ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกษตร โรจนนิล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
G(Bot) (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
| term_start3 = [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2535]]
| term_start3 = [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2535]]
| term_end3 = [[31 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2535]]
| term_end3 = [[31 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2535]]
| predecessor3 = [[สุนทร คงสมพงษ์|พลเอก สุนทร คงสมพงษ์]]
| predecessor3 = [[สุจินดา คราประยูร|พลเอก สุจินดา คราประยูร]]
| successor3 = [[วรนาถ อภิจารี|พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี]]
| successor3 = [[วรนาถ อภิจารี|พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี]]
| birth_date = {{วันเกิด-อายุ|2476|8|27}}
| birth_date = {{วันเกิด-อายุ|2476|8|27}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:58, 11 พฤษภาคม 2555

พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล
ไฟล์:ACM kaset.jpg
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 5 เมษายน พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าพลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี
ถัดไปพลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน พ.ศ. 2535 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าพลเอก สุจินดา คราประยูร
ถัดไปพลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 สิงหาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงวันทนา โรจนนิล

พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ บิ๊กเต้ (เกิดเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2476) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่ 1 โรงเรียนการบินรุ่น น.25 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูงรุ่นที่ 18 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศรุ่นที่ 15 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

การทำงาน

รับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อครั้งอยู่ในยศ นาวาอากาศเอก (น.อ.) ได้เป็นเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ

จากนั้นหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2519 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2520

ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในปี พ.ศ. 2532

ในการรัฐประหาร พ.ศ. 2534 พล.อ.อ.เกษตรนับเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทอย่างยิ่ง ด้วยการเป็นสมาชิกของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าคณะ และมีบทบาทในฐานะผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่ต้องบัญชาการการควบคุมตัว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) เพื่อให้การก่อการสำเร็จได้ด้วยดี

การเมือง

หลังจากนั้นมา พล.อ.อ.เกษตรก็ได้มีบทบาทในทางการเมืองอย่างสูงผู้หนึ่ง โดยถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ให้การก่อตั้งและสนับสนุนพรรคสามัคคีธรรม ที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นพรรคที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. อีกทั้งเป็นบุคคลที่ถูกมองว่าจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป นับจากนายอานันท์ ปันยารชุน หาก พล.อ.สุจินดา คราประยูร ไม่รับตำแหน่ง ซึ่งเป็นความเชื่อที่อ้างอิงมาจากคำพูดของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ประธาณคณะ รสช.เองที่เคยกล่าวว่า "ถ้าสุไม่เอาก็ให้เต้"[1] และคำแถลงข่าวของ พล.อ.สุจินดา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2534 ที่กล่าวว่า "และที่พูดกันว่า พล.อ.สุจินดา จะเป็น นายกฯ มั่ง พล.อ.อ.เกษตร จะเป็นนายกฯมั่ง ก็ขอยืนยันว่าทั้ง พล.อ.สุจินดา และ พล.อ.อ.เกษตรนั้น จะไม่เป็น นายกรัฐมนตรี"[2] ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ได้บานปลายต่อมาจนกลายเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 ในที่สุด

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.อ.อ.เกษตร ก็ได้ยุติบทบาททางการเมืองไป และไม่ยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองอีกเลยจนถึงปัจจุบันนี้ ทางด้านชีวิตครอบครัว พล.อ.อ.เกษตร สมรสกับ คุณหญิงวันทนา โรจนนิล (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ ผศ.เกศินี บูชาชาติ, กษมา ยุกตะนันท์ และกนิษฐา กอวัฒนา

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า เกษตร โรจนนิล ถัดไป
พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2532-6 เมษายน พ.ศ. 2535)
พลอากาศเอก กันต์ พิมานทิพย์