ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือเยเรมีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนังสือเยเรมีย์ (อังกฤษ: Book of Jeremiah; ฮีบรู: ספר יִרְמְיָהוּ) เป็นหนังสือเล่มที่ 2 ในหมวดผู้เผยพระวจนะยุคหลังในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นเล่มที่ 2 ในหมวดผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์[1] คำนำในเยเรมีย์ 1:1–3 ระบุว่าหนังสือเยเรมีย์เป็น "ถ้อยคำของเยเรมีย์บุตรของฮิลคียาห์"[1] ในบรรดาผู้เผยพระวจนะทั้งหมด เยเรมีย์เป็นบุคคลที่เปิดเผยชัดเจนที่สุด โดยใคร่ครวญกับบารุคผู้เป็นอาลักษณ์ถึงเรื่องบทบาทผู้รับใช้พระเจ้าของตนที่แทบไม่มีข่าวดีให้กับผู้ฟัง[2]

หนังสือเยเรมีย์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นข้อความถึงชาวยิวที่ตกเป็นเชลยในบาบิโลน โดยอธิบายถึงภัยพิบัติแห่งการตกเป็นเชลยว่าเป็นการทรงตอบสนองของพระเจ้าต่อการนับถือพระต่างชาติของชาวอิสราเอล:[3] เยเรมีย์กล่าวว่าผู้คนก็เหมือนกับภรรยาที่ไม่ซื่อสัตย์และบุตรที่ก่อกบฏ ความไม่ซื่อสัตย์และความเป็นกบฏของพวเขาทำให้ไม่อาจหลีกเลี่ยงการพิพากษา แม้ว่าขณะเดียวก็มีการเล็งถึงอนาคตที่มีการฟื้นฟูและพันธสัญญาใหม่[4] คำเผยพระวจนะที่แท้จริงของเยเรมีย์อาจเป็นส่วนกวีนิพนธ์ของบทที่ 1 –25 และหนังสือเยเรมีย์โดยรวมนั้นได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมอย่างมากโดยผู้ติดตามของผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์ (อาจรวมถึงอาลักษณ์บารุคที่เป็นสหายของเยเรมีย์) และนักเขียนสายเฉลยธรรมบัญญัติในรุ่นหลัง[5]

หนังสือเยเรมีย์มีการแยกเป็น 2 ฉบับที่แตกต่างกันแต่มีความเกี่ยวข้องกัน ฉบับหนึ่งคือฉบับภาษาฮีบรู อีกฉบับหนึ่งคือฉบับแปลภาษากรีกที่เป็นที่รู้จักมาจากเซปทัวจินต์[6] ช่วงเวลาที่เขียนสองฉบับนี้ (ฉบับภาษากรีกและภาษาฮีบรู) อาจระบุได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าฉบับภาษากรีกแสดงมุมมองตามแบบอย่างของช่วงต้นยุคเปอร์เซีย ส่วนฉบับมาโซเรติก (คือฉบับภาษาฮีบรู) แสดงมุมมองซึ่งยังไม่ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจนกว่าถึงศตวรรษที่ 2 ของก่อนคริสตกาล แม้ว่าเป็นที่รู้กันในยุคเปอร์เซียแล้ว[7]

โครงสร้าง

[แก้]
(นำมาจาก A Brief Introduction to the Old Testament ของ Michael D. Coogan แหล่งอื่น ๆ อาจมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย)

เป็นการยากที่จะแบ่งโครงสร้างในหนังสือเยเรมีย์ อาจเป็นเพราะหนังสือมีประวัติการเรียบเรียงที่ยาวนานและซับซ้อน[2] สามารถแบ่งอย่างคร่าว ๆ ได้เป็น 6 ส่วน:[8]

  • บทที่ 1–25 (เนื้อหาส่วนแรกสุดและแก่นหลักของข้อความของเยเรมีย์)
  • บทที่ 26–29 (เนื้อหาชีวประวัติและปฏิสัมพันธ์กับผู้เผยพระวจนะคนอื่น ๆ)
  • บทที่ 30–33 (พระสัญญาของพระเจ้าเรื่องการฟื้นฟู รวมถึง "พันธสัญญาใหม่" ของเยเรมีย์ ซึ่งการตีความในศาสนายูดาห์แตกต่างจากในศาสนาคริสต์)
  • บทที่ 34–45 (ส่วนใหญ่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์กับเศเดคิยาห์และการล่มสลายของเยรูซาเล็ม)
  • บทที่ 46–51 (การลงโทษของพระเจ้าต่อบรรดาประชาชาติรอบอิสราเอล)
  • บทที่ 52 (ภาคผนวกที่เป็นการเล่าซ้ำเรื่องใน 2 พงศ์กษัตริย์)[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Sweeney 1998, pp. 81–82.
  2. 2.0 2.1 Kugler & Hartin 2009, p. 241.
  3. Allen 2008, pp. 7, 14.
  4. Biddle 2007, p. 1074.
  5. Coogan 2008, p. 300.
  6. Sweeney 1998, p. 82.
  7. Sweeney 2010, p. 94.
  8. Coogan 2008, p. 299.
  9. 2 พงศ์กษัตริย์ 24:18-25:30

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
อิสยาห์
หนังสือเยเรมีย์
คัมภีร์ฮีบรู
(หมวดผู้เผยพระวจนะยุคหลัง)
ถัดไป
เอเสเคียล
ก่อนหน้า
อิสยาห์
หนังสือเยเรมีย์
พันธสัญญาเดิม
ของศาสนาคริสต์
(หมวดผู้เผยพระวจนะใหญ่)
ถัดไป
เพลงคร่ำครวญ