ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือสุภาษิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนังสือสุภาษิต (อังกฤษ: Book of Proverbs; ฮีบรู: מִשְלֵי, Mišlê; กรีก: Παροιμίαι; ละติน: Liber Proverbiorum, "สุภาษิต (ของซาโลมอน)") เป็นหนังสือในส่วนที่ 3 (ที่เรียกว่าเคทูวีม) ของคัมภีร์ฮีบรู ตามธรรมเนียมถือกันว่าเป็นผลงานของกษัตริย์ซาโลมอนและนักศึกษาของพระองค์ ภายหลังปรากฏในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] เมื่อหนังสือสุภาษาิตได้รับการแปลเป็นภาษากรีกและภาษาละติน ชื่อของหนังสือก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ในเซปทัวจินต์ (LXX) ภาษากรีกชื่อกลายเป็น Παροιμίαι (Paroimiai, "สุภาษิต"); ในวัลเกตภาษาละตินชื่อกลายเป็น Proverbia ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหนังสือในภาษาอังกฤษว่า Book of Proverbs

หนังสือสุภาษิตไม่เป็นเพียงประชุมบทนิพนธ์ แต่ยังเป็น "รวมผลงานของรวมผลงาน" ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของชีวิตที่คงอยู่มานานมากกว่าสหัสวรรษ[2] เป็นตัวอย่างของปัญญานิพนธ์ในคัมภีร์ไบเบิล และเป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับค่านิยม พฤติกรรมทางศีลธรรม ความหมายของชีวิตมนุษย์ และการประพฤติที่ถูกต้อง[3] และรากฐานของเทววิทยาของหนังสือสุภาษิตคือ "ความยำเกรงพระเจ้า (มีความหมายถึงการยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระเจ้า) เป็นจุดเริ่มต้นของปัญญา"[4] ปัญญาได้รับการยกย่องจากบทบาทในการทรงสร้างของพระเจ้า พระเจ้าทรงครอบครองปัญญาก่อนสิ่งอื่นใด และพระองค์ทรงควบคุมความวุ่นวายผ่านทางปัญญา และด้วยเหตุที่มนุษย์มีชีวิตและความเจริญรุ่งเรืองจากการทรงสร้างของพระเจ้า การแสวงปัญญาจึงเป็นแก่นแท้และเป้าหมายของชีวิต[5]

หนังสือสุภาษิตแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ได้แก่ การเชื้อเชิญเริ่มต้นให้เข้าหาปัญญา ความแตกต่างระหว่างคนฉลาดกับคนโง่ และวจนิพนธ์ทางศีลธรรมในหัวข้อต่าง ๆ บทที่ 25–29 กล่าวถึงความยุติธรรม คนชั่วร้าย คนรวย และคนจน ส่วนบทที่ 30 เกี่ยวกับ "ถ้อยคำของอากูร์" เกี่ยวกับสิ่งทรงสร้างและพระกำลัง[6][7]

โครงสร้าง

[แก้]
ม้วนหนังสือสุภาษิต

หนังสือสุภาษิตแบ่งกลุ่มสุภาษิตตามคำนำขึ้นต้นดังต่อไปนี้:

  • สุภาษิต 1–9: "บรรดาสุภาษิตของซาโลมอน ผู้เป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลและโอรสของดาวิด"
  • สุภาษิต 10–22:16: "บรรดาสุภาษิตของซาโลมอน"
  • สุภาษิต 22:17–24:22: "ถ้อยคำของคนมีปัญญา"
  • สุภาษิต 24:23–34: "ข้อความเหล่านี้เป็นคำกล่าวของคนมีปัญญาด้วย"
  • สุภาษิต 25–29: "ต่อไปนี้เป็นบรรดาสุภาษิตของซาโลมอนด้วยเหมือนกัน ซึ่งคนของเฮเซคียาห์ กษัตริย์ยูดาห์ได้คัดลอกไว้"
  • สุภาษิต 30: "ถ้อยคำของอากูร์"
  • สุภาษิต 31:1–9: "ถ้อยคำของเลมูเอล พระราชาแห่งมัสสา พระราชชนนีตรัสสอนคำนี้แก่พระองค์"
  • สุภาษิต 31:10–31: ภรรยาที่เลิศประเสริฐ[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Berlin 2011, p. 588.
  2. Clements 2003, p. 438.
  3. Alter 2010, pp. xiii–xvii.
  4. Longman & Garland 2009, p. 50.
  5. Boccaccini 2002, p. 106.
  6. de Almeida, João Ferreira, บ.ก. (1974), "Os provérbios", A Bíblia sagrada (Versão revisada de acordo com os melhores textos em hebraico e grego ed.), Rio de Janeiro: Imprensa bíblica brasileira, Junta de educação religiosa, Convenção batista brasileira, xxii:17, Breves discursos morais do sábio acerca de vários assuntos.
  7. Proverbs 24:23: New King James Version
  8. Perdue 2012, pp. x–xi.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Crenshaw, James L. "Book of Proverbs", The Anchor Bible Dictionary, 1992
  • Dockery, David S. (general ed.), Holman Bible Handbook, Holman Bible Publishers, Nashville, 1992
  • Lasor, William Sanford, Hubbard, David Allan, & Bush, Frederic Wm., Old Testament Survey: The Message, Form, and Background of the Old Testament, 1996
  • Murphy, Roland E., Wisdom Literature: Job, Proverbs, Ruth, Canticles, Ecclesiastes, and Esther. Grand Rapids, 1981
  • Steinmann, Andrew, "Proverbs 1–9 as a Solomonic Composition", Journal of the Evangelical Theological Society, 43, no. 4
  • Waltke, Bruce (2004). Book of Proverbs: Chapters 1–15. Wm. B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-2545-2.
  • Waltke, Bruce (2005). The Book of Proverbs: Chapters 15–31. Wm. B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-2776-0.
  • Waltke, Bruce K.; De Silva, Ivan D. V. (2021). Proverbs: A Shorter Commentary. Wm. B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-7503-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
สดุดี
หนังสือสุภาษิต
(ปัญญานิพนธ์หรือปรีชาญาณ)
คัมภีร์ฮีบรู
ถัดไป
โยบ
ก่อนหน้า
สดุดี
หนังสือสุภาษิต
(ปัญญานิพนธ์หรือปรีชาญาณ)
พันธสัญญาเดิม
ของศาสนาคริสต์ตะวันตก
ถัดไป
ปัญญาจารย์
ก่อนหน้า
เพลงสรรเสริญ
หนังสือสุภาษิต
(ปัญญานิพนธ์หรือปรีชาญาณ)
พันธสัญญาเดิม
ของอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ถัดไป
ปัญญาจารย์