เดฟ บอทิสตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Dave Bautista
เกิดDavid Michael Bautista Jr.
(1969-01-18) มกราคม 18, 1969 (55 ปี)
Arlington, Virginia, U.S.
อาชีพ
  • Actor
  • professional wrestler
  • mixed martial artist
  • bodybuilder
ปีปฏิบัติงาน1999–2010, 2014, 2019 (wrestling)
2006–present (acting)
2012 (MMA)
คู่สมรสGlenda Bautista
(สมรส 1990; หย่า 1998)

Angie Bautista
(สมรส 1998; หย่า 2006)

Sarah Jade
(สมรส 2015; 2019)
บุตร3
ชื่อบนสังเวียนBatista
Dave Batista
Deacon Batista
Khan[1]
Leviathan[1]
ส่วนสูง6 ฟุต 6 นิ้ว (198 เซนติเมตร)[2]
น้ำหนัก290 ปอนด์ (132 กิโลกรัม)[2]
มาจากWashington, D.C.[2]
ฝึกหัดโดยAfa Anoaʻi[3]
Marrese Crump[1]
เปิดตัวOctober 30, 1999[4]
รีไทร์April 8, 2019[5]
ลายมือชื่อ

เดวิด ไมเคิล บอทิสตา จูเนียร์ (David Michael Bautista Jr.)[6] เกิด 18 มกราคม ค.ศ. 1969 เป็นนักแสดง, นักมวยปล้ำอาชีพที่เกษียณอายุ และอดีตนักต่อสู้แบบผสมชาวอเมริกัน มีฉายาว่า "ดิ แอนิมอล" (The Animal) เป็นที่รู้จักดีบนสังเวียนในนาม บาทิสตา (Batista) เป็นแชมป์ WWE 2 สมัย แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 4 สมัย แชมป์แท็กทีม WWE 4 สมัย[7] ผู้ชนะรอยัลรัมเบิลประจำปี 2005 และ 2014

มวยปล้ำอาชีพ[แก้]

บาทิสตาก่อนเข้า WWE ก็เข้าสมาคม WXW ในเดือนตุลาคม 1999 โดยใช้ชื่อในสมาคมนี่ว่า Kahn และวันที่ 30 ตุลาคม เป็นแมตช์แรกที่ได้ปล้ำใน WXW ชนะ Southtown Joe พอในเดือนกุมภาพันธ์ 2000 ก็จะขอเซ็นสัญญาอยู่กับ WWF/E แต่ตอนนั้น WWE นั้นบอกให้กลับไปฝึกที่ OVW ก่อนและก็ได้แชมป์มากมาย[8] พอปี 2002 ก็มาต่อที่ WWE[3] และได้อยู่ SmackDown! เป็นลูกศิษย์ D-Von อยู่ได้พักหนึ่งก็หักหลัง D-Von[9][10] แล้วย้ายมาอยู่ RAW แล้วใช้ชื่อเดฟ บาทิสตา แล้วทริปเปิลเอชก็ชวนเข้ากลุ่ม Evolution[11] บาทิสตาก็ประสบความสำเร็จมากหลังจากอยู่ Evolution ได้แชมป์โลกแท็กทีมคู่กับริก แฟลร์ใน Armageddon 2003 จาก Dudley Boyz[12][13]

ในรอยัลรัมเบิล 2005 บาทิสตาเอาชนะจอห์น ซีนาได้ในแมตช์รอยัลรัมเบิล จึงได้รับสิทธิ์เข้าไปชิงแชมป์โลกในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21[14] โดยมีแชมป์โลกอีก 1 คนของค่ายสแมคดาวน์คือเจบีแอล นั่นเองซึ่งเป็นเจ้าของแชมป์ WWE ในขณะนั้นมาเสนอให้ท้าชิงแชมป์เพราะ JBL ขับรถชน บาติสตาแต่เขาก็รอดชีวิตจากการช่วยเหลือของทริปเปิลเอช[15] จนทำให้เขาแค้นมากแต่เขาก็ไม่ไว้ใจทริปเปิลเอชด้วยเช่นกัน เพราะทริปเปิลเอชใช้บาทิสตาเป็นเครื่องทุ่มแรงในการปล้ำอยู่เสมอ บาทิสตาจึงตัดสินใจทำสัญญาท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากทริปเปิลเอชในเรสเซิลเมเนีย 21[16] สุดท้ายบาทิสตาก็เป็นฝ่ายเอาชนะและคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทสมัยแรกได้สำเร็จ[2][17] ภายหลังจากล้างแค้นได้สำเร็จในเวลาต่อมา บาทิสตา ถูกให้ย้ายไปสังกัดสแมคดาวน์ สลับกับจอห์น ซีนา ซึ่งเป็นแชมป์ WWE ที่ได้แชมป์มาจาก JBL ในเรสเซิลเมเนีย 21 ไปสังกัดรอว์[18] ต่อมาในปลายปี 2005 เขาต้องรับการผ่าตัด จึงมีความจำเป็นต้องสละตำแหน่งแชมป์ให้กับเคิร์ต แองเกิล[19] พอเขากลับมาในปี 2006 เขาได้เอาชนะบูเกอร์ ที เขาก็ได้เข็มขัดกลับมาอย่างสมใจ[20]

ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 บาทิสตาได้เสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทให้กับดิอันเดอร์เทเกอร์ (เป็นครั้งแรกที่เสียแชมป์โลก)[21] แต่เขาก็มีโอกาสกลับมาชิงแชมป์ได้จากเดอะเกรทคาลีอีกครั้ง ในอันฟอร์กิฟเว่น 2007[2][22] บาทิสตาก็เสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทให้กับเอดจ์ ในอาร์มาเกดดอน 2007[23] ต่อมาบาทิสตาได้เปิดศึกกับชอว์น ไมเคิลส์ เพราะชอว์นเป็นต้นเหตุที่ทำให้ริก แฟลร์ อดีตคู่หูกลุ่มเอฟโวลูชั่น และครูผู้ฝึกสอนของเขาต้องเลิกปล้ำ และท้าเจอกันในแบคแลช (2008) สุดท้ายบาทิสตาก็เป็นฝ่ายแพ้ไปให้กับชอว์น

ช่วงศึกไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2008) บาทิสตาก็ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกคืนจากเอดจ์ แต่เอดจ์ให้ด่านทดสอบว่าจะให้ปล้ำแท็กทีม 8 คน โดยบาทิสตาไม่มีคู่ปล้ำ แต่วิกกี เกร์เรโรอาสาเลือกคู่ปล้ำให้ โดยเลือกให้จับคู่กับนักมวยปล้ำจ็อบเบอร์ล้วนๆ ฝั่งของเอดจ์มีชาโว เกร์เรโร, เคิร์ต ฮอว์กินส์และแซค ไรเดอร์ แต่บาทิสตาก็เอาชนะทีมของเอดจ์ได้ทั้งหมด ภายหลังไนท์ออฟแชมเปียนส์นั้นทำให้บาทิสตามีความโกรธเคืองอย่างหนักจากที่เอดจ์ใช้กลโกง และไม่ทันได้แก้แค้นก็ถูกย้ายไปสังกัดค่ายรอว์ในทันทีจากการดราฟท์ตัว ไม่นานโอกาสที่ได้แก้แค้นมาถึงเมื่อเอดจ์เดินทางไปประกาศชัยชนะ ณ เวทีของรอว์ บาทิสตาจึงออกมาอัด ทำให้เอดจ์ไม่อยู่ในสภาพที่จะลุกขึ้นได้ จึงลงจากเวทีไป เป็นโอกาสให้ซีเอ็ม พังก์ เจ้าของกระเป๋า Money In The Bank เดินสวนทางออกมาใช้สิทธิ์นั้นทันที เป็นผลกรรมที่เอดจ์เคยใช้สิทธิ์นี้ต้องเสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทไป

บาทิสตาได้เปิดศึกกับ นักมวยปล้ำขั้นเทพที่มีฝีมือและดีกรีสูสีกับเขาในยุคนี้ คือ จอห์น ซีนา เนื่องจากมีปัญหาเข้าใจผิดที่ซีนาจะใช้เก้าอี้ตีใส่ JBL แต่ JBL หลบได้ เลยพลาดไปถูกบาทิสตา ทำให้คู่นี้กลายเป็นคู่กรณีกันโดย 2 คนนี้ถูกให้จับคู่กันเพื่อไปชิงแชมป์แทคทีมกับเดอะเลกาซี (โคดี โรดส์ และเท็ด ดิบิอาซี่) ซึ่งก็สามารถคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ[24][25] แต่เป็นเพราะคู่นี้เป็นคู่กรณีกัน จึงไม่มีความสามัคคี ทำให้อีก 1 อาทิตย์ต่อมา ต้องเสียแชมป์กลับคืนให้กับเลกาซี[26] จากนั้นคู่นี้ก็ได้เจอกันอย่างสมใจ เมื่อศึกใหญ่อย่างซัมเมอร์สแลม (2008)มาถึง ผลปรากฏว่าซีนาโดนบาทิสตาบอมบ์ ท่าไม้ตายของบาทิสตาแพ้ไปอย่างหมดรูป ทำให้ซีนาต้องพักการปล้ำไปนานพอควรเลยทีเดียว แมตช์นี้ถือได้ว่าเป็นการพบกันของ 2 นักมวยปล้ำชั้นนำของ WWE ซึ่งไม่เคยได้เจอกันแบบตัวต่อตัว นับแต่พวกเขาได้เข้ามาในวงการถึง 6 ปี[27]

จากนั้นต่อมา บาทิสตาได้กลายมาเป็นคู่ปรับกับนักมวยปล้ำหนุ่มผู้กวาดล้างนักมวยปล้ำที่เป็นตำนานนามว่าแรนดี ออร์ตัน ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเก่าของบาทิสตาในกลุ่มเอฟโวลูชั่น เนื่องจากมีความแค้นส่วนตัวที่ออร์ตันถูกหักหลังและโดนไล่ออกจากกลุ่มนั่นเอง ในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2008) คู่นี้ได้ปะทะกันในรูปแบบแทคทีม 5 คน ในชื่อ อิลิมิเนชั่นแทกแมตช์ ซึ่งใครแพ้ต้องถูกคัดออก ผลปรากฏว่าบาทิสตาเป็นฝ่ายแพ้ให้กับออร์ตัน โดยมีโคดี โรดส์ ลูกน้องของออร์ตัน คอยช่วยอยู่ในฐานะสมาชิกแทคทีมของเขา จนกระทั่งในศึกส่งท้ายปีอย่าง อาร์มาเกดดอน (2008) คู่นี้ก็ได้เจอกันอีกครั้ง คราวนี้ บาทิสตาได้เอาคืนออร์ตัน โดยการเอาชนะล้างตาไปได้ แต่ในรอว์ ออร์ตันก็ได้เล่นงานบาทิสตาสารพัดและจบด้วยการเตะศีรษะบาทิสตาจนต้องพักการปล้ำไปนานถึง 4 เดือน[28]

4 เดือนต่อมาหลังศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 บาทิสตาได้กลับมาเพื่อทวนแค้นกับ แรนดี ออร์ตัน ซึ่งแพ้ ทริปเปิล เอช มาหมาดๆ จากการชิงแชมป์ WWE ซึ่งคราวนี้ บาทิสตา จะได้จับคู่แทคทีมกับ ทริปเปิล เอช และ เชน แมคแมน เจอกับ ออร์ตัน และ เดอะเลกาซี ในการปล้ำแทคทีม 6 คน ในศึก แบคแลช (2009) ซึ่งหากทีมออร์ตัน ชนะ ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายจับกดใครได้ก็ตาม ออร์ตัน จะกลายเป็นแชมป์ WWE ไปในทันที ผลปรากฏว่า บาทิสตาไม่อาจคุ้มครองลูกพี่เก่าเพื่อรักษาตำแหน่งแชมป์ไว้ได้จนต้องเสียแชมป์ WWE ให้กับ ออร์ตัน ในรอว์ บาทิสตาได้เจอกับ บิ๊กโชว์ เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE ซึ่งบาทิสตา ได้เอาชนะ บิ๊กโชว์ ไปได้จากความช่วยเหลือของ จอห์น ซีนา ที่เข้ามารบกวน บิ๊กโชว์ ระหว่างแมตซ์ ทำให้บาทิสตา ได้ไปชิงแชมป์ WWE กับ ออร์ตัน เพื่อชำระแค้นกันอีกครั้ง ในศึก จัดจ์เมนท์เดย์ (2009) เมื่อถึงวันปล้ำ ออร์ตันได้ทำให้ตัวเองถูกจับแพ้ฟาวล์เพื่อรักษาตำแหน่งเอาไว้อีกครั้ง ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2009) บาทิสตาก็สามารถกระชากแชมป์จากออร์ตัน ได้ในแมตช์การปล้ำในกรงเหล็ก[29] แต่บาทิสตาก็ต้องสละแชมป์ WWE และพักการปล้ำไปเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่แขน[30]

บาทิสตาได้กลับมาอีกครั้งหลังจากเจ็บที่แขนไปยาวนาน และในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2009) บาทิสตาได้ปล้ำในแมตช์ 4 เส้า ในการชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท จาก ดิอันเดอร์เทเกอร์ ร่วมด้วย เรย์ มิสเตริโอ และซีเอ็ม พังก์ ซึ่ง อันเดอร์เทเกอร์ เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์ไว้ได้ ทำให้บาทิสตาโมโห จึงทำร้ายเรย์ จากนั้นก็ประกาศตัดเพื่อนกับเรย์ และกลายเป็นฝ่ายอธรรม ในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2009) บาทิสตา กับเรย์ ก็ได้เจอกัน ผลปรากฏว่า บาทิสตาเป็นฝ่ายชนะ[31] ในทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2009) บาทิสตาได้ขอท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับ อันเดอร์เทเกอร์ ผลปรากฏว่าในตอนแรก บาทิสตาชนะและได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท แต่ทีโอดอร์ ลองผู้จัดการทั่วไปของฝั่งสแมคดาวน์ ออกมาบอกว่าให้เริ่มใหม่อีกครั้ง และอันเดอร์เทเกอร์ก็สามารถป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เอาไว้ได้สำเร็จ[32]

ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) บาทิสตาได้กระชากแชมป์ WWE ไปจากจอห์น ซีนา หลังจากได้แชมป์จากเชมัส[33] ต่อมา บาทิสตาก็เล่นงานซีนาตลอดทั้งสัปดาห์และก็บอกว่า ซีนาไม่เคยชนะตนได้แม้แต่ครั้งเดียว แต่ว่าในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 บาทิสตาก็เสียแชมป์ WWE คืนให้กับซีนา และเป็นการพ่ายแพ้ให้กับซีนาครั้งแรกด้วย[34][35] ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2010) บาทิสตาได้ขอท้าซีนา ชิงแชมป์ WWE อีกครั้ง แต่บาทิสตา ก็แพ้ให้กับซีนาไปอีกเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน[36] ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2010) บาทิสตาได้ขอท้าซีนา ชิงแชมป์ WWE อีกครั้ง สุดท้ายบาทิสตา ก็แพ้ไปอีกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน แล้วก็อกหักอีกตามเคย[37] และบาทิสตาได้รับบาดเจ็บสาหัส ในรอว์คืนต่อมา (24 พฤษภาคม 2010) บาทิสตาได้ตัดสินใจประกาศลาออกจาก WWE[38]

ในรอว์ 20 มกราคม 2014 บาทิสตาได้กลับมาใน WWE อีกครั้ง โดยเปิดตัวออกมาก้มลงจูบพื้นเวที จากนั้นก็สวมกอดกับ ทริปเปิล เอช บาทิสตา ทักทายออร์ตัน และบอกว่านายมีปัญหาสินะที่เขากลับมา เพราะฉะนั้นจะขอบอกให้ชัดๆ เลยว่าเขากลับมาเพื่อจะเป็นแชมป์ WWE เขาไม่สนใจว่าหลังจบรอยัลรัมเบิล (2014) ใครจะเป็นแชมป์ระหว่าง ออร์ตัน, ซีนา หรือใครก็ช่าง เขากลับมาเพื่อชนะ รอยัลรัมเบิล และเป็นคู่เอก เรสเซิลเมเนีย จงทำใจซะเถอะ!![39][40] ในรอยัลรัมเบิล บาทิสตาก็ได้เป็นผู้ชนะในแมตช์รอยัลรัมเบิลอีกครั้ง และได้สิทธิ์ไปชิงแชมป์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30[41] ต่อมาได้เปิดศึกกับอัลเบร์โต เดล รีโอ และได้ท้าเจอกันในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2014) สุดท้ายบาทิสตาก็เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้สำเร็จ[42][43] ในเรสเซิลเมเนีย บาทิสตาไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ โดยแดเนียล ไบรอันคว้าแชมป์ไปได้สำเร็จ[44]

1 วันหลังจากจบเรสเซิลเมเนีย ในรอว์คืนต่อมา สเตฟานี แม็กแมนได้ออกมาสั่งให้ออร์ตันและบาทิสตาร่วมมือกันเป็นทีม เริ่มต้นจากแมตช์ชิงแชมป์แทกทีมกับดิ อูโซส์ ผลออกมาเป็นดับเบิลเคาท์เอาท์[45] และได้สั่งให้เคน, บาทิสตา และออร์ตันทำร้ายไบรอันก่อนการก่อนแข่งขันจะเริ่มต้นเป็นการสร้างจุดอ่อน และทำให้ทริปเปิลเอชมีโอกาสในการชนะมากขึ้น จนเดอะชีลด์ได้ออกมาบนเวที และจัดการกับพวกกลุ่มของทริปเปิลเอช และได้ช่วยไบรอัน จากการกลั่นแกล้งจากกลุ่มทริปเปิลเอช[46] ในรอว์ 14 เมษายน เดอะชีลด์ต้องปล้ำแฮนดิแคป 11 รุม 3 แต่กรรมการต้องยุติแมตช์ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายอัดกันไม่หยุด ก่อนที่ ทริปเปิลเอช, ออร์ตัน และบาทิสตา จะออกมาในนามของกลุ่ม เอฟโวลูชั่น และมาจัดการอัดกลุ่มเดอะชีลด์จนหมดสภาพ[47] ก่อนที่จะประกาศแมตช์แทกทีมอย่างเป็นทางการ ในสแมคดาวน์ 18 เมษายน ระหว่างเดอะชีลด์กับเอฟโวลูชั่นในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2014) สุดท้ายเอฟโวลูชั่นเป็นฝ่ายแพ้ ในเพย์แบ็ค (2014) เอฟโวลูชั่นได้เจอกับเดอะชีลด์ในแมตช์แทกทีม 6 คน ไม่มีกฎกติกา แบบคัดออก สุดท้ายเอฟโวลูชั่น แพ้รวด 3-0[48][49] ในรอว์คืนต่อมา บาทิสตาได้ประกาศขอลาออกจาก WWE[50][51][52][53]

วันที่ 16 ตุลาคม 2018 ในสแมคดาวน์ครบรอบตอนที่ 1000 บาทิสตาได้ปรากฏตัวในฐานะกลุ่มเอฟโวลูชั่นก่อนจะมีการท้าทายทริปเปิลเอชเล็กน้อย[54] ในรอว์ 25 กุมภาพันธ์ 2019 บาทิสตาได้ทำร้ายริก แฟลร์ในงานฉลองวันเกิดครบรอบ 70 ปีของแฟลร์เป็นการท้าทายทริปเปิลเอช[55] ในรอว์ 11 มีนาคม บาทิสตาและทริปเปิลเอชได้ออกมาะทะฝีปากกันก่อนที่บาทิสตาจะท้าทริปเปิลเอชให้เจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 35โดยทริปเปิลเอชได้เพิ่มรูปแบบการปล้ำเป็นแมตช์ไม่มีกฏกติกา (No Holds Barred match)[56] ซึ่งบาทิสตาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป[57] ก่อนจะประกาศรีไทร์อำลาสังเวียนอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา[5][58]

ผลงานอื่นๆ[แก้]

Film
Year Title Role Notes
2006 Relative Strangers Wrestler Uncredited cameo
2009 My Son, My Son, What Have Ye Done? Police officer
2010 Wrong Side of Town Big Ronnie
2011 House of the Rising Sun Ray Action On Film Award for Performer of the Year
Scorpion King 3: Battle for Redemption, TheThe Scorpion King 3: Battle for Redemption Argomael
2012 Man with the Iron Fists, TheThe Man with the Iron Fists Brass Body
2013 Riddick Diaz
2014 Guardians of the Galaxy Drax the Destroyer Detroit Film Critics Society Award for Best Ensemble
Nevada Film Critics Society Award for Best Ensemble Cast
Nominated – Central Ohio Film Critics Association Award for Best Ensemble
Nominated – Phoenix Film Critics Society Award for Best Ensemble Acting
2015 L.A. Slasher The Drug Dealer #1
Spectre Mr. Hinx
Heist Jason Cox
2016 The Boss Chad Uncredited
Kickboxer: Vengeance Tong Po
Marauders Stockwell
The Warriors Gate Arun the Cruel
2017 Guardians of the Galaxy Vol. 2 Drax the Destroyer
Bushwick Stupe Also executive producer
Blade Runner 2049 Sapper Morton
2018 Avengers: Infinity War Drax the Destroyer
Hotel Artemis Everest
Escape Plan 2: Hades Trent DeRosa
Final Score Michael Knox Also producer
Master Z: The Ip Man Legacy Owen Davidson
2019 Avengers: Endgame Drax the Destroyer Post-production
Stuber Vic
Escape Plan 3: Devil's Station Trent DeRosa Post-production
My Spy Post-production
Television
Year Title Role Notes
2006 Smallville Aldar Episode: "Static"
2009 Head Case Himself Episode: "All About Steve"
2009 Neighbours Himself Episode: "1.5719"
2010 Chuck T.I. Episode: "Chuck Versus the Couch Lock"
2015 TripTank Delivery Guy (voice) Episode: "Short Change"
Web series
Year Title Role Notes
2016 The #Hashtagged Show Dr. Jason Rush 2 episodes
Short films
Year Title Role Notes
2017 2048: Nowhere to Run Sapper Morton Short film

แชมป์และรางวัล[แก้]

แชมป์โลกเฮฟวี่เวท

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "The Demon FAQ (Frequently Asked Questions)". Demon Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2007. สืบค้นเมื่อ November 13, 2007.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Batista bio". WWE. สืบค้นเมื่อ April 3, 2011.
  3. 3.0 3.1 Milner, John; Kamchen, Richard. "Dave Bautista – Slam! Sports profile". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 11, 2007.[ลิงก์เสีย]
  4. Kreikenbohm, Philip. "Batista: Matches (archived)". Cagematch.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2018. สืบค้นเมื่อ October 18, 2018.
  5. 5.0 5.1 Gartland, Dan (April 8, 2019). "Dave Bautista Retires From Wrestling After Loss to Triple H". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
  6. Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. p. 6. ISBN 978-1-4165-4410-4.
  7. 7.0 7.1 "Batista and Rey Mysterio's first WWE Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  8. "Batista's Online World of Wrestling profile". Online World of Wrestling. Black Pants. สืบค้นเมื่อ July 15, 2008.
  9. Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. p. 95. ISBN 978-1-4165-4410-4.
  10. McAvennie, Michael (April 2003) [2003]. WWE The Yearbook: 2003 Edition. Simon & Schuster. p. 203. ISBN 0-7434-6373-0.
  11. Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. p. 138. ISBN 978-1-4165-4410-4.
  12. 12.0 12.1 "Batista and Ric Flair's first World Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  13. 13.0 13.1 "Batista and Ric Flair's second World Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 3, 2007. สืบค้นเมื่อ กันยายน 19, 2007.
  14. "Royal Rumble 2005 Main Event". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
  15. Tylwalk, Nick (15 February 2005). "Raw: Love is in the air". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.[ลิงก์เสีย]
  16. Tylwalk, Nick (22 February 2005). "Raw: Batista makes his choice". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.[ลิงก์เสีย]
  17. "Batista vs. Triple H – World Heavyweight Championship". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
  18. "Jackpot!". World Wrestling Entertainment. 30 June 2005. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
  19. Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. pp. 224–228. ISBN 978-1-4165-4410-4.
  20. Dee, Louie (26 November 2006). "Kingdom conquered". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 6 August 2008.
  21. Plummer, Dale; Tylwalk, Nick (1 April 2007). "Undertaker the champ, McMahon bald". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 6 August 2008.[ลิงก์เสีย]
  22. Schwimmer, Ryan J. (17 September 2007). "9/16 WWE Unforgiven PPV Review: Schwimmer's "alt perspective" report on event". PWTorch. สืบค้นเมื่อ 25 October 2009.
  23. McAvennie, Mike (17 December 2007). "Edge's "three-meditated" attack to perfection". World Wrestling Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 4 August 2008.
  24. Plummer, Dale (5 August 2008). "Raw: Rivalry grows between new tag champs". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 6 August 2008.[ลิงก์เสีย]
  25. Sitterson, Aubrey (5 August 2008). "Championship scramble". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
  26. Sitterson, Aubrey (11 August 2008). "Bracing for a SummerSlam". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 12 August 2008.
  27. Tello, Craig (17 August 2008). "Batista's blockbuster triumph". World Wrestling Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-22. สืบค้นเมื่อ 25 August 2008.
  28. "Batista undergoes hamstring surgery". World Wrestling Entertainment. 27 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 December 2008.
  29. Tello, Craig (7 June 2009). "Steel of fortune". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 11 January 2011.
  30. "Raw Results, Wounded Animal". World Wrestling Entertainment. 6 October 2009. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
  31. "Batista def. Rey Mysterio". WWE. 22 November 2009. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
  32. Passero, Mitch (13 December 2009). "Results: Deadman lays Batista to rest". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 14 December 2009.
  33. http://www.wwe.com/shows/eliminationchamber/matches/13372766/results/
  34. Adkins, Greg (22 February 2010). "Taking the bull by the horns". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 29 March 2010.
  35. Adkins, Greg (28 March 2010). "Results:Cena uncorks the "Champ pain"". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ 29 March 2010.
  36. "WWE Champion John Cena def. Batista (Last Man Standing Match)". World Wrestling Entertainment. 25 April 2010. สืบค้นเมื่อ 5 June 2012.
  37. Bishop, Matt (23 May 2010). "Batista quits to end disappointing Over The Limit". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
  38. = Batista reveals why he returned to WWE =
  39. "Batista returns to WWE on 20 January 2014". WWE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจาก20-2014-26172685 แหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-17. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  40. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 1/6: Complete "virtual-time" coverage of live "Old-School" Raw - Flair opens, major Legend return at show-end, Rumble hype, more".
  41. "WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/26 (Hour 3): Royal Rumble vs. The Crowd main event match".
  42. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-05. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24.
  43. Nissim, Mayer. "WWE Superstar Batista responds to 'Bootista' taunts". Digital Spy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  44. "Daniel Bryan def. Randy Orton and Batista to become the new WWE World Heavyweight Champion". สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.
  45. "Raw Results: WWE Tag Team Champions The Usos def. Randy Orton & Batista via Count-out". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  46. "Raw results: Triple H def WWE World Heavyweight Champion Daniel Bryan via Disqualification". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  47. "Raw results: Evolution reforms to break The Shield; The Shield vs. Alberto Del Rio, Jack Swagger, Bad News Barrett, Alexander Rusev, Fandango, Rybaxel, Titus O'Neil went to a No Contest". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  48. Clapp, John. "The Shield def. Evolution". WWE. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
  49. Murphy, Ryann. "The Shield def. Evolution (No Holds Barred Elimination Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ June 1, 2014.
  50. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 6/2: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – PPV fall-out, huge angle at the end of Raw, post-Raw coverage, MITB hype, more". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ June 3, 2014.
  51. "Batista and Bo Dallas on NXT 6/12/2014 HD *BEST QUALITY*". YouTube.com. YouTube. June 12, 2015. สืบค้นเมื่อ June 13, 2014.
  52. "Batista Leaves WWE Before 'Payback 2014' PPV! 'The Animal' Quits Wrestling Again Due To Creative Differences And Payment Issues With The Company! CM Punk Scenario All Over Again?". K Drama Stars. May 12, 2014. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
  53. Paglino, Nick (May 5, 2014). "Update: The Very Latest on Batista's WWE Status, Why He and Other WWE Talents Are Currently Upset". Wrestlezone. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
  54. "Evolution reunites: Triple H, Batista, Randy Orton & Ric Flair to appear at SmackDown 1000". WWE. สืบค้นเมื่อ September 29, 2018.
  55. "WWE RAW REPORT: GOOD NEWS FROM ROMAN REIGNS, ARE BIRTHDAY CELEBRATIONS THE NEW CONTRACT SIGNINGS?, A REUNION?, AND MORE". PWInsider. สืบค้นเมื่อ February 25, 2019.
  56. Johnson, Mike (March 11, 2019). "New WrestleMania Match Confirmed". PWInsider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2019. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
  57. Benigno, Anthony (April 7, 2019). "Triple H def. Batista (No Holds Barred Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
  58. Bautista, Dave (April 8, 2019). "Dave Bautista on Twitter: WWEUniverse Thank you for letting me entertain you. I love this business and whether you cheered me or jeered me, I'm grateful for being a small part of your life. I am officially retired from sports entertainment and I am grateful for every second of my amazing journey ✌🏻". สืบค้นเมื่อ April 9, 2019 – โดยทาง Twitter.
  59. Eck, Kevin (December 30, 2007). "2007 Awards". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-26. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
  60. "O.V.W. Heavyweight Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ July 19, 2007.
  61. 61.0 61.1 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
  62. "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2005". The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ September 30, 2013.
  63. "Batista's first WWE Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2009. สืบค้นเมื่อ January 26, 2009.
  64. "Batista's second WWE Championship reign". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2010.
  65. "Batista's first World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  66. "Batista's second World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  67. "Batista's third World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
  68. "Batista's fourth World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2008. สืบค้นเมื่อ October 28, 2008.
  69. "Batista and John Cena's first World Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2008. สืบค้นเมื่อ August 5, 2008.
  70. "SUPERSTARS". World Xtreme Wrestling. สืบค้นเมื่อ September 24, 2020.
  71. 71.0 71.1 71.2 Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA. pp. 1–40. ISSN 1083-9593.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า เดฟ บอทิสตา ถัดไป
Chris Benoit Royal Rumble winner
(2005
2014)
Rey Mysterio