ข้ามไปเนื้อหา

ชาวเบตาอิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวเบตาอิสราเอล
ביתא ישראל
Shlomo Molla
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 อิสราเอล 120,000 คน[1] (2008)
1.75% ของประชากรในอิสราเอล

ภาคกลาง 35.6% • ภาคใต้ 25% • ไฮฟา 18.8%

ภาคเหนือ 9% • เยรูซาเล็ม 6.1% • เทลอาวีฟ 3.6%
ยูเดียและซามาเรีย 1.6%
 เอธิโอเปีย3,188 - 8,700 คน[2]
 สหรัฐ1,000 คน[3]
ภาษา
ภาษาของชาวยิว
ภาษาอกอ (ภาษากายลา • ภาษากวารา)
Liturgical languages
ภาษากืออึซ
ภาษาพูดหลัก
ภาษาอามารา 80% • ภาษาทือกรึญญา 20% • ภาษาฮีบรู
ศาสนา
ศาสนายูดาย
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวยิวและศาสนายูดายในแอฟริกา • กลุ่มชาวยิวอื่น ๆ
ชาวอัมฮารา • ชาวทือกรึญญา • ชาวอกอ • ชาวฮาเบซาอื่น

ชาวเบตาอิสราเอล (ภาษาฮีบรู: בֵּיתֶא יִשְׂרָאֵל‎‎ - Beyte (beyt) Israel, ภาษากืออึซ: ቤተ እስራኤል - Bēta 'Isrā'ēl, modern Bēte 'Isrā'ēl, EA: "Betä Əsraʾel", บ้านของอิสราเอล") หรือชาวยิวเอธิโอเปีย (ภาษาฮีบรู: יְהוּדֵי ‏אֶ‏תְיוֹ‏פְּ‏יָ‏ה‎‎: yehudei itiyopya, ภาษากืออึซ: "የኢትዮጵያ አይሁድዊ", ye-Ityoppya Ayhudi), เป็นชื่อของชุมชนชาวยิวที่อาศัย ในบริเวณของจักรวรรดิอัคซุมหรือจักรวรรดิเอธิโอเปีย (ฮาเบซหรืออบิสซิสเนีย) ซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งเป็นเขตอัมฮาราและทือกรึญญา

ชาวเบตาอิสราเอลอาศัยอยู่ทางเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของเอธิโอเปีย มีหมู่บ้านอย่างน้อย 500 หมู่บ้าน กระจายในเขตปกครองของชาวคริสต์และมุสลิม ส่วนใหญ่อาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณทะเลสาบทานา และทางเหนือของทะเลสาบในติเกร กอนเดอร์ และเวลโล มีส่วนน้อยอาศัยอยู่ในเมืองกอนเดอร์และแอดดิส อะบาบา[4]

เกือบทั้งหมดของชุมชนชาวเบตาอิสราเอลในเอธิโอเปียมากกว่า 120,000 คนอาศัยอยู่ในอิสราเอลภายใต้กฎหมายของการอพยพกลับซึ่งจะทำให้ชาวยิวและผู้ที่มีพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายเป็นชาวยิวและคู่สมรสของพวกเขามีสิทธิที่จะตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลและได้รับสัญชาติ รัฐบาลอิสราเอลได้ดำเนินการช่วยเหลือชาวเบตาอิสราเอลส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างปฏิบัติการโมเสส(พ.ศ. 2527) และปฏิบัติการโซโลมอน (พ.ศ. 2534) การย้ายถิ่นของพวกเขาเกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองและความอดอยากคุกคามประชากรชาวยิวในประเทศเอธิโอเปีย การอพยพได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้ชาวเบตาอิสราเอล 81,000 คน เกิดในเอธิโอเปียในขณะที่ 38,500 คนหรือ 32% เกิดในอิสราเอล .[5] การดูดกลืนชาวเอธิโอเปียเข้าสู่สังคมอิสราเอลเป็นเครื่องหมายของความพยายามที่ประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่มคนผิวสี ให้เป็นพลเมืองเท่าเทียมกับ คนส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นคนผิวขาว .[6]

ชาวฟาลาซมูราเป็นลูกหลานของชาวเบตาอิสราเอล ที่หันไปนับถือศาสนาคริสต์ บางส่วนกลับไปปฏิบัติตามหลักศาสนายูดายและที่อาศัยอยู่ในชุมชนของ ชาวฟาลาซมูรา ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวเบตาอิสราเอลได้ถกเถียงเกี่ยวกับการยอมรับว่าชาวฟาลาซมูราเป็นชาวยิว[7] และยังเป็นหัวข้อถกเถียงในสังคมอิสราเอล [8][9][10][11]

บริเวณที่ชุมชนชาวเบตาอิสราเอลอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
แผนที่การอพยพของชาวเบตาอิสราเอล

อ้างอิง

[แก้]
  1. Israel Central Bureau of Statistics: The Ethiopian Population In Israel
  2. State Comptroller of Israel: Efrati Census เก็บถาวร 2010-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Mozgovaya, Natasha (2008-04-02). "Focus U.S.A.-Israel News - Haaretz Israeli News source". Haaretz.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-05. สืบค้นเมื่อ 2010-12-25.
  4. Jewish Communities in the Nineteenth and Twentieth Centuries - Ethiopia. Ben-Zvi Institute. p. VII
  5. [1] เก็บถาวร 2010-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ha'aretz.
  6. Rebhun, Uzi, Jews in Israel: contemporary social and cultural patterns, UPNE, 2004, p. 139-140
  7. Shas to help speed up Ethiopian Jewry immigration to Israel เก็บถาวร 2009-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Israel Insider
  8. Israel is losing its sovereignty Ha'aretz.
  9. Israel "can't bring all Ethiopian Jews at once" - foreign minister. Asia Africa Intelligence Wire (From BBC Monitoring International Reports).
  10. Israel orchestrates mass exodus of Ethiopians. Knight Ridder/Tribune News Service.
  11. Families Across Frontiers, p. 391, ISBN 90-411-0239-6

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]