ลิจวน
ลิจวน (หลี่ จฺว้าน) | |
---|---|
李譔 | |
ขุนพลราชองครักษ์ฝ่ายซ้าย (右中郎將 จั่วจงหลางเจี้ยง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนนางที่ปรึกษารับใช้ (中散大夫 จงซ่านต้าฟู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนนางรอง (僕射 ผูเช่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
องครักษ์ประจำองค์รัชทายาท (太子庶子 ไท่จื่อชู่จื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครเหมี่ยนหยาง มณฑลเสฉวน |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนนาง, บัณฑิต |
ชื่อรอง | ชินจ้ง (欽仲) |
ลิจวน[1] (มีบทบาทในช่วง ค.ศ. 223 – ทศวรรษ 260) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลี่ จฺว้าน (จีน: 李譔; พินอิน: Lǐ Zhuàn) ชื่อรอง ชินจ้ง (จีน: 欽仲; พินอิน: Qīnzhòng) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน[2]
ประวัติ
[แก้]ลิจวนเป็นชาวอำเภอโปยเสีย (涪縣 ฝูเซี่ยน) เมืองจื่อถง (梓潼郡 จื่อถงจฺวิ้น) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของนครเหมี่ยนหยาง มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน บิดาของลิจวนชื่อหลี่ เหริน (李仁) ชื่อรอง เต๋อเสียน (德賢) เป็นเพื่อนสนิทของอินเบกซึ่งเป็นชาวอำเภอเดียวกัน หลี่ เหรินและอินเบกจากบ้านเกิดในมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) เดินทางไปยังมณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน) เพื่อไปเรียนคัมภีร์กับสุมาเต๊กโชและซงต๋ง (宋忠 ซ่ง จง; รู้จักในอีกชื่อว่า ซ่ง จ้งจื่อ 宋仲子)[3]
ลิจวนสืบทอดความรู้ของบิดา ร่วมกับอินเบกในการศึกษาห้าคัมภีร์และร้อยสำนักคิด และกลายเป็นบัณฑิตผู้รอบรู้ นอกเหนือจากวิชาการและปรัชญาแล้ว ลิจวนยังเชี่ยวชาญศิลปะและงานฝีมือหลายด้าน คณิตศาสตร์ การทำนาย การแพทย์ การยิงเกาทัณฑ์ และกลศาสตร์[4]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("เจาจิ๋วก็ห้ามปรามเปนหลายครั้ง ขงเบ้งก็มิได้ฟัง จึงสั่งให้ กุยฮิวจี๋ บิฮุย ตันอุ๋น เฮียงทง ตันจีน เจียวอ้วน เตียวฮี เตาเขง โตบี เอียวฮอง เบงก๋อง ไลบิน อินเบด ลิจวน ฮุยสี เจาจิ๋ว กับขุนนางผู้ใหญ่ร้อยเศษ คุมทหารอยู่รักษาเมืองเสฉวน") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 16, 2023.
- ↑ de Crespigny (2007), p. 442.
- ↑ (李譔字欽仲,梓潼涪人也。父仁,字德賢,與同縣尹默懼遊荊州,從司馬徽、宋忠等學。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
- ↑ (譔具傳其業,又默講論義理,五經、諸子,無不該覽,加博好技藝,算術、卜數,醫藥、弓弩、機械之巧,皆致思焉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 42.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.