ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 91: บรรทัด 91:
{{คู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก}}
{{คู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก}}
{{คู่สมรสของกษัตริย์ในปัจจุบัน}}
{{คู่สมรสของกษัตริย์ในปัจจุบัน}}
[[หมวดหมู่:เจ้าชายพระราชสวามี]]


{{เรียงลำดับ|เฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี}}
{{เรียงลำดับ|เฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:15, 12 กันยายน 2560

เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี
เจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก
ประสูติ11 มิถุนายน พ.ศ. 2477 (89 พรรษา)
ตาลงส์, แคว้นกีรงด์, ประเทศฝรั่งเศส
พระราชบุตรเจ้าชายเฟรเดอริก
เจ้าชายโจอาคิม
พระนามเต็ม
อ็องรี มารี ฌ็อง อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา
ราชวงศ์ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา
กลอสเบิร์ก
พระราชบิดาเคานต์อังเดร เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา
พระราชมารดาเรอเน ดูร์เซโน

เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี[1] ในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (พระนามเต็ม: อ็องรี มารี ฌ็อง อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา; 11 มิถุนายน พ.ศ. 2477) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระองค์ประสูติที่เมืองตาลงซ์ แคว้นกีรงด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นโอรสในเคาต์อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา และเรอเน ดูร์เซโน อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ในขณะที่มีพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงผู้เป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก

ต้นพระชนม์ชีพ

เจ้าชายเฮนริกเสด็จพระราชสมภพที่เมืองตาลงซ์ แคว้นกีรงด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสในเคาต์อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา กับเรอเน ดูร์เซโน พระองค์ทรงเข้ารีตคริสตจักรโรมันคาทอลิก

พระองค์ทรงใช้ชีวิตช่วงต้น 5 ปีในอินโดจีนของฝรั่งเศสซึ่งขณะนี้คือประเทศเวียดนามที่ซึ่งพระบิดาของพระองค์ถูกกล่าวหาเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ทรงกลับมายังฮานอยในปี พ.ศ. 2493 ทรงศึกษาที่นั่นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2495 ในระหว่างปี พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2500 พระองค์ทรงศึกษาด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์พร้อมกันที่มหาวิทยาลัยปารีสในกรุงปารีสและศึกษาภาษาจีนและเวียดนามที่ แองสติตู นาซิองนาล เด ล้องก์ เอ ซิวิซาซิอง ออคเคียงตาล (Institut national des langues et civilisations orientales) พระองค์ยังทรงศึกษาที่ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2500 และไซ่ง่อนในปี พ.ศ. 2501

หลังจากทรงเข้าร่วมกองทัพฝรั่งเศส ในสงครามแอลจีเรียระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2505 ในปี พ.ศ. 2505 ทรงเข้าร่วมกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศสและทรงเป็นเลขาธิการทูตในกรุงลอนดอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2510

อภิเษกสมรส

ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510 พระองค์อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธอ ผู้เป็นรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก ที่โบสถ์แห่งโคเปนเฮเกน พระนามของพระองค์จึงต้องเปลี่ยนเป็นภาษาเดนมาร์กคือ เฮนริก

เจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก

เมื่อทรงได้พระอิสริยยศเป็นเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก ซึ่งก่อนการอภิเษกสมรสพระองค์ทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์จากการอนุญาตของสันตะสำนัก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาในพระมเหสีของพระองค์ เสด็จสวรรคต พระมเหสีจึงเสด็จครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระองค์จึงได้รับการสถาปนาที่ เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี

พระราชโอรส

สมเด็จพระราชินีนาถและเจ้าฟ้าชายมีพระโอรส 2 พระองค์ดังนี้

ภาษาของเจ้าชายเฮนริกคือภาษาฝรั่งเศส ทำให้พระองค์ต้องเรียนรู้ภาษาเดนมาร์กหลังการอภิเษกสมรส แต่พระองค์สามารถพูดภาษาจีน เวียดนาม อังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว

ในปี พ.ศ. 2549 นิตยสารของเดนมาร์กชื่อ Ud&Se ได้ลงบทสัมภาษณ์ของเจ้าชายเฮนริก ที่ซึ่งทรงเล่าเกี่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยง อาหาร พระชนม์ชีพวัยเยาว์ในเวียดนามและเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย บางครั้งพระองค์ทรงกล่าวถึงการเคยเสวยเนื้อสุนัขที่นั่น ทำให้หนังสือพิมพ์ต่าง ๆ พาดหัวข่าวไว้ว่า "เจ้าชายเฮนริกเสวยสุนัข" และทำให้การบริโภคเนื้อสุนัขเป็นที่นิยม[ต้องการอ้างอิง]

พระราชกรณียกิจ

พระราชประสงค์ไม่ฝังพระบรมศพเคียงข้างสมเด็จพระราชินีนาถผู้เป็นพระมเหสี

กรณีเจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก กับความขัดแย้งในธรรมเนียมพระราชสำนัก ทรงปฏิเสธในการฝังพระบรมศพเคียงข้างสมเด็จพระราชินีนาถ สำนักพระราชวังของเดนมาร์กได้ออกแถลงการณ์ว่า จากการที่เจ้าชายเฮนริก พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธ่ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงเปลี่ยนแผนในการฝังพระบรมศพของพระองค์เอง ซึ่งสำนักพระราชวังมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าในอนาคต โดยได้ทรงพระราชดำริว่า จะไม่มีพระราชประสงค์ในการฝังพระบรมศพเคียงข้างสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งได้มีการเตรียมการไว้ ณ สุสานหลวง วิหารโรสกิลด์ เมืองโรสกิลด์ ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถ ทรงพระราชปรารภยอมรับการตัดสินพระราชหฤทัยของพระราชสวามี ทั้งนี้ การวางแผนและเตรียมการพระราชพิธีพระบรมศพ หรือพระศพ เป็นธรรมเนียมของราชสำนักยุโรป เมื่อเข้าสู่ปลายพระชนม์ชีพ ในการเตรียมขั้นตอนพระราชพิธี สถานที่ รวมถึงป้ายโลงพระบรมศพ เป็นต้น สำนักข่าวในยุโรป รวมทั้งเดนมาร์ก ต่างรายงานข่าวและวิจารณ์ถึงเหตุผลการตัดสินพระราชหฤทัยในครั้งนี้ เกิดจากการที่ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยในพระราชอิสริยยศที่ทรงถืออยู่ ต่างรายงานว่า ประชาชนต่างทราบดีว่าเจ้าชายเฮนริกอยากเป็นกษัตริย์ และไม่ทรงพอพระราชหฤทัยที่มิได้มีพระเกียรติยศเท่าเทียมกัน อีกทั้งมีข่าวลือว่ามีพระราชประสงค์ที่จะฝังพระบรมศพพระองค์เองในแผ่นดินเกิด ณ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสำนักพระราชวังได้แถลงว่าไม่เป็นความจริงซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลของราชสำนักยุโรปนั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถ (Consort of the Queen Regnant) มิได้สถิตในพระสถานะเป็นพระประมุข และปราศจากสิทธิ์ในการสืบราชสันตติวงศ์ จะทรงดำรงพระยศ เจ้าชาย” หรือ “เจ้าชายพระราชสวามี (Prince Consort) หรือพระอิสริยศักดิ์อื่นตามแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนา

ทรงพระประชวร

สำนักพระราชวังของเดนมาร์กได้แถลงการณ์เรื่อง เจ้าชายเฮนริค พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธ่ที่ 2 เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลรีย์ส มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน โดยคณะแพทย์ได้รายงานว่า ทรงมีการตอบสนองลดลง อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางพระราชจริยาวัตร (พฤติกรรม) ด้านการตัดสินพระราชหฤทัย และพระราชปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบพระองค์ คณะแพทย์จึงได้ว่า ทรงประชวรด้วยโรคพระสมองเสื่อม จึงได้กราบบังคมทูลเชิญให้งดพระราชกรณียกิจลง อีกทั้งจะมีการพิจารณาการดำเนินงานขององค์กรต่างๆในพระราชูปถัมภ์

พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2477 - พ.ศ. 2510: เคานต์เฮนรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา
  • พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2515: เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก
  • พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน: เจ้าชายพระราชสวามี

อ้างอิง

ก่อนหน้า เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี ถัดไป
เจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก

เจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก
(14 มกราคม พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ
(เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารี)