ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา (อังกฤษ: Buddhism and psychology) เหลื่อมกันทั้งในทางทฤษฎีและการปฏิบัติในศตวรรษที่ผ่านมา โดยมีความเกี่ยวข้องกันหลัก ๆ 4 อย่าง คือ
- ปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนา (Descriptive phenomenology) - นักวิชาการตะวันตกได้พบในคำสอนของพระพุทธเจ้า ความรู้ในเรื่องจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ (phenomenological psychology) ซึ่งเป็นการตรวจสอบจิตใจของตัวเองอย่างละเอียด โดยเฉพาะจากพระอภิธรรม
- เป้าหมาย/ความหมายของจิตบำบัด - นักจิตวิทยามนุษยนิยมได้เริ่มใช้แนวคิดไม่แบ่งเป็นสอง (nondualism) และประสบการณ์รู้ความจริงของธรรมชาติ โดยเป็นเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงตนเอง การฟื้นจากโรค และของชีวิต มีการเผยแพร่ทฤษฎีที่แสดงความเชื่อมต่อกันเช่นนี้ในปี 2536[1]
- การใช้ในการรักษา - ผู้บำบัดรักษาทางสุขภาพจิตในปัจจุบันพบว่า การปฏิบัติของศาสนาพุทธ (เช่นการเจริญสติ) สามารถบำบัดปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีหลักฐาน
- จิตวิทยาหรือเรื่องทางจิตวิญญาณยอดนิยม (ของโลกตะวันตก) - จิตวิทยาได้กลายเป็นเรื่องนิยม แล้วผสมกับเรื่องทางจิตวิญญาณจนกลายเป็นความเชื่อสมัยใหม่ที่เรียกในโลกตะวันตกว่านิวเอจ (New Age) แนวคิดพุทธต่าง ๆ เป็นส่วนผสมที่สำคัญของความเชื่อนี้
จิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์จากศาสนาพุทธ
[แก้]ศาสนาพุทธเกิดขึ้นกว่า 2,000 ปีก่อนสาขาจิตวิทยา ดังนั้น การตรวจสอบศาสนาพุทธจากมุมมองทางจิตวิทยาจึงเป็นเรื่องสร้างขึ้นในปัจจุบัน[a] ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อนักอินเดียวิทยาชาวอังกฤษเริ่มแปลคัมภีร์พระอภิธรรมของพุทธเถรวาทจากคัมภีร์บาลีและคัมภีร์สันสกฤต ส่วนผู้นำพุทธวัชรยาน เช่น Chogyam Trungpa และองค์ทะไลลามะที่ 14 ได้ทำงานระยะยาวเพื่อเปรียบเทียบเรื่องทางจิตจากคัมภีร์อภิธรรมกับวิทยาศาสตร์อิงหลักฐานของชาวตะวันตก
ภาพรวมของพระอภิธรรม
[แก้]คำสอนของพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในคัมภีร์ที่แบ่งออกเป็น 3 ภาคคือพระไตรปิฎก โดยปิฎกที่สามเป็นพระอภิธรรม พระภิกษุโพธิ (Jeffrey Block) ภิกษุเถรวาทสายศรีลังกาชาวอเมริกันผู้เป็นประธานของ Buddhist Publication Society (สมาคมสิ่งตีพิมพ์พุทธ) ให้ภาพรวมของพระอภิธรรมดังต่อไปนี้ คือ
ระบบที่คัมภีร์พระอภิธรรมแสดงอย่างชัดเจนเป็นทั้งปรัชญา จิตวิทยา และจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน ทั้งหมดประสานเป็นโครงสร้างทางดำเนินเพื่อความหลุดพ้น (แต่)ความพยายามเข้าใจธรรมชาติของความจริงที่คัมภีร์แสดง โดยตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกของโลกตะวันตก ไม่ได้เริ่มจากมุมมองของผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง ๆ ผู้กำลังมองโลกภายนอก จุดประสงค์หลักของพระอภิธรรมก็เพื่อจะเข้าใจธรรมชาติของประสบการณ์ และดังนั้นความจริงที่สนใจก็คือความจริงที่รับรู้ เพราะเหตุนี้ ส่วนที่เป็นปรัชญาของพระอภิธรรมจึงน้อมไปทางจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ (phenomenological psychology) เพื่ออำนวยความเข้าใจของความจริงที่ประสบ คัมภีร์จึงเริ่มด้วยการวิเคราะห์จิตอย่างละเอียดพิสดาร เป็นจิตดังที่ปรากฏเมื่อพินิจพิจารณาภายใน คัมภีร์จัดจิตออกเป็นหลายชนิด กำหนดองค์ประกอบและหน้าที่ของแต่ละอย่าง สัมพันธ์ทั้งหมดนั้นกับอารมณ์ของจิต (สิ่งที่จิตรู้) และรูปที่เป็นฐานของจิต และแสดงการเชื่อมต่อกันของจิตประเภทต่าง ๆ กับทั้งจิตด้วยกันเองและกับรูป ที่เป็นกระบวนการก่อประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง[2]: 3–4
การยอมรับคัมภีร์อภิธรรมทางด้านจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ของชาวตะวันตก จึงเริ่มต้นเกินกว่าศตวรรษก่อนเพราะงานของนักอินเดียวิทยาชาวอังกฤษ
งานวิชาการของนางไรส์ เดวิดส์ (พ.ศ. 2443)
[แก้]ในปี พ.ศ. 2443 นักอินเดียวิทยานางแคโรไลน ออกัสตา โฟลีย์ ไรส์ เดวิดส์ พิมพ์ผ่านสำนักพิมพ์สมาคมคัมภีร์บาลี (Pali Text Society) การแปลคัมภีร์แรกของพระอภิธรรมคือคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยตั้งชื่อว่า Buddhist Manual of Psychological Ethics (คู่มือพุทธเรื่องจริยธรรมทางจิต)[3] ในอารัมภบทของงานทรงอิทธิพลนี้ ผู้เขียนได้กล่าวว่า
...
ปรัชญาชาวพุทธเป็นเรื่องจริยธรรมจากต้นจนจบ ซึ่งเป็นเรื่องที่เถียงไม่ได้ แต่จริยธรรมแบบต่าง ๆ ก็ต่างกันราวกับฟ้าดินในความสำคัญที่ให้ต่อเรื่องของจิตที่นำไปสู่จริยธรรม ชาวพุทธมีความก้าวหน้าบางอย่างในเรื่องจิตที่เกี่ยวกับจริยธรรมยิ่งกว่าอาริสโตเติลเสียอีก เป็นความก้าวหน้าที่ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ โดยปฏิเสธสมมติฐานเรื่องวิญญาณ (psyche) และอะไรที่ยิ่งกว่านั้น ชาวพุทธพอใจที่จะแยกแยะจิตของบุคคลที่มีจริยธรรม "ตามที่เห็น" ออกเป็นปรากฏการณ์ทางอัตวิสัยที่เชื่อมต่อกันอย่างซับซ้อน กลุ่มของธรรมะที่แยกแยะได้ซึ่งก็คือสภาวะหรือสภาพจิต "เกิดขึ้น" ทุกครั้งกับจิต ตามกฎปัจจยาการที่แน่นอน ทั้งโดยรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งโดยที่สุดแล้วเป็นการเกิดโดยเป็นผลของสภาวะที่เกิดขึ้นก่อน ๆ ของจิต ... ดังนั้น ศาสนาพุทธ โดยเริ่มตั้งแต่พัฒนาการยุคต้น ๆ ได้ตั้งตนเพื่อวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ของกระบวนการทางจิตด้วยปัญญาและความหลักแหลมอันยอดเยี่ยม[3]: xvi–xvii [b]
การแสดงศาสนาพุทธในแนวจิตวิทยาเป็นสิ่งที่นางไรส์ เดวิดส์ทำต่อเนื่องเป็นทศวรรษ ๆ ดังที่พบได้ในงานปี 2457[4] และ 2479[5]
Trungpa Rinpoche และสถาบันนาโรปา (2517)
[แก้]- Chogyam Trungpa Rinpoche, 2517[c]
ในอารัมภบทของหนังสือปี 2518 Glimpses of the Abhidharma (ประกายแห่งพระอภิธรรม) รินโปเช Chogyam Trungpa เขียนว่า
นักจิตวิทยาปัจจุบันจำนวนมากได้พบว่า สิ่งที่พบในคัมภีร์อภิธรรมตรงกับสิ่งที่ตนค้นพบและไอเดียที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ เหมือนอย่างว่า พระอภิธรรมที่สอนเมื่อ 2,500 ปีก่อน ได้พัฒนาขึ้นใหม่โดยใช้สำนวนปัจจุบัน"[7]: 2
หนังสือของ Trungpa ยังกล่าวถึงลำดับปรากฏการณ์ในระดับนาโนวินาทีที่เกิดการรู้สัมผัสทางกาย โดยใช้แนวคิดในเรื่องขันธ์ 5
ในปี 2517 Trungpa ได้ตั้งสถาบันนาโรปา ปัจจุบันเรียกว่ามหาวิทยาลัยนาโรปา และเริ่มตั้งแต่ปี 2518 มหาวิทยาลัยที่มีการรับรองนี้ได้ให้ปริญญาในสาขา "จิตวิทยาแบบพิจารณา (contemplative psychology)"[8][d]
ทะไลลามะและการสนทนาเรื่องจิตและชีวิต (2530)
[แก้]ทุก ๆ สองปีตั้งแต่ปี 2530 องค์ทะไลลามะที่ 14 เทนซิน เกียตโซ ได้ทรงจัดตั้งงานประชุม "จิตและชีวิต (Mind and Life)" สำหรับทั้งพุทธศาสนิกชนและนักวิทยาศาสตร์[e] เมื่อพิจารณาย้อนหลังถึงการประชุมหนึ่งเช่นนี้ในเดือนมีนาคม 2543 นักจิตวิทยาแดเนียล โกลแมน ให้ข้อสังเกตว่า
ตั้งแต่พุทธกาลในช่วง 5 ทศวรรษก่อนคริสต์ศักราช การวิเคราะห์จิตและการทำงานของจิตเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติของสาวกพระพุทธเจ้า วิธีการวิเคราะห์เช่นนี้ได้จัดเป็นระบบในช่วง 1,000 ปีแรกหลังจากทรงปรินิพพาน เป็นระบบเรียกเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลว่า พระอภิธรรม ซึ่งหมายความว่า "หลักสอนสุดยอด" พุทธศาสนาทุกนิกายทุกวันนี้จะมีรูปแบบหนึ่งของคำสอนทางจิตวิทยานี้ โดยประกอบกับการขัดเกลาคำสอนของแต่ละนิกาย[6]: 72–73
ศาสนาพุทธและจิตวิเคราะห์
[แก้]ครูสอนการปฏิบัติ ผู้รักษา และนักเขียนรวมทั้ง ไดเซตสึ เทอิทาโร ซูซูกิ, คาร์ล ยุง, เอริก ฟรอมม์, แอลัน วัตส์, Tara Brach, Jack Kornfield, Joseph Goldstein, และ Sharon Salzberg ได้พยายามเชื่อมและรวมจิตวิเคราะห์กับคำสอนจากพุทธศาสนา ทนายอังกฤษนักเขียนหนังสือพุทธคนหนึ่งเรียกการร่วมมือกันในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 20 ของนักจิตวิเคราะห์และนักวิชาการทางพุทธศาสนาว่าเป็นการประชุมกันของ
พลังสองอย่างที่มีอำนาจมากที่สุดที่กำลังทำงานในด้านจิตของชาวตะวันตกในปัจจุบัน"[17]: ปกหลัง
แต่ว่าหลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติตามศาสนาพุทธได้แสดงความเป็นห่วงว่า การมองพุทธศาสนาผ่านมุมมองของจิตวิทยาแบบตะวันตกทำให้คำสอนการพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้าเสื่อมลง[18]
ซูซูกิ
[แก้]คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในการเผยแพร่ศาสนาพุทธในโลกตะวันตกก็คือ นักวิชาการพุทธเซนชาวญี่ปุ่น ไดเซตสึ เทอิทาโร ซูซูกิ โดยร่วมมือกับจิตแพทย์ คาร์ล ยุง และนักจิตวิทยา ศ. เอริก ฟรอมม์ และมีอิทธิพลต่อนักปรัชญา มาร์ติน ไฮเดกเกอร์[19]
ซูซุกิและยุง (2491)
[แก้]นพ. คาร์ล ยุง เขียนคำนำในหนังสือของซูซูกิ คือ ศาสนาพุทธเซนเบื้องต้น (Introduction to Zen Buddhism)[20] [f] ซึ่งเขาเน้นประสบการณ์การรู้แจ้งที่เซนเรียกว่า ซาโตริ (悟り) ว่าเป็น "การแปรสภาพไปสู่เอกภาพที่ไม่มีอะไรเสมอ" สำหรับนักปฏิบัติแบบเซน และแม้ว่าจะยอมรับถึงความความพยายามที่ไม่สมบูรณ์ของชาวตะวันตกที่จะเข้าใจซาโตริผ่านแนวคิดทางปัญญาของชาวตะวันตก[g]
ซูซูกิและฟรอมม์ (2500)
[แก้]โดยอ้างการร่วมมือกันระหว่าง นพ. ยุง กับซูซูกิ รวมทั้งความพยายามของคนอื่น นักปรัชญามนุษยนิยมและนักจิตวิเคราะห์ ศ. ดร. เอริก ฟรอมม์ ให้ข้อสังเกตว่า
มีความสนใจที่ชัดเจนและเพิ่มขึ้นในพุทธศาสนาแบบเซนจากบรรดานักจิตวิเคราะห์[17]: 77–78 [h]
ในปี 2500 ซูซูกิ ดร. ฟรอมม์ และนักจิตวิเคราะห์อื่น ๆ ได้ร่วมมือกันทำเวิ้ร์กฉ้อปเรื่อง "ศาสนาพุทธเซนกับจิตวิเคราะห์" ในเมือง Cuernavaca ประเทศเม็กซิโก[i] ในการเสนอของเขาที่เวิ้ร์กฉ้อป ดร. ฟรอมม์ประกาศว่า
จิตวิเคราะห์เป็นตัวแสดงวิกฤติการณ์ทางจิตวิญญาณของคนตะวันตกโดยเฉพาะ และเป็นการพยายามหาทางออก[17]: 80
เข้าอ้างว่า ตอนต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 คนไข้จิตวิเคราะห์เสาะหาการรักษาเพราะอาการเหมือนป่วยที่ขัดขวางกิจกรรมทางสังคม แต่โดยกลางทศวรรษ คนไข้โดยมากไม่แสดงอาการอะไรให้ปรากฏ และดำเนินกิจกรรมไปด้วยดี แต่กลับมีปัญหากับ "ความไม่มีชีวิตชีวาของใจ" และว่า
ความทุกข์ที่สามัญคือ ความเหินห่างจากตนเอง จากเพื่อนมนุษย์ และจากธรรมชาติ เป็นความสำนึกว่า ชีวิตกำลังหมดไปเหมือนกับทรายไหลออกจากมือ และตนจะตายอย่างยังไม่ได้ใช้ชีวิต และว่า ตนอยู่ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์แต่กลับไร้ความสุข[17]: 85–86
ดร. ฟรอมม์กล่าวต่อไปโดยถอดคำของซูซูกิอย่างกว้าง ๆ ว่า
เซนเป็นศิลปะใน "การเห็นธรรมชาติในตน" เป็นวิธีดำเนิน "จากความเป็นทาสไปสู่อิสระ" เป็นการ "ปลดปล่อยพลังธรรมชาติของตน" ... และกระตุ้นให้เราแสดงสมรรถภาพทาง "ความสุขและความรัก"[17]: 115 [...] สิ่งที่กล่าวได้ยิ่งกว่าแน่นอนก็คือความรู้และความสนใจเรื่องเซน สามารถมีอิทธิพลที่ไพบูลย์ต่อและช่วยอธิบายทฤษฎีและเทคนิคทางจิตวิเคราะห์ เซน แม้ว่าจะมีวิธีต่างจากจิตวิเคราะห์ สามารถช่วยทำอะไร ๆ ให้ชัดเจน เพิ่มความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของปัญญา และเพิ่มความเข้าใจว่าการเห็นเป็นอะไร ความคิดสร้างสรรค์เป็นอะไร การข้ามความมัวหมองทางใจและความคิดผิด ๆ ที่เป็นผลที่เลี่ยงไม่ได้จากประสบการณ์ที่มีการแยกกันระหว่างผู้รู้-สิ่งที่รู้[17]: 140
เดวิด เบรเซียร์
[แก้]เดวิด เบรเซียร์เป็นนักจิตบำบัดที่ผสมเทคนิคจิตบำบัดกับศาสนาพุทธ เบรเซียร์ได้ชี้ว่ามีคำแปลได้หลายอย่างสำหรับคำบาลีว่าอริยสัจ 4 ซึ่งทำให้เข้าใจสัจจะเหล่านั้นได้ในรูปแบบใหม่ ๆ คำแปลทั่วไปของคำว่า สมุทัย และนิโรธ ก็คือ "เหตุ" และ "ความดับ" เมื่อบวกกับคำแปลของคำว่าทุกข์ จึงเกิดคำอธิบายเหตุของความทุกข์ และความประทับใจว่าทุกข์สามารถกำจัดได้อย่างสิ้นเชิง เบรเซียร์ได้เสนอคำแปลใหม่[25] ซึ่งตีความอริยสัจ 4 อีกแบบหนึ่ง คือ
- ทุกข์ คือ ชีวิตไม่เพอร์เฟกต์ เหมือนกับล้อที่ประกอบเข้ากับเพลาไม่ดี
- สมุทัย คือ ตัณหาเกิดขึ้นพร้อมกับการประสบทุกข์ เป็นความกระหาย ความไม่พอใจกับสิ่งที่เป็น และความต้องการว่า ชีวิตควรจะต่างจากที่มันเป็น เราถูกขังอยู่ในตัณหาเมื่อไม่เห็นความจริงตามที่เป็น คือว่าไม่เพอร์เฝ็กต์ และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- นิโรธ คือ เราสามารถจำกัดตัณหา (ว่าน่าจะเป็นต่างจากที่เป็น) และรู้ความจริงดังที่เป็น ดังนั้น "ความทุกข์จากความไม่เพอร์เฝ็กต์" ก็จะเกิดอย่างจำกัด
- มรรค คือ การจำกัดความทุกข์ที่เป็นไปได้โดยดำเนินตามมรรคมีองค์แปด
ในการแปลเช่นนี้ สมุทัยหมายถึงว่า ความยากลำบากที่เป็นปกติของชีวิต (คือทุกข์) จะเกิดพร้อมกับตัณหาหรือความปรารถนา (คือสมุทัย) ว่า ชีวิตควรจะต่างไปจากนี้ นิโรธ หมายถึงการจำกัดตัณหาที่เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถที่จะหนีได้หรือหมดไปได้ แต่สามารถจำกัดได้ ซึ่งให้อิสรภาพแก่เรา[25]
มารก์ เอ็ปสไตน์
[แก้]นักจิตบำบัด นพ. มาร์ก เอ็ปสไตน์ สัมพันธ์อริยสัจ 4 กับ "โรคหลงตัวเองหลัก" (primary narcissism) ดังที่อธิบายโดย นพ. โดนัลด์ วินนิค็อตต์ ในทฤษฎีตนจริงตนปลอม (True self and false self)[26][27] สัจจะแรกเน้นความหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตที่จะเกิดความลบหลู่ต่อความภาคภูมิใจแบบหลงตัวเอง สัจจะที่สองกล่าวถึงความกระหายดั้งเดิมที่ทำให้ความลบหลู่เป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ ส่วนสัจจะที่สามให้ความหวังของอิสรภาพโดยพัฒนาความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับตนที่สมจริง และสัจจะที่สี่บอกวิธีการทำให้สำเร็จเช่นนั้น[28][29]
การใช้ข้อปฏิบัติในศาสนาเพื่อการรักษา
[แก้]มากกว่าพันปีแล้ว ที่มีการใช้ข้อปฏิบัติทางพุทธศาสนาทั่วโลกเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักจิตวิทยาคลินิกชาวตะวันตก นักทฤษฎี และนักวิจัยได้รวมข้อปฏิบัติของพุทธในวิธีจิตบำบัดมากมายที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะแล้ว คือรวมการฝึกสติโดยตรงเป็นเทคนิคการรักษาทางจิต[30] และโดยอ้อม ๆ แล้ว จิตบำบัดที่อาศัยการเปลี่ยนความคิด (cognitive restructuring) มีหลักคล้ายกับการกำจัดความทุกข์ในศาสนาพุทธ
การฝึกสติ
[แก้]ดร. ฟรอมม์[31]: 49–52 แยกแยะวิธีการเจริญทักษะสองอย่างที่ใช้ในการบำบัด คือ
- Autosuggestion (การแนะนำตัวเองหรือสะกดจิตตัวเอง) เพื่อให้ผ่อนคลาย
- การเจริญกรรมฐานที่ "ให้เกิด อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ในระดับที่สูงขึ้น สั้น ๆ ก็คือ ช่วยให้มีชีวิตในระดับสูงขึ้น"
ดร. ฟรอมม์แสดงที่มาของเทคนิกหลังกว่ามาจากการฝึกสติในศาสนาพุทธ[j]
วิธีการรักษาที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ สองอย่างที่ใช้เทคนิคการเจริญสติของพุทธศาสนาก็คือ การลดความเครียดอาศัยสติ (Mindfulness-based Stress Reduction ตัวย่อ MBSR) ของ ศ.ดร.จอน คาแบต-ซินน์ และพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) ของ ศ.ดร.มาชา ไลน์แฮน การบำบัดเด่นอื่น ๆ ที่ใช้สติรวมทั้งการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (Acceptance and Commitment Therapy ตัวย่อ ACT) ของ ศ.ดร.สตีเวน ซี. เฮย์ส การฝึกการปรับตัว (Adaptation Practice) ของจิตแพทย์และคนพุทธเซน คือ นพ. คลิฟ เชอร์สล็อก และการบำบัดความคิดอาศัยสติ (Mindfulness-based Cognitive Therapy ตัวย่อ MBCT)[33]
การลดความเครียดอาศัยสติ (MBSR)
[แก้]ดร. คาแบต-ซินน์ได้พัฒนาโปรแกรม MBSR ยาว 8 สัปดาห์โดยใช้ระยะเวลากว่า 10 ปี ในการรักษาคนไข้ 4,000 คนที่ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์[34]: 1 เขาได้เขียนกล่าวถึง MBSR ไว้ว่า
"งาน" นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกเป็นปกติอย่างมีวินัยในการสำนึกจากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง หรือที่เรียกว่า สติ เป็นการยอมรับทุก ๆ ขณะที่คุณรู้สึก ไม่ว่าจะดี ชั่ว หรือไม่น่ารัก นี้เป็นแก่นสารของการใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยภัยพิบัติ[34]: 11
ดร. คาแบต-ซินน์ผู้เคยปฏิบัติตามแนวพุทธเซนกล่าวไว้ว่า [k]
แม้ว่าในเวลานี้การฝึกสติโดยมากจะสอนและปฏิบัติในบริบทของศาสนาพุทธ แต่ว่า สาระของมันเป็นเรื่องสากล
มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าการเจริญสติเป็นคำสอนที่มาจากศาสนาพุทธ ที่ธุระหลักเป็นการเปลื้องความทุกข์และกำจัดความเข้าใจผิด[35]: 12–13
ในด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์เพื่อรักษา มีข้อพิสูจน์แล้วว่า MBSR มีประโยชน์ต่อคนไข้โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล แต่ (จริง ๆ แล้ว) โปรแกรมมุ่งหมายช่วยทุกคนที่ประสบกับความเครียด/ความทุกข์ในระดับสำคัญ
หลักของโปรแกรมอยู่ที่การฝึกอบรมจิตตามแนวทางพุทธอย่างกวดขันโดยไม่รวมเอาศาสนาพุทธ (นี่เป็นสำนวนที่ผมชอบใช้) และโยคะ[36]
พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (DBT)
[แก้]เมื่อกล่าวถึง DBT ผู้ปฏิบัติพุทธแบบเซน[l] ดร. ไลน์แฮน[37] กล่าวว่า
ดังที่ชื่อของมันแสดง ลักษณะสำคัญที่สุดของมันคือการเน้นเรื่อง "วิภาษวิธี" ซึ่งก็คือ การสมานฉันท์สิ่งตรงข้ามโดยเป็นการสังเคราะห์อย่างต่อเนื่อง... การเน้นเรื่องการยอมรับโดยเป็นตัวถ่วงดุลต่อความเปลี่ยนแปลง มาจากการรวมมุมมองโดยตรงจากข้อปฏิบัติของโลกตะวันออก (เซน) กับข้อปฏิบัติทางจิตวิทยาของโลกตะวันตก
และได้กล่าวคล้าย ๆ กันอีกว่า[38]: 63
ทักษะเกี่ยวกับสติเป็นเรื่องหลักของ DBT เป็นทักษะที่สอนเป็นอย่างแรกและทบทวน ... ทุก ๆ อาทิตย์ ... ทักษะเป็นการปฏิบัติอบรมจิตในรูปแบบของจิตวิทยาและพฤติกรรมนิยมที่มาจากการฝึกจิตวิญญาณของโลกตะวันออก ซึ่งดิฉันได้รับมาจากการปฏิบัติของเซนมากที่สุด
งานศึกษาทางคลินิกที่มีกลุ่มควบคุม ได้แสดงประสิทธิผลของ DBT ต่อคนไข้ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) [m]
การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)
[แก้]ส่วนการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) ไม่ได้มาจากศาสนาพุทธโดยตรง แต่แนวคิตต่าง ๆ บ่อยครั้งจะขนานกับของศาสนาพุทธและความเชื่อทางรหัสยลัทธิอื่น ๆ[41][42] ผู้ริเริ่ม ACT ได้กำหนดนิยามไว้ว่า เป็นวิธีที่ "ใช้กระบวนการยอมรับ กระบวนการทางสติ กระบวนการตกลงใจที่จะทำ และกระบวนการเริ่มพฤติกรรม ที่ช่วยปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ได้"[43]
สติใน ACT หมายถึงการรวมด้านต่าง ๆ 4 ด้านของแบบจำลองการปรับใจให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ ACT ประยุกต์ใช้ คือ
- การยอมรับ คือ การเปิดใจต่อและการรับมือกับประสบการณ์ปัจจุบัน
- การปลดภัยจากความคิด คือ การใส่ใจกระบวนการความคิดตามที่เป็นไป แทนที่จะปฏิสัมพันธ์อย่างอัตโนมัติกับเหตุการณ์ตามความคาดหมาย การตัดสินดีชั่ว และการตีความ
- อยู่กับปัจจุบัน คือ การใส่ใจในโลกภายในภายนอกอย่างยืดหยุ่นได้ ลื่นไหลได้ และอย่างสมัครใจ
- ความรู้สึกที่เหนือตน หรือ ตนโดยเป็นบริบท (self as context) คือเป็นความรู้สึกทางจิตวิญญาณที่เชื่อมต่อกันที่รักษาความสำนึกเกี่ยวกับ "ตัวเอง/ที่นี่/เดี๋ยวนี้" และการเชื่อมต่อกับ "คนอื่น/ที่โน่น/ตอนนั้น"[43]
ด้านต่าง ๆ ของสติใน ACT เหล่านี้ อ้างว่ามาจาก Relational Frame Theory (ตัวย่อ RFT) ซึ่งเป็นโปรแกรมงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาและการรู้คิดที่เป็นฐานของ ACT ยกตัวอย่างเช่น ตนโดยเป็นบริบท (self as context) มาจากความสัมพันธ์แบบชี้เฉพาะของคำ (deictic verbal relation) เช่น ฉัน/คุณ ที่นี่/ที่โน่น ซึ่งงานวิจัย RFT แสดงว่าช่วยสร้างทักษะการเปลี่ยนมุมมองและการเชื่อมต่อกับบุคคลอื่น[44][45]
หนังสือแบบช่วยตัวเองเกี่ยวกับ ACT (เช่น[46]) และวิธีการแบบ ACT อื่นที่ทดสอบแล้ว จะสอนการฝึกการพินิจพิจารณา แต่ถ้าใช้นิยามนี้ของคำว่าสติ ทักษะการปลดภัยจากความคิด เช่นการกล่าวคำซ้ำ ๆ (คือ จากความคิดที่มีปัญหา ให้กลั่นความมาให้เหลือคำเดียว แล้วกล่าวคำซ้ำ ๆ ให้ได้ยินเป็นเวลา 30 วินาที) ก็ยังมองว่าเป็นวิธีการทางสติด้วย
การฝึกการปรับตัว
[แก้]จิตแพทย์ชาวอังกฤษ นพ. คลิฟ เชอร์สล็อก ที่ฝึกการปฏิบัติแบบเซนจากสำนักรินไซ ได้พัฒนาการฝึกการปรับตัว (Adaptation Practice ตัวย่อ Ap) ในปี 2520 มีฐานจากข้อปฏิบัติและการอบรมจิตแบบเซนที่ฝึกสติ/ความสำนึกอย่างลึกซึ้งในชีวิตประจำวัน มีการใช้การฝึกการปรับตัวเพื่อบรรเทาความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเครียด และปัญหาทางอารมณ์อย่างอื่นในระยะยาว
การเปลี่ยนความคิด
[แก้]ศ. ดร. แอลเบิรต์ เอลลิส ผู้เรียกได้ว่าเป็น "คุณปู่ของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT)" ได้เขียนไว้ว่า
หลักการหลายอย่างที่รวมอยู่ในทฤษฎีของ Rational emotive behavior therapy (ตัวย่อ REBT) ไม่ใช่เรื่องใหม่ บางอย่างจริง ๆ ดั้งเดิมมาจากหลายพันปีก่อน โดยเฉพาะจากนักปรัชญาลัทธิสโตอิกชาวกรีกและโรมัน เช่น Epictetus และมาร์กุส เอาเรลิอุส และจากนักคิดลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา (ดู Suzuki 1956[47],
ตัวอย่างหนึ่งก็คือ พุทธศาสนากำหนดว่าความโกรธและพยาบาทเป็นเครื่องขวางกั้นการพัฒนาทางจิต (ดู นิวรณ์ สังโยชน์ และกิเลส) วิธีแก้ความโกรธที่สามัญก็คือการพินิจพิเคราะห์อย่างต่อเนื่องโดยเป็นความคิดที่ประกอบด้วยความเมตตา นี่คล้ายกับการใช้เทคนิค CBT ที่เรียกว่า การฝึกอารมณ์ (emotional training) ซึ่ง ดร.เอลลิส[51]: 86–87 ได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ให้คิดถึงประสบการณ์ที่มีความสุขอย่างยิ่งกับบุคคลที่คุณตอนนี้กำลังรู้สึกโกรธ เมื่อคุณได้จินตนาการถึงประสบการณ์ความสุขเช่นนี้ และได้ความรู้สึกที่ดีกว่าปกติ ที่รู้สึกอบอุ่น เกี่ยวกับบุคคลนั้นโดยเป็นผลของการระลึกถึงความจำ ให้ทำอย่างนี้ต่อไป ให้ระลึกถึงประสบการณ์แห่งความสุขและความรู้สึกดี ๆ และพยายามทำความรู้สึกเหล่านี้ให้เหนือกว่าความรู้สึกเป็นศัตรู
จิตวิทยาและความเชื่อจิตวิญญาณยอดนิยม (โลกตะวันตก)
[แก้]บุคคลหลักที่ทำให้นิยม
[แก้]ในปี 2504 นักปรัชญาและศาสตราจารย์ แอลัน วัตส์ ได้เขียนไว้ว่า
ถ้าเราพินิจพิจารณาอย่างละเอียดถึงการใช้ชีวิตแบบพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า ลัทธิเวทานตะ และโยคะ เราจะไม่พบทั้งปรัชญาหรือศาสนาดังที่เข้าใจในโลกตะวันตก เราจะพบอะไรเกือบเหมือนกับวิธีการจิตบำบัด ความคล้ายคลึงหลักระหว่างวิถีชีวิตโลกตะวันออกเช่นนี้กับจิตบำบัดโลกตะวันตก ก็คือ จุดมุ่งหมายของทั้งสองก็เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางจิต เปลี่ยนแปลงความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตของเราเอง และความสัมพันธ์ของเรากับสังคมมนุษย์และโลกธรรมชาติ นักจิตบำบัดส่วนมากให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนจิตใจของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตประสาท แต่ว่าการฝึกฝนของพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า เป็นการเปลี่ยนจิตใจของบุคคลปกติที่ปรับตัวเข้าสังคมได้[52]: 3–4
ตั้งแต่สังเกตการณ์และการใคร่ครวญเช่นนี้ของ ดร. วัตส์ ก็ได้มีคนช่วยสร้างความนิยมเพื่อรวมการอบรมจิตทางพุทธศาสนาเข้ากับจิตวิทยารวมทั้ง Jack Kornfield (1993)[53], Joseph Goldstein, ดร. Tara Brach, ศ. นพ. มาร์ก เอ็ปสไตน์ (1995)[54] และพระภิกษุชาวเวียดนามทิก เญิ้ต หั่ญ (1998)[55]
คำเตือนเกี่ยวกับพุทธศาสนาแบบโรแมนติก
[แก้]จิตวิทยาแบบโรแมนติก /มนุษยนิยม |
พุทธศาสนาต้น ๆ | |
---|---|---|
ปัญหาทางจิต | ตนที่ถูกแบ่ง | การยึดมั่นถือมั่น |
เป้าสูงสุด | ความรู้สึกเป็นหนึ่ง | การแทงตลอด พระนิพพาน |
การแก้ปัญหา | การรวมตัวอย่างต่อเนื่อง | พระนิพพาน |
พระภิกษุสายป่าไทยชาวอเมริกัน อ. ฐานิสฺสโร (Geoffrey DeGraff)[56] กำหนดความคล้ายคลึงกันอย่างกว้าง ๆ ระหว่าง "จิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยม" กับศาสนาพุทธยุคต้น ๆ ว่าเป็นความเชื่อในการกระทำ/การแทรกแซงของมนุษย์ (เทียบกับของพระเจ้า) โดยวิธีที่อาศัยประสบการณ์ ปฏิบัติได้ และช่วยรักษาบำบัดได้ ท่านแสดงรากฐานของอุดมคติทางจิตวิญญาณของชาวตะวันตกปัจจุบันไปยังนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยโรแมนติกอิมมานูเอล คานต์ ต่อจากนั้นนักจิตวิทยาและนักปรัชญาชาวอเมริกัน นพ. วิลเลียม เจมส์ จิตแพทย์คาร์ล ยุง แล้วตามด้วยนักจิตวิทยามนุษยนิยม ศ. ดร. อับราฮัม มาสโลว์
ท่านยืนยันว่า มีความต่างหลัก ๆ ระหว่างจิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยมกับพุทธศาสนา ซึ่งสรุปความอยู่ในตาราง และชี้อ้อม ๆ ผู้ที่ยัดเยียดเป้าหมายของจิตวิทยาโรแมนติก/มนุษยนิยมในคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าเป็น "คนโรแมนติกพุทธ" (จินตนิยมพุทธ) มีนักเขียนเสนอแนวคิดพุทธปัจจุบันที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน[57]
โดยเข้าใจถึงปัญหาความเหินห่างทางสังคมในชีวิตปัจจุบัน อ. ฐานิสฺสโรเขียนว่า
เมื่อจินตนิยมพุทธพูดถึงปัญหาเหล่านั้น นั่นก็จะเปิดประตูประเด็นต่าง ๆ ทางธรรมะที่สามารถช่วยคนให้ได้การปลอบประโลมใจที่กำลังแสวงหา และการทำเยี่ยงนั้นเป็นการเพิ่มพูนผลงานที่ทำโดยจิตบำบัด [...] แต่ว่า จินตนิยมพุทธก็ยังเป็นการปิดประตูประเด็นต่าง ๆ ทางธรรมะที่ค้านความหวังของบุคคลผู้ปรารถนาความสุขสุดยอดแบบอาศัยการเชื่อมต่อกัน (interconnectedness) (เพราะว่า) ธรรมะแบบดั้งเดิมเรียกร้องให้มีเนกขัมมะและจาคะ โดยตั้งอยู่ในความจริงว่า อะไรที่เชื่อมต่อกันย่อมไม่เที่ยง และความสุขอะไร ๆ ที่อิงความไม่เที่ยงนี้เป็นการเชื้อเชิญหาความทุกข์ ความสุขที่แท้จริงจะต้องยิ่งไปกว่าการพึ่งพาอาศัยกันและกันและความเชื่อมต่อกัน คือต้องก้าวไปถึงสิ่งที่ไม่มีปัจจัย (พระนิพพาน) [...] (และ) ประตูทางจินตนิยมพุทธก็จะปิดเรื่องที่เป็นรากฐานธรรมะที่ออกแบบเพื่อแก้ความทุกข์ระดับต่าง ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่แม้บุคคลจะได้เชี่ยวชาญการได้ความเป็นเอกภาพแล้ว"[56]
การศึกษาและงานวิจัย
[แก้]นักวิจัยที่สนใจศึกษาส่วนที่เชื่อมต่อกันระหว่างศาสนาพุทธและจิตวิทยาในทวีปอเมริกาเหนือจำต้องปรับตนให้เข้ากับโปรแกรมการศึกษาเกี่ยวกับโลกตะวันออกและกับจิตวิทยา หรือว่าต้องศึกษาเอาเอง โปรแกรมการศึกษาอุทิศให้กับทั้งพุทธศาสนาและจิตวิทยาในทวีปอเมริกาเหนือในสถาบันที่ได้รับการรับรองมีน้อยมาก แต่ว่า มหาวิทยาลัยโทรอนโตมีวิชารอง (อีกไม่นานจะเป็นวิชาหลัก) ที่เรียกว่า "พุทธศาสนากับสุขภาพจิต (Buddhism and Mental Health)"[58]
สำหรับการฝึกทางคลินิก มีโปรแกรมระดับปริญญาโท[59] ที่เรียกว่า Contemplative Psychotherapy (จิตบำบัดแบบพิจารณา) ที่มหาวิทยาลัยนาโรปาในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโดที่ได้การรับรอง เป็นหลักสูตรลูกผสมระหว่างจิตวิทยาพุทธกับวิธีการทางจิตบำบัดของชาวตะวันตก โดยจัดให้มีค้อร์สปฏิบัติแบบรวมหลายครั้ง และให้มีการปฏิบัติอบรมจิตอย่างต่อเนื่อง เป็นโปรแกรมที่ตั้งขึ้นในปี 2521 และออกเบบเพื่อเตรียมตัวสอบรับใบอนุญาตเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพ[60]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ศาสนาพุทธเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า (ประมาณ 563-483 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตามมุมมองของชาวตะวันตก) ส่วนการตั้งสาขาจิตวิทยาที่มองตนเอง โดยเป็นการประเมินกิจกรรมทางใจและพฤติกรรมของมนุษย์โดยใช้หลักฐาน มักจะเริ่มกำหนดโดยงานของ Wilhelm Wundt (16 สิงหาคม 2375 - 31 สิงหาคม 2463)
- ↑ แนวคิดว่า จิตเป็นลำดับสภาวะ เหมือนกับช่องฟิล์ม แม้ว่าจะไม่ขัดกับแนวคิดของจิตในคัมภีร์นิกายต่าง ๆ (แต่) เป็นเรื่องที่พบได้อย่างชัดแจ้งในคัมภีร์บาลีอภิธรรม[2]: 29
- ↑ ศ. แดเนียล โกลแมนผู้กำลังสอนจิตวิทยาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในเวลานั้น ได้บันทึกไว้ว่า "ไอเดียว่า ศาสนาพุทธจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาเป็นเรื่องเหลวไหลชัด ๆ สำหรับพวกเราโดยมากในสาขาในเวลานั้น แต่ทัศนคติเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนซื่อ ๆ ของพวกเราไม่ได้เกี่ยวอะไรกับศาสนาพุทธ มันเป็นข่าวเลยว่า ศาสนาพุทธ ที่คล้ายกับวัฒนธรรมประเพณีทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่มากมายของโลก มีทฤษฎีเกี่ยวกับจิตและการทำงานของมัน"[6]: 72
- ↑ มหาวิทยาลัยนาโรปาได้เป็นที่ประชุมและสถาบันฝึกสอนสำหรับบุคคลต่าง ๆ ที่ได้ช่วยทำให้จิตวิทยาที่ใช้สาระจากศาสนาพุทธและคำสอนแนวพุทธที่เข้าใจเรื่องจิตวิทยาดี เป็นที่นิยมมากที่สุด บุคคลเช่น Jack Kornfield และ Joseph Goldstein
- ↑ หนังสือที่บันทึกการประชุมเหล่านี้รวมทั้ง Begley (2007), Davidson & Harrington (2002)[9], Goleman (1997)[10], Goleman (2004)[11], Harrington & Zajonc (2006)[12], Hayward & Varela (2001)[13], Houshmand et al. (1999)[14], Varela (1997)[15], และ Zajonc & Houshmand (2004)[16]
- ↑ ทั้ง Fromm (1960)[17] และ Ellis (1962)[21] อ้างว่างานนีมีอิทธิพล
- ↑
โดยเฉพาะก็คือ หมอยุงอ้างคำกล่าวว่า "เซนไม่ใช่ทั้งจิตวิทยาหรือปรัชญา"[20]: 11
แต่ก็ยังกล่าวว่า
ขบวนการอย่างเดียวภายในวัฒนธรรมของเราซึ่งเข้าใจหรือควรจะเข้าใจเป็นบางส่วนในเรื่องแรงบันดาลใจเยี่ยงนี้ (คือ เพื่อการรู้แจ้ง) ก็คือ จิตบำบัด ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญว่าคำนำนี้เขียนโดยนักจิตบำบัดคนหนึ่ง ... (เพราะ) โดยพื้นฐานแล้ว จิตบำบัดเป็นความสัมพันธ์แบบโต้แย้งด้วยเหตุผลระหว่างแพทย์กับคนไข้ ... โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเปลี่ยนแปลง[20]: 25
- ↑ เพื่อที่จะสนับสนุนข้อความนี้ ดร. ฟรอมม์อ้างอิงคำนำของ นพ. ยุงในงานของซูซูกิ, Benoit (1955)[22], และ Sato (1958)[23] นอกจากนั้น ดร. ฟรอมม์ยังอ้างถึงนักจิตวิเคราะห์แคเร็น ฮอร์ไนผู้ "สนใจอย่างยิ่งยวดในศาสนาพุทธช่วงท้ายชีวิตของเธอ"
- ↑ งานที่เสนอบางงานอยู่ใน Fromm et al. (1960)[17]: vii ความสนใจในพุทธศาสนาของ ดร.ฟรอมม์รวมพุทธหลายนิกาย ดังที่ปรากฏในคำนำของเขาในหนังสือปี 1986[24]
- ↑
เพื่ออ้างแหล่งที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการฝึกสติในศาสนาพุทธ ดร. ฟรอมม์ (2002) อ้างหนังสือของพระภิกษุญาณโปณิก (1996)[32]
แล้วเขียนในหน้า 52-53 ไว้ว่า
มีหลักคำสอน 2 อย่างที่ยอมรับได้สำหรับคนที่แม้ไม่ใช่คนพุทธเช่นตัวผมเอง แต่ก็ยังทำให้รู้สึกประทับใจอย่างลึกซึ้งในหลักคำสอน หลักแรกสุดที่ผมหมายถึงก็คือหลักว่า เป้าหมายในชีวิตก็เพื่อเอาชนะความโลภ ความโกรธ และความหลง ในด้านนี้ ศาสนาพุทธไม่ได้ต่างจากหลักมาตรฐานทางจริยธรรมของคนยิวและคนคริสต์ (แต่) แนวคิดศาสนาพุทธอีกอย่างที่สำคัญกว่าและต่างจากจารีตของคนยิวและคนคริสต์ ก็คือ การเรียกร้องให้มีความสำนึกอย่างเหมาะสมที่สุดต่อกระบวนการต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอกตนเอง
- ↑
ในหนังสือปี 2005[35]
ดร. คาแบต-ซินน์ได้เขียนไว้ว่า
เพราะว่าผมปฏิบัติและสอนการฝึกสติ ผมมีประสบการณ์ซ้ำ ๆ ว่า คนบ่อยครั้งคาดคะเนว่าผมนับถือศาสนาพุทธ และเมื่อถาม ผมปกติจะตอบว่า ผมไม่ได้นับถือ (แม้ว่าจะมีช่วงหนึ่งในชีวิตที่ผมคิดว่าเป็นคนพุทธ ได้ฝึกและยังฝึกสติ และเคารพรักอย่างยิ่งในทั้งพุทธสายต่าง ๆ และข้อปฏิบัติพุทธ) แต่ผมเป็นนักศึกษาการฝึกอบรมจิตแบบพุทธ และเป็นคนที่เอาใจใส่ ไม่ใช่เป็นเพราะว่าผมเป็นคนพุทธ แต่เพราะว่าผมพบว่าทั้งคำสอนและข้อปฏิบัติเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งอย่างยิ่งและประยุกต์ใช้ได้กับทุกคนทุกสถานการณ์ ทั้งเพื่อแสดงความจริงและเพื่อการรักษา
- ↑ ตาม ดร. คาแบต-ซินน์ (2005)[35]: 431 "มาร์ชา ไลน์แฮนเองเป็นนักปฏิบัติแบบเซนมายาวนาน และ DBT ก็รวมทั้งเจตนาและหลักเกี่ยวกับสติ และข้อปฏิบัติตามคำสอนอื่น ๆ เท่าที่จะเป็นไปได้"
- ↑ เกี่ยวกับประสิทธิผลที่มีหลักฐานเชิงประสบการณ์ของ DBT หนังสือของ ดร. ไลน์แฮนปี 1993b[38]: 1 อ้างอิง Linehan et al.. (1991)[39] และ Linehan & Heard (1993)[40] ประสบการณ์ทางคลินิกแสดงว่า DBT มีประสิทธิผลต่อคนไข้ BPD และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ Axis II ในกลุ่ม B
- ↑
ในหนังสือปี 1991[49]: 336–37
เมื่อตอบปัญหาที่ยกโดย ดร. วัตส์ (1960)[50]
เกี่ยวกับวิธีการทางจิตบำบัดที่ออกเชิงเหตุผลนิยมมากเกินไป ดร. เอลลิสได้เตือนให้พิจารณาการปฏิบัติเพื่อความเจริญทางจิตวิญญาณแบบคล้ายเซนโดยเฉพาะ
เขาได้ให้ข้อสังเกตว่า "บางทีจุดหมายหลัก" ของคนไข้ใน REBT "ก็คือการตกลงใจ/การสมาทาน การเสี่ยงทำ ความสุขในการมีชีวิต
และประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ตราบเท่าที่มันไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความสุขชั่วคราวที่ทำลายตัวเองเหมือนแบบเด็ก ๆ...."
และกล่าวเพิ่มว่า
แม้แต่ความพยายามของพุทธศาสนิกชนชาวเซนเพื่อให้ได้ความรู้สึกแบบอุกฤษฏ์ หรือที่เรียกว่า ซาโตริ ก็ยังเข้ากับจุดหมายบางอย่างที่ผู้อุทิศทำตามการใช้ชีวิตแบบ rational-emotive อาจจะสืบหา ตราบเท่าที่ไม่ได้ใช้การรู้สึกเช่นนี้หนีจากการเผชิญหน้ากับความวิตกกังวลหรือความมุ่งร้ายขั้นมูลฐานของเขา
- ↑ ในตัวอย่างที่อ้างอิงจาก Ellis (1997) บุคคลพยายามเปลี่ยนความรู้สึกเป็นศัตรูด้วยความรู้สึกเป็นสุขที่มีกับบุคคลเดียวกัน (แต่ว่า) โดยทั่วไป ตามการเจริญเมตตาของชาวพุทธ บุคคลจะน้อมให้เกิดความรู้สึกเมตตาโดยคิดถึงบุคคลที่มีคุณ แล้วจึงใช้ความรู้สึกอบอุ่นที่ตัวเองน้อมให้เกิดขึ้นแผ่ซึมซาบเข้าไปแทนที่ประสบการณ์ความรู้สึกว่าเป็นศัตรู นอกจากนั้นแล้ว การเจริญเมตตาของชาวพุทธเป็นการแผ่ความรู้สึกไปยังสัตว์ทั้งปวง ไกลหรือใกล้ ดีหรือชั่ว เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kress, Oliver (1993). "A new approach to cognitive development: ontogenesis and the process of initiation". Evolution and Cognition. 2 (4): 319–332.
- ↑ 2.0 2.1 Bhikkhu Bodhi (2000). A Comprehensive Manual of Abhidhamma: The Abhidhammattha Sangaha of Ācariya Anuruddha. Seattle, WA: BPS Pariyatti Editions. ISBN 1-928706-02-9.
- ↑ 3.0 3.1 Rhys Davids; Caroline A. F. (2003) [1900]. Manual of Psychological Ethics, of the Fourth Century B.C. Whitefish, MT: Kessinger Publishing. ISBN 0-7661-4702-9. Manual of Psychological Ethics, of the Fourth Century B.C. being a Translation, now made for the First Time, from the Original Pāli, of the First Book of the Abhidhamma-Piṭaka, entitled Dhamma-Saṅgaṇi (Compendium of States or Phenomena)
- ↑ Rhys Davids; Caroline A. F. (1914). Buddhist Psychology: An Inquiry into the Analysis and Theory of Mind in Pali Literature. London: Bell and sons.
- ↑ Rhys Davids; Caroline A. F. (1936). Birth of Indian Psychology and its Development in Buddhism.
- ↑ 6.0 6.1 Goleman, Daniel (2004). Destructive Emotions: A Scientific Dialogue with the Dalai Lama. NY: Bantam Dell. ISBN 0-553-38105-9.
- ↑ Trungpa, Chogyam (2001) [1975]. Glimpses of Abhidharma: From a Seminar on Buddhist Psychology. Boston, MA: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-764-9.
- ↑ Schwartz, 1995, pp. 315-16).
- ↑ Davidson, Richard J; Harrington, Anne, บ.ก. (2002). Visions of Compassion: Western Scientists and Tibetan Buddhists Examine Human Nature. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-513043-X.
- ↑ Goleman, Daniel, บ.ก. (1997). Healing Emotions: Conversations With the Dalai Lama on Mindfulness, Emotions, and Health. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-212-4.
- ↑ Goleman, Daniel (2004). Destructive Emotions: A Scientific Dialogue with the Dalai Lama. NY: Bantam Dell. ISBN 0-553-38105-9.
- ↑ Harrington, Anne; Zajonc, Arthur (2006). The Dalai Lama at MIT. Harvard University Press. ISBN 0-674-02319-6.
- ↑ Hayward, Jeremy W; Varela, Francisco J, บ.ก. (2001) [1992]. Gentle Bridges: Conversations with the Dalai Lama on the Sciences of Mind. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-893-9.
- ↑ Houshmand, Zara; Livingston, Robert B; Wallace, B. Alan, บ.ก. (1999). Consciousness at the Crossroads: Conversations with the Dalai Lama on Brain Science and Buddhism. Ithica: Snow Lion Publications. ISBN 1-55939-127-8.
- ↑ Varela, Francisco J, บ.ก. (1997). Sleeping, Dreaming, and Dying: An Exploration of Consciousness with the Dalai Lama. Somerville, MA: Wisdom Publications. ISBN 0-86171-123-8.
- ↑ Zajonc, Arthur; Houshmand, Zara, บ.ก. (2004). The New Physics and Cosmology: Dialogues with the Dalai Lama. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-515994-2.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 17.6 17.7 Fromm, Erich; Suzuki, DT; De Martino, Richard (1960). Zen Buddhism and Psychoanalysis. NY: Harper & Row. ISBN 0-06-090175-6.
- ↑ "Is Western Psychology Redefining Buddhism?". Lion's Roar. 13 พฤษภาคม 2014.
- ↑ Jørn Borup. Buddhism in the West. Encyclopedia of Sciences and Religions. Springer Nature. pp. 290–297. doi:10.1007/978-1-4020-8265-8_157.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Suzuki, DT; Jung, Carl G (1991) [1948, 1964]. An Introduction to Zen Buddhism. NY: Grove Press. ISBN 0-8021-3055-0.
- ↑ Ellis, Albert (1991) [1962]. Reason and Emotion in Psychotherapy. NY: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0909-0.
- ↑ Benoit, Hubert (1995) [1955]. The Supreme Doctrine. Portland, OR: Sussex Academic Press. ISBN 1-898723-14-1.
- ↑ Sato, Koji (1958). "Psychotherapeutic Implications of Zen". Psychologia, An International Journal of Psychology in the Orient. I (4).
- ↑ Fromm, Erich (1986). Nyanaponika Thera, Bhikkhu Bodhi (บ.ก.). Visions of Dhamma: Buddhist Writings of Nyanaponika Thera. York Beach, ME: Weiser Books. Foreword. ISBN 0-87728-669-8.
- ↑ 25.0 25.1 Brazier 2001.
- ↑ Epstein 2004.
- ↑ Winnicott, Donald. "Ego distortions in terms of true and false self" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01.
- ↑ Epstein 2004, p. 42.
- ↑ Priddy, Janice. "Psychotherapy and Buddhism: An Unfolding Dialogue. The Four Noble Truths in Buddhism" (PDF).
- ↑ Adelman, K (2005-05-01). "What i've learned: Tara Brach". Washingtonian Magazine.
- ↑ Fromm, Erich (2002) [1989]. The Art of Being. NY: Continuum. ISBN 0-8264-0673-4.
- ↑ Nyanaponika Thera (1996) [1954]. The Heart of Buddhist Meditation: A Handbook of Mental Training based on the Buddha's Way of Mindfulness. York Beach, ME: Samuel Weiser. ISBN 0-87728-073-8.
- ↑ Segal, Zindel V; Williams, J Mark G; Teasdale, John D (2002). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression: A New Approach to Preventing Relapse. NY: Guilford Press. ISBN 1-57230-706-4.
- ↑ 34.0 34.1 Kabat-Zinn, Jon (1990). Full Catastrophe Living: Using the Wisdom of Your Body and Mind to Face Stress, Pain, and Illness. NY: Dell Publishing. ISBN 0-385-30312-2.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 Kabat-Zinn, Jon (2005). Coming to Our Senses: Healing Ourselves and the World Through Mindfulness. Hyperion. p. 26. ISBN 0-7868-8654-4.
- ↑ Kabat-Zinn, Jon (พฤษภาคม 2011). "Some Reflections on the Origins of MBSR, Skillful Means, and the Trouble with Maps". Contemporary Buddhism. 12 (1): 294.
- ↑ Linehan, Marsha M (1993a). Cognitive-Behavioral Treatment of Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. pp. 19. ISBN 0-89862-183-6.
- ↑ 38.0 38.1 Linehan, Marsha M (1993b). Skills Training Manual for Treating Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. ISBN 0-89862-034-1.
- ↑ Linehan MM, Armstrong HE, Suarez A, Allmon D, Heard HL (1991). "Cognitive-behavioral treatment of chronically parasuicidal borderline patients". Archives of General Psychiatry. 48: 100–1064.
- ↑ Linehan, MM; Heard, HL (1993). "Impact of treatment accessibility on clinical course of parasuicidal patients. In reply to R.E. Hoffman [Letter to the editor]". Archives of General Psychiatry. 50: 157–158.
- ↑ Shenk C, Masuda A, Bunting K, Hayes SC (2006). Nauriyal, DK (บ.ก.). The psychological processes underlying mindfulness: Exploring the link between Buddhism and modern contextual behavioral psychology. Buddhist thought and applied psychology: Transcending the boundaries. London: Routledge-Curzon. pp. 431–451.
- ↑ Hayes, SC (2002). "Buddhism and Acceptance and Commitment Therapy". Cognitive and Behavioral Practice. 9: 58–66.
- ↑ 43.0 43.1 Hayes SC, Strosahl K, Wilson KG (2011). Acceptance and Commitment Therapy: The process and practice of mindful change (2nd ed.). New York: Guilford Press.
- ↑ Vilardaga R, Estévez A, Levin ME, Hayes SC. "Deictic relational responding, empathy and experiential avoidance as predictors of social anhedonia: Further contributions from relational frame theory". The Psychological Record.
- ↑ Weil TM, Hayes SC, Capurro P (2011). "Establishing a deictic relational repertoire in young children". The Psychological Record. 61: 371–390.
- ↑ Hayes SC, Smith S. Get out of your mind and into your life: The new Acceptance and Commitment Therapy. Oakland, CA: New Harbinger.
- ↑ Suzuki, DT (1956) [1949]. Zen Buddhism. NY: Doubleday Anchor Books.
- ↑ Watts, Alan W (1959). The Way of Zen. NY: New American Library.
- ↑ 49.0 49.1 Ellis, Albert (1991) [1962]. Reason and Emotion in Psychotherapy. NY: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0909-0.
- ↑ Watts, Alan W (1960). Nature, Man and Sex. NY: New American Library.
- ↑ Ellis, Albert (1997) [1977]. Anger: How to Live with and without It. Secaucus, NJ: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0937-6.
- ↑ Watts, Alan W (1975) [1961]. Psychotherapy East and West. NY: Random House. ISBN 0-394-71610-8.
- ↑ Kornfield, Jack (1993). A Path with Heart: A Guide through the Perils and Promises of Spiritual Life. NY: Bantam Books. ISBN 0-553-37211-4.
- ↑ Epstein, Mark (1995). Thoughts without a Thinker: Psychotherapy from a Buddhist Perspective. NY: Basic Books. ISBN 0-465-08585-7.
- ↑ Nhat Hanh, Thich (1998). Mindfulness and Psychotherapy (audio ed.). Louisville, CO: Sounds True. ISBN 1-56455-632-8.
- ↑ 56.0 56.1 Thanissaro Bhikkhu (2012). "The Roots of Buddhist Romanticism".
- ↑ McMahan 2008.
- ↑ "Buddhism and Mental Health". มหาวิทยาลัยโทรอนโต. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
- ↑ "Contemplative Psychotherapy—Master of Arts". Naropa University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2012.
- ↑ "MA Contemplative Psychotherapy department site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-04.
แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ
[แก้]- American Psychiatric Association (1994). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-IV — 4th ed. Washington, DC: American Psychiatric Association. ISBN 0-89042-062-9.
- Benoit, Hubert (1955, 1995). The Supreme Doctrine. Portland, OR: Sussex Academic Press. Cited in Fromm et al.. (1960). ISBN 1-898723-14-1.
- Bodhi, Bhikkhu (ed.) (2000). A Comprehensive Manual of Abhidhamma: The Abhidhammattha Sangaha of Ācariya Anuruddha. Seattle, WA: BPS Pariyatti Editions. ISBN 1-928706-02-9. - also online: http://www.accesstoinsight.org/lib/authors/bodhi/abhiman.html
- Brazier, David (2001), The Feeling Buddha, Robinson Publishing
- Davidson, Richard J. & Anne Harrington (eds.) (2002). Visions of Compassion: Western Scientists and Tibetan Buddhists Examine Human Nature. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-513043-X.
- Ellis, Albert (1962, 1991). Reason and Emotion in Psychotherapy. NY: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0909-0.
- Ellis, Albert (1977, 1997). Anger: How to Live with and without It. Secaucus, NJ: Carol Publishing Group. ISBN 0-8065-0937-6.
- Epstein, Mark (2004), Thoughts Without A Thinker: Psychotherapy from a Buddhist Perspective, Basic Books, Kindle Edition
- Epstein, Mark (1995). Thoughts without a Thinker: Psychotherapy from a Buddhist Perspective. NY: Basic Books. ISBN 0-465-08585-7.
- Fromm, Erich; Suzuki, DT; De Martino, Richard (1960). Zen Buddhism and Psychoanalysis. NY: Harper & Row. ISBN 0-06-090175-6.
- Fromm, Erich (1989, 2002). The Art of Being. NY: Continuum. ISBN 0-8264-0673-4.
- Goleman, Daniel (ed.) (1997). Healing Emotions: Conversations With the Dalai Lama on Mindfulness, Emotions, and Health. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-212-4.
- Goleman, Daniel (2004). Destructive Emotions: A Scientific Dialogue with the Dalai Lama. NY: Bantam Dell. ISBN 0-553-38105-9.
- Gyatso, Geshe Kelsang (2nd. ed., 1997) Understanding the Mind: The Nature and Power of the Mind. Tharpa Publications. ISBN 978-0-948006-78-4
- Harrington, Anne & Arthur Zajonc (2006). The Dalai Lama at MIT. Harvard University Press. ISBN 0-674-02319-6.
- Hayward, Jeremy W; Varela, Francisco J (eds.) (1992, 2001). Gentle Bridges: Conversations with the Dalai Lama on the Sciences of Mind. Boston: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-893-9.
- Houshmand, Zara; Livingston, Robert B; Wallace, B Alan (eds.) (1999). Consciousness at the Crossroads: Conversations with the Dalai Lama on Brain Science and Buddhism. Ithica: Snow Lion Publications. ISBN 1-55939-127-8.
- Kabat-Zinn, Jon (1990). Full Catastrophe Living: Using the Wisdom of Your Body and Mind to Face Stress, Pain, and Illness. NY: Dell Publishing. ISBN 0-385-30312-2.
- Kabat-Zinn, Jon (2005). Coming to Our Senses: Healing Ourselves and the World Through Mindfulness. Hyperion. ISBN 0-7868-8654-4.
- Kalupahana, David J. (1992), The Principles of Buddhist Psychology, Delhi: Sri Satguru Publications.
- Kornfield, Jack (1993). A Path with Heart: A Guide through the Perils and Promises of Spiritual Life. NY: Bantam Books. ISBN 0-553-37211-4.
- Kress, Oliver (1993)."A new approach to cognitive development: ontogenesis and the process of initiation". Evolution and Cognition 2(4) : 319-332.
- Linehan, Marsha M. (1993a). Cognitive-Behavioral Treatment of Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. ISBN 0-89862-183-6.
- Linehan, Marsha M. (1993b). Skills Training Manual for Treating Borderline Personality Disorder. NY: Guilford Press. ISBN 0-89862-034-1.
- Linehan, M. M; Armstrong, HE; Suarez, A; Allmon, D; Heard, HL (1991). "Cognitive-behavioral treatment of chronically parasuicidal borderline patients." Archives of General Psychiatry, 48, 100-1064. Cited in Linehan (1993b).
- Linehan, MM; Heard, HL (1993). "Impact of treatment accessibility on clinical course of parasuicidal patients." In reply to R.E. Hoffman [Letter to the editor]. Archives of General Psychiatry, 50, 157-158. Cited in Linehan (1993b).
- Linehan, M. M; Heard, HL; Armstrong, HE (in press). "Naturalistic follow-up of a behavioral treatment for chronically suicidal borderline patients. Archives of General Psychiatry. Cited in Linehan (1993b).
- McMahan, David L. (ตุลาคม 2008). The Making of Buddhist Modernism. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518327-6.
- Ñanamoli Thera (trans.) (1993). Dhammacakkappavattana Sutta: Setting Rolling the Wheel of Truth (Samyutta Nikaya 56.11). Available on-line at http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn56/sn56.011.nymo.html.
- Nhat Hanh, Thich (1998). Mindfulness and Psychotherapy (audio). Louisville, CO: Sounds True. ISBN 1-56455-632-8.
- Nyanaponika Thera (1954, 1996). The Heart of Buddhist Meditation: A Handbook of Mental Training based on the Buddha's Way of Mindfulness. York Beach, ME: Samuel Weiser. ISBN 0-87728-073-8.
- Nyanaponika Thera; Bhikkhu Bodhi (ed.), Fromm, Erich (fwd.) (1986). Visions of Dhamma: Buddhist Writings of Nyanaponika Thera. York Beach, ME: Weiser Books. ISBN 0-87728-669-8.
- Rhys Davids, Caroline A. F. ([1900], 2003). Manual of Psychological Ethics, of the Fourth Century B.C., being a Translation, now made for the First Time, from the Original Pāli, of the First Book of the Abhidhamma-Piṭaka, entitled Dhamma-Saṅgaṇi (Compendium of States or Phenomena). Whitefish, MT: Kessinger Publishing. ISBN 0-7661-4702-9.
- Rhys Davids, Caroline A. F. (1914). Buddhist Psychology: An Inquiry into the Analysis and Theory of Mind in Pali Literature, London: Bell and sons.
- Rhys Davids, Caroline A. F. (1936). Birth of Indian Psychology and its Development in Buddhism.
- Sato, Koji (1958). "Psychotherapeutic Implications of Zen" in Psychologia, An International Journal of Psychology in the Orient. Vol. I, No. 4 (1958). Cited in Fromm et al.. (1960).
- Schwartz, Tony (1996). What Really Matters: Searching for Wisdom in America. NY: Bantam Books. ISBN 0-553-37492-3.
- Segal, Zindel V., J. Mark G. Williams, & John D. Teasdale (2002). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression: A New Approach to Preventing Relapse. NY: Guilford Press. ISBN 1-57230-706-4.
- Suzuki, D.T. & Jung, Carl G (fwd.) (1948, 1964, 1991). An Introduction to Zen Buddhism. NY: Grove Press. ISBN 0-8021-3055-0.
- Suzuki, D.T. (1949, 1956). Zen Buddhism. NY: Doubleday Anchor Books. Cited in Ellis (1991) and Fromm (1960).
- Thanissaro Bhikkhu (2012). The Roots of Buddhist Romanticism.
- Trungpa, Chogyam (1975, 2001). Glimpses of Abhidharma: From a Seminar on Buddhist Psychology. Boston, MA: Shambhala Publications. ISBN 1-57062-764-9.
- Varela, Francisco J. (ed.) (1997). Sleeping, Dreaming, and Dying: An Exploration of Consciousness with the Dalai Lama. Somerville, MA: Wisdom Publications. ISBN 0-86171-123-8.
- Watts, Alan W. (1959). The Way of Zen. NY: New American Library. Cited in Ellis (1991).
- Watts, Alan W. (1960). Nature, Man and Sex. NY: New American Library. Cited in Ellis (1991).
- Watts, Alan W. (1961, 1975). Psychotherapy East and West. NY: Random House. ISBN 0-394-71610-8.
- Zajonc, Arthur (ed.) with Zara Houshmand (2004). The New Physics and Cosmology: Dialogues with the Dalai Lama. NY: Oxford University Press. ISBN 0-19-515994-2.
- Fryba, Mirko (1995). The Practice of Happiness: Exercises & Techniques for Developing Mindfulness, Wisdom, and Joy. Boston: Shambhala. ISBN 1-57062-123-3.
- Segal, Zindel V; Williams, J Mark G; Teasdale, John D (2002). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression. NY: Guilford. ISBN 978-1-57230-706-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การศึกษาในยุคต้น ๆ
[แก้]- Rowell Havens, Teresina (1964). "Mrs. Rhys Davids' Dialogue with Psychology (1893-1924)," in Philosophy East & West. V. 14 (1964) pp. 51-58, University of Hawaii Press.
- Sarunya Prasopchingchana & Dana Sugu, 'Distinctiveness of the Unseen Buddhist Identity' (International Journal of Humanistic Ideology, Cluj-Napoca, Romania, vol. 4, 2010)
ครูและผู้สร้างความนิยม
[แก้]คำเตือนและข้อคัดค้าน
[แก้]- "Buddhist Romanticism," talk by Thanissaro Bhikkhu (03/25/02)
- "Buddhist Romanticism Discussion," follow-up to Thanissaro Bhikkhu talk by Gil Fronsdal (04/01/02)
จิตบำบัดและศาสนาพุทธ
[แก้]Kohut
- Lorne Ladner, Positive Psychology & the Buddhist Path of Compassion
- Paul C. Cooper, Attention & Inattention in Zen and Psychoanalysis, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 สิงหาคม 2013
- Ann Gleig, The Culture of Narcissism Revisited: Transformations of Narcissism in Contemporary Psychospirituality
- Jakob Håkansson, Exploring the phenomenon of empathy
Winnicott
- Linda A. Nockler, The Spiritual and the Psychological Meet: Lessons from for Students of Awareness Practices (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 มีนาคม 2011
- Daniel G. Radter, A Buddhist reinterpretation of Winnicott, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 สิงหาคม 2011
- FREDRIK FALKENSTRÖM, A Buddhist contribution to the psychoanalytic psychology of self (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 พฤษภาคม 2013
- Janice Priddy, Psychotherapy and Buddhism: An Unfolding Dialogue. The Four Noble Truths in Buddhism
Bhante Kovida
- Bhante Kovida An Inquiring Mind's Journey (PDF), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 กันยายน 2009