ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sopheaklim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 84: บรรทัด 84:
# หม่อมดวงมุนีรักส์ (อุส) ({{lang|km|ម៉ម ឌួងមុនីរក្ស អុស}})
# หม่อมดวงมุนีรักส์ (อุส) ({{lang|km|ម៉ម ឌួងមុនីរក្ស អុស}})
#* พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ ดวงชีวิน ({{lang|km|ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ ឌួងជីវិន}})
#* พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ ดวงชีวิน ({{lang|km|ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ ឌួងជីវិន}})
# พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ นารีปุมงา ({{lang|km|ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ នារីពុំងា}})
# พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ นารีปุงา ({{lang|km|ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ នារីបូង៉ា}})


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:15, 6 มกราคม 2563

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
ไฟล์:Preah Bat Sisowath Monivong.jpg
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
ครองราชย์9 สิงหาคม ค.ศ. 1927 – 24 เมษายน ค.ศ. 1941
ราชาภิเษก20 กรกฎาคม ค.ศ. 1928
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
ประสูติ27 ธันวาคม ค.ศ. 1875
พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล
พนมเปญ, กัมพูชา
สวรรคต24 เมษายน ค.ศ. 1941
พนมโบกอ กัมพูชา
คู่อภิเษกนโรดม กานวิมาน นรลักข์เทวี (อภิเษก 1894; สิ้นพระชนม์ 1912)
พระราชบุตรสีสุวัตถิ์ พิณเรศ
สีสุวัตถิ์ เทเวศเรืองศรี
สีสุวัตถิ์ สารีเลศลักษณ์
สีสุวัตถิ์ กุสุมะ
สีสุวัตถิ์ นารีรักข์
สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ
สมเด็จกรมหลวงสีสุวัตถิ์ มุนีพงศ์
ราชวงศ์ราชสกุลสีสุวัตถิ์
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระราชมารดาพระวรราชินี (วัน)
ศาสนาศาสนาพุทธ
ไฟล์:Sa Majesté Sisowath Monivong.jpg
พระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ทรงเป็นแบบให้นักวาดภาพสีน้ำมันชาวฝรั่งเศส Mascré-Souville

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ (เขมร: ព្រះបាទស៊ីសុវតិ្ថមុនីវង្ស) เอกสารไทยในบางแห่งเรียกว่า สมเด็จพระศรีสวัสดิ์มณีวงศ์[1] เสด็จพระราชสมภพเมี่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2414 ที่พนมเปญ และเสด็จสวรรคตเมี่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2484 [2] ทรงเป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 4 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เป็นพระราชโอรสองค์รองของ พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ (นักองสีสุวัตถิ์) กษัตริย์แห่งกัมพูชาองค์ที่ 3 ทรงศึกษาที่โรงเรียนอาณานิคมและโรงเรียนทหารบกที่ซังแม็จซ็อง เมื่อจบการศึกษา ทรงได้รับยศเป็นร้อยตรีสังกัดกองทหารในฝรั่งเศส[3] เสด็จกลับกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2452 ได้เป็นผู้บัญชาการทหาร ทรงขึ้นครองราชย์เมี่อพ.ศ. 2470

พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชายุคใหม่
สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี
พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 1)
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ครั้งที่ 2)
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี

ผลงาน

ผลงานด้านวรรณกรรมของพระองค์คือ เอกสหัสราตรี ทรงประพันธ์เป็นคำกาพย์ มีลักษณะคล้ายนิราศ เพื่อเล่าเรื่องราวที่เสด็จทอดพระเนตรเห็นในต่างประเทศ โดยเฉพาะในดินแดนอาหรับ[3]

พระชายา

พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ โปรดและพอพระราชหฤทัยที่จะถูกห้อมล้อมด้วยพระชายาและพระสนมจำนวนมากมาย รวมถึงนางรำด้วย โดยพระองค์มีพระสนมที่เป็นนางรำชาวไทยหนึ่งพระองค์ คือ นางสาวแพน เรืองนนท์ ภายหลังถูกตั้งเป็นเจ้าจอมสีสุวัตถิ์ อำไพพงศ์ (Chao Chom Srivasti Amphaibongse) ต่อมาเธอได้ถูกออกจากราชสำนัก โดยทางกงสุลฝรั่งเศสในไทยได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ความว่า "กษัตริย์สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ แห่งกัมพูชา ทรงไม่พอพระพระทัยและปฏิเสธข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและไร้สาระจากการให้สัมภาษณ์ของบิดาของนางสาวแพน จึงทรงบัญชาให้ส่งตัวนางสาวแพนกลับกรุงเทพโดยทันที" โดยนางสาวแพนได้กลับมาในวันรุ่งขึ้น และไม่มีโอกาสได้กลับไปยังราชสำนักกัมพูชาอีกเลย[4]

กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสและการสวรรคต

ไฟล์:Monivon1931.gif
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์

หลังจากเกิดเหตุการณ์กรณีพิพาทอินโดจีนถือเป็นคราวที่กัมพูชาเสียดินแดนพระตะบอง, เสียมราฐ และศรีโสภณในปี ค.ศ. 1941 แม้ว่าฝรั่งเศสจะไม่ยอมคืนนครวัดให้แก่ไทยก็ตาม แต่ก็เทียบไม่ได้กับดินแดนขนาดใหญ่ที่สูญเสียไป[5] ด้วยเหตุนี้พระองค์ก็ทรงขัดเคืองและขมขื่นพระหฤทัยเป็นอันมาก ทรงปฏิเสธที่จะพบเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสและไม่รับสั่งภาษาฝรั่งเศสอีกเลย[6] เพราะทรงเห็นว่าฝรั่งเศสไม่สามารถปกป้องดินแดนของพระองค์ไว้ได้ จนกระทั่งทิวงคตในเดือนเมษายนปีเดียวกันนั้น มีนักประวัติศาสตร์ชาวกัมพูชาคนหนึ่งบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ว่า "โดยเจ็บพระทัยกับการแย่งชิงของสยามนี้ พระสุขภาพต้องทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว แล้วพระบาทสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์เสวยทิวงคต"[7]

แต่ธิบดี บัวคำศรี ให้ความเห็นว่า "ข้อที่ว่าการเสียดินแดนเป็นเหตุให้สมเด็จพระสีสุวัตถิ์ [มุนีวงศ์] ทรงตรมพระทัยถึงแก่สุรคุตนั้นจะจริงเท็จประการใดอาจไม่สำคัญเท่ากับการชี้ให้เห็นว่า ไม่เฉพาะแต่กษัตริย์เท่านั้น ชั้นแต่ไพร่ฟ้าพลเมืองก็ให้ความสำคัญต่อ "ดินแดน" ที่สูญเสียไปอย่างมาก"[8]

หลังจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2484 องค์รัชทายาท คือ สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศ พระราชโอรส ไม่ได้เป็นกษัตริย์สืบต่อมา เนื่องจากวิชีฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองเขมรอยู่ในขณะนั้น ได้คัดเลือกให้ หม่อมราชวงศ์นโรดม สีหนุ ซึ่งเป็นพระนัดดาที่ประสูติจาก พระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิริวัฒนา พระราชธิดาของพระองค์และเป็นเหลนของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ขึ้นครองราชย์แทน เนื่องจากฝรั่งเศสเห็นว่าบังคับบัญชาง่ายกว่า ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์กลับไปยังสายของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร หรือ นักองราชาวดีอีกครั้งหนึ่ง[9]

พระชายาและพระราชบุตร

  1. สมเด็จพระอัคคมเหสี มหากษัตรี นโรดม กาญจนวิมาน นรลักขณเทวี (​សម្តេចព្រះអគ្គមហេសី​​ មហាក្សត្រី នរោត្តម កាញ្ចនវិមាន នរល័ក្ខណទេវី)
    • สมเด็จพระเรียมสีสุวัตถิ์ ถาเวตรุงสี นารีวงส์ (​សម្តេចព្រះរៀម​ ស៊ីសុវត្ថិ ថាវេតរុង្ស៊ី នារីវង្ស)
    • สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา (​សម្តេច​ព្រះមហាក្សត្រីយានី ស៊ីសុវត្ថិ កុសុមៈ នារីរត្នន៍ សិរី​វឌ្ឍនា)
    • สมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเร็ต (​សម្តេច​ក្រុម​ព្រះ ស៊ីសុវត្ថិ មុនីរ៉េត)
    • สมเด็จกรมหลวงสีสุวัตถิ์ มุนีพงส์ (​សម្តេចក្រុមហ្លួង ស៊ីសុវត្ថិ មុនីពង្ស)
  2. หม่อมเจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ สีสุดา (​អ្នកអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ ស៊ីសុដា)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ สุดารังสี (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ សុដារង្សី)
  3. นักนางคึม หู (អ្នកម្នាង គឹម ហូ)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีชาติ (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ មុនីជាតិ)
  4. คุณพระนางสุวัตถิ์โฉมนรลักข์ (มาฆ) (ឃុនព្រះមែនាង សុវត្ថិឆោមនរលក្ខ័ មាឃ)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ กุสรักส์ (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ កុសរក្ស)
  5. คุณพระนางบุบผานรลักขบวร (เสาขน) (ឃុនព្រះម្នាង បុប្ផានរក្ខ័បវរ សៅខន)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงส์ดารัก (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ ពង្សដារ៉ាក់)
  6. คุณพระนางอนงคลักขณา (บาน เย็น) (ឃុនព្រះម្នាង អនង្គលក្ខិណា បាន យ៉េន)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ วงส์มุนี (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ វង្សមុនី)
  7. คุณพระนางบุบผานรลักข์ (ยิน ตาต) (ឃុន​ព្រះម្នាង​ ​បុប្ផា​នរល័ក្ខ​ យិន តាត)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีเกสร (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ មុនីកេសន)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ สามานวรพงส์ (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ​ សាមានវរពង្ស)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ วงส์ชีวันต์ (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ វង្សជីវន្ត័)
    • สมเด็จสีสุวัตถิ์ ชีวันต์มุนีรักส์ (សម្តេច ស៊ីសុវត្ថិ ជីវន្ត័​មុនីរក្ស)
  8. คุณพระนางเกสรมาลี (ณาต) (ឃុនព្រះម្នាង កេសរមាលី ណាត)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ ពង្សានមុនី)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีลักขณา (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ មុនីលក្ខណា)
  9. คุณพระนางนารีเกสร (ยึง เตรียง) (ឃុនព្រះម្នាង នារីកេសរ យឹង ត្រយ៉ង់)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ รินทรมุนี (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ រិន្រ្ទមុនី)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ มุนีชีวัน (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ មុនីជីវ័ន្ត)
  10. คุณพระนางนารินทรเกตสร (อุล) (ឃុនព្រះម្នាង នារិន្រ្ទកេតសរ អុល)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ รัตน์มุนี (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ រត្នន៏មុនី)
  11. คุณพระนางบวรมาลี (พง) (អ្នកម្នាង បវរមាលី ពាង)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ สามันรักส์ (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ សាម៉ានរក្ស)
  12. คุณพระนางนารีบุบผา (ภาพ) (អ្នកម្នាង នារីបុប្ផា ភាព)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ สุภาพนารี (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ សុភាពនារី)
  13. นักนางกานีน (អ្នកម្នាង កានីន)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ พวงมุนี (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ ភួងមុនី)
  14. นักนางฉวีเกสร (สามู) (អ្នកម្នាង ឆវីកេសរ សាមូ)
    • พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ โลมาเกสร (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ លោមាកេសរ)
  15. หม่อมดวงมุนีรักส์ (อุส) (ម៉ម ឌួងមុនីរក្ស អុស)
    • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ ดวงชีวิน (ព្រះអង្គម្ចាស់ ស៊ីសុវត្ថិ ឌួងជីវិន)
  16. พระองค์เจ้าหญิงสีสุวัตถิ์ นารีปุงา (ព្រះអង្គម្ចាស់ក្សត្រីយ៏ ស៊ីសុវត្ថិ នារីបូង៉ា)

อ้างอิง

  1. คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 17.
  2. HM King SISOWATH MONIVONG
  3. 3.0 3.1 บัญญัติ สาลี. วรรณกรรมเขมรปัจจุบัน. มหาสารคาม. อภิชาตการพิมพ์. 2551
  4. กษัตริย์กัมพูชา นางละครสยาม และข่าวที่ถูกห้ามเขียน
  5. ธิบดี บัวคำศรี. "พงศาวดารกัมพูชาที่แปรชำระและที่นิพนธ์เป็นภาษาไทย ระหว่าง พ.ศ. 2339-2459 กับหน้าที่ที่มีต่อชนชั้นปกครองไทย" ใน โคลนไม่ติดล้อ คนไม่ติดกรอบ. กรุงเทพฯ:ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. หน้า 74-81
  6. David P. Chandler. "Cambodian Palace Chronicles (rajabongsavatar). 1927-1949 : Kingship and Historiography at the End of Colonial Era" in Facing the Cambodian Past : Selected Essays 1971-1994. 2nd edition. Chiang Mai: Silkworm Book. 1996. p 194
  7. ตรึง เงีย. ประวัติศาสตร์กัมพูชา ภาค 2, หน้า 190 (เขมร)
  8. ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 47
  9. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, ตำนานชื่อบ้านเมือง, สกุลไทย, ฉบับที่ 2604, ปีที่ 50, ประจำวันอังคารที่ 14 กันยายน 2547
ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
(ราชสกุลสีสุวัตถิ์)

(9 สิงหาคม พ.ศ. 2470 - 24 เมษายน พ.ศ. 2484)
พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ