อำเภอครบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอครบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khon Buri
อ่างเก็บน้ำลำแชะ
อ่างเก็บน้ำลำแชะ
คำขวัญ: 
น้ำตกวังเต่า เขาจอมทอง
สองเขื่อนงามล้ำ ถ้ำวัวแดง
ศิลาแลงปรางค์ครบุรี บารมีหลวงปู่นิล
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอครบุรี
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอครบุรี
พิกัด: 14°31′24″N 102°14′54″E / 14.52333°N 102.24833°E / 14.52333; 102.24833
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,816.9 ตร.กม. (701.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด96,140 คน
 • ความหนาแน่น52.91 คน/ตร.กม. (137.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30250
รหัสภูมิศาสตร์3002
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอครบุรี หมู่ที่ 4
ถนนสุขาภิบาล 14 ตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา 30250
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ครบุรี เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนใต้ของจังหวัดนครราชสีมา พื้นที่ทางตอนใต้ของครบุรีอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ที่ได้รับการประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ" จากองค์การยูเนสโก ภายใต้ชื่อกลุ่ม ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำสายสำคัญของแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ปรางค์ประธานปราสาทครบุรี
ไร่อ้อยในพื้นที่ตำบลสระว่านพระยา
อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำแชะ ตำบลโคกกระชาย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอครบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

อำเภอครบุรี เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอำเภออยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัยในปัจจุบัน) โดยได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ในปี พ.ศ. 2450 ซึ่งขณะนั้นมีเขตการปกครอง รวม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลแซะ ตำบลจระเข้หิน และตำบลสระตะเคียน เรียกว่า "กิ่งอำเภอแชะ" เนื่องจากที่ตั้งของที่ว่าการอำเภออยู่ในเขตหมู่บ้านแชะ ตำบลแชะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอและได้ชื่อว่า "อำเภอครบุรี" โดยรวมพื้นที่กิ่งอำเภอแชะเดิม กับตำบลครบุรีที่แยกมาจากกิ่งอำเภอสะแกราช เนื่องจากกิ่งอำเภอสะแกราชถูกยุบให้ไปรวมกับอำเภอปักธงชัย

สำหรับคำว่า"แชะ"เป็นภาษาพื้นเมือง ส่วนภาษาไทยคือคำว่า "แฉะ" ซึ่งแปลว่า เปียกหรือชุ่มน้ำอยู่เสมอ จากการบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านต่างๆ ได้รับการบอกเล่าว่าการที่ได้ชื่อว่า "บ้านแชะ" นั้นมาจากสภาพของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ต่ำและมีโคลนตมอยู่ทั่วไป ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บ้านแชะ" คำว่า "ครบุรี" กร่อนมาจากคำว่า สาครบุรี ซึ่งแปลว่า เมืองต้นน้ำหรือเมืองสายน้ำ เพราะมีแควน้ำน้อยใหญ่หลายสาย จึงเรียกว่า "เมืองสาครบุรี" ต่อมาคำว่า "สา" กล่อนหายไปเหลือเพียงคำว่า "ครบุรี"มาตราบจนทุกวันนี้

  • วันที่ - 2450 แยกพื้นที่ตำบลสระตะเคียน ตำบลแชะ และตำบลจระเข้หิน จากอำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย) มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอแซะ และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย)
  • วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2482 ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช และโอนพื้นที่ตำบลสะแกราชและตำบลสำโรงไปกับอำเภอปักธงไชย และโอนพื้นที่ตำบลครบุรี มาขึ้นกับกิ่งอำเภอแซะ อำเภอกระโทก (อำเภอโชคชัย)[1] และยกฐานะจากกิ่งอำเภอแซะ อำเภอกระโทก เป็น อำเภอครบุรี[2]
  • วันที่ 19 ตุลาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลครบุรี ไปขึ้นกับตำบลจระเข้หิน[3]
  • วันที่ 19 ธันวาคม 2495 ตั้งตำบลโคกกระชาย แยกออกจากตำบลแชะ[4]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลแชะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลแชะ[5]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2514 ตั้งตำบลเฉลียง แยกออกจากตำบลแชะ[6]
  • วันที่ 11 พฤษภาคม 2519 แยกพื้นที่ตำบลสระตะเคียน จากอำเภอครบุรี ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเสิงสาง[7] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอครบุรี
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2520 ตั้งตำบลเสิงสาง แยกออกจากตำบลสระตะเคียน ตั้งตำบลโนนสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลสระตะเคียน และตั้งตำบลกุดโบสถ์ แยกออกจากตำบลสระตะเคียน[8]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี เป็น อำเภอเสิงสาง[9]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลมาบตะโกเอน แยกออกจากตำบลเฉลียง[10]
  • วันที่ 5 พฤษภาคม 2524 ตั้งตำบลอรพิมพ์ แยกออกจากตำบลจระเข้หิน[11]
  • วันที่ 13 กันยายน 2526 ตั้งตำบลบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลแชะ[12]
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2528 ตั้งตำบลลำเพียก แยกออกจากตำบลโคกกระชาย[13]
  • วันที่ 8 มีนาคม 2531 จัดตั้งสุขาภิบาลจระเข้หิน ในท้องที่หมู่ 1-4, 6 และ 8 ของตำบลจระเข้หิน[14]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลครบุรีใต้ แยกออกจากตำบลครบุรี[15]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลตะแบกบาน แยกออกจากตำบลเฉลียง[16]
  • วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลไทรโยง - ไชยวาล ในท้องที่หมู่ 1-3 ของตำบลครบุรี และท้องที่หมู่ 8 ของตำบลครบุรีใต้[17]
  • วันที 27 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลสระว่านพระยา แยกออกจากตำบลมาบตะโกเอน[18]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลแชะ สุขาภิบาลจระเข้หิน และสุขาภิบาลไทรโยง - ไชยวาล เป็นเทศบาลตำบลแชะ เทศบาลตำบลจระเข้หิน และเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล ตามลำดับ[19] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลอรพิมพ์[20] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลครบุรีใต้ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล) อำเภอครบุรี ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลครบุรีใต้[21]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอครบุรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 152 หมู่บ้าน

1. แชะ (Chae) 11 หมู่บ้าน 7. อรพิมพ์ (Oraphim) 08 หมู่บ้าน
2. เฉลียง (Chaliang) 12 หมู่บ้าน 8. บ้านใหม่ (Ban Mai) 14 หมู่บ้าน
3. ครบุรี (Khon Buri) 14 หมู่บ้าน 9. ลำเพียก (Lam Phiak) 12 หมู่บ้าน
4. โคกกระชาย (Khok Krachai) 24 หมู่บ้าน 10. ครบุรีใต้ (Khon Buri Tai) 16 หมู่บ้าน
5. จระเข้หิน (Chorakhe Hin) 13 หมู่บ้าน 11. ตะแบกบาน (Tabaek Ban) 09 หมู่บ้าน
6. มาบตะโกเอน (Map Tako En) 10 หมู่บ้าน 12. สระว่านพระยา (Sa Wan Phraya) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอครบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแชะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแชะและตำบลบ้านใหม่
  • เทศบาลตำบลจระเข้หิน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจระเข้หิน
  • เทศบาลตำบลไทรโยง-ไชยวาล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลครบุรีและตำบลครบุรีใต้
  • เทศบาลตำบลอรพิมพ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอรพิมพ์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลครบุรีใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลครบุรีใต้ (นอกเขตเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแชะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแชะ (นอกเขตเทศบาลตำบลแชะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเฉลียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเฉลียง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลครบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลครบุรี (นอกเขตเทศบาลตำบลไทรโยง - ไชยวาล)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกระชาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกระชายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจระเข้หิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจระเข้หิน (นอกเขตเทศบาลตำบลจระเข้หิน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมาบตะโกเอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบตะโกเอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลแชะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำเพียก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำเพียกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะแบกบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะแบกบานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระว่านพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระว่านพระยาทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช ขึ้นอำเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3380. February 12, 1939.
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอแซะ ขึ้นอำเภอกระโทก จังหวัดนครราชสีมา ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอครบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3365. February 12, 1939.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอต่าง ๆ จังหวัดอุตตรดิตถ์ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสมุทรสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (61 ง): 3422–3424. October 19, 1948.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอครบุรี และอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (77 ง): 4783–4785. December 30, 1952.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 75 ง): 26–27. September 20, 1956.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอครบุรี อำเภอสูงเนิน อำเภอห้วยแถลง อำเภอคง อำเภอด่านขุนทด และอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (120 ง): 3100–3136. November 9, 1971.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเสิงสาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (72 ง): 1098. May 11, 1976. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
  8. "ปประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (93 ง): 4121–4130. October 4, 1977.
  9. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. 2522" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): 19–23. March 25, 1979. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอด่านขุนทด อำเภอประทาย อำเภอคง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (192 ง): 4373–4386. November 20, 1979.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (68 ง): 1296–1303. May 5, 1981.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลภายในท้องที่อำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (146 ง): 3306–3321. September 13, 1983.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอบัวใหญ่ อำเภอจักราช และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (192 ง): 6095–6133. December 17, 1985.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (36 ง): 1810–1811. March 8, 1988.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโชคชัย อำเภอครบุรี อำเภอคง อำเภอโนนสูง กิ่งอำเภอแก้งสนามนาง และกิ่งอำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (พิเศษ 171 ง): 122–155. October 21, 1988.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอประทาย อำเภอคง และอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (พิเศษ 131 ง): 81–94. July 29, 1991.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไทรโยง-ไชยวาล อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 126 ง): 55–56. September 30, 1992.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขามสะแกแสง อำเภอครบุรี และอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 151 ง): 1–18. November 27, 1992.
  19. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-01-10.
  20. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล อรพิมพ์ เป็น เทศบาลตำบลอรพิมพ์". August 31, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  21. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ครบุรีใต้ เป็น เทศบาลตำบลครบุรีใต้". August 31, 2009. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)