เอี่ยงลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอี่ยงลอง (เซี่ยง หล่าง)
向朗
ขุนพลซ้าย
(左將軍 จั่วเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
เสนาบดีราชวัง
(光祿勳 กวางลู่ซฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
หัวหน้าเลขานุการของอัครมหาเสนาบดี
(丞相長史 เฉิงเซี่ยงจ๋างฉื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 228 (228)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
นายกองทหารราบ
(步兵校尉 ปู้ปิงเซี่ยวเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 228 (228) – ค.ศ. 233 (233)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
เจ้าเมืองห้องเหลง (房陵太守 ฝางหลิงไท่โฉ่ว)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้ /
เล่าปี่ (ตั้งแต่ ค.ศ. 219)
เจ้าเมืองโคกุ้น (牂牁太守 จางเคอไท่โฉ่ว)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าเมืองปาเส (巴西太守 ปาซีไท่โฉ่ว)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
นายอำเภอหลินจฺวี่ (臨沮長 หลินจฺวี่จ่าง)
(ภายใต้เล่าเปียว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 208 (208)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดทศวรรษ 160[a]
นครอี๋เฉิง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิต247[b]
บุตรเซี่ยง เถียว
ญาติ
อาชีพขุนนาง, บัณฑิต
ชื่อรองจฺวี้ต๋า (巨達)
บรรดาศักดิ์เสี่ยนหมิงถิงโหว
(顯明亭侯)

เอี่ยงลอง[2] (ทศวรรษ 160-ค.ศ. 247)[a][b] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เซี่ยง หล่าง (จีน: 向朗; พินอิน: Xiàng Lǎng) ชื่อรอง จฺวี้ต๋า (จีน: 巨達; พินอิน: Jùdá) เป็นขุนนางและบัณฑิตของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เดิมรับใช้ขุนศึกเล่าเปียวและเล่าปี่ (ภายหลังเป็นจักรพรรดิผู้สถาปนารัฐจ๊กก๊ก) ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในปี ค.ศ. 243 เอี่ยงลองลาออกจากราชการและใช้ชีวิตที่เหลือกับการอ่าน การเขียน การตรวจสอบ และการเรียบเรียงตำราต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาที่เอี่ยงลองเสียชีวิตในปี ค.ศ. 247 เอี่ยงลองก็เป็นหนึ่งในนักสะสมตำราที่สำคัญที่สุดในยุคนั้นและมีอิทธิพลต่อบัณฑิตในชั้นหลังหลายคน เอี่ยงลองเป็นอาของเฮียงทงขุนพลจ๊กก๊ก

การรับราชการช่วงต้น[แก้]

เอี่ยงลองเป็นชาวอำเภอยี่เซง (宜城 อี๋เฉิง) เมืองซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) ซึ่งปัจจุบันคือนครอี๋เฉิง มณฑลหูเป่ย์[3] เอี่ยงลองในวัยเยาว์เป็นลูกศิษย์ของสุมาเต๊กโชร่วมกับชีซี ฮันสง และบังทอง ทั้งหมดเป็นมิตรสนิทสนมกัน[4] เอี่ยงลองได้รับการแต่งตั้งจากเล่าเปียวให้เป็นนายอำเภอหลินจฺวี่ (臨沮長 หลินจฺวี่จ่าง) หลังเล่าเปียวเสียชีวิต เอี่ยงลองเข้ามารับใช้เล่าปี่[5]

รับราชการกับเล่าปี่[แก้]

รับราชการกับเล่าเสี้ยน[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ชีวประวัติเอี่ยงลองในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าเอี่ยงลองมีอายุถึงราวแปดสิบปี ปีที่เอี่ยงลองเกิดจึงควรจะเป็นช่วงทศวรรษ 160
  2. 2.0 2.1 ชีวประวัติเอี่ยงลองในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าเอี่ยงลองเสียชีวิตในศักราชเหยียนซี (ค.ศ. 238-257) ปีที่ 10 ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. (延熈十年卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41
  2. ("ขงเบ้งสั่งสอนกวนอูดังนั้นแล้ว จึงเอาตราสำหรับว่าราชการเมืองมอบให้ แล้วจึงเกณฑ์อิเจี้ยม้าเลี้ยงเอี่ยงลองบิต๊กฝ่ายพลเรือนสี่นาย กับบิฮองเล่าฮองกวนเป๋งจิวฉองฝ่ายทหารสี่นายนั้น อยู่รักษาเมืองด้วยกวนอูเสร็จแล้ว") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 23, 2023.
  3. (向朗字巨達,襄陽宜城人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
  4. (《襄阳记》曰:朗少师事司马德操,与徐元直、韩德高、庞士元皆亲善。) อรรถาธิบายจากเซียงหยางจี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
  5. (荊州牧劉表以為臨沮長。表卒,歸先主。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.

บรรณานุกรม[แก้]