คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
National Anti-Corruption Commission | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | เมษายน พ.ศ. 2542 |
ประเภท | องค์กรตามรัฐธรรมนูญ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 361 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 |
งบประมาณต่อปี | 2,239 ล้านบาท (พ.ศ. 2562) |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ย่อ: คณะกรรมการ ป.ป.ช.) (อังกฤษ: National Anti-Corruption Commission) เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วย กรรมการจำนวน 9 คน[1] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เลขาธิการคนปัจจุบันได้แก่ สาโรจน์ พึงรำพรรณ
ประวัติ
[แก้]ยุคคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
[แก้]คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือชื่อย่อ ป.ป.ป. จัดตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2518 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 เหตุผลในการจัดตั้ง ป.ป.ป. สืบเนื่องมาจากขบวนการนักศึกษาและประชาชนกดดันให้รัฐบาลยึดทรัพย์สินของผู้นำรัฐบาลที่ถูกโค่นล้มไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามทุจริตที่แพร่ระบาดมากในวงราชการ
โดยมีการแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ป. ชุดแรก ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 45/2519 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอีก 10 คน รวมเป็น 11 คน ได้แก่[2]
- เฉลิม สถิตย์ทอง ประธานกรรมการ
- พันธ์ นัยวิทิต กรรมการ
- สุธี อากาศฤกษ์ กรรมการ
- พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก กรรมการ
- สุรียพันธ์ มณีวัต กรรมการ
- พลเรือเอก กมล สีตกะลิน กรรมการ
- อุทัย สินธุสาร กรรมการ
- พลโท ประเสริฐ พูนเกษม กรรมการ
- พลตำรวจโท อังกูร ทัตตานนท์ กรรมการ
- เสนาะ อูนากูล กรรมการ
- ถวิล วิสุทธิจินดา กรรมการ
ยุคคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
[แก้]มีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
การสรรหา
[แก้]การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 5/1[3]เมื่อมีกรณีที่ต้องสรรหาและคัดเลือกกรรมการ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ในการสรรหากรรมการ ให้คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินสรรหาและเสนอรายชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖
และมาตรา ๗ (๔) องค์กรละห้าคน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหาและคัดเลือกกรรมการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือก สำหรับกรณีที่เป็นการสรรหาเพื่อแต่งตั้งกรรมการ
แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้องค์กรดังกล่าวแต่ละองค์กรเสนอรายชื่อเท่าจำนวนกรรมการที่ว่างลง
2. ให้มีคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นกรรมการคัดเลือก โดยให้เลือกกันเอง
เป็นประธานกรรมการคัดเลือกคนหนึ่ง ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น ทำหน้าที่กรรมการคัดเลือกแทน
3. ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการจากรายชื่อบุคคลตาม (๑) ให้ได้จำนวนตามที่จะต้องแต่งตั้ง
4. ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนตาม (๓) ให้แจ้งให้องค์กรตาม (๑) แต่ละองค์กรเสนอรายชื่อบุคคลใหม่เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการที่ยังขาดอยู่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนดังกล่าว และให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกเพิ่มเติมตาม (๓) เป็นกรรมการเพิ่มเติมจากที่มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการไว้แล้ว
5. เมื่อได้มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการครบจำนวนแล้ว ให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการประชุมเลือกกันเองเพื่อเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง และให้คณะกรรมการคัดเลือกแจ้งรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานกรรมการและกรรมการ พร้อมเอกสารหลักฐานตามมาตรา ๗ วรรคสอง รวมทั้งความยินยอมของบุคคลดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ
[แก้]คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อวุฒิสภา เกี่ยวกับการถอดถอนจากตำแหน่ง
- ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นส่งไปยังอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญ
- ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปรกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
- การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
- กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งและชั้นหรือระดับของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
- กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
- รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทุกปี และนำรายงานออกเผยแพร่# เสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาล หรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
- ดำเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสิทธิหรือเอกสารสิทธิที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้อนุมัติหรืออนุญาตให้สิทธิประโยชน์หรือออกเอกสารสิทธิแก่บุคคลใดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ
- ดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต
- ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเลขาธิการ
- แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินการอื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายอื่นกำหนด
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
สำนักงาน ป.ป.ช.
[แก้]รายนามคณะกรรมการ
[แก้]ปี 2542-2546
[แก้]ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546
- โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ
- พันโท กมล ประจวบเหมาะ กรรมการ
- เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กรรมการ
- ณัฏฐ์ ศรีวิหค กรรมการ
- ประสิทธิ์ ดำรงชัย กรรมการ
- เภสัชกรหญิง คุณหญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา กรรมการ
- ฤดี จิวาลักษณ์ กรรมการ
- วิรัตน์ วัฒนศิริธรรม กรรมการ
- พลโท สวัสดิ์ ออรุ่งโรจน์ กรรมการ
ปี 2547-2548
[แก้]สิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้ง 9 แล้ว โทษจำคุกศาลให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ฐานกระทำผิดทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขึ้นค่าตอบแทนให้ตนเอง[4]
- พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการ
- ชิดชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ
- เชาว์ อรรถมานะ กรรมการ
- ประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ กรรมการ
- พินิต อารยะศิริ กรรมการ
- ยงยุทธ กปิลกาญจน์ กรรมการ
- วิเชียร วิริยะประสิทธิ์ กรรมการ
- พลตำรวจโท ดร.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ กรรมการ
- วิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการ
ปี 2549 - 2558
[แก้]แต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549
- ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
- กล้านรงค์ จันทิก กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 17 กันยายน พ.ศ. 2556)
ณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[5]- 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565) - ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2557)
สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 18 กันยายน พ.ศ. 2557[6]) - ประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
- เภสัชกร ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
- ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว กรรมการ (พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555)
พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[7]-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) - ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
- วิชัย วิวิตเสวี กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
ไม่มีแต่งตั้งแทน - สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ (พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี เมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
ปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 29 กันยายน พ.ศ. 2553[8]-15 กันยายน พ.ศ. 2562)
ปี 2558 - 2566
[แก้]30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 5 คน[9]รายชื่อต่อไปนี้ออกจากตำแหน่งตามวาระแล้ว 2 ราย
- พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2566) [10]
- สุรศักดิ์ คีรีวิเชียร กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558[11]- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) [12]
และมีกรรมการที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องจากประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ได้แก่
- สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ (9 กันยายน พ.ศ. 2557 - 8 กันยายน พ.ศ. 2566)
- พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง กรรมการ ( 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564)
- ปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ (29 กันยายน พ.ศ. 2553 - 15 กันยายน พ.ศ. 2562)
- ณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)
ปี 2567 - ปัจจุบัน
[แก้]30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 5 คน[13] 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 2 คน[14]
- วิทยา อาคมพิทักษ์ ประธานกรรมการ (10 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
- สุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) [15]
- ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา กรรมการ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
- สุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
- เอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ (3 มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)[16]
- นายกองเอก แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ เป็น กรรมการ (22 มีนาคม พ.ศ. 2567 -ปัจจุบัน)
- ศาสตราจารย์พิเศษ ภัทรศักดิ์ วรรณแสง เป็น กรรมการ (6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 -ปัจจุบัน)
ข้อวิจารณ์
[แก้]วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 คณะกรรมการ ปปช. ได้ออกคำสั่งให้สภามหาวิทยาลัยทุกคนทุกมหาวิทยาลัย ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน - หนี้สิน ทำให้ส่งผลกระทบต่อสมเด็จพระสังฆราช ในตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ และทำให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยในประเทศหลายแห่งไม่พอใจในคำสั่ง[17][18][19] 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ลงมติเห็นชอบกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติหนึ่งรายได้แก่
- ดร.[20]พศวัจณ์ กนกนาก แต่ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งจนปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-04-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๕/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
- ↑ การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 5/1
- ↑ "ข่าวคำพิพากษาจากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-27. สืบค้นเมื่อ 2006-04-20.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (นายปรีชา เลิศกมลมาศ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อพ้นจากตำแหน่งอายุครบ70ปี
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “เอกวิทย์ วัชชวัลคุ” เป็น กรรมการ ป.ป.ช. แล้ว
- ↑ มก.ไม่กระทบยื่นบัญชีทรัพย์สิน ตั้งทีมช่วยทำเอกสารแจง
- ↑ มี กก.สปสช.สภามหา’ลัยไขก๊อกแล้ว ชิ่งกฎ ป.ป.ช.แจงทรัพย์!
- ↑ มหา'ลัยเปิดศึกชน “บิ๊กกุ้ย” กฎเหล็กใหม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินบ้อท่า พิสูจน์ชัด “เหวี่ยงแห-กำลังภายในคนละชั้น”
- ↑ เปิดประวัติ"พศวัจณ์ กนกนาก"หลังวุฒิสภาไฟเขียวนั่ง"กรรมการ ป.ป.ช."