จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง
จักรพรรดิ แห่งรัสเซียทั้งปวง Император Всероссийский | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
![]() | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
![]() | |
พระองค์สุดท้าย จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 — 15 มีนาคม ค.ศ. 1917 | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย |
องค์สุดท้าย | จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย |
อิสริยยศ | อิมพีเรียลมาเจสตี |
สถานพำนัก | พระราชวังฤดูหนาว |
ผู้แต่งตั้ง | สืบราชสันตติวงศ์ |
เริ่มระบอบ | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1721 |
สิ้นสุดระบอบ | 15 มีนาคม ค.ศ. 1917 |
ผู้อ้างสิทธิ์ | เป็นที่ถกเถียงระหว่าง มาเรีย วลาดีมีรอฟนา แอนดรูว์ โรมานอฟ Prince Karl Emich of Leiningen |
จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง (รัสเซีย: Император Всероссийский) เป็นพระอิสริยยศของประมุขแห่งจักรวรรดิรัสเซียในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยภายใต้รัฐธรรมนูญ
หลังจากรัสเซียเอาชนะสวีเดนได้ในมหาสงครามเหนือ ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ได้ปฏิรูปประเทศให้เจริญก้าวหน้า และได้รับเฉลิมพระอิสริยยศเป็น จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง[1] เป็นพระองค์แรก และยังคงใช้ในรัชกาลต่อ ๆ มาจนระบอบราชาธิปไตยสิ้นสุดลงในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917
พระอิสริยยศ[แก้]
จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวงมีพระอิสริยยศเต็มว่า
ด้วยพระคุณของพระเป็นเจ้า, เรา NN จักรพรรดิและองค์อธิปัตย์แห่งรัสเซียทั้งปวง แห่งมอสโก เคียฟ วลาดีมีร์ นอฟโกรอด ซาร์แห่งคาซาน ซาร์แห่งอัสตราฮัน ซาร์แห่งโปแลนด์ ซาร์แห่งไซบีเรีย ซาร์แห่งเคร์โซเนส ซาร์แห่งจอร์เจีย องค์อธิปัตย์แห่งปัสคอฟ และแกรนด์ดยุกแห่งสโมเลนสค์ ลิทัวเนีย โวลิเนีย โปโดเลีย และฟินแลนด์; ดยุกแห่งเอสต์แลนด์ ลิฟแลนด์ คัวร์แลนด์ และเซมิกาเลีย ซาโมกิเทีย เบียวิสตอค โคเรเลีย ตเวียร์ ยูเกรีย เปอร์เมีย เวียตกา บอลการี และอื่น ๆ; องค์อธิปัตย์และแกรนด์ดยุกแห่งนิจนีนอฟโกรอด เชียร์นีกอฟ เรียซัน โปลอตสก์ รอสตอฟ ยาโรสลัฟล์ เบียโลโอเซโร อูโดเรีย กอนเดีย วีเต็บสค์ มัสติสลัฟ และผู้ปกครองอาณาเขตทางเหนือทั้งปวง; องค์อธิปัตย์แห่งไอบีเรีย การ์ตาลิเนีย แผ่นดินคาบาร์เดียและมณฑลอาร์มีเนีย: องค์อธิปัตย์สืบราชตระกูลและผู้ปกครองชาวเซอร์คัสเซียนและเจ้าชาวเขาและอื่น ๆ; องค์อธิปัตย์แห่งเตอร์กิสถาน รัชทายาทแห่งนอร์เวย์ ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ สตอร์มาร์น เดียตมาร์เซิน ออลเดนบวร์ค และอื่น ๆ[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประเศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2550. 792 หน้า. หน้า 592. ISBN 978-974-9588-84-0
- ↑ "Chapter Six On the Title of His Imperial Majesty and the State Coat of Arms". Romanov House. 2017. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.