ข้ามไปเนื้อหา

บทจดหมาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบุญเปาโลเขียนบทจดหมาย โดย Valentin de Boulogne หรือ Nicolas Tournier (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16, Blaffer Foundation Collection, Houston, TX)

บทจดหมาย (อังกฤษ: epistle; /ɪˈpɪsəl/; จาก กรีกโบราณ ἐπιστολή (epistolḗ)หมายถึง "จดหมาย") เป็นงานเขียนที่ส่งถึงบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลหนึ่ง มักเป็นจดหมายที่มีเนื้อหาสั่งสอนด้วยสำนวนภาษาเป็นทางการและสละสลวย งานเขียนประเภทบทจดหมายพบได้ทั่วไปในอียิปต์โบราณในฐานะส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเขียนของโรงเรียนอาลักษณ์ จดหมายในพันธสัญญาใหม่จากอัครทูตถึงบรรดาคริสต์ศาสนิกชนมักถูกเรียกว่าเป็นบทจดหมาย จดหมายที่ถือกันว่าเขียนโดยเปาโลรู้จักในคำเรียกว่าบทจดหมายของเปาโล (Pauline epistles) ส่วนจดหมายฉบับอื่น ๆ เรียกว่าเป็นบทจดหมายคาทอลิก (catholic epistles) หรือบทจดหมายทั่วไป (general epistles)

บทจดหมายอียิปต์โบราณ

[แก้]

ชาวอียิปต์โบราณเขียนบทจดหมายโดยส่วนใหญ่มักเขียนเพื่อเหตุผลทางศึกษาศาสตร์ นักอียิปต์วิทยา Edward Wente (ค.ศ. 1990) คาดว่าฟาโรห์เจดคาเรแห่งราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ซึ่งทรงเขียนจดหมายหลายฉบับถึงวิเซียร์ (เสนาบดี) ของพระองค์ ถือเป็นผู้ทรงบุกเบิกงานเขียนประเภทบทจดหมาย[1] การเขียนบทจดหมายได้รับการยืนยันการมีอยู่อย่างชัดเจนในราชวงศ์ที่หกของราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์ และปรากฏชัดในคู่มือการศึกษา The Book of Kemit ที่เขียนเขียนในช่วงราชวงศ์ที่สิบเอ็ด[1] มีสูตรมาตรฐานของการเขีนบทจดหมายในสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์ สูตรบทจดหมายที่ใช้ในยุครามเสสมีรากฐานจากจดหมายที่เขียนขึ้นในสมัยอามาร์นาแห่งราชวงศ์ที่สิบแปด Wente ระบุถึง "จดหมายเสียดสี" (Satirical Letter) ที่พบบน Papyrus Anastasi I ของราชวงศ์ที่สิบเก้าว่าเป็นบทจดหมายที่เด็กนักเรียนชาวอียิปต์นิยมคัดลอกบนเศษภาชนะกระเบื้อง (นักโบราณคดีค้นพบตัวอย่างมากกว่าแปดสิบชิ้น) เพื่อฝึกการเขียน บทเขียนยังมีการเขียนถึงคนตาย และในยุครามเสสมีการเขียนถึงเทพเจ้าด้วย การเขียนบทจดหมายถึงเทพเจ้านี้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นในยุคที่เปอร์เซียและกรีกปกครอง[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Edward F. Wente (1990). Letters from Ancient Egypt: Society of Biblical Literature Writing from the Ancient World Series Volume 1. แปลโดย Edmund S. Meltzer. Atlanta, GA: Scholars Press. hdl:2027/heb.02262.0001.001. ISBN 978-1555404734.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]