ข้ามไปเนื้อหา

สติ (จิตวิทยา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (อังกฤษ: Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ"[1]) เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน"[2] ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน[2] ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ[3] เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ)[4] ของ ศ. ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ผู้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ สติยังเป็นสภาพหนึ่งของจิตใจที่เชื่อกันมานานแล้วว่า สนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดี[5]

เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ทั้งสาขาจิตวิทยาคลินิกและจิตเวชศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการบำบัดโดยใช้สติ เพื่อช่วยคนไข้ที่ประสบภาวะทางจิตใจต่าง ๆ[6] งานศึกษาทางคลินิกได้แสดงหลักฐานของประโยชน์ทั้งทางร่างกายและจิตใจของการเจริญสติโดยทั่ว ๆ ไป และโดยเฉพาะวิธี MBSR ทั้งวิธีแบบ MBSR และรูปแบบอื่น ๆ ได้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายในสถานศึกษา เรือนจำ โรงพยาบาล ศูนย์ทหารผ่านศึก และในที่อื่น ๆ

นิยาม

[แก้]

ลักษณะนิสัย สภาวะ และข้อปฏิบัติ

[แก้]

คำว่า mindfulness มีความหมายหลายอย่างขึ้นอยู่กับนักวิชาการที่ทำงานศึกษา และขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้สติ มีนักวิชาการบางท่านที่ใช้ mindfulness หมายถึงสภาวะของจิต ในขณะที่คนอื่นหมายถึงทักษะและเทคนิคในการปฏิบัติ[7][8]

แต่ว่า ยังสามารถแยกแยะคำว่า mindfulness โดยเป็นสภาวะ หรือเป็นลักษณะนิสัยได้อีกด้วย[9] สำหรับนักวิชาการท่านหนึ่ง แม้ว่า mindfulness ดั้งเดิมจะหมายถึงความเชื่อและคำสอนทางศาสนาที่มีจำกัดในกลุ่มบุคคล โดยเป็น "สมรรถภาพที่พัฒนาได้โดยคนบางคนเพียงเท่านั้น"[10] นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้แปลความหมายให้กลายเป็นสิ่งที่วัดได้ และมีนิยามทางการปฏิบัติที่ทำได้จริง ๆ[1][note 1]

นักวิชาการท่านหนึ่งเสนอความหมายของคำว่า mindfulness 3 อย่างคือ[1]

  1. ลักษณะนิสัย ลักษณะแนวโน้มเฉพาะตน (ที่ดำรงอยู่ได้ค่อนข้างนาน)[1] คือ เป็นความโน้มน้าวในบุคคลที่จะเข้าไปและดำรงอยู่ในภาวะที่มีสติ[11]
  2. สภาพ หรือผลที่เกิดขึ้น (คือ ความสำนึกที่เกิดขึ้นจากการฝึกสติ)[1] คือ การมีความสำนึกต่อขณะปัจจุบัน[11]
  3. การปฏิบัติ การฝึกสติ การเจริญสติ (mindfulness meditation)[note 2]

นิยามต่าง ๆ

[แก้]
ลักษณะนิสัย (trait)
  • "ลักษณะอย่างหนึ่งของใจที่ปรากฏพร้อมกับกิจกรรม (ทางใจ) ที่ทำให้ลักษณะนั้นเจริญขึ้น แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกับกิจกรรม"[7]
สภาพ
  • "ความสำนึกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ปรุงแต่ง ไม่ได้ทำการตัดสิน ที่มีศูนย์อยู่ในปัจจุบัน ที่สามารถยอมรับความคิด ความรู้สึก หรือความรู้สึกทางประสาทสัมผัส โดยใส่ใจว่าเป็นเช่นนั้นเอง"[15]
การเจริญ/ข้อปฏิบัติ

Mindfulness เป็นวิธี

  • การใส่ใจที่มีกำเนิดมาจากการเจริญกรรมฐานของโลกตะวันออก[16]
  • "การใส่ใจอย่างเฉพาะเจาะจง ที่มีจุดมุ่งหมาย ที่มีในขณะปัจจุบัน และโดยไม่มีการตัดสิน"[17]
  • "การย้ายความใส่ใจของตนอย่างสิ้นเชิงมายังประสบการณ์ปัจจุบันโดยขณะ"[17]

แบบจำลองมีสององค์

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2004 นักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้กล่าวถึงมติที่มีในกลุ่มนักจิตวิทยาคลินิกเกี่ยวกับนิยามของ mindfulness ที่นำไปปฏิบัติได้และตรวจสอบได้[15] แล้วเสนอแบบจำลองมีองค์ประกอบสองอย่าง คือ

องค์แรกเป็นการควบคุมการใส่ใจโดยตนเอง ไว้ที่ประสบการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการรับรู้สภาพจิตใจต่าง ๆ ในขณะปัจจุบัน ส่วนองค์ที่สองเป็นการถือเอาทัศนคติเกี่ยวกับประสบการณ์ในขณะปัจจุบันของตน เป็นทัศนคติที่มีองค์ประกอบเป็นความอยากรู้อยากเห็น มีใจเปิดกว้าง และความยอมรับ[15]: 232 

องค์ประกอบแรกคือการควบคุมการใส่ใจเป็น "การย้ายความสำนึกมายังประสบการณ์ปัจจุบัน โดยสังเกตและใส่ใจในอารมณ์ (สิ่งที่รับรู้) เช่นความคิด ความรู้สึก ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส โดยขณะ โดยการควบคุมการใส่ใจ" ส่วนองค์ประกอบที่สองคือทัศนคติต่อประสบการณ์ เป็นการรักษาความรู้สึกอยากรู้อยากเห็นกับสิ่งที่รับรู้ในแต่ละขณะ และกับว่า ใจได้ย้ายอารมณ์ไปอยู่ที่ไหนและอย่างไร เมื่อมีการใส่ใจไปในเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ประเด็น ผู้ฝึกจะได้คำแนะนำไม่ให้พยายามเพื่อที่จะได้สภาวะใดสภาวะหนึ่ง (เช่น ความผ่อนคลาย) แต่ให้เพียงแค่สังเกตอารมณ์แต่ละอารมณ์ที่มากระทบกระแสของจิต[15]: 233 

ประวัติ

[แก้]

ศาสนาพุทธ

[แก้]

Mindfulness มีรากฐานมาจากวิปัสสนา "ยุคปัจจุบัน"[note 3] วิปัสสนาเป็นทั้ง "ความสำนึกโดยขณะของเหตุการณ์ในปัจจุบัน" และ "การให้จำไว้ว่าให้ระลึกถึงอารมณ์อย่างหนึ่ง"[20] เป็นการปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญาในความเป็นจริงของธรรมชาติ[21][22] โดยเฉพาะก็คือไตรลักษณ์ แยกเป็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความเป็นอนัตตา ด้วยปัญญาที่รู้จริงอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุความเป็นพระโสดาบัน ซึ่งเป็นขั้นแรกของการไปสู่ความพ้นทุกข์[23][24]

จอน คาแบต-ซินน์ กับ MBSR

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1979 ศ. ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ตั้งโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์เพื่อใช้บำบัดผู้ป่วยเรื้อรัง[note 4] ซึ่งจุดประกายการประยุกต์ใช้การฝึกสติในการแพทย์[note 5] เพื่อการรักษาอาการต่าง ๆ หลายอย่างทั้งในคนป่วยและคนไม่ป่วย MBSR และโปรแกรมคล้าย ๆ กันอื่น ๆ ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสถานศึกษา เรือนจำ โรงพยาบาล ศูนย์ทหารผ่านศึก และในที่อื่น ๆ

เทคนิคอย่างหนึ่งของ MBSR ซึ่งก็คือ "การไล่ (ความรู้สึก)ตามกาย" มาจากหลักการปฏิบัติวิปัสสนาในสายของของอูบาคิน ดังที่สอนในปัจจุบันโดยอาจารย์โกเอ็นก้าในคอร์สวิปัสสนาเริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1976 การฝึกสติมีแรงดลใจโดยหลักจากคำสอนของโลกตะวันออก โดยเฉพาะก็คือหลักคำสอนในศาสนาพุทธ และได้กลายมาเป็นข้อปฏิบัติที่นำมาใช้กันอย่างกว้างขวางสำหรับฆราวาส โดยเป็นอิสระจากความเป็นเรื่องทางศาสนาหรือทางวัฒนธรรม[note 6][note 7]

ความนิยม

[แก้]

การฝึกสติมีความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเป็นวิถีในชีวิตประจำวัน โดยเป็นเรื่องต่างหากจากการประยุกต์ใช้วิปัสสนาในการรักษาทางจิตวิทยาคลินิก[26] การมีสติสามารถเห็นได้ว่าเป็นแบบการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง[27] และสามารถฝึกได้นอกเหนือจากสถานที่ฝึกที่มีการฝึกอย่างเป็นทางการ[28] ในปี ค.ศ. 2000 มีโปแกรมการสอนฝึกสติสำหรับเด็ก ที่เริ่มทำทั้งในโรงเรียนรัฐและโรงเรียนของเอกชน ในเขต Greater Los Angeles Area บริเวณมหานครลอสแอนเจลิส[29]

นอกจากนั้นแล้ว ในด้านธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มมีความสนใจเกี่ยวกับการฝึกสติเพิ่มขึ้นอย่างมาก มีหลายบริษัทที่มีโปรแกรมการฝึกสติ รวมทั้งบริษัทที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ 500 (Fortune 500) เช่นเรย์เธียน, พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล, และม็อนซานโต และบริษัทอื่น ๆ เช่นยูนิลีเวอร์[30][31]

แบบวัดนิสัยและสภาพ

[แก้]

มีแบบการวัด 7 อย่างที่ได้รับการพัฒนา ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบรายงานตนเอง เกี่ยวกับคุณลักษณะของสติคล้ายนิสัย[32] คือ

  • Mindful Attention Awareness Scale (MAAS)
  • Freiburg Mindfulness Inventory (FMI)
  • Kentucky Inventory of Mindfulness Skills (KIMS)
  • Cognitive and Affective Mindfulness Scale (CAMS)
  • Mindfulness Questionnaire (MQ)
  • Revised Cognitive and Affective Mindfulness Scale (CAMS-R)
  • Philadelphia Mindfulness Scale (PHLMS)

ส่วนแบบการวัด Toronto Mindfulness Scale (TMS) วัดสติโดยเป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้นและดำรงรักษาไว้ด้วยการปฏิบัติที่สม่ำเสมอ[32]

การปฏิบัติ

[แก้]

ตามนักวิชาการท่านหนึ่ง การปฏิบัติรวมทั้งการเจริญกรรมฐานทั้งแบบรูปนัยและอรูปนัย และแบบฝึกหัดอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกรรมฐาน[33] การปฏิบัติโดยรูปนัย เป็นการฝึกรักษาความใส่ใจที่ร่างกาย ลมหายใจ หรือความรู้สึก หรืออะไรก็ได้ที่มาปรากฏในแต่ละขณะ[33] ส่วนการปฏิบัติโดยอรูปนัย เป็นการฝึกสติในชีวิตประจำวัน[33] ส่วนแบบการฝึกที่ไม่เป็นกรรมฐานมีการใช้ในวิธีบำบัดแบบ "Dialectical Behavior Therapy" และ "Acceptance and Commitment Therapy"[33]

สติกรรมฐาน

[แก้]

สติกรรมฐานฝึกได้โดยหลับตา นั่งขัดสมาธิบนเบาะ หรือบนเก้าอี้ มีหลังตั้งตรง[34] ให้ใส่ใจที่การเคลื่อนไหวของท้องเมื่อหายใจเข้าหรือหายใจออก[3] หรือที่ลมหายใจเมื่อหายใจเข้าหรือหายใจออกผ่านรูจมูก[35] ถ้าเกิดความคิดอย่าง ๆ อื่น ให้กลับไปใส่ใจที่ลมหายใจ ให้สังเกตเมื่อใจไปที่อื่น แต่โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน ในขั้นเบื้องต้นให้เริ่มฝึก 10 นาทีต่อวัน เมื่อปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ จะง่ายขึ้นที่จะรักษาความใส่ใจที่ลมหายใจ[26] ในที่สุด ก็จะสามารถขยายความใส่ใจไปที่ความคิด ความรู้สึก และการกระทำได้ด้วย[35]

แบบฝึกหัด

[แก้]

แบบฝึกหัดที่มีชื่อเสียงเริ่มโดย ดร. คาแบต-ซินน์ ในโปรแกรม MBSR ก็คือ การมีสติรับรู้รสชาติของลูกเกด[36][37][note 8]

โปรแกรมบำบัด

[แก้]

Mindfulness-based stress reduction

[แก้]

Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) เป็นโปรแกรมบำบัดทางประชานและทางพฤติกรรม[38] พัฒนาโดย ศ. ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ที่ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ซึ่งผสมผสานการฝึกสติ ความสำนึกในร่างกาย และโยคะ เพื่อช่วยให้มีสติเพิ่มขึ้น[26] เริ่มเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเจริญกรรมฐานเริ่มกลายเป็นประเด็นของงานวิจัยทางคลินิกมีกลุ่มควบคุม[39] ซึ่งแสดงว่า การเจริญสติอาจมีประโยชน์รวมทั้งช่วยลดความเครียด ช่วยผ่อนคลาย และช่วยเพิ่มคุณภาพของชีวิต แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันหรือรักษาโรค[40] แม้ว่า MBSR จะมีมูลฐานจากคำสอนทางศาสนา แต่โปรแกรมบำบัดไม่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาเข้ามาเจือปน[41]

Mindfulness-based cognitive therapy

[แก้]

Mindfulness-based cognitive therapy (ตัวย่อ MBCT แปลว่าการบำบัดทางประชานอาศัยการฝึกสติ) เป็นการบำบัดทางจิตวิทยาเพื่อช่วยป้องกันการกลับไปเกิดภาวะซึมเศร้าอีก โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง (major depressive disorder)[42] เป็นการบำบัดที่ใช้วิธีการ cognitive behavioral therapy (ตัวย่อ CBT แปลว่า การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน) และเพิ่มกลยุทธ์ทางจิตเช่นการมีสติและการฝึกสติ วิธีการทางประชานอาจรวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับความซึมเศร้า[43] ส่วนการมีสติและการฝึกสติจะช่วยให้มีสำนึกดีขึ้นเกี่ยวกับความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ และช่วยให้ยอมรับได้ดีขึ้น แต่จะไม่เข้าไปยึดหรือมีปฏิกิริยา[44]

MBCT เหมือนกับ CBT ตรงที่มีรากฐานทางทฤษฎีว่า เมื่อคนที่มีประวัติความซึมเศร้าเกิดความทุกข์ ก็จะกลับไปมีกระบวนการทางประชานอัตโนมัติที่สามารถจุดชนวนภาวะซึมเศร้า[45] จุดมุ่งหมายของ MBCT ก็เพื่อจะระงับกระบวนการอัตโนมัติเหล่านั้น แล้วสอนให้คนไข้ให้ลดปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่กำลังปรากฏ และให้ยอมรับแล้วสังเกตสิ่งเร้าโดยไม่มีการตัดสิน[45] วิธีเช่นนี้ช่วยให้คนไข้สามารถสังเกตกระบวนการอัตโนมัติเหล่านี้ที่กำลังเป็นไป แล้วเปลี่ยนปฏิกิริยาของตนให้กลายเป็นการพิจารณาแทน งานวิจัยแสดงหลักฐานสนับสนุน MBCT ในบุคคลที่ได้เกิดภาวะซึมเศร้าแล้ว 3 ครั้งหรือมากกว่านั้น คือสามารถลดระดับการกลับเกิดภาวะซึมเศร้าอีกได้ถึง 50%[46]

Acceptance and commitment therapy

[แก้]

Acceptance and commitment therapy (ตัวย่อ ACT แปลว่า การบำบัดโดยการยอมรับและการให้สัญญา) เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมทางคลินิก (clinical behavior analysis) อย่างหนึ่ง[47] ที่ใช้ในจิตบำบัด (psychotherapy) เป็นวิธีการรักษาพยาบาลทางจิตวิทยาที่ใช้วิธีผสมผสานการยอมรับและการมีสติที่ต่างจากวิธีอื่น ๆ[48] ร่วมกับการให้สัญญาและกลยุทธ์การเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทางความคิด ในยุคต้น ๆ วิธีการอย่างนี้เรียกว่า "comprehensive distancing (การออกตัวห่างอย่างสมบูรณ์)"[49] เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980[50][51]

Dialectical behavior therapy

[แก้]

การฝึกสติเป็นแบบฝึกหัด "หลัก" ใช้ใน Dialectical behavior therapy (ตัวย่อ DBT แปลว่า การบำบัดพฤติกรรมแบบวิภาษวิธี) คิดค้นเพื่อรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (borderline personality disorder) ตามผู้ค้นคิด DBT เป็นการบำบัดแบบวิภาษวิธี[52] เพราะว่าเป็น "การทำให้สภาพที่เป็นเรื่องตรงข้ามกันลงรอยกัน โดยกระบวนการสังเคราะห์ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง" ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักกรรมฐานของชาวพุทธนิกายเซน ผู้ค้นคิดกล่าวว่า

การที่ DBT เน้นความสมดุลกันระหว่างความยอมรับกับความเปลี่ยนแปลง มีกำเนิดมาจากประสบการณ์ของดิฉันเองในการศึกษากรรมฐานและเรื่องของสภาพจิตใจตามหลักโลกตะวันออก หลักของ DBT เกี่ยวกับการสังเกต การมีสติ และการหลีกเลี่ยงการตัดสิน ล้วนแต่สืบเนื่องมาจากการศึกษาและการปฏิบัติกรรมฐานของนิกายเซน[52]: 20–21 

Mode Deactivation Therapy

[แก้]

Mode Deactivation Therapy (ตัวย่อ MDT แปลว่า การบำบัดยับยั้งฤทธิ์ตัวรูปแบบ) เป็นระเบียบวิธีการพยาบาลรักษาที่สืบเนื่องมาจากหลัก cognitive behavioral therapy (ตัวย่อ CBT แปลว่า การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน) และรวมเอาองค์ประกอบต่าง ๆ จาก Acceptance and commitment therapy, Dialectical behavior therapy, และเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับสติ[53] เทคนิคทางสติรวมทั้งการฝึกหายใจเข้าออกอย่างง่าย ๆ เพื่อช่วยให้คนไข้มีความสำนึกถึงและสามารถยอมรับโดยไม่มีการตัดสิน ถึงความคิดความรู้สึกที่ทำให้ไม่สบายใจทำให้ทุกข์ใจ ดังที่เกิดอยู่ในขณะปัจจุบัน ผลงานวิจัยที่พิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2014 ได้แสดงว่า MDT เป็นวิธีที่ได้ผลในการบำบัดเด็กวัยรุ่นที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ที่มีปัญหาทางใจหรือความเจ็บแค้นทางใจที่ซับซ้อน[54]

โปรแกรมอื่น ๆ

[แก้]

ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา มีงานวิจัยที่แสดงหลักฐานสนับสนุนการบำบัดโดยใช้สติ สำหรับอาการโรคทางกายและทางจิตเวช ที่น่าสนใจรวมทั้ง ความเจ็บปวดเรื้อรัง (chronic pain)[55] ความเครียด[6] โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า[56] การติดสารเสพติด[57] และพฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่กลับเป็นซ้ำ[58]

งานที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2009 ทบทวนสาระสำคัญของวิธีการบำบัดแบบใช้สติ โดยเฉพาะในการบำบัดครอบครัว (family therapy)[59] และเริ่มต้นโดยกล่าวถึงรหัสยลัทธิและเน้นคุณค่าของการบำบัดโดยใช้สติ

Morita therapy (การบำบัดแบบโมะริตะ)

แพทย์จิตเวชชาวญี่ปุ่น Shoma Morita ผู้ได้ฝึกกรรมฐานแบบเซน เป็นผู้พัฒนาการบำบัดแบบโมะริตะ โดยอาศัยหลักการมีสติและความไม่ติดข้อง และเริ่มตั้งแต่การสร้างการบำบัดแบบเกสทัลท์ (Gestalt therapy) ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1940 การฝึกสติก็เป็นส่วนสำคัญของทฤษฎีและข้อปฏิบัติ[60]

Adaptation Practice (วิธีการปรับตัว)

Adaptation Practice (วิธีการปรับตัว) มีการพัฒนาในปี ค.ศ. 1977 เป็นโปรแกรมสร้างวินัยตนที่มีการฝึกสติ ที่สามารถช่วยเผชิญปัญหาทางจิตและอารมณ์จากระดับที่น้อยที่สุด ไปจนถึงระดับที่รุนแรงที่สุด รวมทั้งโรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล อาการตื่นตระหนก (panic) โรคย้ำคิดย้ำทำ และความผิดปกติของการรับประทาน[61][62]

Hakomi therapy (การบำบัดแบบฮาโกะมิ)

Hakomi therapy (การบำบัดแบบฮาโกะมิ) เป็นวิธีการบำบัดทางจิตวิทยาเชิงร่างกาย (somatic psychology) ที่คิดค้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยมาจากหลักการฝึกสติและอหิงสา

จิตวิทยาเชิงบวก

นักวิชาการหลักในสำนักจิตวิทยาเชิงบวกเสนอว่า การมีสติเป็นองค์สำคัญที่พบในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มีหลักฐานแสดงว่าสามารถเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีหรือความสุขในชีวิต และแนะนำแบบฝึกหัดจิตต่าง ๆ การเจริญสติ การบำบัดพฤติกรรมทางประชาน (CBT) และถ้าจำเป็น ยา (โดยเฉพาะประเภท selective serotonin reuptake inhibitors ซึ่งให้กับคนไข้โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคจิตอื่น ๆ)[63]

Mindfulness relaxation (การผ่อนคลายโดยมีสติ)

Mindfulness relaxation (การผ่อนคลายโดยมีสติ) เป็น "กรรมฐาน" ที่ใช้วิธีหายใจ การจินตนาภาพตามแนะนำ (guided imagery) และเทคนิคอื่น ๆ เพื่อผ่อนคลายทั้งกายและจิตใจ เพื่อช่วยลดความเครียด[64]

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

[แก้]

ระดับการมีสติ

[แก้]

การเจริญสติโดยเปรียบเทียบแล้วเป็นงานศึกษาแนวคิดใหม่ทางจิตวิทยาของชาวตะวันตก นักวิจัยพยายามที่จะกำหนดนิยามและวัดผลที่ได้จากการเจริญสติ ผ่านงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ที่วัดตัวแปรตาม (คือผล) ต่าง ๆ แต่ว่า การวัดผลมาจากการรายงานตนของผู้ร่วมการทดลอง เป็นการวัดผลของสติที่เป็นอัตวิสัย เพราะเหตุนี้ จึงมีวิธีการวัดสติหลายอย่าง เป็นชุดคำถามที่ใช้ถามผู้ร่วมการทดลอง ที่คำตอบจะรวมกันแปลเป็นระดับผล มีวิธีการวัดอย่างน้อย 12 อย่างที่กล่าวถึงในเว็บไซต์ Mindfulness Research Guide (แนะแนวงานวิจัยเกี่ยวกับสติ)[65] มีตัวอย่างเหล่านี้คือ

  • Mindful Attention Awareness Scale (MAAS);
  • Freiburg Mindfulness Inventory;
  • Kentucky Inventory of Mindfulness Skills
  • Cognitive and Affective Mindfulness Scale.[66]

โดยใช้วิธีการวัดเหล่านี้ ซึ่งช่วยแสดงความเปลี่ยนแปลงระดับการมีสติแบบแจ้งเอง โดยใช้การวัดข้อมูลทางจิตวิทยาอื่น ๆ เช่นความเป็นอยู่ที่ดีที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being) และโดยใช้การวัดข้อมูลอื่น ๆ เช่นสุขภาพและสมรรถภาพความสามารถ นักวิจัยได้ตรวจสอบธรรมชาติและผลของการมีสติ ผลงานวิจัยสามารถจำแนกเป็นสองพวกคือ เกี่ยวกับการลดความเครียด และเกี่ยวกับการเพิ่มสภาพจิตที่ดี

ผลของการเจริญสติ

[แก้]

งานวิจัยเกี่ยวกับสติได้ดำเนินไปแล้วประมาณ 20-30 ปี โดยมีความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในทศวรรษที่แล้ว[67][68]

ผลทั่วไป

[แก้]

งานวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ปี ค.ศ. 2013 ที่ใช้ข้อมูลจากงานวิจัย 209 งานที่มีผู้ร่วมการทดลอง 12,145 คน พบว่า MBT มีอิทธิผลเล็กน้อยในงานแบบ pre-post studies ดีกว่าวิธีการรักษาบางอย่าง (รวมทั้งการให้การศึกษาเกี่ยวกับจิต การบำบัดสนับสนุน การผ่อนคลาย การจินตนาภาพ และการบำบัดด้วยศิลปะ) แต่ไม่มีอิทธิผลยิ่งกว่า CBT ทั่วไป[69] งานวิเคราะห์พบว่า MBT มีอิทธิผลในการรักษาโรคจิตมากกว่าโรคกาย ว่า MBT มี "ผลดียิ่งและมีนัยสำคัญทางคลินิกในการรักษาโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า" และสามารถดำรงผลดีไว้ได้ในช่วงที่ติดตามผล ผลเช่นนี้เหมือนกับงานวิเคราะห์อภิมานที่ได้ทำมาก่อน ๆ[56] แต่นักวิจัยยอมรับว่า งานวิจัยมีความต่างกันมากมายรวมทั้งแบบ วิธีการรักษาพยาบาล (intervention) ผู้ร่วมการทดลอง ผล และคุณภาพของงาน และดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า ข้อสรุปของงานวิเคราะห์อาจจะเกินความจริง[70]

มีงานศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับอิทธิผลของวิธีการเจริญ "กรรมฐาน" ต่าง ๆ (รวมทั้งท่องมนตร์ [mantra], Transcendental Meditation, และการเจริญสติ) เป็นงานศึกษาที่ออกทุนให้ทำโดยสำนักงานวิจัยและคุณภาพของการรักษาพยาบาลสุขภาพ (Agency for Healthcare Research and Quality) สหรัฐอเมริกา ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2014[71] เป็นการปริทัศน์แหล่งอ้างอิง 17,801 งาน แล้วสรุปโดยอาศัยผลงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) ที่ให้การรักษาตามมาตรฐานทั่วไปกับกลุ่มควบคุม มีผู้ร่วมการทดลองรวมกัน 2,993 คน งานสรุปว่า "โปรแกรมการเจริญกรรมฐาน โดยเฉพาะโปรแกรมการเจริญสติ จะลดผลลบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากความเครียดทางใจ"[71]: vii  มีการประเมินว่า

  1. "โปรแกรมการเจริญสติช่วยปรับปรุงอารมณ์ลบได้หลายด้าน รวมทั้งโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และความเครียดที่ (คนไข้)รู้สึกว่ามี ... ผลที่ได้มีนัยสำคัญสำหรับโรควิตกกังวล และเกือบไม่มีนัยสำคัญสำหรับโรคซึมเศร้า โดยวัดหลังจากเสร็จการรักษา และผลที่ได้ก็ยังดำรงความสำคัญที่ 3-6 เดือนหลังอยู่ได้ ทั้งสำหรับโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า"[71]: 130 
  2. มี "ตัวบ่งชี้ที่เล็กน้อยแต่คงเส้นคงวาว่า อารมณ์เชิงลบทั้งหมดดีขึ้น (สำหรับคนไข้)ในโปรแกรมการเจริญสติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม"[71]: 131  และแม้ว่าผลจะเล็กน้อย แต่ว่า "พอเทียบได้กับผลที่คาดหวังจากการใช้ยาลดความซึมเศร้า (antidepressant) ในกลุ่มคนไข้ที่รับการรักษาในระดับปฐมภูมิ (primary care)"[71]: 131 
  3. แต่ว่า MBT "ไม่ได้แสดงผลที่เหนือกว่า" เมื่อเทียบกับการบำบัดรวมทั้งการออกกำลังกาย โยคะ, progressive muscle relaxation (การผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับ), CBT และการให้ยา[71]: 131 
  4. ส่วน MBSR มีผลเล็กน้อยต่อระดับความเจ็บปวดโดยทั่วไป และเป็นเหตุให้มี "การลดระดับความปวดท้องอย่างมีนัยสำคัญที่ 30% วัดที่สองเดือน และสามารถดำรงอยู่ได้ที่หกเดือน"[71]: 133 
  5. "ไม่มีผล หรือว่ามีหลักฐานไม่พอ สำหรับผลของโปรแกรมกรรมฐานต่อพื้นอารมณ์ที่ดี การใส่ใจ การใช้สารเสพติด นิสัยการรับประทาน การนอนหลับ และน้ำหนัก"[71][note 9]

กลไกทางประสาท

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2011 National Center for Complementary and Alternative Medicine (ศูนย์การแพทย์เติมเต็มและทางเลือกแห่งชาติ) ซึ่งเป็นส่วนของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) ได้พิมพ์ผลงานวิจัยหนึ่ง ที่มีการถ่ายภาพทางสมองด้วย MRI ของผู้ร่วมการทดลอง 16 คน 2 อาทิตย์ก่อนและหลังที่ผู้ร่วมการทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการเจริญสติ (mindfulness meditation ตัวย่อ MM) ที่ทำโดยนักวิจัยที่ Massachusetts General Hospital (โรงพยาบาลทั่วไปแมสซาชูเซตส์), Bender Institute of Neuroimaging (สถาบันการสร้างภาพประสาทเบ็นเดอร์) ใน เยอรมนี, และ University of Massachusetts Medical School (คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์) นักวิจัยสรุปว่า

..ผลที่ได้ต่อไปนี้อาจจะเป็นกลไกทางสมองที่เป็นเหตุสัมพันธ์กับความดีขึ้นทางสุขภาพใจที่อาศัยการเจริญสติ[73]

ผลระงับปวดได้ของ MM เกิดจากกลไกทางสมองหลายอย่างรวมทั้งการทำงานของ anterior cingulate cortex และ ventromedial prefrontal cortex[74] นอกจากนั้นแล้ว การฝึก MM แม้ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ สามารถเพิ่มปริมาณเนื้อเทาในฮิปโปแคมปัสและในสมองกลีบข้าง[75] การเปลี่ยนแปลงทางประสาทอื่น ๆ ที่เกิดจาก MM อาจเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการใส่ใจ[76]

มะเร็ง

[แก้]

ตามข้อมูลจาก American Cancer Society (สมาคมมะเร็งอเมริกัน)

... หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ไม่ได้แสดงว่าการเจริญกรรมฐานมีอิทธิผลในการรักษามะเร็งหรือว่าโรคอะไร ๆ (ทางกาย) อย่างอื่น[77]

การติดสารเสพติด

[แก้]

นอกจากใช้ลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า งานวิจัยยังแสดงอิทธิผลของ MM ในการลดความรู้สึกอยากต่อสารเสพติด โดยรู้กันมาก่อนแล้วว่า การติดสารเสพติดจะลดการทำงานของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าที่ปกติทำให้สามารถเลื่อนการสนองความสุขในระยะสั้น เพื่อประโยชน์ที่จะได้ในระยะยาว และเพิ่มกำลังของระบบลิมบิกและส่วนสมองรอบระบบลิมบิกซึ่งเป็นส่วนสมองที่ตอบสนองต่อความสุขระยะสั้น

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 พบว่าการเจริญสติของผู้สูบบุหรี่เป็นเวลา 2 อาทิตย์โดยเป็นเวลารวมกัน 5 ช.ม. สามารถลดการสูบบุหรี่ได้ถึง 60% และลดความอยากสูบบุหรี่ แม้แต่สำหรับผู้สูบบุหรี่ผู้ร่วมการทดลองแต่ไม่ได้ตั้งใจที่จะเลิกบุหรี่ การสร้างภาพในสมองของผู้ฝึก MM แสดงการทำงานในระดับสูงขึ้นของคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการควบคุมตนเองได้มากขึ้น[78]

แต่ว่างานปริทัศน์เป็นระบบในปี ค.ศ. 2009 เกี่ยวกับการใช้ MM เป็นส่วนในการรักษาการติดสารเสพติด (substance use disorders ตัวย่อ SUDs) พบว่า[79]

  • ข้อมูลที่แสดงอิทธิผลที่ชัดเจนยังไม่มี
  • งานวิจัยต่าง ๆ ที่ทำในเรื่องนี้มีความจำกัดเกี่ยวกับระเบียบวิธี (คือระเบียบวิธียังไม่ดีพอ)
  • ไม่มีความชัดเจนว่า ผู้ติดสารเสพติดประเภทไหนจะได้ประโยชน์สูงสุดจาก MM

การสร้างนิสัยใหม่

[แก้]

การฝึกสติอาจจะช่วยให้เริ่มรู้เห็นลักษณะนิสัยทางจิตใจของตน อาศัยความสำนึกที่พัฒนาขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง[80] ช่วยให้สามารถทำการตอบสนองแบบใหม่ ๆ แทนที่จะมีการตอบสนองตามนิสัย[80] MM สามารถเป็น "จุดยืนหยัดทางจิตใจ ในการแยกประสบการณ์ที่เกิดขึ้น จากอารมณ์ความรู้สึกที่สัมพันธ์ (กับประสบการณ์) และช่วยทำให้มีปฏิกิริยาที่ฝึกไว้ดีหรือมีสติ ต่อสถานการณ์ที่เกิดมีขึ้น"[81][79]

การควบคุมการใส่ใจ

[แก้]

การฝึกสติสามารถช่วยเพิ่มทักษะในการควบคุมการใส่ใจหรือสมาธิ[82]

ทิศทางสำหรับอนาคต

[แก้]

งานวิจัยโดยมากเกี่ยวกับสติต้องอาศัยเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยสร้างภาพสมองที่มีประโยชน์ในการศึกษาสาขานี้ เช่น เป็นเรื่องที่น่าสนใจถ้าสามารถใช้ fMRI แบบเวลาจริงเพื่อแสดงการทำงานในสมอง เพื่อสามารถให้ฟี้ดแบ็กกับผู้ร่วมโปรแกรม MM ทันทีและช่วยในการสอน และอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้สอนกรรมฐานได้ง่ายขึ้น และช่วยประเมินสภาพจิตใจในช่วงการเจริญกรรมฐาน[83] เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นในอนาคต จะสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการทำงานวิจัย

คำวิจารณ์

[แก้]

มีนักวิชาการหลายท่านที่ได้วิจารณ์คำกำหนด/นิยาม หรือภาพพจน์ของการเจริญสติที่ใช้ในสิ่งตีพิมพ์ทางจิตวิทยาของชาวตะวันตก ดร. แอลัน วอลเลซได้กล่าววไว้ว่า คำนิยามทรงอิทธิพลเกี่ยวกับสติในสิ่งตีพิมพ์ทางจิตวิทยา (โดย Bishop et al.[15]) มีความแตกต่างที่สำคัญจากสติที่กำหนดโดยพระพุทธเจ้าและสายคำสอนต่าง ๆ ของชาวพุทธที่สืบต่อกันมา[84] และได้สรุปไว้ว่า

คำพรรณนาและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสติที่มีในปัจจุบันแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่มีค่า ดังที่คนเป็นพัน ๆ ได้พบเองแล้วผ่านการปฏิบัติของตนเอง แต่ว่า นี่ไม่ได้ลบข้อเท็จจริงที่ว่า ความเข้าใจปัจจุบันต่างออกไปจากคำอธิบายเกี่ยวกับสติของพระพุทธเจ้าอย่างสำคัญ

และจากอรรถกถาที่เชื่อถือได้ที่สุดของทั้งพุทธเถรวาทและพุทธมหายานสายอินเดีย[84]: 62 

มีงานปริทัศน์งานหนึ่งในปี ค.ศ. 2013 พิมพ์ในวารสาร Mindfulness (สติ) ที่สรุปว่า[85]

ตามนักวิชาการที่มีความรู้ดีเกี่ยวกับคัมภีร์พุทธศาสนาดั้งเดิม ที่เป็นแหล่งกำเนิดทั้งโดยเปิดเผยและโดยปริยาย ของวิธีการรักษาพยาบาลอาศัยสติ (Mindfulness Based Interventions) ในปัจจุบันหลายแบบ โปรแกรมต่าง ๆ ที่นำการเจริญสติมาใช้ ล้วนแต่ล้มเหลวที่จะให้คำนิยามที่ไม่คลุมเครือเกี่ยวกับสติ ที่รวมเอาความซับซ้อนที่มีในนิยามดั้งเดิมของสติ อาจจะเป็นไปได้ว่า การสนทนาอย่างเจาะลึกระหว่างนักวิจัยชาวตะวันตกที่สนใจประเด็นเกี่ยวกับสติ กับผู้ปฏิบัติที่ฝึกมาแล้วอย่างยาวนานทั้งชาวตะวันออกและชาวตะวันตก จะเป็นเรื่องจำเป็น ก่อนที่จะเกิดความก้าวหน้า (จริง ๆ) ในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับสติ ภายในโครงสร้างทฤษฎีทางจิตวิทยาของชาวตะวันตก[85]: 265 

ศ. ดร. เอเลนอร์ โรส์ช ผู้เป็นศาสตราจารย์จิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้กล่าวไว้ว่า "ระบบการบำบัดที่ใช้สติ[note 10] (จริง ๆ)สามารถเรียกได้ว่าอาศัยปัญญาเท่า ๆ กับอาศัยสติ"[86]: 262  เพราะว่า ในวิธีการบำบัดเหล่านั้น

สติดูเหมือนจะมีบทบาทสองอย่างคือ เป็นส่วนของวิธีบำบัดโดยตนเอง และใช้เป็นเหตุผลแบบคลุมจักรวาล (ที่อ้างว่าเป็นแบบอาศัยประสบการณ์ [empirical]) เพื่อที่จะดึงใช้แง่มุมต่าง ๆ ของปัญญา ที่บางทีอาจจะเป็นเรื่องที่เกินความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรมของเราในปัจจุบัน แล้วความหมายดั้งเดิมของสติว่า เป็นสภาพที่ใจเข้าไปเกาะติดกับอารมณ์ของจิต (สิ่งจิตที่รับรู้) โดยมีโฟกั้สทางใจที่ชัดเจน หายไปอยู่ที่ไหนเล่า ?[86]: 262 

ส่วนนักวิชาการอีกท่านหนึ่ง กล่าวไว้ใน Journal of Consciousness Studies (วารสารการศึกษาจิตสำนึก) ว่า

ในจิตวิทยาตะวันตก สติและสมาธิมักจะเกิดความสับสนและนำมาปนเปกันเพราะว่า แม้ว่าจะมีความสนใจในสติโดยระดับหนึ่งใน 2-3 ปีที่ผ่านมา (แต่กลับ)ไม่มีความสนใจแบบเดียวกันในสมาธิ

ดังนั้น โปรแกรมที่อาศัยสติหลายแบบ จริง ๆ แล้วเจริญทั้งสมาธิเจริญทั้งสติ แต่ว่า ผลที่ได้ (กลับ)ยกให้สติทั้งหมด[87]: 20 

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. "การใช้ระเบียบวิธีทางการวิจัยและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ทำมาแล้วเป็นทศวรรษ ๆ ได้ไขเรื่องปรัมปราเหล่านี้ ในปัจจุบัน มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่า สติเป็นสภาพธรรมชาติอย่างหนึ่งของใจมนุษย์ ซึ่งก็คือ เป็นศักยภาพของการใส่ใจและความสำนึกที่หันหน้าเข้าไปสู่ขณะปัจจุบัน ในระดับที่ต่าง ๆ กันทั้งในบุคคลเดียวกันและในระหว่างบุคคล และสามารถที่จะประเมินได้โดยหลักฐานการทดลอง ที่เป็นอิสระต่อความเชื่อทางศาสนา ทางจิตวิญญาณ และทางวัฒนธรรม[10]
  2. คำว่า "Mindfulness meditation" อาจหมายถึงข้อปฏิบัติในการเจริญสติแบบตะวันตกที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา[2] หรืออาจจะหมายถึงการเจริญวิปัสสนาของชาวพุทธปัจจุบัน[12][13][14]
  3. วิปัสสนาตามที่สอนโดยอาจารย์ต่าง ๆ จากขบวนการที่เรียกว่า "การเคลื่อนไหวทางวิปัสสนา" (Vipassana movement) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีแรงจูงใจจาก และเป็นปฏิกิริยาต่อ ขบวนการที่เรียกว่า "western modernism"[18][19]
  4. "โปรแกรมลดความเครียดที่ตั้งโดย ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ในปี ค.ศ. 1979"[4]
  5. "ความสนใจในการประยุกต์ใช้การฝึกสติทางคลินิกมีประกายมาจากการตั้ง (โปรแกรม) Mindfulness-Based Stress Reduction (MBSR) ซึ่งเป็นโปรแกรมบำบัดที่ดั้งเดิมพัฒนาขึ้นเพื่อบริหารความเจ็บปวดเรื้อรัง" (Kabat-Zinn, 1982; Kabat-Zinn, Lipworth, & Burney, 1985; Kabat-Zinn, Lipworth, Burney, & Sellers, 1987)[15]: 231 
  6. "ตามประวัติเป็นข้อปฏิบัติของชาวพุทธ สติสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นสมรรถภาพที่มีอยู่ทั่วไปในมนุษย์ ซึ่งอ้างว่าสามารถช่วยสร้างความคิดที่ชัดเจนและสร้างความเปิดใจ ดังนั้น กรรมฐานเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องอาศัยความเชื่อทางศาสนาหรือทางวัฒนธรรม"[25]
  7. "คาแบต-ซินน์ (2000) เสนอว่า การฝึกสติอาจจะมีประโยชน์ต่อคนมากมายในสังคมคนตะวันตก ที่อาจจะไม่ยินดีรับประเพณีหรือศัพท์คำพูดของคนพุทธ ดังนั้น นักวิจัยและแพทย์รักษาชาวตะวันตกจึงได้นำการฝึกสติเข้ามาใช้ในโปรแกรมบำบัดสุขภาพจิต โดยสอนเทคนิคเหล่านี้โดยเป็นอิสระจากประเพณีทางศาสนาและทางวัฒนธรรมของแหล่งกำเนิด (Kabat-Zinn, 1982; Linehan, 1993b). - Mindfulness Training as a Clinical Intervention: A Conceptual and Empirical Review by Ruth A. Baer
  8. See also Eating One Raisin: A First Taste of Mindfulness for a hand-out file]
  9. See also Willoughby Britton (2014) for an interpretation of these findings.[72]
  10. ในงานปี ค.ศ. 2007[86] ดร. โรส์ชกล่าวถึง "ระบบการบำบัด 4 อย่างที่มีการฝึกสติเป็นองค์ประกอบ รวมทั้ง Mindfulness Based Stress Reduction (MBSR; Kabat-Zinn, 1990), Mindfulness Based Cognitive Therapy (MBCT; Segal, Williams, & Teasdale, 2002; Teasdale & Barnard, 1993), Dialectical Behavior Therapy (DBT; Linehan, 1993a,b), และ Acceptance and Commitment Therapy (ACT; Hays, Strosahl, & Wilson, 1999). (ดูด้วย Baer, 2006; and Hayes, Jacobson, Follette, & Dougher, 1994.) ไม่มีคนไข้คนไหนที่ได้แต่คำสอนเกี่ยวกับสติเพียงอย่างเดียว (เช่น "ให้แต่ใส่ใจเท่านั้นกับสิ่งที่เข้ามาในใจ") แล้วให้ไปทำเอง เรื่องนี้มีเหตุผลที่ดี ดิฉันไม่รู้ว่ามีกรณีของคนไข้ไหนเลยที่สามารถฝึกสติ หรือแม้แต่ฝึกสร้างความผ่อนคลาย โดยไม่ต้องอาศัยข้อแนะนำอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก (p. 261)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Black & year unknown, p. 2.
  2. 2.0 2.1 2.2 Zgierska 2009.
  3. 3.0 3.1 Wilson 2014.
  4. 4.0 4.1 "Mobilize your own inner resources for learning, growing, and healing". University of Massachusetts Medical School. Center for Mindfulness. The Stress Reduction Program, founded by Dr. Jon Kabat-Zinn in 1979...
  5. Brown, Kirk Warren; Ryan, Richard M. (Apr 2003). "The benefits of being present: Mindfulness and its role in psychological well-being". Journal of Personality and Social Psychology. 84 (4): 822–848. doi:10.1037/0022-3514.84.4.822.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Grossman, P.; Niemann, L.; Schmidt, S.; Walach, H. (2004). "Mindfulness-based stress reduction and health benefits: A meta-analysis". Journal of Psychosomatic Research. 57 (1): 35–43. doi:10.1016/S0022-3999(03)00573-7. PMID 15256293.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Brown, K. W.; Ryan, R. M.; Creswell, J. D. (2007). "Mindfulness: Theoretical foundations and evidence for its salutary effects". Psychological Inquiry. 18 (4): 211–237. doi:10.1080/10478400701598298.
  8. Brown, Kirk Warren; Ryan, Richard M.; Creswell, J. David (2007). "Mindfulness: Theoretical Foundations and Evidence for its Salutary Effects" (PDF). Psychological Inquiry. 18 (4): 211–237. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Gehart 2012, p. 7-8.
  10. 10.0 10.1 Black & year unknown, p. 1.
  11. 11.0 11.1 Gehart 2012, p. 7.
  12. Didonna 2008, p. 27.
  13. Kristeller 2007, p. 393.
  14. Germer 2005, p. 15.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Bishop, Scott R; Lau, Mark; Shapiro, Shauna; Carlson, Linda; Anderson, Nicole D; Carmody, James; Segal, Zindel V; Abbey, Susan; Speca, Michael; Velting, Drew; Devins, Gerald (2004). "Mindfulness: A proposed operational definition" (PDF). Clinical Psychology: Science & Practice. 11 (3): 230–241. doi:10.1093/clipsy.bph077. ISSN 0969-5893. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Marlatt, G. Alan; Kristeller, Jean L. (1999). "4 Mindfulness and Meditation". ใน Miller, WR (บ.ก.). Integrating spirituality into treatment. Washington, DC: American Psychological Association. p. 68.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 Kabat-Zinn, J. (1994). Wherever you go, there you are: Mindfulness meditation in everyday life. New York: Hyperion. p. 4.
  18. McMahan 2008.
  19. Sharf & 1995-B.
  20. "The 18th Mind and Life Dialogues meeting". Mind and Life Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  21. "Essentials of Mahamudra: Looking Directly at the Mind, by Khenchen Thrangu Rinpoche". Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 2013-05-30.
  22. Gunaratana, Henepola. Mindfulness in plain English. Wisdom Publications. p. 21.
  23. Sister Ayya Khema. "All of Us". Access to Insight. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
  24. Bhikkhu Bodhi. "The Noble Eightfold Path". Access to Insight. สืบค้นเมื่อ 2009-03-16.
  25. Ludwig; Kabat-Zinn. "Mindfulness in Medicine". jama.ama-assn.org.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. 26.0 26.1 26.2 Pickert K (Feb 2014). "The art of being mindful. Finding peace in a stressed-out, digitally dependent culture may just be a matter of thinking differently". Time. 183 (4): 40–6. PMID 24640415.
  27. Israel, Ira (2013-05-30). "What's the Difference Between Mindfulness, Mindfulness Meditation and Basic Meditation?". The Huffington Post.
  28. Bernhard, Toni (2011-06-06). "6 Benefits of Practicing Mindfulness Outside of Meditation". Psychology Today.
  29. "Inner Kids". Susan Kaiser Greenland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-21. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  30. "University of Massachusetts Medical School Center for Mindfulness in Medicine, Health Care, and Society". University of Massachusetts Medical School Center.
  31. Carroll, Michael (2008). The Mindful Leader: Awakening Your Natural Management Skills Through Mindfulness Meditation (paperback ed.). Trumpeter. ISBN 978-1590306208.
  32. 32.0 32.1 Hick 2010, p. 10.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 Hick 2010, p. 6.
  34. Komaroff, Anthony (2014-03-31). "Does "mindfulness meditation" really help relieve stress and anxiety?". Ask Doctor K. Harvard Health Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  35. 35.0 35.1 Wilson 2014, p. 20.
  36. Ihnen & Flynn 2008, p. 148.
  37. Teasdale & Segal 2007, p. 55-56.
  38. "What is Mindfulness-Based Stress Reduction?". Mindful Living Programs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-18. สืบค้นเมื่อ 2014-04-15.
  39. Ospina, MB; Bond, K; Karkhaneh, M; และคณะ (June 2007). "Meditation practices for health: state of the research". Evid Rep Technol Assess (Full Rep) (155): 35–37. PMID 17764203.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  40. "Meditation". Cancer Research UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 28 April 2013.
  41. Greeson, Jeffrey M.; Webber, Daniel M.; Smoski, Moria J.; Brantley, Jeffrey G.; Ekblad, Andrew G.; Suarez, Edward C.; Wolever, Ruth Quillian (2011). "Changes in spirituality partly explain health-related quality of life outcomes after Mindfulness-Based Stress Reduction". Journal of Behavioral Medicine. 34 (6): 508–18. doi:10.1007/s10865-011-9332-x. PMC 3151546. PMID 21360283.
  42. Piet, J.; Hougaard, E. (2011). "The Effect of Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Prevention of Relapse in Recurrent Major Depressive Disorder: a Systematic Review and Meta-Analysis". Clinical Psychology Review. 31 (6): 1032–1040. doi:10.1016/j.cpr.2011.05.002.
  43. Manicavasgar, V.; Parker, G.; Perich, T. (2011). "Mindfulness-Based Cognitive Therapy Vs. Cognitive Behaviour Therapy as a Treatment for Non-Melancholic Depression". Journal of Affective Disorders. 130 (1–2): 138–144. doi:10.1016/j.jad.2010.09.027.
  44. Hofmann, S. G.; Sawyer, A. T.; Fang, A. (2010). "The Empirical Status of the "New Wave" of Cognitive Behavioral Therapy". Psychiatric Clinics of North America. 33 (3): 701–710. doi:10.1016/j.psc.2010.04.006. PMC 2898899. PMID 20599141.
  45. 45.0 45.1 Felder, J. N.; Dimidjian, S.; Segal, Z. (2012). "Collaboration in Mindfulness-Based Cognitive Therapy". Journal Of Clinical Psychology. 68 (2): 179–186. doi:10.1002/jclp.21832.
  46. Ma, S. H.; Teasdale, J. D. (2004). "Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression: Replication and Exploration of Differential Relapse Prevention Effects". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 72 (1): 31–40. doi:10.1037/0022-006x.72.1.31.
  47. Jennifer C Plumb, Ian Stewart, Galway JoAnne Dahl, Tobias Lundgren (Spring 2009). "In Search of Meaning: Values in Modern Clinical Behavior Analysis". Behav Anal. 32 (1): 85–103. PMC 2686995. PMID 22478515.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  48. Hayes, Steven. "Acceptance & Commitment Therapy (ACT)". ContextualPsychology.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  49. Zettle, Robert D. (2005). "The Evolution of a Contextual Approach to Therapy: From Comprehensive Distancing to ACT". International Journal of Behavioral Consultation and Therapy. 1 (2): 77–89. doi:10.1037/h0100736.
  50. Murdock, N. L. (2009). Theories of counseling and psychotherapy: A case approach. Upper Saddle River, N.J: Merrill/Pearson.
  51. "Getting in on the Act - The Irish Times - Tue, Jun 07, 2011". The Irish Times. 2011-06-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-16.
  52. 52.0 52.1 Linehan, Marsha (1993). Cognitive-Behavioral Treatment of Borderline Personality Disorder. Guilford Press. ISBN 9781606237786.
  53. Apsche JA, DiMeo L (2010). Mode Deactivation Therapy for aggression and oppositional behavior in adolescents: An integrative methodology using ACT, DBT, and CBT. Oakland, CA: New Harbinger. ISBN 978-1608821075.
  54. Swart, Joan; Apsche, Jack A. (2014). "Family mode deactivation therapy (FMDT) mediation analysis" (PDF). International Journal of Behavioral Consultation and Therapy.
  55. McCracken, L.; Gauntlett-Gilbert, J.; Vowles, K.E. (2007). "The role of mindfulness in a contextual cognitive-behavioral analysis of chronic pain-related suffering and disability". Pain. 131 (1): 63–69. doi:10.1016/j.pain.2006.12.013. PMID 17257755.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  56. 56.0 56.1 Hofmann, S.G.; Sawyer, A.T.; Witt, A.A.; Oh, D (2010). "The effect of mindfulness-based therapy on anxiety and depression: A meta-analytic review". J Consult Clin Psychol. 78 (2): 169–83. doi:10.1037/a0018555. PMC 2848393. PMID 20350028.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  57. Melemis, Steven M. (2008). Make Room for Happiness: 12 Ways to Improve Your Life by Letting Go of Tension. Better Health, Self-Esteem and Relationships. Modern Therapies. pp. 141–157. ISBN 978-1-897572-17-7.
  58. Williamsm, J.M.G.; Duggan, D.S.; Crane, C.; Fennell, M.J.V. (2006). "Mindfulness-Based cognitive therapy for prevention of recurrence of suicidal behavior". J Clin Psychol. 62 (2): 201–210. doi:10.1002/jclp.20223. PMID 16342287.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  59. Bell, L. G. (2009). "Mindful Psychotherapy". J. of Spirituality in Mental Health. 11 (1–2): 126–144. doi:10.1080/19349630902864275.
  60. "Gestalt theory concepts". สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
  61. "Adaptation Practice (AP) Mindfulness Practice and Meditation in The Times". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  62. Garvey, Anne (2004-05-04). "Depressed? Go and clean the kitchen". The Guardian. London.
  63. Haidt, Jonathan (2005). The Happiness Hypothesis: Finding Modern Truth in Ancient Wisdom. New York: Basic Books. pp. 35–43. ISBN 978-0465028023.
  64. "Mindfulness relaxation". NCI Dictionary of Cancer Terms. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22. A type of meditation based on the concept of being “mindful,” or having increased awareness, of the present. It uses breathing methods, guided imagery, and other practices to relax the body and mind and help reduce stress.
  65. "Ways to Measure Mindfulness". Mindfulness Research Guide. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  66. Rapgay, Lobsang; Bystrisky, Alexander (2009). "Classical Mindfulness". Annals of the New York Academy of Sciences. 1172 (1): 148–62. doi:10.1111/j.1749-6632.2009.04405.x. PMID 19735247.
  67. "Mindfulness Research Monthly, Volume 1, Number 5" (PDF).
  68. Seaberg, Maureen. "Can Meditation Cure Disease?". The Daily Beast.
  69. Khoury, B.; Lecomte, T.; Fortin, G.; และคณะ (August 2013). "Mindfulness-based therapy: a comprehensive meta-analysis". Clin Psychol Rev (Meta-analysis). 33 (6): 763–71. doi:10.1016/j.cpr.2013.05.005. PMID 23796855.
  70. "Mindfulness-based therapy: a comprehensive meta-analysis", Database of Abstracts of Reviews of Effects, Centre for Reviews and Dissemination, 2013-11-29
  71. 71.0 71.1 71.2 71.3 71.4 71.5 71.6 71.7 PMID 24395196 (PMID 24395196)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand Full Article PDF (2.3 MB)
  72. "How convincing is the science driving the popularity of mindfulness meditation? A Brown University researcher has some surprising answers". tricycle.com. Meditation Nation Blog. 2014-04-25. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.
  73. "Research Spotlight: Mindfulness Meditation Is Associated With Structural Changes in the Brain". NCCAM. 2011-01-30.
  74. Zeidan, F.; Grant, J.A.; Brown, C.A.; McHaffie, J.G.; Coghill, R.C. (June 2012). "Mindfulness meditation-related pain relief: Evidence for unique brain mechanisms in the regulation of pain". Neuroscience Letters. 520 (2): 165–173. doi:10.1016/j.neulet.2012.03.082.
  75. Jensen, Mark P.; Day, Melissa A.; Miró, Jordi (2014-02-18). "Neuromodulatory treatments for chronic pain: efficacy and mechanisms". Nature Reviews Neurology. 10 (3): 167–178. doi:10.1038/nrneurol.2014.12.
  76. Malinowski, Peter (2013). "Neural mechanisms of attentional control in mindfulness meditation". Frontiers in Neuroscience. 7. doi:10.3389/fnins.2013.00008.
  77. "Meditation". American Cancer Society. Nov 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-23. สืบค้นเมื่อ Aug 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  78. Merluzzi, A. (2014). "Breaking Bad Habits". APS Observer. 27 (1).
  79. 79.0 79.1 Zgierska, A; Rabago, D; Chawla, N; Kushner, K; Koehler, R; Marlatt, A (2009). "Mindfulness meditation for substance use disorders: a systematic review". Subst Abus (Systematic review). 30 (4): 266–94. doi:10.1080/08897070903250019. PMC 2800788. PMID 19904664.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  80. 80.0 80.1 "Mindfulness and Integrative Psychotherapy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-19. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
  81. Pickert, Kate (2014-01-23). "The Mindful Revolution: Finding Peace in a Stressed-Out, Digitally Dependent Culture May Be Just a Matter of Thinking Differently". Time.
  82. Teasdale, John D. (1999). "Metacognition, Mindfulness and the Modification of Mood Disorders" (PDF). Psychiatric journal (PDF). Clinical Psychology and Psychotherapy. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-29. สืบค้นเมื่อ 2012-11-27.
  83. Tang, Yi-Yuan; Posner, Michael I. (2013). "Tools of the trade: theory and method in mindfulness neuroscience". Oxford Journals: Social Cognitive and Affective Neuroscience. 8 (1): 118–120. doi:10.1093/scan/nss112. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
  84. 84.0 84.1 Wallace, B. Alan (2006). The attention revolution: Unlocking the power of the focused mind. Boston: Wisdom Publications. ISBN 0-86171-276-5.
  85. 85.0 85.1 Chiesa, Alberto. "The Difficulty of Defining Mindfulness: Current Thought and Critical Issues". Mindfulness. 4 (3): 255–268. doi:10.1007/s12671-012-0123-4.
  86. 86.0 86.1 86.2 Rosch, Eleanor (2007). "More than mindfulness: When you have a tiger by the tail, let it eat you". Psychological Inquiry. 18 (4): 258–264. doi:10.1080/10478400701598371. ISSN 1047-840X.
  87. Mikulas, William L. (2007). "Buddhism & western psychology: fundamentals of integration". Journal of Consciousness Studies. 14 (4): 4–49. ISSN 1355-8250.

แหล่งความรู้อื่น ๆ

[แก้]
  • Black, David S. (n.d.), A Brief Definition of Mindfulness (PDF)
  • Bowen, S., Chawla, N., Marlatt, G.A. (2010). Mindfulness-Based Relapse Prevention for Addictive Behaviors: A Clinician's Guide. Guilford Press, ISBN 978-1-60623-987-2
  • Brantley, Jeffrey (2007). Calming Your Anxious Mind: How Mindfulness & Compassion Can Free You from Anxiety, Fear, & Panic. 2nd ed. New Harbinger. ISBN 978-1-57224-487-0.
  • Bernhard J., Kristeller J., Kabat-Zinn J. (1988). "Effectiveness of relaxation and visualization techniques as an adjunct to phototherapy and photochemotherapy of psoriasis". J. Am. Acad. Dermatol. 19 (3): 572–73. doi:10.1016/S0190-9622(88)80329-3.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Deckersbach, T., Hölzel, B., Eisner, L., Lazar, S.W., Nierenberg, A.A. (2014). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Bipolar Disorder. Guilford Press, ISBN 978-1-4625-1406-9
  • Didonna, Fabrizio (2008), Clinical Handbook of Mindfulness, Springer Science & Business Media
  • Gehart, Diane R. (2012), Mindfulness and Acceptance in Couple and Family Therapy, Springer Science & Business Media
  • Germer, Christopher K. (2005), Mindfulness. What Is It? What does It Matter? In: Christopher K. Germer, Ronald D. Siegel, Paul R. Fulton, "Mindfulness and Psychotherapy", Guilford Press
  • Germer, C.K. (2009). The Mindful Path to Self-Compassion: Freeing Yourself from Destructive Thoughts and Emotions. Guilford Press, ISBN 978-1-59385-975-6
  • Germer, C.K., Siegel, R., Fulton, P.R., eds. (2013). Mindfulness and Psychotherapy: Second Edition. Guilford Press, ISBN 978-1-4625-1137-2
  • Germer, Christopher K., Ronald Siegel, Paul R. Fulton (2005), Mindfulness and Psychotherapy, The Guilford Press, ISBN 1-59385-139-1 ( The use of mindfulness in psychology, and the history of mindfulness )
  • Hayes, S.C.; Follette, V.M.; Linehan, M.M., eds. (2011). Mindfulness and Acceptance: Expanding the Cognitive-Behavioral Tradition. Guilford Press, ISBN 978-1-60918-989-1
  • Hick, Steven F. (2010), Cultivating Therapeutic Relationships: The Role of Mindfulness. In: Steven F. Hick, Thomas Bien (eds.), "Mindfulness and the Therapeutic Relationship", Guilford Press
  • Ihnen, Anne; Flynn, Carolyn (2008), The Complete Idiot's Guide to Mindfulness, Penguin
  • Kabat-Zinn J (1982). "An out-patient program in Behavioral Medicine for chronic pain patients based on the practice of mindfulness meditation: Theoretical considerations and preliminary results". Gen. Hosp. Psychiatry. 4 (1): 33–47. doi:10.1016/0163-8343(82)90026-3. PMID 7042457.
  • Kabat-Zinn, Jon (1990). Full Catastrophe Living: Using the Wisdom of Your Body and Mind to Face Stress, Pain, and Illness. Dell.
  • Kabat-Zinn, Jon (2005). Coming to Our Senses: Healing Ourselves and the World Through Mindfulness. Hyperion.
  • Kabat-Zinn J., Chapman-Waldrop A. (1988). "Compliance with an outpatient stress reduction program: rates and predictors of completion". J.Behav. Med. 11 (4): 333–352. doi:10.1007/BF00844934. PMID 3070046.
  • Kabat-Zinn J. Chapman, Salmon P. (1997). "The relationship of cognitive and somatic components of anxiety to patient preference for alternative relaxation techniques". Mind/ Body Medicine. 2: 101–109.
  • Kabat-Zinn J., Lipworth L., Burney R. (1985). "The clinical use of mindfulness meditation for the self-regulation of chronic pain". J. Behav. Med. 8 (2): 163–190. doi:10.1007/BF00845519. PMID 3897551.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Kabat-Zinn J., Lipworth L., Burney R., Sellers W. (1986). "Four year follow-up of a meditation-based program for the self-regulation of chronic pain: Treatment outcomes and compliance". Clin. J.Pain. 2 (3): 159–173. doi:10.1097/00002508-198602030-00004.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Kabat-Zinn J., Massion A.O., Kristeller J., Peterson L.G., Fletcher K., Pbert L., Linderking W., Santorelli S.F. (1992). "Effectiveness of a meditation-based stress reduction program in the treatment of anxiety disorders". Am. J Psychiatry. 149 (7): 936–943. doi:10.1176/ajp.149.7.936. PMID 1609875.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Kabat-Zinn, J.; Wheeler, E.; Light, T.; Skillings, A.; Scharf, M.S.; Cropley, T. G.; Hosmer, D.; Bernhard, J. (1998). "Influence of a mindfulness-based stress reduction intervention on rates of skin clearing in patients with moderate to severe psoriasis undergoing phototherapy (UVB) and photochemotherapy (PUVA)". Psychosomat Med. 60 (5): 625–632. doi:10.1097/00006842-199809000-00020. PMID 9773769.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Kapleau, Phillip (1989). The Three Pillars of Zen: Teaching, Practice and Enlightenment. Anchor Books.
  • Kristeller, Jean L. (2007), Mindfulness Meditation. In: Paul M. Lehrer, Robert L. Woolfolk, Wesley E. Sime (eds.), "Principles and Practice of Stress Management, Third Edition", Guilford Press
  • Langer, Ellen J. (1989). Mindfulness. Merloyd Lawrence.
  • Massion, A.O.; Teas, J.; Hebert, J.R.; Wertheimer, M.D.; Kabat-Zinn, J. (1995). "Meditation, melatonin, and breast/prostate cancer: Hypothesis and preliminary data". Medical Hypotheses. 44 (1): 39–46. doi:10.1016/0306-9877(95)90299-6. PMID 7776900.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • McMahan, David L. (2008), The Making of Buddhist Modernism, Oxford University Press, ISBN 9780195183276
  • Miller J., Fletcher K., Kabat-Zinn J. (1995). "Three-year follow-up and clinical implications of a mindfulness-based stress reduction intervention in the treatment of anxiety disorders". Gen. Hosp. Psychiatry. 17 (3): 192–200. doi:10.1016/0163-8343(95)00025-M. PMID 7649463.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Nemcova, M. and Hajek, K. (2009). Introduction to Satitherapy - Mindfulness and Abhidhamma Principles in Person-Centered Integrative Psychotherapy. Morrisville, Lulu.com. ISBN 978-1-4092-5900-8
  • Ockene, J.K.; Ockene, I.S.; Kabat-Zinn, J.; Greene, H.L.; Frid, D. (1990). "Teaching risk-factor counseling skills to medical students, house staff, and fellows". Am. J. Prevent. Med. 6 (2): 35–42.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Ockene, J.; Sorensen, G.; Kabat-Zinn, J.; Ockene, I.S.; Donnelly, G. (1988). "Benefits and costs of lifestyle change to reduce risk of chronic disease". Preventive Medicine. 17 (2): 224–234. doi:10.1016/0091-7435(88)90065-5. PMID 3047727.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Orsillo, S.M., Roemer, L. (2011). The Mindful Way through Anxiety: Break Free from Chronic Worry and Reclaim Your Life. Guilford Press, ISBN 978-1-60623-464-8
  • Pollak, S.M., Pedulla, T., Siegel, R.D. (2014). Sitting Together: Essential Skills for Mindfulness-Based Psychotherapy. Guilford Press, ISBN 978-1-4625-1398-7
  • Saxe, G.; Hebert, J.; Carmody, J.; Kabat-Zinn, J.; Rosenzweig, P.; Jarzobski, D.; Reed, G.; Blute, R. (2001). "Can Diet, in conjunction with Stress Reduction, Affect the Rate of Increase in Prostate-specific Antigen after Biochemical Recurrence of Prostate Cancer?". J. Of Urology. 166 (6): 2202–2207. doi:10.1016/S0022-5347(05)65535-8.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Segal, Z.V.; Williams, J.M.G.; Teasdale, J.D. (2012). Mindfulness-Based Cognitive Therapy for Depression: Second Edition. Guilford Press, ISBN 978-1-4625-0750-4
  • Sharf, Robert H. (1995), "Buddhist Modernism and the Rhetoric of Meditative Experience" (PDF), NUMEN, vol.42 (1995), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-12, สืบค้นเมื่อ 2015-04-22
  • Siegel, Daniel J. (2007). The Mindful Brain: Reflection and Attunement in the Cultivation of Well-Being. Norton. ISBN 978-0-393-70470-9.
  • Siegel, R.D. (2009). The Mindfulness Solution: Everyday Practices for Everyday Problems. Guilford Press, ISBN 978-1-60623-294-1
  • Teasdale, John D.; Segal, Zindel V. (2007), The Mindful Way Through Depression: Freeing Yourself from Chronic Unhappiness, Guilford Press
  • Teasdale, J.D.; Williams, J.M.G.; Segal, Z.V (2014). The Mindful Way Workbook: An 8-Week Program to Free Yourself from Depression and Emotional Distress. Guilford Press, ISBN 978-1-4625-0814-3
  • Williams, Mark; Teasdale, John; Segal, Zindel; Kabat-Zinn, Jon (2007). The Mindful Way through Depression: Freeing Yourself from Chronic Unhappiness. Guilford Press. ISBN 978-1-59385-128-6.
  • Williams, J.M.G.; Teasdale, J.D.; Segal, Z.V.; Kabat-Zinn, J (2007). The Mindful Way through Depression: Freeing Yourself from Chronic Unhappiness. Guilford Press, ISBN 978-1-59385-128-6
  • Zgierska, A; Rabago, D; Chawla, N; Kushner, K; Koehler, R; Marlatt, A (2009), "Mindfulness meditation for substance use disorders: a systematic review", Subst Abus (Systematic review), 30 (4): 266–94, doi:10.1080/08897070903250019, PMC 2800788, PMID 19904664{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)


เว็บอื่น ๆ

[แก้]