หนังสือโทบิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โทบิตกล่าวหาว่าอันนาขโมยลูกแพะ ภาพจิตรกรรมโดยแร็มบรันต์ (ค.ศ.1626)

หนังสือโทบิต (อังกฤษ: Book of Tobit; /ˈtbɪt/)[a] หรือในอีกชื่อว่า หนังสือโทบีอัส (อังกฤษ: Book of Tobias) เป็นงานเขียนในศตวรรษที่ 3 หริือ 2 ก่อนคริสตกาลซึ่งเล่าถึงการที่พระเจ้าทรงทดสอบความเชื่อ ทรงสนองตอบคำอธิษฐาน และทรงปกป้องชุมชนแห่งพันธสัญญา (คือชาวอิสราเอล)[1] หนังสือโทบิตบอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวชาวอิสราเอล 2 ครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวของโทบิตผู้ตาบอดในนีนะเวห์ และครอบครัวของซาราห์ผู้ถูกทอดทิ้งในเอกบาทานา[2] โทบียาห์ (ภาษากรีกเรียกว่า "โทบีอัส") บุตรชายของโทบิตถูกส่งไปนำเงินหนัก 10 ตะลันต์ (ประมาณ 340 กิโลกรัม) ที่โทบิตฝากไว้ในเมืองราเกส เมืองในแคว้นมีเดีย โทบียาห์ได้รับการชี้นำและช่วยเหลือจากทูตสวรรค์ราฟาเอลจึงมาถึงเอกบาทานาที่ซึ่งเขาได้พบกับซาราห์[2] ปีศาจชื่ออัสโมเดอัสตกหลุมรักซาราห์จึงสังหารชายทุกคนที่เธอตั้งใจจะแต่งงานด้วย แต่ด้วยความช่วยเหลือจากราฟาเอล ปีศาจจึงถูกขับไล่ออกไป และโทบียาห์กับซาราห์จึงได้แต่งงานกัน[1] ภายหลังทั้งคู่กลับมายังนีนะเวห์

หนังสือโทบิตรวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิลของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ รวมถึงในม้วนหนังสือเดดซี แต่ไม่อยู่ในต้นฉบับเมโซเรติกของศาสนายูดาห์ ในขณะที่ธรรมเนียมของนิกายโปรเตสแตนต์ถือว่าหนังสือโทบิตเป็นคัมภีร์นอกสารบบ โดยนิกายย่อยอนาแบปทิสต์ ลูเทอแรน แองกลิคัน และเมทอดิสต์ยอมรับว่าหนังสือโทบิตมีประโยชน์สำหรับวัตถุประสงค์ในการเทศนาและการสักการะ แต่มีสถานะที่อยู่นอกสารบบพระคัมภีร์[3][4][5][6][1] นักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับหนังสือโทบิตในฐานะเรื่องแต่งที่อิงประวัติศาสตร์บางส่วน[7]

โครงสร้างและภาพรวม[แก้]

โทบียาห์บอกลาบิดา ภาพจิตรกรรมโดย William-Adolphe Bouguereau (ค.ศ. 1860)

หนังสือโทบิตมี 14 บท เรื่องเล่าหลักแบ่งได้เป็น 3 ส่วนโดยขนาบด้วบทนำและบทส่งท้าย:[8]

  • บทนำ (1:1–2)
  • สถานการณ๋ในนีนะเวห์และเอกบาทานา (1:3–3:17)
  • การเดินทางของโทบียาห์ (4:1–12:22)
  • บทเพลงสรรเสริญของโทบิตและการเสียชีวิตของโทบิต (13:1–14:2)
  • บทสุดท้าย (14:3–15)

(สรุปจาก Benedikt Otzen, "Tobit and Judith")[9]

หมายเหตุ[แก้]

  1. มาจากภาษากรีก: Τωβίθ Tōbith หรือ Τωβίτ Tōbit (มีัการสะกดว่า Τωβείθ และ Τωβείτ ด้วย) ซึ่งมาจากภาษาฮีบรูฮีบรู: טובי Tovi "ความดีของเรา"; หนังสือโทบีอัสในวัลเกตมาจากภาษากรีก Τωβίας Tōbias ซึ่งมาจากภาษาฮีบรู טוביה Tovyah "ยาห์ทรงดี"

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Levine 2007, p. 11.
  2. 2.0 2.1 Fitzmyer 2013, p. 31.
  3. Geisler, Norman L.; MacKenzie, Ralph E. (1995). Roman Catholics and Evangelicals: Agreements and Differences (ภาษาEnglish). Baker Publishing Group. p. 171. ISBN 978-0-8010-3875-4. Lutherans and Anglicans used it only for ethical / devotional matters but did not consider it authoritative in matters of faith.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. John Wesley (1825). The Sunday Service of the Methodists; With Other Occasional Services (ภาษาอังกฤษ). J. Kershaw. p. 136.
  5. Dyck, Cornelius J.; Martin, Dennis D. (1955). The Mennonite Encyclopedia: A-C (ภาษาEnglish). Mennonite Brethren Publishing House. p. 136. ISBN 978-0-8361-1119-4.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. Kirwan, Peter (16 April 2015). Shakespeare and the Idea of Apocrypha: Negotiating the Boundaries of the Dramatic Canon (ภาษาEnglish). Cambridge University Press. p. 207. ISBN 978-1-316-30053-4.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  7. Fitzmyer 2003, p. 31.
  8. Fitzmyer 2013, p. 58.
  9. Otzen 2002, p. 4-7.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า
เนหะมีย์
หนังสือโทบิต
(คัมภีร์อธิกธรรม / คัมภีร์นอกสารบบ)
พันธสัญญาเดิม
ของโรมันคาทอลิก
ถัดไป
ยูดิธ
ก่อนหน้า
เอสรา-เนหะมีย์
(2 เอสดราส)
หนังสือโทบิต
(คัมภีร์อธิกธรรม / คัมภีร์นอกสารบบ)
พันธสัญญาเดิม
ของอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ถัดไป
ยูดิธ