เดฟ บอทิสตา
Dave Bautista | |
---|---|
![]() | |
เกิด | David Michael Bautista Jr. มกราคม 18, 1969 Arlington, Virginia, U.S. |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1999–2010, 2014, 2019 (wrestling) 2006–present (acting) 2012 (MMA) |
คู่สมรส | Glenda Bautista (สมรส ค.ศ. 1990; หย่า ค.ศ. 1998) Angie Bautista (สมรส ค.ศ. 1998; หย่า ค.ศ. 2006) Sarah Jade (สมรส ค.ศ. 2015; 2019) |
บุตร | 3 |
ชื่อบนสังเวียน | Batista Dave Batista Deacon Batista Khan[1] Leviathan[1] |
ส่วนสูง | 6 ฟุต 6 นิ้ว (198 เซนติเมตร)[2] |
น้ำหนัก | 290 ปอนด์ (132 กิโลกรัม)[2] |
มาจาก | Washington, D.C.[2] |
ฝึกหัดโดย | Afa Anoaʻi[3] Marrese Crump[1] |
เปิดตัว | October 30, 1999[4] |
รีไทร์ | April 8, 2019[5] |
ลายมือชื่อ | |
![]() |
เดวิด ไมเคิล บอทิสตา จูเนียร์ (David Michael Bautista Jr.)[6] เกิด 18 มกราคม ค.ศ. 1969 เป็นนักแสดง, นักมวยปล้ำอาชีพที่เกษียณอายุ และอดีตนักต่อสู้แบบผสมชาวอเมริกัน มีฉายาว่า "ดิ แอนิมอล" (The Animal) เป็นที่รู้จักดีบนสังเวียนในนาม บาทิสตา (Batista) เป็นแชมป์ WWE 2 สมัย แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 4 สมัย แชมป์แท็กทีม WWE 4 สมัย[7] ผู้ชนะรอยัลรัมเบิลประจำปี 2005 และ 2014
มวยปล้ำอาชีพ[แก้]
บาทิสตาก่อนเข้า WWE ก็เข้าสมาคม WXW ในเดือนตุลาคม 1999 โดยใช้ชื่อในสมาคมนี่ว่า Kahn และวันที่ 30 ตุลาคม เป็นแมตช์แรกที่ได้ปล้ำใน WXW ชนะ Southtown Joe พอในเดือนกุมภาพันธ์ 2000 ก็จะขอเซ็นสัญญาอยู่กับ WWF/E แต่ตอนนั้น WWE นั้นบอกให้กลับไปฝึกที่ OVW ก่อนและก็ได้แชมป์มากมาย[8] พอปี 2002 ก็มาต่อที่ WWE[3] และได้อยู่ SmackDown! เป็นลูกศิษย์ D-Von อยู่ได้พักหนึ่งก็หักหลัง D-Von[9][10] แล้วย้ายมาอยู่ RAW แล้วใช้ชื่อเดฟ บาทิสตา แล้วทริปเปิลเอชก็ชวนเข้ากลุ่ม Evolution[11] บาทิสตาก็ประสบความสำเร็จมากหลังจากอยู่ Evolution ได้แชมป์โลกแท็กทีมคู่กับริก แฟลร์ใน Armageddon 2003 จาก Dudley Boyz[12][13]
ในรอยัลรัมเบิล 2005 บาทิสตาเอาชนะจอห์น ซีนาได้ในแมตช์รอยัลรัมเบิล จึงได้รับสิทธิ์เข้าไปชิงแชมป์โลกในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 21[14] โดยมีแชมป์โลกอีก 1 คนของค่ายสแมคดาวน์คือเจบีแอล นั่นเองซึ่งเป็นเจ้าของแชมป์ WWE ในขณะนั้นมาเสนอให้ท้าชิงแชมป์เพราะ JBL ขับรถชน บาติสตาแต่เขาก็รอดชีวิตจากการช่วยเหลือของทริปเปิลเอช[15] จนทำให้เขาแค้นมากแต่เขาก็ไม่ไว้ใจทริปเปิลเอชด้วยเช่นกัน เพราะทริปเปิลเอชใช้บาทิสตาเป็นเครื่องทุ่มแรงในการปล้ำอยู่เสมอ บาทิสตาจึงตัดสินใจทำสัญญาท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทจากทริปเปิลเอชในเรสเซิลเมเนีย 21[16] สุดท้ายบาทิสตาก็เป็นฝ่ายเอาชนะและคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวทสมัยแรกได้สำเร็จ[2][17] ภายหลังจากล้างแค้นได้สำเร็จในเวลาต่อมา บาทิสตา ถูกให้ย้ายไปสังกัดสแมคดาวน์ สลับกับจอห์น ซีนา ซึ่งเป็นแชมป์ WWE ที่ได้แชมป์มาจาก JBL ในเรสเซิลเมเนีย 21 ไปสังกัดรอว์[18] ต่อมาในปลายปี 2005 เขาต้องรับการผ่าตัด จึงมีความจำเป็นต้องสละตำแหน่งแชมป์ให้กับเคิร์ต แองเกิล[19] พอเขากลับมาในปี 2006 เขาได้เอาชนะบูเกอร์ ที เขาก็ได้เข็มขัดกลับมาอย่างสมใจ[20]
ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 23 บาทิสตาได้เสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทให้กับดิอันเดอร์เทเกอร์ (เป็นครั้งแรกที่เสียแชมป์โลก)[21] แต่เขาก็มีโอกาสกลับมาชิงแชมป์ได้จากเดอะเกรทคาลีอีกครั้ง ในอันฟอร์กิฟเว่น 2007[2][22] บาทิสตาก็เสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทให้กับเอดจ์ ในอาร์มาเกดดอน 2007[23] ต่อมาบาทิสตาได้เปิดศึกกับชอว์น ไมเคิลส์ เพราะชอว์นเป็นต้นเหตุที่ทำให้ริก แฟลร์ อดีตคู่หูกลุ่มเอฟโวลูชั่น และครูผู้ฝึกสอนของเขาต้องเลิกปล้ำ และท้าเจอกันในแบคแลช (2008) สุดท้ายบาทิสตาก็เป็นฝ่ายแพ้ไปให้กับชอว์น
ช่วงศึกไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2008) บาทิสตาก็ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกคืนจากเอดจ์ แต่เอดจ์ให้ด่านทดสอบว่าจะให้ปล้ำแท็กทีม 8 คน โดยบาทิสตาไม่มีคู่ปล้ำ แต่วิกกี เกร์เรโรอาสาเลือกคู่ปล้ำให้ โดยเลือกให้จับคู่กับนักมวยปล้ำจ็อบเบอร์ล้วนๆ ฝั่งของเอดจ์มีชาโว เกร์เรโร, เคิร์ต ฮอว์กินส์และแซค ไรเดอร์ แต่บาทิสตาก็เอาชนะทีมของเอดจ์ได้ทั้งหมด ภายหลังไนท์ออฟแชมเปียนส์นั้นทำให้บาทิสตามีความโกรธเคืองอย่างหนักจากที่เอดจ์ใช้กลโกง และไม่ทันได้แก้แค้นก็ถูกย้ายไปสังกัดค่ายรอว์ในทันทีจากการดราฟท์ตัว ไม่นานโอกาสที่ได้แก้แค้นมาถึงเมื่อเอดจ์เดินทางไปประกาศชัยชนะ ณ เวทีของรอว์ บาทิสตาจึงออกมาอัด ทำให้เอดจ์ไม่อยู่ในสภาพที่จะลุกขึ้นได้ จึงลงจากเวทีไป เป็นโอกาสให้ซีเอ็ม พังก์ เจ้าของกระเป๋า Money In The Bank เดินสวนทางออกมาใช้สิทธิ์นั้นทันที เป็นผลกรรมที่เอดจ์เคยใช้สิทธิ์นี้ต้องเสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทไป
บาทิสตาได้เปิดศึกกับ นักมวยปล้ำขั้นเทพที่มีฝีมือและดีกรีสูสีกับเขาในยุคนี้ คือ จอห์น ซีนา เนื่องจากมีปัญหาเข้าใจผิดที่ซีนาจะใช้เก้าอี้ตีใส่ JBL แต่ JBL หลบได้ เลยพลาดไปถูกบาทิสตา ทำให้คู่นี้กลายเป็นคู่กรณีกันโดย 2 คนนี้ถูกให้จับคู่กันเพื่อไปชิงแชมป์แทคทีมกับเดอะเลกาซี (โคดี โรดส์ และเท็ด ดิบิอาซี่) ซึ่งก็สามารถคว้าแชมป์มาครองได้สำเร็จ[24][25] แต่เป็นเพราะคู่นี้เป็นคู่กรณีกัน จึงไม่มีความสามัคคี ทำให้อีก 1 อาทิตย์ต่อมา ต้องเสียแชมป์กลับคืนให้กับเลกาซี[26] จากนั้นคู่นี้ก็ได้เจอกันอย่างสมใจ เมื่อศึกใหญ่อย่างซัมเมอร์สแลม (2008)มาถึง ผลปรากฏว่าซีนาโดนบาทิสตาบอมบ์ ท่าไม้ตายของบาทิสตาแพ้ไปอย่างหมดรูป ทำให้ซีนาต้องพักการปล้ำไปนานพอควรเลยทีเดียว แมตช์นี้ถือได้ว่าเป็นการพบกันของ 2 นักมวยปล้ำชั้นนำของ WWE ซึ่งไม่เคยได้เจอกันแบบตัวต่อตัว นับแต่พวกเขาได้เข้ามาในวงการถึง 6 ปี[27]
จากนั้นต่อมา บาทิสตาได้กลายมาเป็นคู่ปรับกับนักมวยปล้ำหนุ่มผู้กวาดล้างนักมวยปล้ำที่เป็นตำนานนามว่าแรนดี ออร์ตัน ซึ่งเคยเป็นเพื่อนเก่าของบาทิสตาในกลุ่มเอฟโวลูชั่น เนื่องจากมีความแค้นส่วนตัวที่ออร์ตันถูกหักหลังและโดนไล่ออกจากกลุ่มนั่นเอง ในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2008) คู่นี้ได้ปะทะกันในรูปแบบแทคทีม 5 คน ในชื่อ อิลิมิเนชั่นแทกแมตช์ ซึ่งใครแพ้ต้องถูกคัดออก ผลปรากฏว่าบาทิสตาเป็นฝ่ายแพ้ให้กับออร์ตัน โดยมีโคดี โรดส์ ลูกน้องของออร์ตัน คอยช่วยอยู่ในฐานะสมาชิกแทคทีมของเขา จนกระทั่งในศึกส่งท้ายปีอย่าง อาร์มาเกดดอน (2008) คู่นี้ก็ได้เจอกันอีกครั้ง คราวนี้ บาทิสตาได้เอาคืนออร์ตัน โดยการเอาชนะล้างตาไปได้ แต่ในรอว์ ออร์ตันก็ได้เล่นงานบาทิสตาสารพัดและจบด้วยการเตะศีรษะบาทิสตาจนต้องพักการปล้ำไปนานถึง 4 เดือน[28]
4 เดือนต่อมาหลังศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 25 บาทิสตาได้กลับมาเพื่อทวนแค้นกับ แรนดี ออร์ตัน ซึ่งแพ้ ทริปเปิล เอช มาหมาดๆ จากการชิงแชมป์ WWE ซึ่งคราวนี้ บาทิสตา จะได้จับคู่แทคทีมกับ ทริปเปิล เอช และ เชน แมคแมน เจอกับ ออร์ตัน และ เดอะเลกาซี ในการปล้ำแทคทีม 6 คน ในศึก แบคแลช (2009) ซึ่งหากทีมออร์ตัน ชนะ ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายจับกดใครได้ก็ตาม ออร์ตัน จะกลายเป็นแชมป์ WWE ไปในทันที ผลปรากฏว่า บาทิสตาไม่อาจคุ้มครองลูกพี่เก่าเพื่อรักษาตำแหน่งแชมป์ไว้ได้จนต้องเสียแชมป์ WWE ให้กับ ออร์ตัน ในรอว์ บาทิสตาได้เจอกับ บิ๊กโชว์ เพื่อหาผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE ซึ่งบาทิสตา ได้เอาชนะ บิ๊กโชว์ ไปได้จากความช่วยเหลือของ จอห์น ซีนา ที่เข้ามารบกวน บิ๊กโชว์ ระหว่างแมตซ์ ทำให้บาทิสตา ได้ไปชิงแชมป์ WWE กับ ออร์ตัน เพื่อชำระแค้นกันอีกครั้ง ในศึก จัดจ์เมนท์เดย์ (2009) เมื่อถึงวันปล้ำ ออร์ตันได้ทำให้ตัวเองถูกจับแพ้ฟาวล์เพื่อรักษาตำแหน่งเอาไว้อีกครั้ง ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2009) บาทิสตาก็สามารถกระชากแชมป์จากออร์ตัน ได้ในแมตช์การปล้ำในกรงเหล็ก[29] แต่บาทิสตาก็ต้องสละแชมป์ WWE และพักการปล้ำไปเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่แขน[30]
บาทิสตาได้กลับมาอีกครั้งหลังจากเจ็บที่แขนไปยาวนาน และในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2009) บาทิสตาได้ปล้ำในแมตช์ 4 เส้า ในการชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท จาก ดิอันเดอร์เทเกอร์ ร่วมด้วย เรย์ มิสเตริโอ และซีเอ็ม พังก์ ซึ่ง อันเดอร์เทเกอร์ เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์ไว้ได้ ทำให้บาทิสตาโมโห จึงทำร้ายเรย์ จากนั้นก็ประกาศตัดเพื่อนกับเรย์ และกลายเป็นฝ่ายอธรรม ในเซอร์ไวเวอร์ ซีรีส์ (2009) บาทิสตา กับเรย์ ก็ได้เจอกัน ผลปรากฏว่า บาทิสตาเป็นฝ่ายชนะ[31] ในทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2009) บาทิสตาได้ขอท้าชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับ อันเดอร์เทเกอร์ ผลปรากฏว่าในตอนแรก บาทิสตาชนะและได้แชมป์โลกเฮฟวี่เวท แต่ทีโอดอร์ ลองผู้จัดการทั่วไปของฝั่งสแมคดาวน์ ออกมาบอกว่าให้เริ่มใหม่อีกครั้ง และอันเดอร์เทเกอร์ก็สามารถป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เอาไว้ได้สำเร็จ[32]
ในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) บาทิสตาได้กระชากแชมป์ WWE ไปจากจอห์น ซีนา หลังจากได้แชมป์จากเชมัส[33] ต่อมา บาทิสตาก็เล่นงานซีนาตลอดทั้งสัปดาห์และก็บอกว่า ซีนาไม่เคยชนะตนได้แม้แต่ครั้งเดียว แต่ว่าในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 บาทิสตาก็เสียแชมป์ WWE คืนให้กับซีนา และเป็นการพ่ายแพ้ให้กับซีนาครั้งแรกด้วย[34][35] ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2010) บาทิสตาได้ขอท้าซีนา ชิงแชมป์ WWE อีกครั้ง แต่บาทิสตา ก็แพ้ให้กับซีนาไปอีกเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน[36] ในโอเวอร์เดอะลิมิต (2010) บาทิสตาได้ขอท้าซีนา ชิงแชมป์ WWE อีกครั้ง สุดท้ายบาทิสตา ก็แพ้ไปอีกเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน แล้วก็อกหักอีกตามเคย[37] และบาทิสตาได้รับบาดเจ็บสาหัส ในรอว์คืนต่อมา (24 พฤษภาคม 2010) บาทิสตาได้ตัดสินใจประกาศลาออกจาก WWE[38]
ในรอว์ 20 มกราคม 2014 บาทิสตาได้กลับมาใน WWE อีกครั้ง โดยเปิดตัวออกมาก้มลงจูบพื้นเวที จากนั้นก็สวมกอดกับ ทริปเปิล เอช บาทิสตา ทักทายออร์ตัน และบอกว่านายมีปัญหาสินะที่เขากลับมา เพราะฉะนั้นจะขอบอกให้ชัดๆ เลยว่าเขากลับมาเพื่อจะเป็นแชมป์ WWE เขาไม่สนใจว่าหลังจบรอยัลรัมเบิล (2014) ใครจะเป็นแชมป์ระหว่าง ออร์ตัน, ซีนา หรือใครก็ช่าง เขากลับมาเพื่อชนะ รอยัลรัมเบิล และเป็นคู่เอก เรสเซิลเมเนีย จงทำใจซะเถอะ!![39][40] ในรอยัลรัมเบิล บาทิสตาก็ได้เป็นผู้ชนะในแมตช์รอยัลรัมเบิลอีกครั้ง และได้สิทธิ์ไปชิงแชมป์ ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 30[41] ต่อมาได้เปิดศึกกับอัลเบร์โต เดล รีโอ และได้ท้าเจอกันในอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2014) สุดท้ายบาทิสตาก็เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้สำเร็จ[42][43] ในเรสเซิลเมเนีย บาทิสตาไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้ โดยแดเนียล ไบรอันคว้าแชมป์ไปได้สำเร็จ[44]
1 วันหลังจากจบเรสเซิลเมเนีย ในรอว์คืนต่อมา สเตฟานี แม็กแมนได้ออกมาสั่งให้ออร์ตันและบาทิสตาร่วมมือกันเป็นทีม เริ่มต้นจากแมตช์ชิงแชมป์แทกทีมกับดิ อูโซส์ ผลออกมาเป็นดับเบิลเคาท์เอาท์[45] และได้สั่งให้เคน, บาทิสตา และออร์ตันทำร้ายไบรอันก่อนการก่อนแข่งขันจะเริ่มต้นเป็นการสร้างจุดอ่อน และทำให้ทริปเปิลเอชมีโอกาสในการชนะมากขึ้น จนเดอะชีลด์ได้ออกมาบนเวที และจัดการกับพวกกลุ่มของทริปเปิลเอช และได้ช่วยไบรอัน จากการกลั่นแกล้งจากกลุ่มทริปเปิลเอช[46] ในรอว์ 14 เมษายน เดอะชีลด์ต้องปล้ำแฮนดิแคป 11 รุม 3 แต่กรรมการต้องยุติแมตช์ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายอัดกันไม่หยุด ก่อนที่ ทริปเปิลเอช, ออร์ตัน และบาทิสตา จะออกมาในนามของกลุ่ม เอฟโวลูชั่น และมาจัดการอัดกลุ่มเดอะชีลด์จนหมดสภาพ[47] ก่อนที่จะประกาศแมตช์แทกทีมอย่างเป็นทางการ ในสแมคดาวน์ 18 เมษายน ระหว่างเดอะชีลด์กับเอฟโวลูชั่นในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2014) สุดท้ายเอฟโวลูชั่นเป็นฝ่ายแพ้ ในเพย์แบ็ค (2014) เอฟโวลูชั่นได้เจอกับเดอะชีลด์ในแมตช์แทกทีม 6 คน ไม่มีกฎกติกา แบบคัดออก สุดท้ายเอฟโวลูชั่น แพ้รวด 3-0[48][49] ในรอว์คืนต่อมา บาทิสตาได้ประกาศขอลาออกจาก WWE[50][51][52][53]
วันที่ 16 ตุลาคม 2018 ในสแมคดาวน์ครบรอบตอนที่ 1000 บาทิสตาได้ปรากฏตัวในฐานะกลุ่มเอฟโวลูชั่นก่อนจะมีการท้าทายทริปเปิลเอชเล็กน้อย[54] ในรอว์ 25 กุมภาพันธ์ 2019 บาทิสตาได้ทำร้ายริก แฟลร์ในงานฉลองวันเกิดครบรอบ 70 ปีของแฟลร์เป็นการท้าทายทริปเปิลเอช[55] ในรอว์ 11 มีนาคม บาทิสตาและทริปเปิลเอชได้ออกมาะทะฝีปากกันก่อนที่บาทิสตาจะท้าทริปเปิลเอชให้เจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 35โดยทริปเปิลเอชได้เพิ่มรูปแบบการปล้ำเป็นแมตช์ไม่มีกฏกติกา (No Holds Barred match)[56] ซึ่งบาทิสตาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป[57] ก่อนจะประกาศรีไทร์อำลาสังเวียนอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา[5][58]
ผลงานอื่นๆ[แก้]
Year | Title | Role | Notes |
---|---|---|---|
2006 | Smallville | Aldar | Episode: "Static" |
2009 | Head Case | Himself | Episode: "All About Steve" |
2009 | Neighbours | Himself | Episode: "1.5719" |
2010 | Chuck | T.I. | Episode: "Chuck Versus the Couch Lock" |
2015 | TripTank | Delivery Guy (voice) | Episode: "Short Change" |
Year | Title | Role | Notes |
---|---|---|---|
2016 | The #Hashtagged Show | Dr. Jason Rush | 2 episodes |
Year | Title | Role | Notes |
---|---|---|---|
2017 | 2048: Nowhere to Run | Sapper Morton | Short film |
แชมป์และรางวัล[แก้]
- The Baltimore Sun
- Feud of the Year (2007) vs. The Undertaker[59]
- Ohio Valley Wrestling
- Pro Wrestling Illustrated
- Most Improved Wrestler of the Year (2005)[61]
- Wrestler of the Year (2005)[61]
- Ranked No. 1 of the top 500 singles wrestlers in the PWI 500 in 2005[62]
- World Wrestling Entertainment/WWE
- World Xtreme Wrestling
- Hall of Fame (2013)[70]
- Wrestling Observer Newsletter
- Feud of the Year (2005) vs. Triple H[71]
- Feud of the Year (2007) vs. The Undertaker[71]
- Most Overrated (2006)[71]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "The Demon FAQ (Frequently Asked Questions)". Demon Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2007. สืบค้นเมื่อ November 13, 2007.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Batista bio". WWE. สืบค้นเมื่อ April 3, 2011.
- ↑ 3.0 3.1 Milner, John; Kamchen, Richard. "Dave Bautista – Slam! Sports profile". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ September 11, 2007.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Kreikenbohm, Philip. "Batista: Matches (archived)". Cagematch.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2018. สืบค้นเมื่อ October 18, 2018.
- ↑ 5.0 5.1 Gartland, Dan (April 8, 2019). "Dave Bautista Retires From Wrestling After Loss to Triple H". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ April 9, 2019.
- ↑ Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. p. 6. ISBN 978-1-4165-4410-4.
- ↑ 7.0 7.1 "Batista and Rey Mysterio's first WWE Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Batista's Online World of Wrestling profile". Online World of Wrestling. Black Pants. สืบค้นเมื่อ July 15, 2008.
- ↑ Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. p. 95. ISBN 978-1-4165-4410-4.
- ↑ McAvennie, Michael (April 2003) [2003]. WWE The Yearbook: 2003 Edition. Simon & Schuster. p. 203. ISBN 0-7434-6373-0.
- ↑ Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. p. 138. ISBN 978-1-4165-4410-4.
- ↑ 12.0 12.1 "Batista and Ric Flair's first World Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 13.0 13.1 "Batista and Ric Flair's second World Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 3, 2007. สืบค้นเมื่อ กันยายน 19, 2007.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "Royal Rumble 2005 Main Event". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
- ↑ Tylwalk, Nick (15 February 2005). "Raw: Love is in the air". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Tylwalk, Nick (22 February 2005). "Raw: Batista makes his choice". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Batista vs. Triple H – World Heavyweight Championship". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
- ↑ "Jackpot!". World Wrestling Entertainment. 30 June 2005. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
- ↑ Batista, Dave; Roberts, Jeremy (October 2007). Batista Unleashed. Simon & Schuster. pp. 224–228. ISBN 978-1-4165-4410-4.
- ↑ Dee, Louie (26 November 2006). "Kingdom conquered". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 6 August 2008.
- ↑ Plummer, Dale; Tylwalk, Nick (1 April 2007). "Undertaker the champ, McMahon bald". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 6 August 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Schwimmer, Ryan J. (17 September 2007). "9/16 WWE Unforgiven PPV Review: Schwimmer's "alt perspective" report on event". PWTorch. สืบค้นเมื่อ 25 October 2009.
- ↑ McAvennie, Mike (17 December 2007). "Edge's "three-meditated" attack to perfection". World Wrestling Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-31. สืบค้นเมื่อ 4 August 2008.
- ↑ Plummer, Dale (5 August 2008). "Raw: Rivalry grows between new tag champs". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 6 August 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Sitterson, Aubrey (5 August 2008). "Championship scramble". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
- ↑ Sitterson, Aubrey (11 August 2008). "Bracing for a SummerSlam". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 12 August 2008.
- ↑ Tello, Craig (17 August 2008). "Batista's blockbuster triumph". World Wrestling Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-22. สืบค้นเมื่อ 25 August 2008.
- ↑ "Batista undergoes hamstring surgery". World Wrestling Entertainment. 27 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 December 2008.
- ↑ Tello, Craig (7 June 2009). "Steel of fortune". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 11 January 2011.
- ↑ "Raw Results, Wounded Animal". World Wrestling Entertainment. 6 October 2009. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
- ↑ "Batista def. Rey Mysterio". WWE. 22 November 2009. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
- ↑ Passero, Mitch (13 December 2009). "Results: Deadman lays Batista to rest". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 14 December 2009.
- ↑ http://www.wwe.com/shows/eliminationchamber/matches/13372766/results/
- ↑ Adkins, Greg (22 February 2010). "Taking the bull by the horns". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 29 March 2010.
- ↑ Adkins, Greg (28 March 2010). "Results:Cena uncorks the "Champ pain"". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ 29 March 2010.
- ↑ "WWE Champion John Cena def. Batista (Last Man Standing Match)". World Wrestling Entertainment. 25 April 2010. สืบค้นเมื่อ 5 June 2012.
- ↑ Bishop, Matt (23 May 2010). "Batista quits to end disappointing Over The Limit". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
- ↑ = =
- ↑ "Batista returns to WWE on 20 January 2014". WWE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจาก20-2014-26172685 แหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-17. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 1/6: Complete "virtual-time" coverage of live "Old-School" Raw - Flair opens, major Legend return at show-end, Rumble hype, more".
- ↑ "WWE ROYAL RUMBLE PPV RESULTS 1/26 (Hour 3): Royal Rumble vs. The Crowd main event match".
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-05. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24.
- ↑ Nissim, Mayer. "WWE Superstar Batista responds to 'Bootista' taunts". Digital Spy. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
- ↑ "Daniel Bryan def. Randy Orton and Batista to become the new WWE World Heavyweight Champion". สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.
- ↑ "Raw Results: WWE Tag Team Champions The Usos def. Randy Orton & Batista via Count-out". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "Raw results: Triple H def WWE World Heavyweight Champion Daniel Bryan via Disqualification". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ "Raw results: Evolution reforms to break The Shield; The Shield vs. Alberto Del Rio, Jack Swagger, Bad News Barrett, Alexander Rusev, Fandango, Rybaxel, Titus O'Neil went to a No Contest". WWE.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
- ↑ Clapp, John. "The Shield def. Evolution". WWE. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
- ↑ Murphy, Ryann. "The Shield def. Evolution (No Holds Barred Elimination Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ June 1, 2014.
- ↑ Caldwell, James. "Caldwell's WWE Raw Results 6/2: Complete "virtual-time" coverage of live Raw – PPV fall-out, huge angle at the end of Raw, post-Raw coverage, MITB hype, more". PWTorch.com. สืบค้นเมื่อ June 3, 2014.
- ↑ "Batista and Bo Dallas on NXT 6/12/2014 HD *BEST QUALITY*". YouTube.com. YouTube. June 12, 2015. สืบค้นเมื่อ June 13, 2014.
- ↑ "Batista Leaves WWE Before 'Payback 2014' PPV! 'The Animal' Quits Wrestling Again Due To Creative Differences And Payment Issues With The Company! CM Punk Scenario All Over Again?". K Drama Stars. May 12, 2014. สืบค้นเมื่อ 16 February 2015.
- ↑ Paglino, Nick (May 5, 2014). "Update: The Very Latest on Batista's WWE Status, Why He and Other WWE Talents Are Currently Upset". Wrestlezone. สืบค้นเมื่อ April 11, 2015.
- ↑ "Evolution reunites: Triple H, Batista, Randy Orton & Ric Flair to appear at SmackDown 1000". WWE. สืบค้นเมื่อ September 29, 2018.
- ↑ "WWE RAW REPORT: GOOD NEWS FROM ROMAN REIGNS, ARE BIRTHDAY CELEBRATIONS THE NEW CONTRACT SIGNINGS?, A REUNION?, AND MORE". PWInsider. สืบค้นเมื่อ February 25, 2019.
- ↑ Johnson, Mike (March 11, 2019). "New WrestleMania Match Confirmed". PWInsider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 13, 2019. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
- ↑ Benigno, Anthony (April 7, 2019). "Triple H def. Batista (No Holds Barred Match)". WWE. สืบค้นเมื่อ April 8, 2019.
- ↑ Bautista, Dave (April 8, 2019). "Dave Bautista on Twitter: WWEUniverse Thank you for letting me entertain you. I love this business and whether you cheered me or jeered me, I'm grateful for being a small part of your life. I am officially retired from sports entertainment and I am grateful for every second of my amazing journey ✌🏻". สืบค้นเมื่อ April 9, 2019 – โดยทาง Twitter.
- ↑ Eck, Kevin (December 30, 2007). "2007 Awards". The Baltimore Sun. สืบค้นเมื่อ September 25, 2020.
- ↑ "O.V.W. Heavyweight Title". Wrestling-Titles.com. สืบค้นเมื่อ July 19, 2007.
- ↑ 61.0 61.1 "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-21. สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated (PWI) 500 for 2005". The Internet Wrestling Database. สืบค้นเมื่อ September 30, 2013.
- ↑ "Batista's first WWE Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2009. สืบค้นเมื่อ January 26, 2009.
- ↑ "Batista's second WWE Championship reign". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2010.
- ↑ "Batista's first World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
- ↑ "Batista's second World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
- ↑ "Batista's third World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2007. สืบค้นเมื่อ September 19, 2007.
- ↑ "Batista's fourth World Heavyweight Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2008. สืบค้นเมื่อ October 28, 2008.
- ↑ "Batista and John Cena's first World Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2008. สืบค้นเมื่อ August 5, 2008.
- ↑ "SUPERSTARS". World Xtreme Wrestling. สืบค้นเมื่อ September 24, 2020.
- ↑ 71.0 71.1 71.2 Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA. pp. 1–40. ISSN 1083-9593.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เดฟ บอทิสตา |
- Batista ที่ WWE.com
- เดฟ บอทิสตา ที่ทวิตเตอร์
- Dave Bautista ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- CS1 errors: URL
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2512
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- นักมวยปล้ำอาชีพชาวฟิลิปปินส์
- นักมวยปล้ำอาชีพชาวกรีก
- รายชื่อสมาชิกของดิออธอริตี (มวยปล้ำอาชีพ)
- นักกีฬาชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย
- นักแสดงอเมริกัน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์
- ชาวอเมริกันเชื้อสายกรีก
- บุคคลจากวอชิงตัน ดี.ซี.
- นักต่อสู้แบบผสมชาวอเมริกัน
- ผู้เข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี
- หอเกียรติยศและพิพิธภัณฑ์มวยปล้ำอาชีพ