กิเลส
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาพุทธ |
---|
![]() |
กิเลส (บาลี: กิเลส; สันสกฤต: क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง[1]
วจนัตถะ[แก้]
กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ = กิเลสา แปลว่า ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน เศร้าหมอง ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กิเลส
กิลิสฺสติ เอเตหีติ = กิเลสา แปลว่า สัมปยุตธรรม คือ จิต เจตสิก ย่อมเศร้าหมอง เร่าร้อน ด้วยธรรมชาติใด ฉะนั้นธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเร่าร้อนของสัมปยุตนั้น จึงชื่อว่า กิเลส
กิเลสวัตถุ[แก้]
ในวิภังคปกรณ์ระบุว่า กิเลสวัตถุ 10 ได้แก่[2]
- โลภะ ความอยากได้
- โทสะ ความคิดประทุษร้าย
- โมหะ ความหลง
- มานะ ความถือตัว
- ทิฏฐิ ความเห็นผิด
- วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
- ถีนะ ความหดหู่
- อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
- อหิริกะ ความไม่ละอายบาป
- อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป
อ้างอิง[แก้]
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด
- แนบ มหานีรานนท์ "อภิธรรมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค"