โยบ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยบ 1
หนังสือโยบทั้งเล่มในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008) จากฉบับสำเนาเก่า
หนังสือหนังสือโยบ
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเคทูวีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่Sifrei Emet
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์18

โยบ 1 (อังกฤษ: Job 1) เป็นบทแรกของหนังสือโยบในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือโยบเป็นใคร นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเขียนขึ้นราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสกาล[3][4] บทที่ 1 ของหนังสือโยบเป็นส่วนหนึ่งของบทนำของหนังสือที่ประกอบด้วยโยบ 1:1-2:13[5]

ต้นฉบับ[แก้]

ม้วนหนังสือโยบในภาษาฮีบรู

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 22 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[7]

วิเคราะห์[แก้]

ในโครงสร้างของหนังสือ บทที่ 1 และ 2 รวมกลุ่มในฐานะ "บทนำ" โดยมีโครงสร้างดังต่อไปนี้:[8]

  • โยบเป็นผู้ชอบธรรมอย่างยิ่ง (1:1–5)
  • ฉากสภาสวรรค์ครั้งแรก (1:6–12)
  • การทดสอบครั้งแรก- การสูญเสียทรัพย์สินและครอบครัว (1:13–19)
  • ปฏิกิริยาของโยบต่อการสูญเสียครั้งแรกและและคำตัดสินของผู้เล่าเรื่องt (1:20–22)
  • ฉากสภาสวรรค์ครั้งแรกที่สอง (2:1–6)
  • การทดสอบครั้งที่สอง - ฝีร้าย (2:7–10)
  • การมาช่วยของเหล่าเพื่อน (2:11–13)

ส่วนทั้งหมดนี้นำไปสู่ส่วนถัด ๆ ไปของหนังสือ:[9]

  • บทสนทนา (บทที่ 3–31)
  • การตัดสิน (32:1–42:6)
  • บทส่งท้าย (42:7–17)

บทนำประกอบด้วยฉาก 5 ฉาก เขียนในรูปแบบร้อยแก้ว (1:1–5; 1:6–12; 1:13–22; 2:1–6; 2:7–13 (3:1)) สลับกับระหว่างโลกและฟ้าสวรรค์ ซึ่งเป็นการแนะนำตัวละครหลักและประเด็นทางเทววิทยาที่จะวินิจฉัย[5]

ประวัติของโยบ (1:1–5)[แก้]

หลังระบุถึงสถานที่อาศัยของโยบ (ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างแน่ชัด) ส่วนนี้ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ:[10]

  • คุณสมบัติของโยบ: "ดีพร้อม" (Hebrew: tam) และ "เที่ยงธรรม" (yašar) (1:1)
  • ทรัพย์สมบัติและสถานะของโยบ (1:2–3)
  • ศรัทธาของโยบ (1:4–5)

วรรค 1[แก้]

มีชายคนหนึ่งในแผ่นดินอูส ชื่อโยบ ชายคนนั้นเป็นคนดีพร้อมและเที่ยงธรรม เป็นผู้ยำเกรงพระเจ้าและหันจากความชั่วร้าย[11]

คุณสมบัติของโยบได้รับการระบุเป็น 4 ข้อที่แยกจากกันดังนี้:

  • "ดีพร้อม" (ภาษาฮีบรู: tam; เทียบกับ ปฐมกาล 20:5, 6:1; พงศ์กษัตริย์ 9:4; สดุดี 7:8; 25:21; 26:1, 11; 41:12; 78:72)
  • "เที่ยงธรรม" (ภาษาฮีบรู: yasar, "ตรง, ทั้งหมด, ยุติธรรม")
  • "ผู้ยำเกรงพระเจ้า"
  • [ผู้] "หันจากความชั่วร้าย"[12]

คู่คำ "ดีพร้อม" และ "เที่ยงธรรม" คู่ขนานกันในสดุดี 37:37[12] คุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของโยบคือ "ยำเกรงพระเจ้า" ซึ่ง "ปฏิปักษ์" ("ซาตาน") ยกมากล่าวถึงในวรรค 9 เป็นตัวแทนคุณลักษณะของความชอบธรรมที่โยบควรเป็น[12] สำนวนว่า "ยำเกรงพระเจ้า/พระยาห์เวห์" มีการใช้ในสุภาษิต 1:7, 29; 2:5; 3:7; 8:13; 9:10; 10:27; 14:2, 26, 27; 15:16, 33;16:6;19:23; 22:4; 23:17; 24:21; 31:30; ปัญญาจารย์ 5:7: 7:18; 8:12; 12:13; สดุดี 15:4; 19:9; 34:9, 11; 111:10[12]

บทสนทนาแรก (1:6–12)[แก้]

ส่วนนี้เล่าถึงการประชุมในสวรรค์ ซึ่งมีการเปิดเผยเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเบื้องหลังของเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่โยบและคนรอบข้างไม่สามารถมองเห็นได้[14][15] ในสภาสวรรค์นี้ พระเจ้าหรือพระยาห์เวห์ (ภาษาฮีบรู: YHWH) ทรงยกย่องคุณธรรมของโยบ แต่ซาตาน (ภาษาฮีบรู: ha-satan) หรือ "ปฏิปักษ์" ท้าทายเหตุผลเรื่องคุณธรรมของโยบ พระเจ้าจึงทรงยอมให้ซาตาน 'ลองหันเหโยบจากความสัตย์ซื่อ' กล่าวคือ 'พระเจ้าทรงใช้โยบเพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีของซาตานผิด'[15]

วรรค 6[แก้]

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเหล่าทูตสวรรค์มารายงานตัวต่อพระยาห์เวห์ ซาตานได้มาในหมู่เขาด้วย[16]
  • "เหล่าทูตสวรรค์": จากภาษาฮีบรู: בני האלהים, bə-nê hā-’ĕ-lō-hîm[17][18] ซึ่งมีความหมายโดยตรงว่า "บรรดาบุตรของพระเจ้า" วลีนี้ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูเฉพาะใน ปฐมกาล 6:2, 4; โยบ 1:6; 2:1; 38:7 โดยขณะที่มีวลีที่เทียบเคียงกันได้คือ bənê ’ĕlîm ในสดุดี 29:1; 89:7 และ bənê ’ĕlyon ในสดุดี 89:7[18] การใช้ชื่อนี้นอกคัมภีร์ไบเบิล ส่วนใหญ่อยู่ใน Ugaritic texts ซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเจ้าหน้าที่ที่ประกอบกันเป็นสภาศักดิสิทธิ์สำหรับกระทำกิจการของสวรรค์[18]
  • "ซาตาน: จากภาษาฮีบรู השטן, hā-śā-ṭān[17] ซึ่งสามารถแปลได้ว่า "ปฏิปักษ์", "ผู้กล่าวหา" หรือ "ผู้ท้าทาย"[19] คำภาษาฮีบรูนี้มักทับศัพท์ในฐานะชื่อเฉพาะว่า "ซาตาน" ทำให้มีความเกี่ยวข้องกับ "ปิศาจ" ชื่อ "ซาตาน" ในพันธสัญญาใหม่ ซึ่งเล่าว่าซาตานพยายามล่อลวงพระเยซูแต่ไม่สำเร็จ (มัทธิว 4:111) และเล่าว่าซาตานต่อต้านการปกครองของพระเจ้า (วิวรณ์ 12:9; 20:2, 7–8)[20][21] คำในภาษาฮีบรูมีการเขียนพร้อมคำกำกับนามชี้เฉพาะ ה, ha ในคัมภีร์ฮีบรู (รวมถึงในกันดารวิถี 22:22, 32; เศคาริยาห์ 3:1–2) ยกเว้นใน 1 พงศาวดาร 21:1 ซึ่งใช้เพียงคำว่า "satan" ดังนั้น "ซาตาน" ในโยบ 1:6 ดูเหมือนจะเป็นการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่มากกว่าจะเป็นชื่อเฉพาะบุคคล[22]

วรรค 9[แก้]

แล้วซาตานทูลตอบพระยาห์เวห์ว่า “โยบยำเกรงพระเจ้าเปล่าๆ หรือ?"[23]
  • "เปล่าๆ": รูปแบบภาษาฮีบรูของวลีนี้มีปฤจฉาคุณศัพท์ ה, he เข้ากับคำกริยาวิเศษณ์ חִנָּם, khinnam ("gratis") ซึ่งเป็นรูปผันของคำกริยา חָנַן khanan ("มีเมตตา, แสดงความโปรดปราน") หรือคำนามที่เกี่ยวข้อง חֵן, khen ("ความเมตตา, ความโปรดปราน") ดังนั้นคำกริยาวิเศษณ์จึงมีความหมายในเชิงว่า "ฟรี; ให้เปล่า; ไม่เพื่อสิ่งใด; โดยไม่มีเหตุผล"[24]

หายนะของโยบ (1:13–22)[แก้]

"โยบรับผู้สื่อสาร" โดย William Small (Dalziels' Bible Gallery), ค.ศ. 1876–1881

ส่วนนี้แสดงรายการภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับโยบตามลำดับ โยบทำได้เพียงฟังรายงานโดยไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของซาตานและเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า[25] รูปแบบของภัยพิบัติมีลักษณะแบบสมมาตร กล่าวคือเป็นการสูญเสียทรัพย์สมบัติของโยบสลับกันระหว่างการสูญเสียโดยการกระทำของมนุษย์ (คนเสบา, ชาวเคลเดีย) และการสูญเสียที่มีสาเหตุทางธรรมชาติหรือเหนือธรรมชาติ (ฟ้าผ่า, พายุ) ภัยพิบัติแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ คือเป็นสัตว์ที่ยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีค่ามากขึ้น ท้ายที่สุดก็เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดคือเหล่าบุตรของโยบ[25] การตอบสนองของโยบต่อการสูญเสีย (วรรค 20–21) แสดงออกซึ่งความเป็นต้นแบบของความยึดมั่นในความเชื่อของโยบ ได้แก่ การฉีกเสื้อคลุม (เทียบกับปฐมกาล 37:29; โยชูวา 7:6) และโกนศีรษะ (เทียบกับ อิสยาห์ 15:2; 22:12; เยเรมีย์ 7:29; 16:6; 41:5; 47:5; 48:37; เอเสเคียล 7:18; อาโมส 8:10; มีคาห์ 1:16) เป็นแบบแผนทั่วไปของการไว้ทุกข์ในวัฒนธรรมท้องถิ่นในยุคโบราณ[26] การตอบสนองของโยบอย่างผู้ชอบธรรมได้รับการรับรองโดยผู้เล่าเรื่องในวรรค 22[26]

วรรค 21[แก้]

ท่านว่า “ข้ามาจากครรภ์มารดาตัวเปล่า และข้าจะกลับไปตัวเปล่า พระยาห์เวห์ประทาน และพระยาห์เวห์ทรงเอาไปเสีย สาธุการแด่พระนามพระยาห์เวห์”[27]
  • "ตัวเปล่า": จากคำคุณศัพท์ภาษาฮีบรูซึ่งทำหน้าที่ในที่นี้เป็น 'กรรมกริยาวิเศษณ์ของสถานะ อธิบายสถานะของประธาน' และแม้ว่าจะรวมความหมายโดยตรงว่าเปลือยเปล่าเมื่อแรกเกิด แต่ก็ยังใช้ในเชิงสัญลักษณ์เพื่อหมายถึง "ไม่มีทรัพย์สิน" ด้วย[28]
  • คำพูดของโยบคู่ขนานกับพันธสัญญาใหม่วรรค 1 ทิโมธี 6:7[29]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: โยชูวา 7, เอเสเคียล 14, เศคาริยาห์ 3, 1 ทิโมธี 6, ยากอบ 5
  • อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 242.
    2. Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
    3. Kugler & Hartin 2009, p. 193.
    4. Crenshaw 2007, p. 332.
    5. 5.0 5.1 Crenshaw 2007, p. 334.
    6. Würthwein 1995, pp. 36–37.
    7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    8. Wilson 2015, p. 17.
    9. Wilson 2015, pp. 17–23.
    10. Walton 2012, pp. 56–58.
    11. โยบ 1:1 THSV11
    12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 Wilson 2015, p. 29.
    13. Estes 2013, p. 3.
    14. Wilson 2015, p. 31.
    15. 15.0 15.1 หมายเหตุ [a] ของโยบ 1:6 ใน NET Bible
    16. โยบ 1:6 THSV11
    17. 17.0 17.1 Job 1:6 Hebrew Text Analysis. Biblehub.
    18. 18.0 18.1 18.2 Walton 2012, p. 63.
    19. Walton 2012, pp. 64–65.
    20. Walton 2012, p. 65.
    21. Estes 2013, p. 9.
    22. Walton 2012, pp. 65–66.
    23. โยบ 1:9 THSV11
    24. หมายเหตุของโยบ 1:9 ใน NET Bible
    25. 25.0 25.1 Wilson 2015, p. 35.
    26. 26.0 26.1 Wilson 2015, p. 36.
    27. โยบ 1:21 THSV11
    28. หมายเหตุ [a] ของ Job 1:21 ใน NET Bible
    29. หมายเหตุ [b] ของโยบ 1:21 ใน NET Bible

    บรรณานุกรม[แก้]

    • Alter, Robert (2010). The Wisdom Books: Job, Proverbs, and Ecclesiastes: A Translation with Commentary. W.W. Norton & Co. ISBN 978-0393080735.
    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
    • Crenshaw, James L. (2007). "17. Job". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 331–355. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Estes, Daniel J. (2013). Walton, John H.; Strauss, Mark L. (บ.ก.). Job. Teach the Text Commentary Series. United States: Baker Publishing Group. ISBN 9781441242778.
    • Farmer, Kathleen A. (1998). "The Wisdom Books". ใน McKenzie, Steven L.; Graham, Matt Patrick (บ.ก.). The Hebrew Bible Today: An Introduction to Critical Issues. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-66425652-4.
    • Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
    • Kugler, Robert; Hartin, Patrick J. (2009). An Introduction to the Bible. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-4636-5.
    • Walton, John H. (2012). Job. United States: Zondervan. ISBN 9780310492009.
    • Wilson, Lindsay (2015). Job. United States: Wm. B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9781467443289.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]