อับราฮัม มาสโลว์
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
อับราฮัม มาสโลว์ | |
---|---|
เกิด | อับราฮัม ฮาโรลด์ มาสโลว์ 1 เมษายน พ.ศ. 2451 บรุกลิน นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2513 (62 ปี) เมนโลพาร์ก แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
สัญชาติ | อเมริกัน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน |
มีชื่อเสียงจาก | ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยนิยม ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | จิตวิทยา |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ วิทยาลัยบรุกลิน มหาวิทยาลัยแบรนดิส |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | แฮรี ฮาโรว์ |
มีอิทธิพลต่อ | อัลเฟรด แอลเดอร์, คูท โกลสไตน์, เฮนรี มูเรย์ |
ได้รับอิทธิพลจาก | ดักลาส แมกเกเกอร์, คอลิน วิลสัน, แอบบี ฮอฟแมน |
อับราฮัม ฮาโรลด์ มาสโลว์ (อังกฤษ: Abraham Harold Maslow; 1 เมษายน พ.ศ. 2451 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2513) เป็นศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแบรนดิส ผู้คิดค้น ทฤษฎีจิตวิทยามานุษยนิยมและทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
ประวัติ
[แก้]อับราฮัม มาสโลว์เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1908 ที่เมืองบรุกลิน นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา บิดามารดาเป็นชาวยิวซึ่งอพยพมาจากรัสเซีย มาสโลว์เป็นพี่ชายคนโตในพี่น้องทั้งหมด 7 คน พ่อแม่ของเขามีความปรารถนาที่จะให้เขาได้รับการ ศึกษาอย่างดีที่สุดซึ่งมาสโลว์ก็ยอมรับในความปรารถนานี้ อย่างไรก็ตามการศึกษาเพื่อไปสู่เป้าหมายที่พ่อแม่ตั้งไว้ในระยะวัยเด็กและวัยรุ่นตอนต้นก็ สร้างความขมขื่นให้แก่เขามากเหมือนกัน ดังที่เขาได้เขียนเกี่ยวกับตัวเองได้ ว่า“ ด้วยความเป็นเด็กจึงไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมฉันจึงไม่ป่วยเป็นโรคจิตฉัน เป็นเด็กชายยิวตัวเล็กๆอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ไม่ใช่ชาวยิว ซึ่งมันเหมือนกับสภาพของเด็กนิโกรคนแรกที่เข้าไปอยู่โรงเรียนที่มีแต่เด็ก ผิวขาว ฉันรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่มีความสุข ฉันใช้เวลาอยู่แต่ในห้องสมุดและห้อมล้อมด้วยหนังสือต่างๆ โดยปราศจากเพื่อน” จากประสบการณ์ดังกล่าวทำให้บางคนอาจคิดว่าความปรารถนาของ มาสโลว์ ที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นนั้นเริ่ม ต้นมาจากความปรารถนาที่จะให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้นนั่นเอง มาสโลว์ได้ทุ่มเทเวลาอย่างมากให้กับการศึกษาจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์ แต่เขาก็ยังมีประสบการณ์งานด้านอื่นๆ เช่น ใช้เวลาในช่วงฤดูร้อนช่วยเหลือครอบครัวในการประกอบธุรกิจสร้างถังไม้ ซึ่งน้องชายของเขาก็ยังทำกิจการนี้อยู่ทุกวันนี้ มาสโลว์ เริ่มต้นการศึกษาใน ระดับปริญญาในวิชากฎหมายตามคำเสนอแนะของพ่อที่ City College of New Yorkแต่เมื่อเรียนไปเพียง 2 สัปดาห์เขาก็ตัดสินใจว่าเขาไม่สามารถเป็นนักกฎหมายได้ เขาจึงเปลี่ยนมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยCornellและต่อมาก็มาเรียนที่ มหาวิทยาลัย Wisconsin ในสาขาจิตวิทยา เขาได้รับปริญญาตรีเมื่อค. ศ. 1930 ปริญญาโท ในปีค.ศ. 1931 และปริญญาเอกในปีค.ศ. 1934 ทางด้านชีวิตครอบครัว เขาได้แต่งงาน กับ Bertha Goodman ซึ่ง มาสโลว์ ยกย่องภรรยาว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเขามาก ดังที่เขากล่าวว่า“ ชีวิตยังไม่ได้เริ่มต้นสำหรับฉันจนกระทั่งเมื่อฉันแต่งงานและได้ย้ายเข้ามา อยู่ใน Wisconsin”
ทฤษฎีมนุษยนิยม
[แก้]งานวิจัย เพื่อรับปริญญาเอกของเขาเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องมาจนกระทั่งทุก วันนี้ นั่นคือ การศึกษาเรื่องเพศและคุณลักษณะของลิง การศึกษาเรื่องนี้ทำ ให้ มาสโลว์ เกิดความสนใจในเรื่องเพศ และความรักซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนความสนใจนี้มาสู่มนุษย์ มาสโลว์ ได้ทำวิจัย เรื่องเพศโดยเฉพาะการศึกษารักร่วมเพศ (homosexuality) ซึ่งมีสระสำคัญทำให้ เข้าใจมนุษย์ลึกซึ้งมากขึ้น ระหว่างปี ค.ศ. 1930–1934 มาสโลว์ เป็นผู้ช่วยหัวหัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Wisconsin ต่อ มาได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัย Columbia เขาทำงานอยู่ที่นี่ ระหว่างปีค.ศ.1935–1937 ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ มหาวิทยาลัย Brooklyn จนถึงปีค.ศ. 1951 มาสโลว์ ก็ได้ย้ายมาสอนที่ มหาวิทยาลัย New York ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์ กลางของมหาวิทยาลัยที่สอนวิชาจิตวิทยา ณ ที่นี้เอง เขาได้พบกับนักจิตวิทยา ชั้นนำหลายคนที่หลบหนีจาก Hitler ในสมัยนั้น ได้แก่ Erich From , Alfred Adler, Karen Horney, Ruth Benedick และ Max Wertheimer ซึ่งเป็น โอกาสดีที่เขาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับนักจิตวิทยาเหล่านั้น อย่างมากมาย และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ มาสโลว์ ได้ศึกษาถึงกฎพื้นฐานของความเป็นมนุษย์และในระหว่างนั้นทำให้เขากลาย เป็นนักจิตวิเคราะห์ไปด้วย มาสโลว์ มีความปรารถนาอย่างมากที่จะศึกษาพฤติกรรมที่ครอบคลุมมนุษย์อย่างแท้ จริง มาสโลว์ มีลูกสาว 2 คน เมื่อมีลูกสาวคนแรกเขากล่าวว่า “ลูกคนแรกได้ เปลี่ยนฉันให้มาเป็นนักจิตวิทยา และพบว่าจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นที่จะนำมาใช้ในการ เลี้ยงดู ฉันกล่าวได้ว่าทุกๆ คนที่มีลูกจะไม่สามารถเป็นนักพฤติกรรมนิยม ได้” มาสโลว์ ได้พบพฤติกรรมที่ซับซ้อนของมนุษย์ซึ่งแสดงออกโดยลูกๆ ของ เขา เขากล่าว่า “จิตวิทยาพฤติกรรมนิยมมีความสัมพันธ์ที่จะเข้าใจ หนู (rodents) มากกว่าจะเข้าใจมนุษย์” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิด ขึ้นเป็นสาเหตุให้การทำงานของ มาสโลว์ เปลี่ยนแปลงไป ในความเห็นของเขาสงคราม ก่อให้เกิดอคติความเกลียดชังซึ่งเป็นความชั่วร้ายของมนุษย์ หลังจากที่ทหาร ยึด Pearl Harborได้นั้นมีผลต่องานของ มาสโลว์ มากดังที่เขาบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า“ข้าพเจ้ายืนมองการรบด้วยน้ำตานอง หน้า ข้าพเจ้าไม่เข้าใจเลยว่าพวก Hitlerพวก Germanพวก Stalin หรือพวก Communist มีจุดมุ่งหมายอะไร ไม่มีใครที่จะเข้าใจ การกระทำของเขาเหล่านั้น ข้าพเจ้าอยากจะเห็นโต๊ะสันติภาพ ซึ่งมีบุคคลนั่งอยู่รอบโต๊ะนั้นและพูดกันเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ไม่พูด ถึงความเกลียดชังสงคราม พูดแต่เรื่องสันติภาพและความเป็นพี่เป็นน้องกัน” ในเวลาที่ข้าพเจ้าคิดเช่น นี้ทำให้ข้าพเจ้าตัดสินใจได้ว่าควรจะทำอะไรต่อไปนับตั้งแต่วินาทีนั้น ในปีค.ศ. 1941 ข้าพเจ้าได้อุทิศตัวเองในการพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งทฤษฎีนี้ จะสามารถทดสอบได้จากการทดลองและการวิจัย ปีค. ศ.1951มาสโลว์ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานของคณะจิตวิทยาที่ มหาวิทยาลัย Brandeisและอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงปีค.ศ.1961 และหลังจากนั้นเขาก็ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา ในระหว่างนี้ เขาเป็นบุคคลสำคัญในการเคลื่อนไหวในกลุ่มจิตวิทยามานุษยนิยมในหมู่นัก จิตวิทยาชาวอเมริกันถึงปี 1969 เขาได้ย้ายไปเป็นประธาน มูลนิธิ W.P.Laughlin ใน Menlo Part ที่Californiaและที่นี้เอง เขาได้ศึกษาในเรื่องที่เขาสนใจคือปรัชญาทางการ เมืองและจริยธรรม และแล้ววาระสุดท้ายของเขาก็มาถึง เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1970 เมื่ออายุเพียง 62 ปี เขาก็ถึงแก่กรรมด้วยอาการหัวใจวายหลังจาก ที่เขาป่วยเป็นโรคหัวใจเรื้อรังมาเป็นเวลานาน หนังสือที่ มาสโลว์ เขียนมีเป็นจำนวนมาก ตัวอย่าง เช่น Toward a Psychology of Being ,Religions, Values and Peak Experiences,The Psychology of Science : A Reconnaissance
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อับราฮัม มาสโลว์
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ อับราฮัม มาสโลว์