คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
School of Information Technology
สถาปนา1 สิงหาคม พ.ศ. 2538
คณบดีผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์
ที่อยู่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ
กรุงเทพมหานคร 10140
มาสคอต
ประติมากรรม วิวัฒนาการแห่งโลก (The Information Evolution)
เว็บไซต์www.sit.kmutt.ac.th

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2538 โดยหลักสูตรแรกที่เปิดสอนคือหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในเวลานั้น และในขณะนั้นถือเป็นคณะเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยการสอนมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติเพื่อนำไปใช้จริงในสภาวะแวดล้อมแบบธุรกิจ และมีระบบส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรองรับนักศึกษาที่ต้องการศึกษานอกชั้นเรียน (Classroom on demand) อนึ่งสามารถเรียกคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้สั้นๆ ว่า SITตามชื่อย่อภาษาอังกฤษของคณะ

ประวัติ[แก้]

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 และเป็นส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 114 วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็น ประธานโครงการจัดตั้งคณะฯ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งคณะเพื่อเปิดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ให้มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และทำการวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งยังให้บริการวิชาการคอมพิวเตอร์และการประมวลสารสนเทศให้แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยเริ่มแรกนั้น ใช้พื้นที่บริเวณอาคารเรียนรวม 2 ชั้น 3 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะฯ ได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (2 ปีต่อเนื่อง) ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2538 และต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ก็ได้เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดตั้งห้องสมุดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและพัฒนาความรู้ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และ พนักงาน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 ทางคณะฯ ได้ขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดราชบุรี ซึ่งเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีรูปแบบการจัดทำการเรียนการสอนผ่านทางระบบ VDO Conference จากวิทยาเขตธนบุรีเพื่อให้ได้มาตรฐานการสอนที่เท่าเทียมกัน และในเดือนเดียวกันนั้น ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานภาษาอังกฤษ (English Language Coordination Section หรือ ELCS) ขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ

ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ได้มีการปรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยร่วมมือกับองค์กรเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ไอบีเอ็ม (IBM), ออราเคิล (Oracle) และทรีคอม (3Com) โดยเน้นรูปแบบการสอนสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้จะได้ประกาศนียบัตรที่รับรองร่วมกันโดยคณะฯ และองค์กรที่ร่วมมือ หลักสูตรที่คณะฯ เปิดสอนเป็นหลักสูตรต่อมาคือหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาษาอังกฤษ) ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2543 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาษาอังกฤษ) ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2548 ตามลำดับ

ปัจจุบันคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด)ถือว่าเป็นคณะไอที ที่มีหลักสูตรและสาขาวิชามากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งหมด 9 หลักสูตร ทั้งในระดับ ป.ตรี ป.โท และป.เอก อีกทั้งยังเป็นคณะไอทีคณะแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนในทุกระดับ ตั้งแต่ ป.ตรี ป.โท และป.เอก ด้วยเช่นกัน

หลักสูตรและสาขาวิชา[แก้]


ทั้งนี้ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 2 ปี (ปวส.ต่อเนื่อง) ใน 1 สาขาวิชา ดังนี้

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคปกติ) มี 2 วิทยาเขต คือ
    • วิทยาเขตบางมด (ยกเลิกหลักสูตร) ผลิตนักศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น 13 รุ่น
    • วิทยาเขตราชบุรี (ยกเลิกหลักสูตร)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]