หนังสือบารุค
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาคริสต์ |
---|
สถานีย่อย |
หนังสือบารุค (อังกฤษ: Book of Baruch) เป็นหนังสือในคัมภีร์ไบเบิลที่จัดเป็นคัมภีร์อธิกธรรม ใช้ในหลายประเพณีของศาสนาคริสต์ เช่นในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ในศาสนายูดาห์และในศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ถือว่าหนังสือบารุคไม่เป็นส่วนหนึ่งของสารบบคัมภีร์ไบเบิล โดยคัมภีร์ไบเบิลโปรเตสแตนต์จัดให้หนังสือบารุคเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์นอกสารบบ[1] หนังสือบารุคตั้งชื่อตามบารุคบุตรเนริยาห์ อาลักษณ์ของผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์ผู้ถูกกล่าวถึงในบารุค 1:1 และถือว่าเป็นผู้เขียนของหนังสือบารุคทั้งเล่ม[2] หนังสือบารุคสะท้อนความคิดของนักเขียนชาวยิวเกี่ยวกับสถานการณ์ของเชลยชาวยิวในบาบิโลน โดยมีการรำพึงธรรมถึงเทววิทยาและประวัติศาสตร์ของดินแดนอิสราเอล, การอภิปรายเกี่ยวกับปัญญา (ปรีชาญาณ) และกล่าวโดยตรงถึงผู้อาศัยในเยรูซาเล็มและผู้พลัดถิ่น นักวิชาการบางคนให้ความเห็นว่าหนังสือบารุคเขียนขึ้นในยุคของมัคคาบีหรือช่วงเวลาไม่นานหลังจากนั้น[3]
หนังสือบารุคบางครั้งถูกเรียกด้วยชื่อว่า 1 บารุค (1 Baruch)[4] เพื่อแยกความแตกต่างจาก 2 บารุค, 3 บารุค และ 4 บารุค
แม้ว่าสำเนาต้นฉบับที่เก่าแก่ที่สุดที่ทราบของหนังสือบารุคเป็นภาษากรีก แต่ลักษณะทางภาษาในส่วนแรกของหนังสือบารุค (1:1–3:8) ได้รับการเสนอความคิดเห็นว่าเป็นส่วนที่บ่งชี้ว่าเป็นการแปลจากภาษาเซมิติก[5]
แม้ว่าหนังสือบารุคไม่อยู่ในคัมภีร์ฮีบรู แต่อยู่ในเซปทัวจินต์รวมถึงในฉบับแปลภาษากรีกของ Theodotion[6] หนังสือบารุคถือว่าเป็นหนังสือในสารบบของพันธสัญญาเดิมโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ ในคัมภัร์ไบเบิลของโปรเตสแตนต์ 80 เล่ม หนังสือบารุคเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์นอกสารบบ[1] นักบุญเจอโรมรวมหนังสือบารุคในฉบับวัลเกตของตนแม้ว่ายังสงสัยในเรื่องความเป็นคัมภีร์อธิกธรรม ในฉบับวัลเกต หนังสือบารุคถูกจัดในกลุ่มเดียวกับกลุ่มหนังสือผู้เผยพระวจนะร่วมกับหนังสือเยเรมีย์และหนังสือเพลงคร่ำครวญ ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกต, คัมภีร์นอกสารบบของฉบับพระเจ้าเจมส์ และฉบับอื่น ๆ จดหมายของประกาศกเยเรมีย์ได้ถูกผนวกเข้ากับหนังสือบารุคในฐานะบทที่ 6 ในเซปทัวจินต์และคัมภีร์ไบเบิลออร์ทอดอกซ์ บทที่ 6 มักนับเป็นหนังสือแยกต่างหาก เรียกว่าจดหมายของของเยเรมีย์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Apocrypha-KJV-Reader's (ภาษาEnglish). Hendrickson Publishers. 2009. ISBN 978-1-59856-464-8.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Cp. Jeremiah 36:9–10 and Baruch 1:1–5.
- ↑ Reginald C. Fuller, บ.ก. (1975) [1953]. A New Catholic Commentary on Holy Scripture. Thomas Nelson., §504h. Also, "late Babylonian"; "alluded to, seemingly, in 2 Mac 2:1–3" in The Jerusalem Bible, 1966, p. 1128.
- ↑ Bible Society, Baruch, Bible Book Club, accessed 22 July 2019
- ↑ John Barton; John Muddiman (25 January 2007). The Oxford Bible Commentary. Oxford University Press. p. 699. ISBN 978-0-19-927718-6.
- ↑ "Baruch" by P. P. Saydon, revised by T. Hanlon, in A New Catholic Commentary on Holy Scripture, ed. Reginald C. Fuller, Thomas Nelson, Inc. Publishers, 1953, 1975, §504j. The same source states that "[t]here is also evidence that Baruch was read in Jewish synagogues on certain festivals during the early centuries of the Christian era (Thackeray, 107-11)", i.e. Henry St. John Thackeray, The Septuagint and Jewish Worship, 1923.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Jewish Encyclopedia: Baruch
- Baruch เก็บถาวร 2020-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in the Latin Vulgate
- The Book of Baruch Full text from http://St-Takla.org (also available in Arabic)
- 1Baruch 2012 Translation & Audio Version
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
- Baruch หนังสือเสียงสาธารณสมบัติที่ LibriVox Douay-Rheims Version
- หนังสือบารุค โดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์
ก่อนหน้า เพลงคร่ำครวญ |
หนังสือบารุค (คัมภีร์อธิกธรรม) พันธสัญญาเดิม ของโรมันคาทอลิก หนังสือบารุครวมจดหมายของประกาศกเยเรมีย์ด้วย |
ถัดไป เอเสเคียล |
ก่อนหน้า เพลงคร่ำครวญ |
หนังสือบารุค (คัมภีร์อธิกธรรม) พันธสัญญาเดิม ของอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ |
ถัดไป จดหมายของประกาศกเยเรมีย์ |