ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 86: บรรทัด 86:
[[หมวดหมู่:คณะศิลปกรรมศาสตร์|จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:คณะศิลปกรรมศาสตร์|จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
{{โครงสถานศึกษา}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:57, 2 เมษายน 2550

คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Fine and Applied Arts
Chulalongkorn University
สถาปนา2 มีนาคม พ.ศ. 2527
คณบดีรศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ที่อยู่
ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
วารสารวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์
(J. Fine Arts)
สีสีแดงเลือดนก
มาสคอต
ตุ๊กแก
เว็บไซต์w3.chula.ac.th/college/fineart

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2527 นับเป็นคณะที่ 15 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากด้านการสอนแล้ว คณะศิลปกรรมศาสตร์ยังทำหน้าที่วิจัย บุกเบิกและพัฒนาวิชาการด้านศิลปกรรม รวมทั้งทะนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

ประวัติ

  • พ.ศ. 2514 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอโครงการ “ศิลปกรรมศาสตร์” ครั้งแรกในการสัมมนาหัวหน้าแผนกวิชาเรื่อง “การพัฒนาการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุขุม ศรีธัญญรัตน์ เป็นประธาน ได้เสนอในที่ประชุมให้ทราบในหลักการบางตอนว่า “โครงการที่เป็นโครงการใหม่ก็คือการพิจารณาจัดตั้งหน่วยวิชาการทางศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในปี 2517 และการศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะดำเนินการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นในแผนพัฒนาระยะที่ 4 ซึ่งจะเริ่มปีการศึกษา 2519 เป็นต้นไป ทั้งสองเรื่องนี้ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเล็งเห็นการณ์ไกล คำว่าศิลปกรรมศาสตร์ที่ใช้นี้ เราหมายถึง Fine and Applied Arts ซึ่งมีคำแปลแยกกันที่ยังหาคำไทยเหมาะสมมาแปลร่วมกันมิได้ จึงขอใช้คำว่า ศิลปกรรมศาสตร์ไปพลางก่อน หน่วยงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์นี้อาจครอบคลุมวิชาการทุกสาขาด้านศิลปะอย่างสมบูรณ์ เช่น วิจิตรศิลป์ เนรมิตศิลป์ ศิลปทฤษฎี หรือ ดุริยางค์ และศิลปการแสดง เป็นต้น ในจุดที่ดูเหมือนจะเป็นช่องว่างของมหาวิทยาลัยของเราตลอดเวลาคือ เรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ รสนิยม และสุนทรียะ หน่วยงานใหม่ของเรานี้จะประสานงานและเกื้อกูลซึ่งกันและกันกับหน่วยวิชาการเดิมของเราอย่างไร”
  • พ.ศ. 2517 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการศิลปกรรมศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นกรรมการที่ปรึกษา โครงการได้รับการพิจารณาให้อยู่ในแผนพัฒนาระยะที่ 4 พ.ศ. 2520 – 2525 สมัยของศาสตราจารย์ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เป็นอธิการบดี โดยหลักการให้จัดตั้งเป็น “คณะศิลปกรรมศาสตร์” ประกอบด้วย 5 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ศิลปการละคร และวรรณศิลป์ ต่อมาคณะกรรมการได้พิจารณาให้ยุบเหลือเพียง 4 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์และนาฏยศิลป์
  • พ.ศ. 2526 เปิดทำการเรียนการสอนปีการศึกษา 2526 เป็นปีแรก โดยเปิดเพียง 2 ภาควิชาคือ ภาควิชาทัศนศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ต่อมา ปีการศึกษา 2528 เปิดรับนิสิตภาควิชานฤมิตศิลป์และปีการศึกษา 2531 เปิดรับนิสิตภาควิชานาฏยศิลป์ ตามลำดับ

หน่วยงานและหลักสูตร


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาทัศนศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

-

-

ภาควิชานฤมิตศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาเรขศิลป์
  • สาขาแฟชั่นและสิ่งทอ

-

ภาควิชาดุริยางคศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาดุริยางคศิลป์ตะวันตก
  • สาขาดุริยางคศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาการประพันธ์เพลง

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาดุริยางคศิลป์ไทย

-

ภาควิชานาฏยศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย

แหล่งข้อมูลอื่น