คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะศิลปนาฏดุริยางค์
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Faculty of Music and Drama, Bunditpatanasilpa Institute
สถาปนาพ.ศ. 2542
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา สายทองคำ
ที่อยู่
คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
วารสารวารสารคณะศิลปนาฏดุริยางค์
สี██ สีแสด
มาสคอต
พระพิฆเนศ
เว็บไซต์fda.bpi.ac.th

คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (อังกฤษ: Faculty of Music and Drama, Bunditpatanasilpa Institute) เป็นคณะวิชาสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีหน้าที่ผลิตศิลปิน นักวิชาการ นักบริหารจัดการด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทยและคีตศิลป์ไทย

ประวัติ[แก้]

คณะศิลปนาฏดุริยางค์ เป็นคณะวิชาหนึ่งในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีหน้าที่ผลิตศิลปิน นักวิชาการ นักบริหารจัดการด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทยและคีตศิลป์ไทย เริ่มเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับนาฏศิลป์ชั้นสูงจากวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วประเทศเข้ามาศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี ใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สาชาวิชาดนตรีไทย และสาขาวิชาคีตศิลป์ไทย ในปีการศึกษา 2547 คณะวิชาได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรศิลปบัณฑิต (4 ปี) โดยเปิดการเรียนการสอนเฉพาะสาขานาฏศิลป์ไทย

ต่อมาในปีการศึกษา 2548 คณะวิชาได้ทำการเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาดนตรีไทย และคีตศิลป์ไทย ตามลำดับ ต่อมาในปีการศึกษา 2550 คณะวิชาได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน เพิ่มอีก 1 สาขา โดยแบ่งเป็น 2 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาศิลปะดนตรีพื้นบ้านอีสาน และแขนงวิชาศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนเครือข่าย ณ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา โดยพยายามเน้นการควบคุมคุณภาพของหลักสูตรและการเรียนการสอนเป็นสำคัญ และได้มีการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพให้ครบภารกิจของคณะศิลปนาฏดุริยางค์ จึงเร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในให้ครบภารกิจของคณะศิลปนาฏดุริยางค์ ในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและการบริหาร จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์ที่คณะศิลปนาฏดุริยางค์กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตร[แก้]

หน่วยงาน
ปริญญาตรี
ปริญญาโท

ภาควิชานาฏศิลป์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศป.บ.)

  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศป.ม.)

  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

ภาควิชาดุริยางคศิลป์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศป.บ.)

  • สาขาวิชาดนตรีไทย
  • สาขาวิชาคีตศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศป.ม.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย

ภาควิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน

หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศป.บ.)

  • สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]