เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Saint Christopher-Nevis-Anguilla
เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา

ค.ศ. 1882–1983
สถานะอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
เมืองหลวงบาสแตร์ (เมืองหลวงกลาง)
ชาล์ลทาวน์ส (เนวิส),
เดอะแวลลีย์ (แองกวิลลา)
ภาษาทั่วไปภาษาอังกฤษ
ศาสนา
ศาสนาคริสต์
การปกครองอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
ประมุขแห่งรัฐ 
• 1882-1901 (first)
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
• 1952-83 (last)
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
ผู้ว่าการ 
• 1873–83 (คนแรก)
Alexander Wilson Moir
ผู้ว่าการ 
• 1981–83 (คนสุดท้าย)
Clement A. Arrindell
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
16 มิถุนายน ค.ศ. 1882
27 กุมภาพันธ์ 1967
• สิ้นสุด
19 กันยายน 1983
พื้นที่
351 ตารางกิโลเมตร (136 ตารางไมล์)
สกุลเงินดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก (XCD)
ก่อนหน้า
ถัดไป
สหพันธรัฐเวสต์อินดิส
แองกวิลลา
เซนต์คิตส์และเนวิส

เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลลา เป็นชื่ออาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งตั้งอยู่ในแถบทะเลแคริบเบียน ประกอบด้วยดินแดนของแองกวิลลาและประเทศเซนต์คิตส์และเนวิสในปัจจุบัน รัฐดังกล่าวนี้ต่อมาได้กลายเป็นมณฑลหนึ่งของสหพันธรัฐเวสต์อินดิสในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) จนกระทั่งเมื่อสหพันธรัฐดังกล่าวได้ล้มเลิกลงในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลาก็ได้เป็นประเทศอิสระ ซึ่งได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อรวมตัวเป็นสหภาพกับประเทศอื่นอยู่หลายครั้ง

ในปี ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) เซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลา ได้รับมอบอำนาจปกครองตนเองด้านกิจการภายในอย่างเต็มที่จากสหราชอาณาจักร ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 แองกวิลลาได้พยายามก่อกบฏเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจนสำเร็จแต่ก็เป็นประเทศเอกราชได้เพียงไม่นานนัก ถึงปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) แองกวิลลาจึงแยกตัวจากเซนต์คริสโตเฟอร์-เนวิส-แองกวิลาอย่างเป็นทางการโดยยังคงสถานะเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบัน ส่วนดินแดนที่เหลือภายหลังก็ได้รับเอกราชและสถาปนาเป็นประเทศเอกราชในชื่อเซนต์คิตส์และเนวิสเมื่อปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526)