เจ้าชายฟรันซ์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายฟรันซ์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย
เจ้าชายแห่งปรัสเซีย
อดีตแกรนด์ดยุกแห่งรัสเซีย
ประสูติ3 กันยายน พ.ศ. 2486 (80 ปี)
ไซลีเซีย
พระชายาแกรนด์ดัชเชสมาเรีย วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย
นาเดีย นูร์
พระนามเต็ม
ฟรันซ์ วิลเฮล์ม วิกเตอร์ คริสตอฟ สเตฟาน
พระบุตรแกรนด์ดยุกจอร์จ มิไคโลวิชแห่งรัสเซีย
ราชวงศ์ราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์น
พระบิดาเจ้าชายคาร์ล ฟรันซ์แห่งปรัสเซีย
พระมารดาเจ้าหญิงอ็องเรียตเชินไอค์-คาโรลัท

เจ้าชายฟรันซ์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย (อังกฤษ: His Royal Highness Prince Franz Wilhelm of Prussia[1]) เป็นนักธุรกิจชาวเยอรมันและเป็นสมาชิกของราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์น ข้อมูลที่น่าจดจำของพระองค์อีกประการคือ เออร์มิน ร็อยส์แห่งเกรซ พระอัยยิกา (ยาย) ของพระองค์ เป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ใน จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

พระราชประวัติ[แก้]

เจ้าชายฟรันซ์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย ประสูติ 3 กันยายน พ.ศ. 2486ไซลีเซีย เป็นพระโอรสใน เจ้าชายคาร์ล ฟรันซ์แห่งปรัสเซีย และ เจ้าหญิงเฮ็นรีเอ็ทเทอแห่งเชอไนช์-คาโรลัท โดยทรงมีพระเชษฐาฝาแฝดคือ เจ้าชายฟรีดริช คริสเตียน แต่ทรงสิ้นพระชนม์หลังประสูติได้ 3 สัปดาห์ โดยพระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นพระนัดดาใน เจ้าชายโจอาคิมแห่งปรัสเซีย และทรงเป็นพระราชปนัดดาใน จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี

ในปี พ.ศ. 2545 พระองค์กับ ทีโอโดรา ทาเซียส พระสหายได้ทรงก่อตั้งได้ก่อตั้ง บริษัท Prinz von Preussenซึ่งบริษัทนี้มีจุดประสงค์ฟื้นฟูอาคารเก่าในประเทศเยอรมนี โดยทรัพย์นำสินส่วนพระองค์มาลงทุน

อภิเษกสมรส[แก้]

พระองค์ทรงเสกสมรส กับ แกรนด์ดัชเชสมาเรีย วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย โดยทีงมีศักดิ์เป็นพระญาติชั้นที่ 3 ในพระองค์ เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2519 โดยทรงรับพระราชทานพระอิสริยยศตามแบบรัสเซียเป็น แกรนด์ดยุกมิคาอิล เปาโลวิชแห่งรัสเซีย พระสวามี โดยทรงมีพระโอรสร่วมกันเพียงพระองค์เดียวคือ

  1. แกรนด์ดยุกจอร์จ มิไคโลวิชแห่งรัสเซีย

ต่อมาในปี 2525 ทั้ง 2 ทรงตัดสินพระทัยแยกกันอยู่

เสกสมรสครั้งที่ 2[แก้]

เจ้าชายฟรันซ์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระชันษา 75 ปี อดีตพระสวามีใน แกรนด์ดัชเชสมาเรีย วลาดีมีรอฟนาแห่งรัสเซีย ประมุขพระราชวงศ์โรมานอฟ ได้ทรงเสกสมรสใหม่กับ นาเดีย นูร์ พระสหายหญิงที่ทรงคบกันมานาน โดย แกรนด์ดยุกจอร์จ มิไคโลวิชแห่งรัสเซีย ซึ่งได้ถวายพระพรพระบิดาในโอกาสนี้ด้วย

พระอิสริยยศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. In 1919 royalty and nobility were mandated to lose their privileges in Germany; thereafter hereditary titles were to be legally borne only as part of the surname, according to Article 109 of the Weimar Constitution. Styles such as majesty and highness were not retained.