อำเภอเชียงของ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เชียงของ)
อำเภอเชียงของ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Khong
วัดพระแก้ว
คำขวัญ: 
หลวงพ่อเพชรคู่เมือง ลือเลื่องปลาบึกหาดไคร้ แหล่งผ้าทอน้ำไหล ประตูใหม่อินโดจีน
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเชียงของ
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเชียงของ
พิกัด: 20°15′36″N 100°24′24″E / 20.26000°N 100.40667°E / 20.26000; 100.40667
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด836.9 ตร.กม. (323.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด63,225 คน
 • ความหนาแน่น75.55 คน/ตร.กม. (195.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57140
รหัสภูมิศาสตร์5703
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงของ เลขที่ 122 หมู่ที่ 12 ถนนสายกลาง ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 57140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงของ (ไทยถิ่นเหนือ: )[1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เป็นปลายทางของทางรถไฟสายชุมทางเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ โดยมีการบริการรถไฟในพื้นที่ ได้แก่ ป้ายหยุดรถไฟบ้านเกี๋ยง ป้ายหยุดรถไฟศรีดอนชัย และสถานีรถไฟเชียงของ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) เป็นจุดจอดขนถ่ายตู้สินค้า - สถานีปลายทาง และเป็นสถานีขนาดใหญ่ รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าภาคเหนือ รวมถึงรองรับศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของที่กำลังก่อสร้างจะเชื่อมการค้าระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ–ใต้จากไทยไปลาว จีน เวียดนาม และเขตเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล

เกาะแก่งกลางแม่น้ำโขง เขตตำบลริมโขง
เขตภูเขาในตำบลริมโขง
มุมมองจากอำเภอเชียงของ ด้านตรงข้ามเมืองห้วยทราย ประเทศลาว

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเชียงของมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

วัดพระแก้วเชียงของ
จุดตรวจเชียงของ ตำบลเวียง

ประวัติ[แก้]

เชียงของเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับกับเทือกเขา มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกบางส่วนติดกับแม่น้ำโขงซึ่งฝั่งตรงข้าม คือ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว มีประชากรหลายเชื้อชาติทั้ง ไทลื้อ ขมุ  มูเซอ ทำให้มีอารยะธรรมที่หลากหลายโดยความเป็นนามว่า“เชียงของ” มาจากคำว่า“เชียง”ที่หมายถึงเมือง และ “ของ” ที่เพี้ยนจาก “ขร” ใน “ขรราช”ที่แปลว่า แม่น้ำโขง

จากตำนานพื้นเมือง กลุ่มชนดั่งเดิมที่อาศัยอยู่บริเวณเชียงของ คือ “ตำมิละ” ชาวตำมิละแต่เดิมนับถือผีสาง แต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดแล้วจึงนับถือพระพุทธศาสนา มีเรื่องเล่าว่าในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จข้ามแม่น้ำโขงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้แล้วประทับ  ณ บ้านตำมิละ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงพระองค์ทรงได้แสดงธรรมโปรดชาวตำมิละให้ตั้งอยู่ในหลักเบญจศีล ก่อนที่พระองค์จะเสด็จจากไป บ้านตำมิละก็ได้ทูลขอสิ่งที่จะแทนพระองค์ต่อไปในอนาคต พระองค์จึงประทาน พระเกศาสองเส้นให้ และตรัสสั่งให้นำเกศาทั้งสองเส้นไปบรรจุและฝังแยกกันทางซ้ายมือเส้นหนึ่ง ทางขวามือเส้นหนึ่ง โดยวัดระยะทางให้เท่ากันจากที่พระองค์ประทับอยู่เชื่อว่าที่ที่ฝังกลายเป็นเจดีย์ในสมัยต่อมา บ้านตำมิละร้างไปอย่างไรไม่ปรากฏ เล่าสืบต่อกันมาว่าบริเวณร้างตำมิละก็คือ “บ้านร้อยเต่า”

เชียงของยุคพม่ายึดครอง-ฟื้นฟู ในประวัติศาสตร์สมัยพระเมกุฏิเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ในยุคนี้เมืองเชียงของก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแต่ได้กองทัพเมืองเชียงใหม่ร่วมกับกองทัพไทยมาขับไล่พม่าได้สำเร็จ และประมาณ พ.ศ. 2358 เมืองเชียงของได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่เจ้านครน่านได้แต่งตั้งให้เจ้ารำมะเสนยกเอาพลเมืองเชียงของที่แตกหนีจากเมืองเชียงของไปอยู่น่านให้มาตั้งเมืองเชียงของใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เชิญเจ้ารำมะเสนมาเป็นเจ้าเมืองเชียงของ   

เชียงของมีฐานะเป็นเมืองมาแต่เดิม และมีฐานะอำเภอในปัจจุบันสืบเนื่องมาจากในรัชสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรวบรวมหัวเมืองของอาณาจักรล้านนาเป็นมณฑลพายัพ โดยเมืองเชียงของได้ถูกจัดให้ขึ้นกับพายัพภาคเหนือ และ พ.ศ. 2453 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยน “เมืองเชียงของ”เปลี่ยนเป็น “อำเภอเชียงของ” ขึ้นกับจังหวัดเชียงราย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและได้มีการแต่งตั้งน้อย จิตตางกูร เป็นในอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงของ

  • วันที่ 14 ตุลาคม 2449 ตัดพื้นที่เมืองเชียงของ จากแขวงเชียงคำ ไปขึ้นการปกครองกับบริเวณพายัพเหนือ[2]
  • วันที่ 12 มิถุนายน 2453 รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย เมืองเชียงคำ และเมืองเชียงของ จังหวัดพายัพเหนือ ขึ้นเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า จังหวัดเชียงราย และกำหนดให้มีการปกครองทั้งหมด 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเมืองเชียงคำ และอำเภอเมืองเชียงของ[3]
  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2471 ตั้งตำบลท่าข้าม แยกออกจากตำบลม่วงยาย[4]
  • วันที่ 23 มกราคม 2481 รวมตำบลในเวียง และตำบลห้วยเม็ง แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลเวียง กับรวมตำบลท่าข้าม และตำบลม่วงยาย แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลม่วงยาย กับรวมตำบลบุญเรือง และตำบลต้นปล้อง แล้วจัดตั้งเป็น ตำบลบุญเรือง กับยุบตำบลในเวียง ตำบลต้นปล้อง ตำบลท่าข้าม ตำบลห้วยเม็ง และตำบลบุญเรือง (เก่า)[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลครึ่ง แยกออกจากตำบลบุญเรือง[6]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงเชียงของ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียง[7]
  • วันที่ 2 เมษายน 2506 ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย[8]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งตำบลครึ่ง ตำบลบุญเรือง ตำบลห้วยซ้อ ตำบลสถาน ตำบลม่วงยาย ตำบลปอ และตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเวียงเชียงของ) ขึ้นเป็น สภาตำบลครึ่ง สภาตำบลบุญเรือง สภาตำบลห้วยซ้อ สภาตำบลสถาน สภาตำบลม่วงยาย สภาตำบลปอ และสภาตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเวียงเชียงของ)[9] ตามลำดับ
  • วันที่ 23 กันยายน 2523 ตั้งตำบลศรีดอนชัย แยกออกจากตำบลสถาน[10]
  • วันที่ 27 มกราคม 2524 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเวียงเชียงของ[11] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 30 มีนาคม 2525 ตั้งตำบลหล่ายงาว แยกออกจากตำบลม่วงยาย[12]
  • วันที่ 9 เมษายน 2530 แยกพื้นที่ตำบลม่วงยาย ตำบลปอ และตำบลหล่ายงาว จากอำเภอเชียงของ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงแก่น[13] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงของ
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลท่าข้าม แยกออกจากตำบลปอ[14]
  • วันที่ 12 กันยายน 2533 ตั้งตำบลริมโขง แยกออกจากตำบลเวียง[15]
  • วันที่ 9 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลบุญเรือง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบุญเรือง[16]
  • วันที่ 3 มีนาคม 2538 ยกฐานะจากสภาตำบลห้วยซ้อ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยซ้อ[17]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเวียงแก่น อำเภอเชียงของ เป็น อำเภอเวียงแก่น[18]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเวียงเชียงของ) สภาตำบลสถาน สภาตำบลครึ่ง สภาตำบลศรีดอนชัย เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลเวียงเชียงของ) องค์การบริหารส่วนตำบลสถาน องค์การบริหารส่วนตำบลครึ่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนชัย[19] ตามลำดับ
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลริมโขง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลริมโขง[20]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเวียงเชียงของ และสุขาภิบาลบุญเรือง เป็นเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ และเทศบาลตำบลบุญเรือง ตามลำดับ[21] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลบุญเรือง รวมกับเทศบาลตำบลบุญเรือง[22]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ) อำเภอเชียงของ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลเวียง[23] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลครึ่ง[24]
  • วันที่ 7 ตุลาคม 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลห้วยซ้อ[25]
  • วันที่ 19 เมษายน 2555 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ที่ 23 บ้านกาสลองคำ ตำบลห้วยซ้อ เป็น "บ้านแก่นสะลองคำ"[26]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2555 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน อำเภอเชียงของ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลสถาน[27] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลศรีดอนชัย[28]
ภายในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ
วัดพระแก้วเชียงของ
ด่านศุลกากรท่าเรือข้ามฟาก ระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย
จุดตรวจเชียงของ ตำบลเวียง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเชียงของแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 102 หมู่บ้าน

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[29]
1. เวียง Wiang 14 6,540 13,365
2. สถาน Sathan 16 4,246 9,306
3. ครึ่ง Khrueng 11 2,674 6,374
4. บุญเรือง Bun Rueang 10 2,513 5,992
5. ห้วยซ้อ Huai So 23 5,237 12,416
6. ศรีดอนชัย Si Don Chai 6 3,603 8,807
7. ริมโขง Rim Khong 10 2,550 7,159

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเวียงเชียงของ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง เฉพาะหมู่ที่ 2, 7, 12 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 8
  • เทศบาลตำบลบุญเรือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุญเรืองทั้งตำบล (สุขาภิบาลบุญเรืองเดิม)[16][21][22]
  • เทศบาลตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง เฉพาะหมู่ที่ 1, 4–6, 9–11, 13–14 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 8
  • เทศบาลตำบลครึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลครึ่งทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลห้วยซ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยซ้อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสถาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสถานทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศรีดอนชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดอนชัยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลริมโขง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลริมโขงทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. ชื่อเขียนตามที่ปรากฏใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดพระงาม จ.ศ. 1216
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง ยกเลิกกรมการบริเวณน่านเหนือเสีย ตั้งที่ว่าการแขวงที่เมืองเชียงคำ เปลี่ยนนามบริเวณแขวงเชียงคำ และตั้งกิ่งแขวงขึ้นที่เมืองปงแห่งหนึ่งเมืองเทิงแห่งหนึ่ง และตัดเมืองเชียงของออกจากแขวงเชียงคำ ขึ้นตรงต่อบริเวณพายัพเหนือ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (29): 751. October 14, 1906.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 426–427. June 12, 1910.
  4. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลท่าข้าม ซึ่งแยกมาจากตำบลม่วงยาย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 347–348. February 24, 1928.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3449–3457. January 23, 1938.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 11-12. November 28, 1956.
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปิดที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเชียงของ, หัวไทร และเสลภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (32 ง): 870. April 2, 1963.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. 24 สิงหาคม 1973.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (147 ง): 3317–3319. September 23, 1980.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเวียงเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (13 ง): 225–226. January 27, 1981.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (45 ง): 1069–1072. March 30, 1982.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (67 ง): 2484. April 9, 1987. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเทิง และกิ่งอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 179-193. October 21, 1988.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอป่าแดด อำเภอเชียงของ และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (170 ง): (ฉบับพิเศษ) 68-78. September 12, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
  16. 16.0 16.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (43 ง): (ฉบับพิเศษ) 3-4. April 9, 1993.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. March 3, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  18. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. August 8, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. 30 มกราคม 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2022.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-01-06.
  21. 21.0 21.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-05.
  22. 22.0 22.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). July 6, 2004: 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  23. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล เวียง เป็น เทศบาลตำบล". 18 กรกฎาคม 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  24. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ครึ่ง เป็น เทศบาลตำบล". July 18, 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  25. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยซ้อ เป็น เทศบาลตำบลห้วยซ้อ". October 7, 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  26. "ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านในท้องที่อำเภอเชียงของ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (39 ง): 198. April 19, 2012.
  27. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลสถาน เป็น เทศบาลตำบลสถาน". August 24, 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  28. "เปลี่ยนฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนชัย เป็น เทศบาลตำบลศรีดอนชัย". August 24, 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  29. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]