ลิหงี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิหงี (ลฺหวี่ อี้)
呂乂
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ
(尚書令 ช่างชูลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 246 (246) – ค.ศ. 251 (251)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ก่อนหน้าตั๋งอุ๋น
ถัดไปเฉิน จือ
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 246 (246)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
เจ้าเมืองจ๊ก (蜀郡太守 สู่จฺวิ้นไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
เจ้าเมืองก๋งฮาน
(廣漢太守 กว่างฮ่านไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
เจ้าเมืองปาเส (巴西太守 ปาซีไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เสียชีวิตค.ศ. 251[1][2]
บุตร
  • ลฺหวี่ เฉิน
  • ลฺหวี หย่า
บุพการี
  • ลฺหวี่ ฉาง (บิดา)
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองจี้หยาง (季陽)

ลิหงี[3] (เสียชีวิต ค.ศ. 251)[1][2] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ลฺหวี่ อี้ (จีน: 呂乂; พินอิน: Lǚ Yì) ชื่อรอง จี้หยาง (จีน: 季陽; พินอิน: Jìyáng) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ[แก้]

บ้านเกิดของลิหงีคือเมืองลำหยง (南陽郡 หนานหยางจฺวิ้น) ซึ่งอยู่บริเวณนครหนานหยาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน บิดาของลิหงีคือลฺหวี่ ฉาง (呂常) ได้คุ้มกันเล่าเอี๋ยนไปยังมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) เมื่อราวปี ค.ศ. 188[4] เมื่อเล่าเอี๋ยนได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกให้เป็นเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว หลังสำเร็จภารกิจ ลฺหลี่ ฉางไม่สามารถกลับไปเมืองลำหยงบ้านเกิดได้เพราะถนนถูกขวางกั้น จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการคงอยู่ในมณฑลเอ๊กจิ๋วต่อไปและปักหลักอยู่ที่นั่น[5] ลิหงีจึงน่าจะเกิดในมณฑลเอ๊กจิ๋ว

ลิหงีกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุยังเยาว์ ลิหงีชื่นชอบการอ่านหนังสือ การเขียนอักษรวิจิตร การเล่นกลอง และการเล่นกู่ฉิน[6] ไม่ทราบแน่ชัดว่าลิหงีรับราชการกับเล่าเอี๋ยนหรือเล่าเจี้ยงบุตรชายของเล่าเอี๋ยนขณะเป็นเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋วหรือไม่

ในปี ค.ศ. 214[7] หลังจากขุนศึกเล่าปี่เข้ายึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋วจากเล่าเจี้ยง เล่าปี่จัดตั้งสำนักเกลือ (鹽府 เหยียนฝู่) เพื่อกำกับดูแลและควบคุมการผลิตและการค้าเกลือในมณฑลเอ๊กจิ๋ว ในเวลานั้นลิหงีรับราชการในสำนักเกลือในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย รับผิดชอบการติดตามผลกำไรจากการค้าเกลือและเหล็ก เมื่ออองเลี้ยนดำรงตำแหน่งนายกองสำนักเกลือ (鹽府校尉 ซือเหยียนเซี่ยวเว่ย์) ได้เลื่อนขั้นให้ลิหงี, ตอกี๋ (杜祺 ตู้ ฉี)[8] และหลิว ก้าน (劉幹)[9][a] ให้ดำรงตำแหน่งเตี่ยนเฉาตูเว่ย์ (典曹都尉) ในสังกัดของตน[11]

ครอบครัว[แก้]

คำวิจารณ์[แก้]

ในนิยาย สามก๊ก[แก้]

ในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 ชื่อของลิหงีเขียนด้วยตัวอักษรจีนว่า 呂義 (อักษรจีนตัวเต็ม) / 吕义 (อักษรจีนตัวย่อ)

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ตอกี๋ (杜祺 ตู้ ฉี) รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองของหลายเมืองก่อนจะมารับราชการขึ้นตรงกับมหาขุนพลบิฮุย หลิว ก้าน (劉幹) ก็เคยรับราชการในหลากหลายตำแหน่ง โดยตำแหน่งสูงสุดที่ได้รับคือเจ้าเมืองปาเส เป็นที่รู้กันว่าทั้งตอกี๋และหลิว ก้านเป็นเพื่อนสนิทของลิหงี และมีชื่อเสียงทัดเทียมกัน แต่ลิหงีมีชื่อเสียงที่ดีกว่าในเรื่องวิถีชีวิตที่ประหยัดมัธยัสถ์และรูปแบบการทำงานอย่างเชี่ยวชาญ[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 (延熈十四年卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
  2. 2.0 2.1 de Crespigny (2007), p. 631.
  3. ("แล้วขงเบ้งก็ถวายบังคมลามาที่อยู่ จึงจัดแจงนายทหารสามสิบคน อุยเอี๋ยน เตียวเอ๊ก อองเป๋ง ลิอิ๋น ลิหงี ม้าต้าย เลียวฮัว ม้าตง เตียวหงี เล่าตำ เปงจี๋ ม้าเจ๊ก อ้วนหลิม งออี้ โกเสียง งอปัน เอียวหงี เล่าเป๋า เคาอิ้น เตงหำ เล่าปิ้น กัวหยง ออจี้ เงี้ยมอ้าน เหียนสิบ ตอหงี ตอกี๋ เซงฮู ฮวนกี๋ อวนเกี๋ยน ตังควด กวนหิน เตียวเปา จะยกไปตีเมืองฮูโต๋") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 16, 2023.
  4. จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 59.
  5. (呂乂字季陽,南陽人也。父常,送故將軍劉焉入蜀,值王路隔塞,遂不得還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
  6. (乂少孤,好讀書鼔琴。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
  7. จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 67.
  8. de Crespigny (2007), p. 181.
  9. de Crespigny (2007), p. 505.
  10. (杜祺歷郡守監軍大將軍司馬,劉幹官至巴西太守,皆與乂親善,亦有當時之稱,而儉素守法,不及於乂。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.
  11. (初,先主定益州,置鹽府校尉,較鹽鐵之利,後校尉王連請乂及南陽杜祺、南鄉劉幹等並為典曹都尉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39.

บรรณานุกรม[แก้]