตัดสินใจตัดความสัมพันธ์กับวุยก๊ก และสานความเป็นพันธมิตรกับจ๊กก๊ก แล้วจึงตั้งให้เตียวอุ๋นเป็นทูตเดินทางไปกับเตงจี๋กลับไปยังจ๊กก๊ก[15] เตงจี๋ยังเจรจาขอตัวเตียวอี้กลับคืนมา ซึ่งก่อนหน้านี้เตียวอี้ถูกจับระหว่างการก่อการกำเริบโดยคนท้องถิ่นในภูมิภาคหนานจงที่นำโดยยงคีและส่งตัวไปยังง่อก๊ก[16]
การเดินทางไปง่อก๊กครั้งที่สอง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบุกวุยก๊กโดยจ๊กก๊กครั้งแรก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รักษากังจิวและสยบฝูหลิง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เสียชีวิต
[แก้]เตงจี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 251[2] ขณะอายุ 74 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] ศพถูกฝังในตำแหน่งทางตะวันตกเฉียงใต้ 5 ลี้ ของอำเภอจื่อถง มณฑลเสฉวน[17]
ครอบครัว
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำวิจารณ์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Rafe de Crespigny เขียนผิดในหนังสือ A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD (พจนานุกรมชีวประวัติบุคคลราชวงศ์ฮั่นยุคหลังถึงยุคสามก๊ก ค.ศ. 23-220) ว่าเตงจี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 250[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Cihai, 6th edition (2009–10) Collectors' edition (辞海 第六版 典藏本) (ISBN 978-7-5326-3353-1/N.68)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ([延熈]十四年卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ 3.0 3.1 de Crespigny (2007), p. 137.
- ↑ (鄧芝字伯苗,義陽新野人,漢司徒禹之後也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (漢末入蜀,未見知待。時益州從事張裕善相,芝往從之,裕謂芝曰:「君年過七十,位至大將軍,封侯。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (芝聞巴西太守龐羲好士,往依焉。) Sanguozhi vol. 45.
- ↑ Sima (1084), vols. 68-69.
- ↑ 8.0 8.1 Sima (1084), vol. 70.
- ↑ (先主薨於永安。先是,吳王孫權請和,先主累遣宋瑋、費禕等與相報荅。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (丞相諸葛亮深慮權聞先主殂隕,恐有異計,未知所如。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (芝見亮曰:「今主上幼弱,初在位,宜遣大使重申吳好。」亮荅之曰:「吾思之乆矣,未得其人耳,今日始得之。」芝問其人為誰,亮曰:「即使君也。」乃遣芝脩好於權。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (權果狐疑,不時見芝,芝乃自表請見權曰:「臣今來亦欲為吳,非但為蜀也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (權乃見之,語芝曰:「孤誠願與蜀和親,然恐蜀主幼弱,國小勢偪,為魏所乘,不自保全,以此猶豫耳。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (芝對曰:「吳、蜀二國四州之地,大王命世之英,諸葛亮亦一時之傑也。蜀有重險之固,吳有三江之阻,合此二長,共為脣齒,進可并兼天下,退可鼎足而立,此理之自然也。大王今若委質於魏,魏必上望大王之入朝,下求太子之內侍,若不從命,則奉辭伐叛,蜀必順流見可而進,如此,江南之地非復大王之有也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (權默然良乆曰:「君言是也。」遂自絕魏,與蜀連和,遣張溫報聘於蜀。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ 會先主薨,諸葛亮遣鄧芝使吳,亮令芝言次可從權請裔。裔自至吳數年,流徙伏匿,權未之知也,故許芝遣裔。จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
- ↑ (蜀漢鄧芝墓,縣西南五里,有二石闕,南陽人,仕蜀為車騎將軍。) บันทึกอำเภอจื่อถงจากศักราชเสียนเฟิง (咸豐梓潼縣志).