กุยฮิวจี๋
กุยฮิวจี๋ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขุนนางแห่งจ๊กก๊ก | |||||||||||||||
เกิด | ไม่ปรากฏ | ||||||||||||||
สถานที่เกิด | เมืองลำหยง (ปัจจุบันคือเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน) | ||||||||||||||
ถึงแก่กรรม | ไม่ปรากฏ | ||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 郭攸之 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 郭攸之 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อรอง | เหยี่ยนฉาง (演長) | ||||||||||||||
ยุคในประวัติศาสตร์ | ยุคสามก๊ก |
กุยฮิวจี๋ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กัวโยวจือ (จีน: 郭攸之; พินอิน: Guō Yōuzhī; เวด-ไจลส์: Kuo Yuchih) มีชื่อรองว่าเหยี่ยนฉาง (จีนตัวย่อ: 演长; จีนตัวเต็ม: 演長; พินอิน: Yǎn Cháng; เวด-ไจลส์: Yen-ch‘ang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนนางของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองลำหยง (南陽 หนานหยาง ปัจจุบันคือเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน)
จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง) อัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊ก ได้เขียนกล่าวถึงกุยฮิวจี๋ในฎีกาออกศึก (出師表 ชูชือเปี่ยว) ฉบับแรกในปี ค.ศ. 227 ว่ากุยฮิวจี๋เป็นผู้มีความจงรักภักดีและมีความซื่อสัตย์เป็นอย่างสูง กุยฮิวจี๋ถูกระบุชื่อพร้อมด้วยตังอุ๋นและบิฮุยว่าเป็นขุนนางมีความสามารถที่สามารถให้คำปรึกษาในราชการทั้งใหญ่และน้อยแก่พระเจ้าเล่าเสี้ยนได้
ในวรรณกรรมสามก๊ก[แก้]
กุยฮิวจี๋ปรากฏเป็นตัวละครในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ตอนที่ 91 ตรงกับใน สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70 กุยฮิวจี๋เป็นขุนนางคนหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในฎีกาออกศึกที่ขงเบ้งเขียนถวายพระเจ้าเล่าเสี้ยน และเป็นหนึ่งในขุนนางที่ขงเบ้งมอบหมายให้อยู่รักษาเสฉวนระหว่างที่ขงเบ้งออกศึกบุกวุยก๊ก [1] [2]
อ้างอิง[แก้]
- ตันซิ่ว. จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- เผยซงจือ. อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก.
- ล่อกวนตง. สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
- เจ้าพระยาพระคลัง (หน). สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับสามก๊กนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสามก๊ก |