คณะกรรมการราษฎร (ประเทศสยาม)
คณะกรรมการราษฎร | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 1 แห่งราชอาณาจักรสยาม | |
มิถุนายน - ธันวาคม พ.ศ. 2475 | |
วันแต่งตั้ง | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
วันสิ้นสุด | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (0 ปี 165 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประธานกรรมการราษฎร | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด | 15 |
ประวัติ | |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
สภานิติบัญญัติ | ผู้แทนราษฎรชั่วคราว |
วาระสภานิติบัญญัติ | 28 มิถุนายน – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2475 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 2 |
คณะกรรมการราษฎร (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) นับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะแรกของประเทศสยาม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรอันประกอบด้วย สมาชิกซึ่งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ตั้งขึ้น จำนวน 70 นาย ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
โดยที่ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 33 บัญญัติว่า "ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการของสภา"
ในการนี้ ได้มีสมาชิกเสนอให้มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร โดยสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อคณะกรรมการราษฎรและสภาได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
รายชื่อในคณะกรรมการราษฎร
[แก้]ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี | ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี | |
แต่งตั้งเพิ่ม | เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น | |
ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น | ออกจากตำแหน่ง | |
กรรมการราษฎร |
สีแสดง | คณะราษฎร | |
---|---|---|
อิสระ |
คณะกรรมการราษฎร | |||||||||
ตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ | ||||
ประธานกรรมการราษฎร | * | มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | |||||
1 | นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
2 | มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
3 | นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
4 | นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
5 | นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
6 | อำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญหลง) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
7 | นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
8 | นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
9 | นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
10 | อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
11 | รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
12 | รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
13 | รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | ||||||
14 | นายแนบ พหลโยธิน | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 |
หมายเหตุ
[แก้]- ในปัจจุบันคณะกรรมการราษฎรเทียบเท่ากับ คณะรัฐมนตรี ในปัจจุบัน
- ประธานคณะกรรมการราษฎรเทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
- กรรมการราษฎรเทียบเท่ากับตำแหน่ง รัฐมนตรี ในปัจจุบัน
การแถลงนโยบายของรัฐบาล
[แก้]คณะกรรมการราษฎรคณะนี้ ไม่มีการแถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา แต่ได้ถือเอา หลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาล
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะเริ่มแรกนี้สิ้นสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เพราะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร