ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แดเนียล ไบรอัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
แดเนียลสันเริ่มสัมผัสกับมวยปล้ำเป็นครั้งแรกในการแข่งขันมวยปล้ำที่สนามหลังบ้านที่มีชื่อว่า แบ็คยาร์ดแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (BCW) โดย แดเนียลสัน ได้ใช้ชื่อว่า "เดอะ แด็กเกอร์" แล้วแดเนียลสันก็ชนะได้ตำแหน่งแชมป์เฮฟวี่เวท หลังจากที่ แดเนียลสันจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี 1999 เขาได้ตัดสินใจที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพและมีความพยายามที่จะเริ่มต้นในการฝึกอบรมที่โรงเรียนสอนมวยปล้ำของ [[ดีน มาเลนโก]] แต่ฝึกได้ไม่นานนักโรงเรียนก็ต้องปิดตัวลง แต่เขาก็ได้รับการฝึกอบรมแทนจาก [[ชอว์น ไมเคิลส์]] ที่ เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี<ref name="fiery words">{{cite web|url=http://slam.canoe.ca/Slam/Wrestling/2006/09/14/1838600.html|title=Fiery words from American Dragon|date=2006-09-21|last=Clevett|first=Jason|work=Slam! Sports|publisher=[[Canadian Online Explorer]]}}</ref> แดเนียลสันเปิดตัวครั้งแรกด้วยการสนับสนุน ชอว์น ไมเคิลส์ ที่ เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี (TWA) ในวันที่ 21 มีนาคม ปี 2000 เป็นครั้งแรกที่แดเนียลสันได้แชมป์มวยปล้ำอาชีพของเขา โดยจับคู่กับ สปางกี แล้วเอาชนะแชมป์แทคทีม TWA อย่าง เจโรมี เซจ และ รูเบน ครัซ ไปได้ หลังจากนั้น แดเนียลสันก็เริ่มทีจะทัวร์ปล้ำไปรอบประเทศ แล้วไม่นานนัก แดเนียลสันก็ได้เซ็นสัญญากับสมาคม [[เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์|เวิลด์เรสต์ลิงเฟเดเรชั่น]] (WWF) หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากัน WWF ก็ได้ส่งตัวเขาไปพัฒนาและปรับแต่งทักษะก่อนที่ เมมฟิสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (MCW) ค่ายลูกของ WWF ในตอนนั้น ก่อนทีจะเริ่มเปิดตัวในรายการโทรทัศน์ของ WWF ในตอนนั้นเองที่แดเนียลสัน ได้รับการฝึกฝนจาก [[วิลเลียม รีกัล]] แล้ว แดเนียลสันก็ได้ใช้ชื่อที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นคือ "อเมริกัน ดราก้อน"<ref>{{cite web|url=http://www.wrestlingobserver.com/wo/news/headlines/default.asp?aID=21327|title=Wrestling Observer – headlines|last=Meltzer|first=Dave|authorlink=Dave Meltzer|publisher=Wrestling Observer Newsletter}}</ref>
แดเนียลสันเริ่มสัมผัสกับมวยปล้ำเป็นครั้งแรกในการแข่งขันมวยปล้ำที่สนามหลังบ้านที่มีชื่อว่า แบ็คยาร์ดแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (BCW) โดย แดเนียลสัน ได้ใช้ชื่อว่า "เดอะ แด็กเกอร์" แล้วแดเนียลสันก็ชนะได้ตำแหน่งแชมป์เฮฟวี่เวท หลังจากที่ แดเนียลสันจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี 1999 เขาได้ตัดสินใจที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพและมีความพยายามที่จะเริ่มต้นในการฝึกอบรมที่โรงเรียนสอนมวยปล้ำของ [[ดีน มาเลนโก]] แต่ฝึกได้ไม่นานนักโรงเรียนก็ต้องปิดตัวลง แต่เขาก็ได้รับการฝึกอบรมแทนจาก [[ชอว์น ไมเคิลส์]] ที่ เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี<ref name="fiery words">{{cite web|url=http://slam.canoe.ca/Slam/Wrestling/2006/09/14/1838600.html|title=Fiery words from American Dragon|date=2006-09-21|last=Clevett|first=Jason|work=Slam! Sports|publisher=[[Canadian Online Explorer]]}}</ref> แดเนียลสันเปิดตัวครั้งแรกด้วยการสนับสนุน ชอว์น ไมเคิลส์ ที่ เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี (TWA) ในวันที่ 21 มีนาคม ปี 2000 เป็นครั้งแรกที่แดเนียลสันได้แชมป์มวยปล้ำอาชีพของเขา โดยจับคู่กับ สปางกี แล้วเอาชนะแชมป์แทคทีม TWA อย่าง เจโรมี เซจ และ รูเบน ครัซ ไปได้ หลังจากนั้น แดเนียลสันก็เริ่มทีจะทัวร์ปล้ำไปรอบประเทศ แล้วไม่นานนัก แดเนียลสันก็ได้เซ็นสัญญากับสมาคม [[เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์|เวิลด์เรสต์ลิงเฟเดเรชั่น]] (WWF) หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากัน WWF ก็ได้ส่งตัวเขาไปพัฒนาและปรับแต่งทักษะก่อนที่ เมมฟิสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (MCW) ค่ายลูกของ WWF ในตอนนั้น ก่อนทีจะเริ่มเปิดตัวในรายการโทรทัศน์ของ WWF ในตอนนั้นเองที่แดเนียลสัน ได้รับการฝึกฝนจาก [[วิลเลียม รีกัล]] แล้ว แดเนียลสันก็ได้ใช้ชื่อที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นคือ "อเมริกัน ดราก้อน"<ref>{{cite web|url=http://www.wrestlingobserver.com/wo/news/headlines/default.asp?aID=21327|title=Wrestling Observer – headlines|last=Meltzer|first=Dave|authorlink=Dave Meltzer|publisher=Wrestling Observer Newsletter}}</ref>


ในปี 2001 WWF ได้ตัดขาดความสัมพันธ์กับ MCW และได้ปล่อยตัว แดเนียลสันออกจากสัญญาด้วย ซึ่งตอนนั้นเขาได้คว้าแชมป์ไลท์เฮฟวี่เวท MCW และแชมป์แทคทีม MCW ร่วมกับ สปางกี อยู่ซึ่งหลังจากที่เสียแชมป์ของ MCW แล้ว แดเนียลสันก็ได้กลับไปร่วมงานกับ WWF อีกครั้ง ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) แล้ว ซึ่งปล้ำในรายการรองอย่าง วีโลซิตี แอนด์ ฮาร์ท ในระยะแรก เป็นการเพิ่มสิทธิภาพของตัวเองจนได้รับอนุญาตให้ขึ้นปล้ำในรายการหลักๆ ได้ซึ่งแดเนียลสันก็เคยขึ้นปล้ำกับ [[จอห์น ซีนา]] ด้วยแต่ก็แพ้ไปในที่สุด<ref>{{cite web|url=http://www.onlineworldofwrestling.com/results/smackdown/030116.html|title=SmackDown! January 16, 2003|publisher=Online World of Wrestling|date=2003-01-16|accessdate=2009-07-09}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.onlineworldofwrestling.com/results/smackdown/030123.html|title=SmackDown!|date=2003-01-23|accessdate=2003-01-23|publisher=Online World of Wrestling}}</ref> หลังจากที่หมดสัญญากับ WWE แดเนียลสันได้เริ่มทัวร์ญี่ปุ่นและฝึกฝนศิลปะการป้องกันตัวแบบ Martial-Arts ร่วมกับเพื่อนที่ฝึกจาก เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี อย่าง [[แลนซ์ เคด]]<ref name="Gerweck">{{cite web|url=http://www.gerweck.net/americandragon.htm|title=Bryan Danielson|publisher=Gerweck|accessdate=2009-07-18}}</ref> และร่วมปล้ำแทคทีมคู่กันจากนั้น แดเนียลสันก็เริ่มไปปล้ำที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเต็มตัวที่ [[นิวเจแปนโปรเรสต์ลิง]] (NJPW) ใน NJPW เขาเลิกใช้ชื่อ อเมริกัน ดราก้อน แต่สวมหน้ากากที่มี สีแดง, สีขาว และ สีฟ้า ที่ซึ่งระลึกถึงชื่อนั้นแทน<ref name="Mask">{{cite web|url=http://www.onlineworldofwrestling.com/pictures/a/americandragon/07.jpg|title=Dragon mask|publisher=Online World of Wrestling|accessdate=2009-06-09}}</ref> ความสำเร็จแรกของแดเนียลสันหลังจากที่ได้รับประสบการณ์ในการปล้ำมากมายใน NJPW ในวันที่ 12 มีนาคม ปี 2004 แดเนียลสัน (ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า แซนส์ แมสก์) ก็สามารถเอาชนะ จาโด และ จีโด คว้าแชมป์จูเนียร์เฮฟวี่เวทแทคทีม IWGP คู่กับ เคอร์รี แมน ใน Hyper Battle tour<ref>{{cite web|title=NJPW Hyper Battle tour results|url=http://puroresufan.com/njpw/results/hyper01.php|publisher=Strong Style Spirit|accessdate=2007-07-08 |archiveurl = http://web.archive.org/web/20070929104623/http://puroresufan.com/njpw/results/hyper01.php <!-- Bot retrieved archive --> |archivedate = 2007-09-29}}</ref>
ในปี 2001 WWF ได้ตัดขาดความสัมพันธ์กับ MCW และได้ปล่อยตัว แดเนียลสันออกจากสัญญาด้วย ซึ่งตอนนั้นเขาได้คว้าแชมป์ไลท์เฮฟวี่เวท MCW และแชมป์แทคทีม MCW ร่วมกับ สปางกี อยู่ซึ่งหลังจากที่เสียแชมป์ของ MCW แล้ว แดเนียลสันก็ได้กลับไปร่วมงานกับ WWF อีกครั้ง ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) แล้ว ซึ่งปล้ำในรายการรองอย่าง วีโลซิตี แอนด์ ฮาร์ท ในระยะแรก เป็นการเพิ่มสิทธิภาพของตัวเองจนได้รับอนุญาตให้ขึ้นปล้ำในรายการหลักๆ ได้ซึ่งแดเนียลสันก็เคยขึ้นปล้ำกับ [[จอห์น ซีนา]] ด้วยแต่ก็แพ้ไปในที่สุด<ref>{{cite web|url=http://www.onlineworldofwrestling.com/results/smackdown/030116.html|title=SmackDown! January 16, 2003|publisher=Online World of Wrestling|date=2003-01-16|accessdate=2009-07-09}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.onlineworldofwrestling.com/results/smackdown/030123.html|title=SmackDown!|date=2003-01-23|accessdate=2003-01-23|publisher=Online World of Wrestling}}</ref> หลังจากที่หมดสัญญากับ WWE แดเนียลสันได้เริ่มทัวร์ญี่ปุ่นและฝึกฝนศิลปะการป้องกันตัวแบบ Martial-Arts ร่วมกับเพื่อนที่ฝึกจากเท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี อย่าง [[แลนซ์ เคด]]<ref name="Gerweck">{{cite web|url=http://www.gerweck.net/americandragon.htm|title=Bryan Danielson|publisher=Gerweck|accessdate=2009-07-18}}</ref> และร่วมปล้ำแทคทีมคู่กันจากนั้น แดเนียลสันก็เริ่มไปปล้ำที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเต็มตัวที่ [[นิวเจแปนโปรเรสต์ลิง]] (NJPW) ใน NJPW เขาเลิกใช้ชื่อ อเมริกัน ดราก้อน แต่สวมหน้ากากที่มี สีแดง, สีขาว และ สีฟ้า ที่ซึ่งระลึกถึงชื่อนั้นแทน<ref name="Mask">{{cite web|url=http://www.onlineworldofwrestling.com/pictures/a/americandragon/07.jpg|title=Dragon mask|publisher=Online World of Wrestling|accessdate=2009-06-09}}</ref> ความสำเร็จแรกของแดเนียลสันหลังจากที่ได้รับประสบการณ์ในการปล้ำมากมายใน NJPW ในวันที่ 12 มีนาคม ปี 2004 แดเนียลสัน (ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า แซนส์ แมสก์) ก็สามารถเอาชนะ จาโด และ จีโด คว้าแชมป์จูเนียร์เฮฟวี่เวทแทคทีม IWGP คู่กับ เคอร์รี แมน ใน Hyper Battle tour<ref>{{cite web|title=NJPW Hyper Battle tour results|url=http://puroresufan.com/njpw/results/hyper01.php|publisher=Strong Style Spirit|accessdate=2007-07-08 |archiveurl = http://web.archive.org/web/20070929104623/http://puroresufan.com/njpw/results/hyper01.php <!-- Bot retrieved archive --> |archivedate = 2007-09-29}}</ref>


=== ริงออฟออเนอร์ ===
=== ริงออฟออเนอร์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:56, 25 สิงหาคม 2556

แดเนียล ไบรอัน
เกิด (1981-05-22) 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 (42 ปี)
แอเบอร์ดีน, รัฐวอชิงตัน
ที่พักลาสเวกัส, รัฐเนวาดา
เว็บไซต์BryanDanielson.net
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ
ชื่อบนสังเวียนอเมริกัน ดราก้อน
ไบรอัน แดเนียลสัน
แดเนียล ไบรอัน
ส่วนสูง5 ft 10 in (1.78 m)[1]
น้ำหนัก210 lb (95 กก)
มาจากแอเบอร์ดีน, รัฐวอชิงตัน
ฝึกหัดโดยเท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี
รูดี บอย กอนซาเลซ
ชอว์น ไมเคิลส์
วิลเลียม รีกัล
เทรซี สมอเตอร์
มาซาโตะ ทานากะ
เปิดตัว4 ตุลาคม ค.ศ. 1999

ไบรอัน แดเนียลสัน[2] เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 เป็นนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน ปัจจุบันเซ็นสัญญาให้กับสมาคม ดับเบิลยูดับเบิลยูอี ในวงการมวยปล้ำมีชื่อว่า แดเนียล ไบรอัน เป็นอดีตนักมวยปล้ำของสมาคม ริงออฟออเนอร์ และเป็นอดีตแชมป์โลก ROH 1 สมัย, ในสมาคม WWE เป็นแชมป์โลก 2 สมัย (แชมป์ WWE 1 สมัย และ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท 1 สมัย) แชมป์ยูเอส 1 สมัย และ แชมป์แทคทีม WWE 1 สมัย และเป็นผู้ชนะในแมตช์การปล้ำ มันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ เพื่อชิงสัญญาการชิงแชมป์โลกที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใด ก็ได้ ประจำปี 2011

ประวัติในสังเวียนมวยปล้ำ

ช่วงแรกของอาชีพ (1999 - 2004)

ไฟล์:Earlydanielbryan.jpg
ไบรอันตอนช่วงปีแรกในสมาคมอิสระ

แดเนียลสันเริ่มสัมผัสกับมวยปล้ำเป็นครั้งแรกในการแข่งขันมวยปล้ำที่สนามหลังบ้านที่มีชื่อว่า แบ็คยาร์ดแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (BCW) โดย แดเนียลสัน ได้ใช้ชื่อว่า "เดอะ แด็กเกอร์" แล้วแดเนียลสันก็ชนะได้ตำแหน่งแชมป์เฮฟวี่เวท หลังจากที่ แดเนียลสันจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี 1999 เขาได้ตัดสินใจที่จะเป็นนักมวยปล้ำอาชีพและมีความพยายามที่จะเริ่มต้นในการฝึกอบรมที่โรงเรียนสอนมวยปล้ำของ ดีน มาเลนโก แต่ฝึกได้ไม่นานนักโรงเรียนก็ต้องปิดตัวลง แต่เขาก็ได้รับการฝึกอบรมแทนจาก ชอว์น ไมเคิลส์ ที่ เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี[3] แดเนียลสันเปิดตัวครั้งแรกด้วยการสนับสนุน ชอว์น ไมเคิลส์ ที่ เท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี (TWA) ในวันที่ 21 มีนาคม ปี 2000 เป็นครั้งแรกที่แดเนียลสันได้แชมป์มวยปล้ำอาชีพของเขา โดยจับคู่กับ สปางกี แล้วเอาชนะแชมป์แทคทีม TWA อย่าง เจโรมี เซจ และ รูเบน ครัซ ไปได้ หลังจากนั้น แดเนียลสันก็เริ่มทีจะทัวร์ปล้ำไปรอบประเทศ แล้วไม่นานนัก แดเนียลสันก็ได้เซ็นสัญญากับสมาคม เวิลด์เรสต์ลิงเฟเดเรชั่น (WWF) หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากัน WWF ก็ได้ส่งตัวเขาไปพัฒนาและปรับแต่งทักษะก่อนที่ เมมฟิสแชมเปียนชิปเรสต์ลิง (MCW) ค่ายลูกของ WWF ในตอนนั้น ก่อนทีจะเริ่มเปิดตัวในรายการโทรทัศน์ของ WWF ในตอนนั้นเองที่แดเนียลสัน ได้รับการฝึกฝนจาก วิลเลียม รีกัล แล้ว แดเนียลสันก็ได้ใช้ชื่อที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นคือ "อเมริกัน ดราก้อน"[4]

ในปี 2001 WWF ได้ตัดขาดความสัมพันธ์กับ MCW และได้ปล่อยตัว แดเนียลสันออกจากสัญญาด้วย ซึ่งตอนนั้นเขาได้คว้าแชมป์ไลท์เฮฟวี่เวท MCW และแชมป์แทคทีม MCW ร่วมกับ สปางกี อยู่ซึ่งหลังจากที่เสียแชมป์ของ MCW แล้ว แดเนียลสันก็ได้กลับไปร่วมงานกับ WWF อีกครั้ง ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (WWE) แล้ว ซึ่งปล้ำในรายการรองอย่าง วีโลซิตี แอนด์ ฮาร์ท ในระยะแรก เป็นการเพิ่มสิทธิภาพของตัวเองจนได้รับอนุญาตให้ขึ้นปล้ำในรายการหลักๆ ได้ซึ่งแดเนียลสันก็เคยขึ้นปล้ำกับ จอห์น ซีนา ด้วยแต่ก็แพ้ไปในที่สุด[5][6] หลังจากที่หมดสัญญากับ WWE แดเนียลสันได้เริ่มทัวร์ญี่ปุ่นและฝึกฝนศิลปะการป้องกันตัวแบบ Martial-Arts ร่วมกับเพื่อนที่ฝึกจากเท็กซัสเรสต์ลิงอคาเดมี อย่าง แลนซ์ เคด[7] และร่วมปล้ำแทคทีมคู่กันจากนั้น แดเนียลสันก็เริ่มไปปล้ำที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเต็มตัวที่ นิวเจแปนโปรเรสต์ลิง (NJPW) ใน NJPW เขาเลิกใช้ชื่อ อเมริกัน ดราก้อน แต่สวมหน้ากากที่มี สีแดง, สีขาว และ สีฟ้า ที่ซึ่งระลึกถึงชื่อนั้นแทน[8] ความสำเร็จแรกของแดเนียลสันหลังจากที่ได้รับประสบการณ์ในการปล้ำมากมายใน NJPW ในวันที่ 12 มีนาคม ปี 2004 แดเนียลสัน (ในตอนนั้นใช้ชื่อว่า แซนส์ แมสก์) ก็สามารถเอาชนะ จาโด และ จีโด คว้าแชมป์จูเนียร์เฮฟวี่เวทแทคทีม IWGP คู่กับ เคอร์รี แมน ใน Hyper Battle tour[9]

ริงออฟออเนอร์

ไบรอันในตอนอยู่สมาคมริงออฟออเนอร์

ในปี 2002 แดเนียลสันได้เริ่มไปปล้ำกับสมาคมใหม่ในตอนนั้นอย่าง ริงออฟออเนอร์ ที่นั้นเขาได้รับการยอมรับว่าเป็น "เทพเจ้าผู้ก่อตั้ง" ของสมาคมเลยก็ว่าได้ โดยแฟนๆ[10] มากมายชื่นชอบในฝีมือของเขาและ แดเนียลสันก็เป็นหนึ่งในนักมวยปล้ำที่ทำให้สมาคมดูมีความโดดเด่นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมขึ้นและมีแมตช์ทียอดเยี่ยมของสมาคมคือ แมตช์ 3 เส้า เป็นการเจอกันระหว่าง แดเนียลสัน, โล-กิ และ คริสโตเฟอร์ แดเนียล[11] ระหว่างทีแดเนียลสันปล้ำอยู่ที่ ริงออฟออเนอร์ ก็ได้เจอกับนักมวยปล้ำที่ยอดเยี่ยมหลายๆ คนอย่าง ออสติน แอรีส์[12] ซึ่งแมตช์นั้นก็ทำให้เขามีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น ต่อมา แดเนียลสันก็ได้เจอกับ โฮมิไซด์ ซึ่งการเจอกันของทั้งคู่ก็ปล้ำกันในกติกาต่างๆ มากมาย ซึ่งแมตช์ทีเป็นทีจดจำคือ การปล้ำในกรงเหล็ก ในศึก ROH Final Showdown ซึ่งในตอนนั้น แดเนียลสันได้ถือว่าเป็นนักมวยปล้ำที่ดีที่สุดใน ROH เลยก็ว่าได้ ทางสมาคมจึงเกิดความคิดทีจะจัด ทัวร์นาเมนหาผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดขึ้นในปี 2004[13]

ในปี 2005 ก็มีข่าวออกมาจาก ROH ว่า แดเนียลสันประกาศว่าถ้าเกิดเขาแพ้ให้กับ ออสติน แอรีส์ ในการชิงแชมป์โลก ROH เขาจะออกจากสมาคม[14] ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้แฟนๆ มวยปล้ำต่างตกตะลึ่งกันเป็นอย่างมาก แต่ข่าวนี้ก็ถูกเปิดเผยในภายหลังว่านักมวยปล้ำหลายๆคนผิดหวังมากเพราะว่า แดเนียลสันวางแผนที่จะใช้เวลาบางส่วนออกไปทำอาชีพอื่นแทนการเป็นนักมวยปล้ำ หลังจากที่ แดเนียลสันแพ้ให้กับ ออสติน แอรีส์ แล้วเขาก็ได้ใช้เวลาหลายวันไปที่ยุโรปและญี่ปุ่น เพื่อเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวในชีวิตของตัวเอง เดือนพฤษภาคม 2005 มีข่าวลือว่าทาง โทเทิลนอนสต็อปแอคเชินเรสต์ลิง (TNA) มีความสนใจที่จะเซ็นสัญญากับแดเนียลสัน และยังมีเพิ่มเติมอีกว่าเขาได้กลับไปทดลองงานกับ WWE ด้วย ซึ่งข่าวลือเหล่านั้น ทำให้ แดเนียลสันได้ออกมายุติข่าวด้วยการกลับมาร่วมงานกับ ROH ตามเดิม การที่แดเนียลสันได้กลับมาร่วมงานกับ ROH อีกครั้งนั้นก็ทำให้เขาได้โอกาสในการชิงแชมป์โลก ROH อีกครั้ง โดยเจอกับแชมป์ในขณะนั้นอย่าง เจมส์ กิบสัน และสามรถเอาชนะคว้าแชมป์โลกมาได้ ในศึก Glory by Honor IV ในวันที่ 15 กันยายน ปี 2005[15][16] ซึ่งช่วงนั้นเองเขาได้เจอกับสตาร์ดาวรุ่งเก่งๆ จากสมาคมอื่นอีกมากมาย[17]

ในปี 2006 เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างค่ายชนค่ายโดย คริส ฮีโร ซึ่งในตอนนั้นสังกัดอยู่กับค่าย คอมแบตโซนเรสต์ลิง (CZW) ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องทีดุเดือดจนเป็นทีพูดถึงกันในอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้[18] ซึ่งการเจอกันในครั้งนี้ แดเนียลสันก็ได้สามารถป้องกันแชมป์โลกไว้ได้[19] แต่เรื่องราวระหว่าง 2 ค่ายไม่ได้จบแค่นั้นเพราะว่ามีการเจอกันแบบแทคทีม 10 คน ในกรงเหล็กทีเรียกว่า Cage of Death ซึ่งก็จะมีนักมวยปล้ำของแต่ล่ะค่ายออกมาทีล่ะคน หลังจากทีเริ่มปล้ำก็จะมีการสุ่มเอาสตาร์ของแต่ล่ะค่ายออกมาอีกทีล่ะคนจนครบ แต่มีสตาร์ของ ROH ไม่ยอมขึ้นปล้ำอยู่คนหนึ่งคือ ซามัว โจ ซึ่งนั้นก็ทำให้ทีมของ ROH เป็นฝ่ายแพ้[20] ทำให้แดเนียลสันต้องเซ็นสัญญาในการทีจะให้คนของ CZW กลับมาชิงแชมป์โลกได้อีกครั้งในอนาคต นั้นก็เป็นเหตุผลให้ ต่อมาแดเนียลสันได้ท้าเจอกับ ซามัว โจ ซึ่งเป็นการปล้ำที่ยาวนานถึง 60 นาทีเต็ม แต่แดเนียลสันก็สามารถเอาชนะป้องกันแชมป์ไว้ได้[21] แดเนียลสันได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวไหล่ของเขา หลังจากที่เจอกับ โคลต์ คาบานา แต่แดเนียลสันก็ฝืนตัวเองขึ้นปล้ำป้องกันแชมป์โลกต่อไป จนมาถึงการปล้ำแมตช์สุดท้ายของเขาในปี 2006 ปิดประวัติศาสตร์การครองแชมป์มายาวนานถึง 15 เดือนของแดเนียลสัน ด้วยการทีเขาแพ้ให้กับ โฮมิไซด์ หลังจากนั้น แดเนียลสันออกจากการปล้ำเอาเวลาไปรักษาไหล่ทีบาดเจ็บของเขา[22]

เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ / ดับเบิลยูดับเบิลยูอี (2010 - ปัจจุบัน)

ในปี 2010 แดเนียลสันได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการ ดับเบิลยูดับเบิลยูอีเอ็นเอ็กซ์ที ซีซั่น 1 โดยใช้ชื่อว่า แดเนียล ไบรอัน และมี เดอะ มิซ เป็นผู้ฝึกสอน โดยผู้ชนะในเอ็นเอ็กซ์ที ซีซั่น 1 คือ เวด บาร์เร็ตต์[23] ในศึกรอว์ (7 มิถุนายน 2011) ไบรอันมาพร้อมกับสมาชิกในเอ็นเอ็กซ์ที เวด บาร์เร็ตต์, ดาร์เรน ยัง, เดวิด โอทังก้า, ฮีท สเลเตอร์, จัสติน เกเบรียล, ไมเคิล ทาร์เวอร์ และ สกิพ เชฟฟิลด์ โดยตั้งชื่อกลุ่มทีมว่า เดอะเน็กซัส และมาทำลายโชว์ในศึกรอว์จนพังยับเยิน โดยไบรอันได้ใช้เนคไทรัดคอของ จัสติน โรเบิร์ต โฆษกผู้ประกาศของ WWE[24] ทำให้ ไบรอันต้องถูกไล่ออก เพราะใช้ความรุนแรงมากเกินไป จึงถูกไล่ออกเพื่อแสดงความสำนึกผิด[25][26] ในศึก ซัมเมอร์สแลม (2010) ไบรอันได้กลับมาใน WWE และได้เข้าร่วมทีม WWE โดยมี จอห์น ซีนา, เบรต ฮาร์ต, เอดจ์, คริส เจอริโค, จอห์น มอร์ริสัน, อาร์-ทรูธ และ เดอะ เกรท คาลี เจอกับทีมเดอะเน็กซัส ในแมตช์การปล้ำแทคทีม 7 ต่อ 7 อิลิมิเนชั่น โดยก่อนถึงศึกซัมเมอร์สแลม กลุ่มเดอะเน็กซัส ได้ลอบทำร้าย เดอะ เกรท คาลี จนไม่สามารถร่วมปล้ำในครั้งนี้ได้ ไบรอันจึงเข้ามาร่วมทีมแทน ผลปรากฎว่าทีม WWE เป็นฝ่ายชนะ[27][28]

ในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010) ไบรอันได้คว้า แชมป์ยูเอส โดยการเอาชนะเดอะ มิซ[29] ในศึกรอว์ (14 มีนาคม 2011) ไบรอันก็เสียแชมป์ยูเอส ให้กับ เชมัส[30] ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 ไบรอันได้ขอท้าชิงแชมป์ยูเอส กับ เชมัส ในแมตช์การปล้ำลัมเบอร์ แจ็ค โดยมีนักมวยปล้ำอยู่รอบเวที เป็นแมตช์ก่อนรายการ สุดท้ายไม่มีผลการตัดสิน เพราะนักมวยปล้ำที่รอบเวทีขึ้นมาอัดกัน ทีโอดอร์ ลอง ผู้จัดการทั่วไปของ สแมคดาวน์ เลยสั่งเป็นแมตช์แบทเทิลรอยัล โดยผู้ชนะคือ เดอะ เกรท คาลี[31]

ไบรอันได้ย้ายไปอยู่ สแมคดาวน์ จากผลดราฟท์ในศึกรอว์ (25 เมษายน 2011)[32] ในศึก มันนีอินเดอะแบงก์ (2011) ไบรอันได้คว้ากระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์ ในแมตช์การปล้ำไต่บันไดชิงกระเป๋ามันนีอินเดอะแบงก์แลดเดอร์แมตช์ ของฝั่ง สแมคดาวน์ ทำให้ ไบรอันได้สิทธิ์ชิงแชมป์โลกที่ไหนเมื่อไรเวลาใดก็ได้ เพียง 1 ครั้งเท่านั้น[33] ในศึก สแมคดาวน์ (25 พฤศจิกายน 2011) ไบรอันได้ใช้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับ มาร์ก เฮนรี ทันที สุดท้ายไบรอันกดชนะไปสบายๆ ทำให้ไบรอันคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท มาครอบครอง แต่ ทีโอดอร์ ลอง ออกมาบอกว่า เฮนรีไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมปล้ำ แมตช์นี้ถือว่าเป็นโมฆะ ทีโอดอร์ ลอง ส่งกระเป๋าคืนให้ไบรอัน และบอกให้ไบรอันเตรียมตัวขึ้นปล้ำกับ โคดี, บาร์เร็ตต์ และ ออร์ตัน เป็นคู่เอก ในแมตช์การปล้ำ 4 เส้า ผู้ชนะจะได้สิทธิ์เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับเฮนรี ในศึก สแมคดาวน์ สัปดาห์หน้า และไบรอันก็เป็นผู้ชนะ และได้สิทธิ์เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 กับเฮนรี[34][35] ในศึก สแมคดาวน์ (29 พฤศจิกายน 2011) ไบรอันได้ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับเฮนรี ในกรงเหล็ก แต่ก็ไม่สำเร็จ[36] ในศึก ทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2011) ไบรอันได้ใช้สิทธิ์มันนีอินเดอะแบงก์ กับ บิ๊กโชว์ และคว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท เป็นสมัยแรกมาได้สำเร็จ หลังจากที่ บิ๊กโชว์ คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท มาได้จาก มาร์ก เฮนรี[37][38]

ไบรอันเสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ให้กับเชมัส ในศึกเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28 เพียงเวลา 18 วินาที หลังจูบกับเอเจ

ไบรอันได้รับบทเป็นแฟนกับ เอเจ ในศึก สแมคดาวน์ (6 มกราคม 2012) ไบรอันต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวทครั้งแรกกับบิ๊กโชว์ โดยระหว่างแมตช์ ไบรอันพยายามใส่ท่าไม้ตายให้บิ๊กโชว์ตบพื้นยอมแพ้ แต่บิ๊กโชว์ไม่ยอม ไบรอันจึงลงไปยั่วโมโหเฮนรีที่มานั่งเป็นผู้บรรยายรับเชิญอยู่ข้างเวที ทำให้เฮนรีผลักไบรอันล้มลงไป ผลการตัดสินจึงจบลงที่ไบรอันชนะฟาวล์ และกลายเป็นฝ่ายอธรรม[39] ในศึก สแมคดาวน์ (13 มกราคม 2012) ไบรอันต้องป้องกันแชมป์กับบิ๊กโชว์ แบบไม่มีกฎกติกา โดยมีเอเจมายืนอยู่ข้างเวที ปรากฏว่า บิ๊กโชว์ เผลอวิ่งไปชนเอเจล้มลงไป ขณะที่วิ่งไล่ตามไบรอัน ทำให้ไบรอันต้องมาดูอาการ โดยแมตช์จบด้วยการไม่มีคำตัดสิน[40] ในศึก รอยัลรัมเบิล (2012) ไบรอันต้องป้องกันแชมป์กับบิ๊กโชว์ และมาร์ก เฮนรี ในแมตช์การปล้ำ 3 เส้าในกรงเหล็ก สุดท้ายไบรอันก็เป็นฝ่ายป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[41] ในศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2012) ไบรอันต้องป้องกันแชมป์โลกเฮฟวี่เวท กับ บิ๊กโชว์, เวด บาร์เร็ตต์, โคดี โรดส์, เดอะ เกรท คาลี และ ซานติโน่ มาเรลล่า แต่ก็ยังรักษาแชมป์เอาไว้ได้ หลังแมตช์ไบรอันได้ถูกลอบทำร้ายโดยเชมัส ผู้ชนะเลิศในรอยัลรัมเบิล ประจำปี 2012 และได้เลือกไบรอัน ที่จะชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28[42] สุดท้ายไบรอันก็เสียแชมป์ให้กับเชมัส ในเวลาเพียง 18 วินาที หลังจากที่ไบรอันเรียกให้เอเจขึ้นมาจูบเพื่อให้กำลังใจ[43] ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ที่ไบรอันเสียแชมป์ให้กับเชมัส ในศึก เรสเซิลเมเนีย เพียงแค่ 18 วินาที ทำให้ แฟนๆ ต่างพากันตะโกนเรียกชื่อไบรอัน และตะโกนคำว่า Yes! ตลอดทั้งรายการศึกรอว์ และศึกสแมคดาวน์ ไม่เว้นแม้กระทั่งเกมส์บาสเก็ตบอล NBA ที่ทีม ไมอามี ฮีท ลงแข่ง แฟนๆ ในสนามก็ตะโกน Yes! ทั้งสนามเช่นกันจนกลายเป็นคำฮิตและได้ทำเป็นลายเสื้อคำว่า Yes! Yes! Yes! และได้เปลี่ยนชื่อท่าไม้ตายจาก LeBell Lock เป็นท่า Yes! Lock ในศึก สแมคดาวน์ (6 เมษายน 2012) ไบรอันออกมาพร้อมกับเอเจ และก็โทษเอเจ และบอกเลิกกับเอเจ ก่อนจะเดินกลับไปหลังเวที[44]

ไบรอันในตอนเปิดศึกกับซีเอ็ม พังก์

ในศึกรอว์ (30 เมษายน 2012) ไบรอันได้เอาชนะ เจอร์รี ลอว์เลอร์ และได้เป็นผู้ท้าชิงอันดับ 1 ในการชิงแชมป์ WWE กับซีเอ็ม พังก์ เจ้าของตำแหน่ง ในศึก โอเวอร์เดอะลิมิต (2012)[45] สุดท้ายไบรอันก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[46] ในศึก โนเวย์เอาท์ (2012) ไบรอันได้เจอกับซีเอ็ม พังก์ และเคน ในแมตช์การปล้ำ 3 เส้า เพื่อชิงแชมป์ WWE สุดท้ายไบรอันก็ไม่สามารถคว้าแชมป์มาได้[47] ในศึก มันนีย์อินเดอะแบงก์ (2012) ไบรอันได้ชิงแชมป์ WWE กับซีเอ็ม พังก์ ในแมตช์การปล้ำไม่มีการปรับแพ้ฟาล์ว เพื่อ โดยมีเอเจเป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายไบรอันก็ไม่สามารถคว้าแชมป์ WWE มาได้[48][49] ในศึกรอว์ (16 กรกฎาคม 2012) ไบรอันได้จับคู่กับเอเจ เจอกับ อีฟ ทอร์เรส กับ เดอะ มิซ สุดท้ายไบรอันกับเอเจก็เป็นฝ่ายชนะ หลังแมตช์ไบรอันคุกเข่าขอเอเจ แต่งงานและสวมแหวนให้เอเจ ด้วย คำตอบของ เอเจ คือ Yes! แล้วทั้งคู่ก็จูบกันอย่างดูดดื่มจากนั้นก็ทำท่า Yes! Yes! Yes! ไปรอบเวทีทั้งสองคน[50] ในศึก รอว์ ตอนที่ 1,000 (23 กรกฎาคม 2012) ไบรอันกับเอเจ ออกมาทำพิธีแต่งงาน แต่เอเจไม่ยอมตอบรับการแต่งงาน แถมยังบอกว่ามีคนเข้ามาจีบเธออีกคนหนึ่ง วินซ์ แม็กแมน ออกมาแล้วก็ประกาศให้เอเจ เป็นผู้จัดการคนใหม่ของรอว์ เอเจเดินจากไป ปล่อยให้ไบรอันโมโหทำลายข้าวของบนเวที ซีเอ็ม พังก์ออกมายั่วโมโหไบรอัน ตามมาด้วย เดอะ ร็อค ออกมาแจก Rock Bottom ใส่ไบรอัน[51] ในศึก สแมคดาวน์ (3 สิงหาคม 2012) ไบรอันใส่เสื้อลายใหม่คำว่า No! No! No! ให้สัมภาษณ์ที่หลังฉาก โวยวายว่าเขาคือคนเดียวที่มีสิทธิ์ตะโกน Yes! ไม่ใช่คนดูพวกนั้น[52]

ทีมเฮลโน (ไบรอันและเคน)

ในศึกรอว์ (10 กันยายน 2012) ไบรอันต้องจับคู่กับ เคน เจอกับ ไพรม์ไทม์เพลเยอส์ (ไทตัส โอนีล และ ดาร์เรน ยัง) ทีมที่ชนะจะได้เป็นคู่แทคทีมอันดับ 1 ในการชิงแชมป์แทคทีม WWE กับ โคฟี คิงส์ตัน และ อาร์-ทรูธ เจ้าของแชมป์แทคทีม WWE สุดท้าย ไบรอันและเคน ก็เป็นฝ่ายชนะและได้ไปท้าชิงแชมป์แทคทีม WWE ในศึก ไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2012)[53] สุดท้าย ไบรอันและเคน ก็เป็นฝ่ายเอาชนะและคว้าแชมป์แทคทีม WWE มาได้สำเร็จ[54] ในศึก สแมคดาวน์ (21 กันยายน 2012) เคนได้เจอกับ แดเมียน แซนโดว์ ในระหว่างแมตช์ ไบรอันเอาเข็มขัดแชมป์แทคทีม WWE 2 เส้น แล้วมาร้องโวยวายว่าข้าคือแชมป์แทคทีม ทำให้เคนเสียสมาธิจนแพ้ไป ในคืนเดียวกัน ไบรอันได้เจอกับ โคดี โรดส์ ท้ายแมตช์ ไบรอันจับโคดี ใส่ท่า No! Lock ได้แล้ว แต่เคนออกมาจุดไฟที่เสาเวที ทำให้ ไบรอันตกใจ แล้วก็โดนจับใส่ท่า Cross Rhodes ทำให้ไบรอันแพ้ไป ไบรอันเข้าไปโวยวายกับเคน ที่หลังฉาก เคนบอกว่าเราเจ๊ากันไปก็แล้วกัน จากนั้นก็เริ่มทะเลาะกันอีก โคดีกับแซนโดว์ เข้ามาหัวเราะเยาะเย้ยว่าแชมป์แทคทีมคู่นี้มันคือตัวตลกชัดๆ ไบรอันกับเคน เลยท้าเจอกันแบบแทคทีม ในคืนเดียวกัน ไบรอันและเคน ได้เจอกับ โคดีและแซนโดว์ เป็นแมตช์ลัมเบอร์แจ็ค ที่มีคู่แทคทีมทุกทีมมายืนล้อมเวที สุดท้าย ไบรอันและเคน ชนะฟาล์ว เพราะ โคดีเห็นท่าจะสู้ไม่ไหวเลยไปเอาเก้าอี้มาฟาดเคน จนถูกปรับแพ้ฟาวล์ ไบรอันเข้ามาช่วยเคน แล้วก็เอาเก้าอี้มากันคนละตัวไล่ตี โคดีกับแซนโดว์ หลังแมตช์ ไบรอันกับเคน ยังไม่หนำใจ เลยลงไปลากพวกแทคทีมทั้งหลายขึ้นมาฟาดอย่างเมามันส์กันถ้วนหน้า ในศึกรอว์ (24 กันยายน 2012) ได้มีการให้แฟนๆ ช่วยกันตั้งชื่อให้กับ ไบรอันและเคน โดยแฟนๆ ได้ตั้งชื่อทีมให้ว่า ทีมเฮลโน จากนั้น โคดีกับแซนโดว์ ก็เข้ามาลอบทำร้าย ไบรอันและเคน แล้วก็ประกาศว่าพวกเขาคือทีม โรดส์ สคูลาร์ส[55] ในศึก เฮลอินเอเซล (2012) ทีมเฮลโนต้องป้องกันแชมป์แทคทีม WWE กับทีมโรดส์ สคูลาร์ส (โคดี โรดส์ กับ แดเมียน แซนโดว์) สุดท้ายทีมเฮลโนถูกปรับแพ้ฟาล์ว แต่ไม่เสียแชมป์[56] ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 29 ทีมเฮลโนต้องป้องกันแชมป์แทคทีม WWE กับ ดอล์ฟ ซิกก์เลอร์ และ บิ๊ก อี แลงสตัน แต่ก็สามารถป้องกันแชมป์เอาไว้ได้[57] ต่อมาทีมเฮลโนได้เสียแชมป์แทคทีมให้กับ เซท โรลลินส์ และ โรแมน เรนส์ 2 สมาชิกในกลุ่ม เดอะชีลด์ ในศึก เอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2013) หลังจากที่ทีมเฮลโน ครองแชมป์มาเป็นเวลา 245 วัน[58]

ในศึกรอว์ (15 สิงหาคม 2013) จอห์น ซีนาออกมาเพื่อเลือกผู้ท้าชิงแชมป์ WWE โดยมีบรรดาซูเปอร์สตาร์มายืนอยู่ที่ลานเปิดตัว ซีนาเรียกชื่อนักมวยปล้ำทีละคนเพื่อให้แฟนๆ ช่วยกันส่งเสียงสนับสนุนคนที่อยากให้ชิงแชมป์ คนดูตะโกน Yes! Yes! Yes! แดเนียล ไบรอัน!! ซีนาประกาศเลือกไบรอันเป็นผู้ท้าชิงของเขาในศึก ซัมเมอร์สแลม (2013) ไบรอันออกมาตะโกน Yes! Yes! Yes! และคนดูก็ตะโกนตามกันทั้งสนาม[59] ในศึกรอว์ (22 กรกฎาคม 2013) แบรด แมดด็อกซ์ ออกมาประกาศให้มีการเซ็นสัญญาปล้ำระหว่างซีนา กับไบรอัน ซีนาออกมาเตรียมเซ็นสัญญา และแมดด็อกซ์ก็สัมภาษณ์ซีนาไปด้วยว่าทำไมถึงเลือกไบรอัน เขาตัวเล็กกว่านายตั้งเยอะ นายเลือกเขาเพราะว่าจะได้ชนะง่ายๆ หรือเปล่า ไบรอันออกมาท่ามกลางเสียงเชียร์ของแฟน ๆ และถามแมดด็อกซ์ ว่านายคิดว่าว่าชั้นไม่สมควรจะได้ชิงแชมป์เหรอ ซีนาบอก ถ้าแมดด็อกซ์คิดว่าขนาดตัวเป็นสิ่งสำคัญล่ะก็ เอาแชมป์ไปให้เกรท คาลีได้เลย ใน WWE เราเคยมีแชมป์อย่าง ชอว์น ไมเคิลส์, เรย์ มิสเตริโอ และเอ็ดดี เกอร์เรโร มาแล้ว ทั้งสองคนเซ็นสัญญา แล้วแมดด็อกซ์ก็เตรียมจัดแมตช์ให้ไบรอันได้พิสูจน์ตัวเองว่าเหมาะสมจริงหรือไม่ที่ได้ชิงแชมป์ ในคืนเดียวกัน ไบรอันต้องปล้ำแมตช์ Gauntlet Match โดยเจอกับ แจ๊ค สแวกเกอร์, แอนโทนีโอ ซีซาโร และ ไรแบ็ค ผลปรากฏว่า ไบรอันเอาชนะมาได้ 2 แมตช์แรก แมตช์สุดท้าย ไบรอันชนะฟาว์ลเพราะ ไรแบ็คจับไบรอันไปพาวเวอร์บอมใส่โต๊ะจนพัง หลังแมตช์ ไรแบ็คจะเล่นงานไบรอันต่อ แต่ซีนาออกมาช่วยไล่อัดไรแบ็คหนีไป ซีนาเอาไมค์มาประกาศท้าไรแบ็ค ให้มาเจอกันในแมตช์จับฟาดใส่โต๊ะ ซึ่งไรแบ็คก็ตอบตกลง ที่หลังฉากแมดด็อกซ์คุยกับวินซ์ และตกลงจะจัดแมตช์ซีนาเจอกับไรแบ็ค และแมดด็อกซ์ก็ให้ไบรอัน เจอกับเคน[60] ในศึกรอว์ (29 กรกฎาคม 2013) ไบรอันได้เจอกับเคน สุดท้ายไบรอันเอาชนะไปได้ ในคืนเดียวกัน ซีนาได้เจอกับไรแบ็ค ในแมตช์การปล้ำจับฟาดใส่โต๊ะ สุดท้ายซีนาก็เป็นฝ่ายชนะ หลังแมตช์ ไบรอันออกมาคว้าเข็มขัดแชมป์ WWE แล้วเอาขึ้นไปยื่นให้ ซีนาจะรับเข็มขัด แต่ไบรอันดึงกลับ ซีนาเลยแย่งเอามาจนได้ แล้วไบรอันก็ทำท่า Yes! Yes! Yes! ใส่ซีนาเป็นการปิดท้ายรายการ[61] ในศึก ซัมเมอร์สแลม ไบรอันได้ชิงแชมป์ WWE กับซีนา โดยมีทริปเปิล เอช เป็นกรรมการพิเศษ สุดท้ายไบรอันก็เป็นฝ่ายเอาชนะซีนามาได้และได้เป็นแชมป์ WWE สมัยแรก หลังแมตช์ ไบรอันกำลังฉลองแชมป์ แต่ซีนามาขัดจังหวะเหมือนจะหาเรื่อง แต่สุดท้ายก็จับมือแสดงความยินดี ซีนาเดินกลับไปและปล่อยให้ไบรอันฉลองบนเวทีโดยมีการจุดพลุฉลองอย่างยิ่งใหญ่ แต่แล้ว แรนดี ออร์ตันก็เดินถือกระเป๋าออกมา ออร์ตันชูกระเป๋าข่มขวัญและเดินกลับไป แต่ทริปเปิล เอชจับไบรอันใส่ Pedigree จนหลับสนิท แล้วออร์ตันก็กลับมาใช้กระเป๋า และจับกดนับ 3 คว้าแชมป์ไปครองโดยทริปเปิล เอช ก็ร่วมฉลองด้วย และก็ปิดรายการไป[62]

ในศึกรอว์ (19 สิงหาคม 2013) มีการเฉลิมฉลองตำแหน่งแชมป์ของออร์ตัน ซึ่งมีนักมวยปล้ำทุกคนของ WWE มายืนที่เวที โดยมีเดอะชีลด์ยืนอยู่ริมเวที วินซ์, สเตฟานี แม็กแมเฮิน และทริปเปิล เอช ก็ออกมากันพร้อมหน้า ทริปเปิล เอชประกาศแนะนำตัวออร์ตัน แชมป์ WWE คนใหม่ ออร์ตันออกมาจับมือกับครอบครัวแม็กแมน ออร์ตันบอกว่าปกติเขาไม่ชอบขอบคุณใคร แต่ครั้งนี้เขาต้องบอกว่าเขาต้องขอบคุณทริปเปิล เอชจริงๆ ทริปเปิล เอชบอกว่าเขารู้ว่า แดเนียล ไบรอันยังอยู่ในสนามแห่งนี้ ถ้าหากว่ามีปัญหาอะไรก็จงออกมาเคลียร์กันเดี๋ยวนี้ทริปเปิล เอช ไบรอันออกมาและจะขึ้นเวที แต่เดอะชีลด์มารุมอัดไบรอัน แต่ทริปเปิล เอชสั่งห้ามไว้ ทริปเปิล เอชบอกให้ไบรอัน ขึ้นมาบนเวที ไบรอันขึ้นเวทีไปปุ๊บก็โดน RKO ทันที แล้วออร์ตันกับครอบครัวแม็กแมนก็ชูมือฉลองกัน และปิดรายการไป[63]

เกี่ยวกับมวยปล้ำ

แดเนียล ไบรอัน ใช้ท่า LeBell Lock เล่นงานใส่ บิ๊กโชว์
แดเนียล ไบรอัน ใช้ท่า Surfboard เล่นงานใส่ ดีน แอมโบรส
แดเนียล ไบรอัน ใช้ท่า Cattle Mutilation เล่นงานใส่ คริส ฮีโร
ไฟล์:D-bryankick.jpg
แดเนียล ไบรอัน ใช้ท่า Roundhouse kick เล่นงานใส่ มูเนโนริ ซาวา
  • ท่าไม้ตาย
    • ในนามของ แดเนียล ไบรอัน
      • LeBell Lock / Yes Lock / No Lock (Omoplata crossface)
      • Guillotine choke - 2011;ใช้เป็นท่าเอกลักษณ์ 2012 - ปัจจุบัน
    • ในนามของ ไบรอัน แดเนียลสัน
      • Cattle Mutilation
      • Crossface chickenwing, บางครั้งทำพร้อมกับ bodyscissors
      • Danielson Special (Double underhook floated over into a crucifix armbar)
      • Double wrist-clutch to a grounded opponent followed by repeated stomps to the chest, face, and head
      • Dragon suplex
      • LeBell Lock (Omoplata crossface) – ปี 2010
      • Regal-Plex (Bridging leg hook belly to back suplex) – adopted from his trainer วิลเลียม รีกัล
      • Repeated elbow strikes to the side of the opponent's head while holding the opponent in a grounded crucifix
      • Small package
      • Triangle choke, sometimes with repeated elbow strikes to the top of the opponent's head
  • ท่าเอกลักษณ์
    • Airplane spin
    • Ankle lock
    • Backflip off the top rope over a standing opponent
    • Corner elbow smash
    • Discus elbow smash
    • Diving headbutt
    • Dragon screw
    • European uppercut
    • Flying forearm smash
    • Heel hook
    • Indian deathlock
    • Jumping high knee from the apron to an opponent outside the ring
    • Leaping knee drop
    • Multiple kick variations
      • Corner drop
      • Front missile drop, sometimes followed by kip-up
      • Repeated shoot to a kneeling opponent's chest followed by a roundhouse to the opponent's head
      • Roundhouse
      • Running big boot
    • Multiple suplex variations
      • Belly to back, sometimes from the top rope
      • Belly to belly
      • Cravate
      • Danielson Special (Double underhook floated over into a crucifix armbar)
      • German
      • Northern Lights
      • Snap underhook
      • Super
      • Tiger
    • Rolling fireman's carry slam
    • Running leg lariat
    • Sleeper hold
    • Springboard suicide senton
    • Suicide dive
    • Surfboard, sometimes while applying a dragon sleeper
  • ฉายาและชื่ออื่นๆ
    • "The American Dragon"
    • "The American Dolphin" (PWG)
    • "The Best Wrestler in the World"
    • "The Dagger"
    • "The Master of the Small Package"
    • "Mr. Money in the Bank"
    • "The Submission Specialist"
  • เพลงเปิดตัว
    • ค่ายอิสระ
      • "Self Esteem" โดย The Offspring
      • "Obsession" โดย Animotion
      • "The Final Countdown" โดย Europe
    • ดับเบิลยูดับเบิลยูอี
      • "The Rage" โดย Burnout Paradise (15 สิงหาคม 2010 – 19 กันยายน 2010)
      • "Ride of the Valkyries" โดย Richard Wagner (20 กันยายน 2010 – 29 พฤศจิกายน 2010;30 มกราคม 2011 – 29 กรกฎาคม 2011)
      • "Ride of the Valkyries (Remake)" โดย Jim Johnston (5 ธันวาคม 2010 – 24 มกราคม 2011)
      • "Freefall" โดย Two Steps From Hell (5 สิงหาคม 2011)
      • "Big Epic Thing" โดย Jim Johnston (12 สิงหาคม 2011 – 4 พฤศจิกายน 2011)
      • "Flight of the Valkyries" โดย Various Artists (11 พฤศจิกายน 2011 – ปัจจุบัน)
  • ผู้ฝึกสอนนักมวยปล้ำ โดย แดเนียล ไบรอัน
    • อเล็กซ์ เพย์น
    • แอนดรูว์ แพทเทอร์สัน
    • บ็อบบี ควีนซ์
    • เชียร์ลีดเดอร์ เมลิสซา
    • คูน
    • แดน มาร์แชล
    • เออร์นี ออซิริส
    • ฟาร์เมอร์ โจ
    • กาฟู
    • รีโน
    • ร็อบบี ไรเดอร์
    • ไรอัน ดราโก้
    • ซารา เดล เรย์
    • โซดิแอค

ผลงานทั้งหมด

แดเนียล ไบรอัน กับ แชมป์โลกเฮฟวี่เวท
แดเนียล ไบรอัน กับ แชมป์ยูเอส
แดเนียล ไบรอัน กับ แชมป์แทคทีม WWE
แดเนียล ไบรอัน กับ แชมป์โลก ROH
  • All Pro Wrestling
    • APW Worldwide Internet Championship (1 สมัย)[64]
    • King of the Indies (ปี 2001)[65]
  • All Star Wrestling
    • ASW World Heavy Middleweight Championship (1 สมัย)
  • East Coast Wrestling Association
  • Evolve
    • Match of the Year (2010) ปะทะ มูเนโนริ ซาวา ในวันที่ 11 กันยายน[67]
  • Extreme Canadian Championship Wrestling
    • NWA Canadian Junior Heavyweight Championship (1 สมัย)[68]
  • Full Impact Pro
    • FIP Heavyweight Championship (1 สมัย)
  • International Wrestling Association
    • IWA Puerto Rico Heavyweight Championship (1 สมัย)[69]
  • Memphis Championship Wrestling
    • MCW Southern Light Heavyweight Championship (1 สมัย)
    • MCW Southern Tag Team Championship (1 สมัย) – คู่กับ สแปงกี
  • NWA Mid-South
    • NWA Southern Junior Heavyweight Championship (1 สมัย)[70]
  • New Japan Pro Wrestling
    • IWGP Junior Heavyweight Tag Team Championship (1 สมัย) – คู่กับ เคอร์รี แมน
    • Best of the American Super Juniors (ปี 2004)[71]
  • Pro Wrestling Guerrilla
    • PWG World Championship (2 สมัย)[72]
  • Pro Wrestling Illustrated
    • PWI จัดในอันดับที่ 13 ของสุดยอดที่สุดสำหรับ 500 อันดับ ซิงเกิลนักมวยปล้ำแห่งปีใน PWI 500 ในปี 2008[73]
    • PWI จัดในอันดับที่ 15 ของสุดยอดที่สุดสำหรับ 500 อันดับ ซิงเกิลนักมวยปล้ำแห่งปีใน PWI 500 ในปี 2011[74]
  • Pro Wrestling Noah
    • GHC Junior Heavyweight Championship (1 สมัย)
  • Pro Wrestling Report
    • Independent Wrestler of the Year (ปี 2006)[75]
  • Ring of Honor
    • ROH Pure Championship (1 สมัย)[76]
    • ROH World Championship (1 สมัย)
    • Survival of the Fittest (ปี 2004)
  • Texas Wrestling Alliance
    • TWA Tag Team Championship (1 สมัย) – คู่กับ สแปนกี
  • Westside Xtreme Wrestling
    • wXw World Heavyweight Championship (1 สมัย)[77]
    • Ambition 1 (ปี 2010)
  • World Series Wrestling
    • WSW Heavyweight Championship (1 สมัย)[78]
  • World Wrestling Entertainment
    • WWE Championship (1 สมัย)
    • World Heavyweight Championship (1 สมัย)[79]
    • WWE United States Championship (1 สมัย)[80]
    • WWE Tag Team Championship (1 สมัย) – คู่กับ เคน
    • Mr. Money in the bank (สแมคดาวน์) (2011)
    • สแลมมีอวอร์ด for Cole in Your Stocking (ปี 2010) – ทำร้าย ไมเคิล โคล ในรายการ เอ็นเอ็กซ์ที[81]
    • สแลมมีอวอร์ด for Shocker of the Year (ปี 2010) – การเปิดตัวครั้งแรกของกลุ่มเดอะเน็กซัส
  • Wrestling Observer Newsletter
    • Best Technical Wrestler (ปี 2005 – 2011)[82][83][84]
    • Match of the Year (ปี 2007) ปะทะ ทาเกชิ โมริชิมา ในวันที่ 25 สิงหาคม
    • Most Outstanding Wrestler (ปี 2006 – 2010)[85]
    • Most Outstanding Wrestler of the Decade (ปี 2000 – 2009)[86]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Daniel Bryan bio". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
  2. Milner, Jason. "Bryan Danielson". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-02-20. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Clevett, Jason (2006-09-21). "Fiery words from American Dragon". Slam! Sports. Canadian Online Explorer.
  4. Meltzer, Dave. "Wrestling Observer – headlines". Wrestling Observer Newsletter.
  5. "SmackDown! January 16, 2003". Online World of Wrestling. 2003-01-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-09.
  6. "SmackDown!". Online World of Wrestling. 2003-01-23. สืบค้นเมื่อ 2003-01-23.
  7. "Bryan Danielson". Gerweck. สืบค้นเมื่อ 2009-07-18.
  8. "Dragon mask". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  9. "NJPW Hyper Battle tour results". Strong Style Spirit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-08.
  10. "ROH Founding Fathers". Ring of Honor. 2007-02-02. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02.
  11. "The-Independent-Mid-Card-01.30.07:-Danielson-vs.-Rave.htm 411mania.com: Wrestling – The Independent Mid-Card 01.30.07: Danielson vs. Rave". 411 Mania.
  12. "Testing the Limit". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  13. "Final Showdown". Online World of Wrestling. 2004-05-13.
  14. "Danielson evaluates options". Ring of Honor. Wrestle Mag.
  15. "Ring of Honor Title". Ring of Honor. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  16. Keller, Wade. "Glory By Honor IV". Pro Wrestling Torch.
  17. "Final Battle 2005". Online World of Wrestling.
  18. Meltzer, Bill. "The ROH-CZW Philly Turf War." Pro Wrestling Illustrated May 2006: 40–43.
  19. "ROH Hell Freezes Over". Online World of Wrestling. 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  20. "Cage of Death". Online World of Wrestling.
  21. "Fight of the Century Results". Online World of Wrestling. 2006-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
  22. "Unified". Online World of Wrestling. 2006-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  23. Martin, Adam (2010-02-17). "Cast information for WWE's NXT". WrestleView. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
  24. Plummer, Dale (2010-06-08). "RAW: Vote early, vote often; NXT takes over". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
  25. "Daniel Bryan released". World Wrestling Entertainment. 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
  26. Martin, Adam (2010-06-12). "New update on Danielson's release from WWE". WrestleView. สืบค้นเมื่อ 2010-06-12.
  27. Plummer, Dale (2010-08-15). "Rumored return helps Team WWE fend off Nexus at SummerSlam". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  28. Martin, Adam (2010-08-15). "SummerSlam: Team WWE vs. Team Nexus". WrestleView. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
  29. Tylwalk, Nick (2010-09-20). "Few gimmicks, more title changes at Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  30. Plummer, Dale (2011-03-14). "RAW: Cena wrecked on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.
  31. Powers, Kevin (2011-04-03). "The Great Khali won the Over-the-Top-Rope WrestleMania Battle Royal". World Wrestling Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2011-04-15.
  32. "WWE News: Ongoing "virtual-time" coverage of WWE Supplemental Draft - Daniel Bryan first draft pick". Pro Wrestling Torch. 2011-04-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
  33. Keller, Wade (2011-07-17). "WK'S WWE Money in the Bank PPV blog 7/17: Ongoing live coverage of Punk vs. Cena, Orton vs. Christian, Show vs. Henry, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-07-17.
  34. Cupach, Mike (2011-11-13). "Cupach's WWE SmackDown report 11/11: Alt. perspective review of Smackdown from England, Mike's Reax to key matches & overall show". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-11-27.
  35. Parks, Greg (2011-11-18). "Parks' WWE SmackDown report 11/18: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Randy Orton & Sheamus vs. Wade Barrett & Cody Rhodes". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2011-11-27.
  36. "Parks' WWE SmackDown report 11/29: Ongoing "virtual time" coverage of the live Tuesday night special, including Daniel Bryan vs. Mark Henry for the World Title in a Steel Cage". Pro Wrestling Torch. 2011-11-29. สืบค้นเมื่อ 2011-11-30.
  37. "Daniel Bryan's first World Heavyweight Championship reign". WWE. WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-02-25.
  38. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE TLC PPV REPORT 12/18: Complete "virtual time" coverage of live PPV - TLC, Table, Ladder, Chair matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 8 January 2012.
  39. Cupach, Mike. "CUPACH'S WWE SMACKDOWN REPORT 12/30: Alt. perspective review of final Smackdown of 2011, Mike's Reax to Orton write-off". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 8 January 2012.
  40. Parks, Greg. "Parks' WWE SmackDown report 1/13: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Daniel Bryan vs. Big Show, no count-out, no-DQ, for the World Title". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 14 January 2012.
  41. Caldwell, James. "Caldwell's WWE Royal Rumble report 1/29: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rumble match, Punk-Ziggler, Cena-Kane, steel cage". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 30 January 2012.
  42. Giannini, Alex (February 19, 2012). "World Heavyweight Champion Daniel Bryan won the SmackDown Elimination Chamber Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 19 February 2012.
  43. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 28 PPV REPORT 4/1: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rock-Cena, Taker-Hunter, Punk-Jericho". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
  44. Parks, Greg (6 April 2012). "PARKS' WWE SMACKDOWN REPORT 4/6: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Sheamus vs. Alberto Del Rio". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 8 April 2012.
  45. Caldwell, James (30 April 2012). "Caldwell's WWE Raw Results 4/30: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw Starring Brock Lesnar - PPV fall-out, Triple H returns". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 1 May 2012.
  46. "WWE Champion CM Punk def. Daniel Bryan". WWE. 20 May 2012. สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.
  47. "WWE Champion CM Punk vs. Daniel Bryan vs. Kane – Triple Threat Match". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
  48. WWE Champion CM Punk vs. Daniel Bryan, WWE, สืบค้นเมื่อ 2012-06-25
  49. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE MITB PPV REPORT 7/15: Complete "virtual time" coverage of live PPV - Punk vs. Bryan, Sheamus vs. Del Rio, two MITB matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  50. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/16: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #998 - MITB PPV fall-out, Cena's announcement". สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  51. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/23: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #999 - WWE recognizes 1,000 episodes, WWE Title match, Lesnar, Rock, DX, wedding". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.
  52. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/30: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #1,000 - Punk explains heel turn, #1 contender match main event, Orton returns, Summerslam hype". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 4 August 2012.
  53. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/10: Ongoing "virtual-time" coverage of live Raw - Hart back in Montreal, final PPV hype".
  54. "Zack Ryder won a Pre-Show Battle Royal to become No. 1 Contender for the United States Championship". WWE. สืบค้นเมื่อ 2012-09-16.
  55. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/24: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Cena announcement, Lawler interview, latest on WWE Title picture".
  56. "CALDWELL'S WWE HELL IN A CELL PPV REPORT 10/28: Complete "virtual time" coverage of live PPV - Did WWE pull the trigger on Ryback as top champ?".
  57. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 29 PPV RESULTS: Complete "virtual-time" coverage of live PPV from MetLife Stadium - Rock-Cena II, Taker-Punk, Lesnar-Hunter, more".
  58. "WWE Extreme Rules results and reactions from last night (May 19): Believe in Gold".
  59. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/15 (Hour 3): Punk-Heyman epic promo exchange, Jericho vs. RVD, Cena picks his Summerslam PPV opponent".
  60. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/22 (Hour 3): Bryan wrestles three times, including epic battle vs. Cesaro, Punk-Heyman confrontation, RVD in action". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  61. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/29 (Hour 3): Cena vs. Ryback tables main event, Bryan vs. Kane, Wyatts, McMahons to give Bryan a "corporate make-over?"". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  62. Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE SSLAM PPV RESULTS 8/18 (Hour 3): Cena vs. Bryan WWE Title main event, did Orton cash in?". Pro wrestling Torch.
  63. "RAW NEWS: Cena gone 4-6 months, Triple H explanation, WWE Title & World Title pictures, RVD, new tag team, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.
  64. "All Pro Wrestling Title Histories". titlehistories.com. สืบค้นเมื่อ 2008-07-11.
  65. "All Pro Wrestling 2001 Results". All Pro Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  66. "ECWA Tag Team Championship".
  67. "Results Of Year End Awards". Evolve. 2011-01-04. สืบค้นเมื่อ 2011-01-06.
  68. "NWA Junior Heavyweight Championship". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-22. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  69. "IWA Summer Attitude Results with Danielson winning a title". 2010-05-17. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20.
  70. "NWA Southern Junior Heavyweight Championship". สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  71. "PuroresuMission R (Reborn, Return, Revolution)". Puroresumission.com. สืบค้นเมื่อ 2012-06-10.
  72. Westcott, Brian. "PWG – Pro Wrestling Guerrilla PWG Heavyweight Title History". Solie. สืบค้นเมื่อ 2008-07-27.
  73. Clark, Ryan (2008-09-18). "The Complete 'PWI 500' List For 2008". Pro Wrestling Illustrated. WrestlingInc.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.
  74. Clark, Ryan (2010-09-18). "The Complete 'PWI 500' List For 2011". Pro Wrestling Illustrated. WrestlingInc.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.
  75. "2006". Pro Wrestling Report. สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.
  76. "Ring Of Honor Pure Championship". Ring of Honor. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.
  77. "wXw World Heavyweight Title". Westside Xtreme Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2010-05-11.
  78. Pulsone, Mario. "WSW – World Series Wrestling WSW Heavyweight Title History". Solie. สืบค้นเมื่อ 2008-07-03.
  79. "Bryan's first World Heavyweight Championship Reign". WWE. สืบค้นเมื่อ 2011-12-18.
  80. "History of the United States Championship: Daniel Bryan". World Wrestling Entertainment. 2010-09-19. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
  81. "WWE News: Full list of 2010 Slammy Awards – 12 announced on Raw, 10 announced on WWE's website". Pro Wrestling Torch. 2010-12-13. สืบค้นเมื่อ 2010-12-17.
  82. Meltzer, Dave (2010-01-27). "Feb. 1 2010 Observer Newsletter: 2009 Awards Issue, Possible biggest wrestling news story of 2010". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
  83. Meltzer, Dave (January 26, 2011). "Biggest issue of the year: The 2011 Wrestling Observer Newsletter Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA: 1–40. ISSN 1083-9593.
  84. Meltzer, Dave (January 30, 2012). "Jan 30 Wrestling Observer Newsletter: Gigantic year-end awards issue, best and worst in all categories plus UFC on FX 1, death of Savannah Jack, ratings, tons and tons of news". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, CA. ISSN 1083-9593. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |month= (help)
  85. "Bryan Danielson". Dragon Gate USA. สืบค้นเมื่อ 2009-07-25.
  86. Beltrán, William (2010-08-03). "Según el Wrestling Observer... ¿Quiénes son los mejores los mejores de la década?". SuperLuchas Magazine (ภาษาSpanish). สืบค้นเมื่อ 2010-08-05.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น