แอร์สยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์สยาม
IATA ICAO รหัสเรียก
VG[1] AIR SIAM
ก่อตั้ง15 กันยายน พ.ศ. 2508
เริ่มดำเนินงานพ.ศ. 2513
เลิกดำเนินงานพ.ศ. 2519
ท่าหลักท่าอากาศยานดอนเมือง
บุคลากรหลักพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช
(ผู้ก่อตั้ง)

แอร์สยาม เป็นสายการบินที่มีฐานการบินในประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2508 ถึง 2519

ประวัติ[แก้]

สายการบินแอร์สยามก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2508 โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช และมีเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ เจ้านายฝ่ายเหนือร่วมบริหารงานในช่วงหนึ่ง[2] ภายใต้ชื่อ Varan Air-Siam แต่ได้เริ่มให้บริการใน พ.ศ. 2512 ด้วยเครื่องบิน แมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-4 เนื่องจากในระยะแรกสายการบินนี้ยังไม่มีเครื่องบินให้บริการ หลังจากนั้นแอร์สยามได้เปิดเส้นทางการบินไปยังฮ่องกง ด้วยเครื่องบิน แมคดอนเนลล์ดักลาส ดีซี-4 หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2514 ก็ได้เปิดเส้นทางการบินระหว่าง กรุงเทพมหานคร - ลอสแอนเจลิส ด้วยเครื่องบินดักลาส ดีซี-8-63 พร้อมผู้โดยสารเต็มลำ แต่เส้นทางการบินดังกล่าวได้ถูกเลิกในอีก 10 เดือนให้หลัง เพราะมีผู้โดยสารน้อยและมีการแข่งขันที่สูง[3]

ในระยะต่อมา สายการบินได้ใช้เครื่องบินรุ่น BAC-1-11 สำหรับเที่ยวบินไปยังฮ่องกง และได้เช่าเครื่องบินโบอิ้ง 707-131 เพื่อเปิดเส้นทางการบินไปยังกรุงโตเกียว หลังจากที่สายการบินเริ่มขยายตัวนั้น ได้มีการสั่งซื้อเครื่องบินดักลาส ดีซี-10-30 1 ลำ, แอร์บัส เอ300-บี2-1ซี 1 ลำ, โบอิ้ง 747-148 2 ลำ และ โบอิ้ง 747-206(บี) 1 ลำ

ด้วยเหตุที่ธุรกิจการบินในประเทศไทยได้เจริญเติบโตอย่างมาก และแอร์สยามถูกกดดันอย่างหนักจากนโยบายของทางรัฐบาลไทย ที่จะไม่ให้สายการบินอื่นมาบินในเส้นทางเดียวกันกับสายการบินไทย ซึ่งเป็นสายการบินประจำชาติ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้แอร์สยามมีต้นทุนที่สูงมากในการให้บริการ ส่งผลให้แอร์สยามเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก ทำให้บริษัทที่ให้เช่าเครื่องบินพากันเอาเครื่องบินกลับ บริษัท Air Siam จึงล้มละลายและเลิกทำการบินเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 เนื่องจากรัฐบาลยึดใบอนุญาต

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ตลอดประวัติศาสตร์ แอร์สยามให้บริการปลายทางต่อไปนี้:[4]

ฝูงบิน[แก้]

เครื่องบินที่สายการบินแอร์สยามให้บริการแก่ผู้โดยสารมีทั้งหมด 10 ลำ ดังนี้

  • ดักลาส ดีซี-4 จำนวน 1 ลำ
  • BAC-1-11 จำนวน 1 ลำ
  • โบอิ้ง 707-131 จำนวน 2 ลำ
  • ดักลาส ดีซี-8-63 จำนวน 1 ลำ
  • ดักลาส ดีซี-10-30 จำนวน 1 ลำ
  • แอร์บัส เอ300-บี2-1ซี จำนวน 1 ลำ
  • โบอิ้ง 747-148 จำนวน 2 ลำ
  • โบอิ้ง 747-206(บี) จำนวน 1 ลำ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Timetable (Effective 28 April 1974)". Airline Timetable Images. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2012.
  2. Airlines Remembered by B I Hengi, published by Midland Books
  3. "Timetable (Effective 28 April 1974)". Airline Timetable Images. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2019. สืบค้นเมื่อ 20 October 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]