เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์
![]() | เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
![]() | |||||||
| |||||||
ก่อตั้ง | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (13 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เลิกดำเนินงาน | 15 มีนาคม พ.ศ. 2564 (2 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | ||||||
ท่ารอง | ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 5 | ||||||
จุดหมาย | 2 | ||||||
บริษัทแม่ | บริษัท เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ จำกัด | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | ||||||
บุคลากรหลัก | พล.อ.อ.ไพบูลย์ จันทร์หอม ชัยรัตน์ แสงจันทร์ (กรรมการผู้จัดการ) | ||||||
เว็บไซต์ | flyjetasia.com |
เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ (อังกฤษ: Jet Asia Airways) เป็นสายการบินเช่าเหมาลำสัญชาติไทย ให้บริการด้วยฝูงบินโบอิง 767 ไปยังจุดหมายปลายทางทั่วเอเชียและแปซิฟิก เจ็ทเอเซียมีฐานการบินในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ประวัติ[แก้]
เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ด้วยเครื่องบินโบอิง 767-200 สองลำ[1] และได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553[2] สายการบินได้เริ่มดำเนินการเที่ยวบินพาณิชย์เที่ยวแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยให้บริการระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองของกรุงเทพฯ และท่าอากาศยานนานาชาติปีนังในประเทศมาเลเซีย[3]
ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เจ็ทเอเซียให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำทุกวันระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะในประเทศญี่ปุ่นในนามของตัวแทนท่องเที่ยวญี่ปุ่น H.I.S.[4] สายการบินกลับมาให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำตามฤดูกาลระหว่างกรุงเทพฯ และโตเกียวในเดือนกรกฎาคม 2555[4] และอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม 2556 โดยให้บริการเพิ่มเติมไปยังโอซากะ ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 เจ็ทเอเซียได้ร่วมมือกับซีไอทีเอส แอร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ไชนาอินเตอร์เนชันแนลทราเวลเซอร์วิส[5] และเริ่มให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังกว่า 40 เมือง รวมทั้งให้บริการตามกำหนดเวลาระหว่างกรุงเทพฯ, ภูเก็ต และ 6 เมืองในประเทศจีน ได้แก่ ปักกิ่ง, หนานจิง, ฉงชิ่ง, เทียนจิน, เฉิ่นหยาง, และฉางชา[6]
ในช่วงปลายปี 2557 เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ได้เริ่มให้บริการสี่ครั้งต่อสัปดาห์ไปยังโตเกียว (นาริตะ) โดยใช้เครื่องบินโบอิง 767-200 สายการบินมีแผนที่จะเปิดให้บริการตามกำหนดเวลาเพิ่มเติมไปยังจาการ์ตา, เจดดาห์, และเทียนจิน[7]
กิจการองค์กร[แก้]
สำนักงานใหญ่[แก้]
สำนักงานใหญ่ของ เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ ตั้งอยู่เลขที่ 999/9 ชั้น 29 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
จุดหมายปลายทาง[แก้]
เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์เน้นให้บริการเส้นทางบินระยะไกลไปยังท่าอากาศยานที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ โดยมีเส้นทางบินประจำทุกวัน
ประเทศไทย
- กรุงเทพมหานคร - ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ฐานการบินหลัก
- ภูเก็ต - ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ฐานการบินรอง
ประเทศจีน
ประเทศอินเดีย
ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศปากีสถาน
ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ประเทศเกาหลีใต้
ฝูงบิน[แก้]

เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:[8][9]
เครื่องบิน | ประจำการ | สั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|
P | Y | ||||
โบอิง 767-200 | 7 | — | — | 207 | |
— | 242 | ||||
โบอิง 767-300อีอาร์ | 1 | — | 235 | ||
รวม | 8 |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ (2012) "Jet Asia Airways Consolidates" Airliner World, 4
- ↑ “About Us,” Archived 2013-10-02 at the Wayback Machine flyjetasia.com. Accessed September 30, 2013.
- ↑ “Jet Asia Airways,” Archived 2012-12-07 at the Wayback Machine thai-aviation.net. Accessed May 31, 2012.
- ↑ 4.0 4.1 “H.I.S. exclusive! Jet Asia Airways flight to Japan will be operated from 13rd [sic] July 2012!” Archived 2013-10-03 at the Wayback Machine H.I.S. Accessed May 31, 2012.
- ↑ “Jet Asia Airways Appoints CITS Air Service Co., Ltd. as its China GSA,” PR Newswire, December 13, 2012.
- ↑ "Phuket China Routes Burst Open Via Jet Asia - Phuket Wan". phuketwan.com.
- ↑ (2015) "Jet Asia Launches to Japan" Airliner World, 1
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-21. สืบค้นเมื่อ 2012-09-21.
- ↑ "Jet Asia Airways Fleet Details and History". www.planespotters.net.