ภักดี โพธิศิริ
ภักดี โพธิศิริ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2490 |
ศาสตราจารย์(พิเศษ)ด๊อกเตอร์ เภสัชกร ภักดี โพธิศิริ (เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ. 2490) เป็น ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอาหาร [1]กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ[2] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารในคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์[3]อดีตกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและอดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข อดีตอธิบดีกรมอนามัย อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารสถาบัน IACA(Vienna) เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ FAO/WHO CODEX ALIMENTARIUS COMMISSION
การศึกษา
[แก้]ศาสตราจารย์(พิเศษ) ด๊อกเตอร์ เภสัชกร ภักดี โพธิศิริ หรือที่รู้จักกันในนาม เภสัชกร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ จบการศึกษาจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2510(ต่อมาเปลี่ยนเป็นคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย) แล้วไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา จบปริญญาโท พ.ศ. 2515 และปริญญาเอก(สาขาเคมีฟิสิกส์) พ.ศ. 2517 และศึกษาเพิ่มเติม นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี พ.ศ. 2527 [4] และ สาธารณสุขศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับเภสัชศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
การทำงาน
[แก้]ภักดี รับราชการกระทรวงสาธารณสุข เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย
ตำแหน่งสุดท้ายคือ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2547 ถึง กันยายน 2549 ก่อนหน้านี้ภักดีลงสมัครคัดเลือก เป็น ป.ป.ช. และคาดหวังว่าจะได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภา ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549[5] ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. จนถึง พ.ศ. 2558 ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตั้งแต่เมษายน 2562 ถึง มิถุนายน 2565
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2542 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอาหาร
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
- ↑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารในคณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
- ↑ "ฐานข้อมูลประวัติ ภักดี โพธิศิริ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-10. สืบค้นเมื่อ 2006-09-25.
- ↑ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๕๐, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- บุคคลจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- เภสัชกรชาวไทย
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย