นครินทร์ กิ่งศักดิ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() | บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
ป้าง นครินทร์ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | นครินทร์ กิ่งศักดิ์ |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | อัลเทอร์เนทีฟร็อก อินดี้ร็อก อินดี้ป็อป ป็อปร็อก โพสต์-กรันจ์ |
อาชีพ | นักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรี |
เครื่องดนตรี | กีตาร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | นิธิทัศน์ (ไฮดร้า; 2535–2537) โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (2537–2545) จีราฟเรคอร์ดส (2545–2550) จีนี่เรคอร์ดส (2550–2565) อิสระ (2565–ปัจจุบัน) |
อดีตสมาชิก | ไฮดร้า |
นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น ป้าง เป็นนักดนตรีแนวร็อกชาวไทย และมีเอกลักษณ์คือมีเสียงคล้ายคนร้องไห้ และเป็นอดีตนักร้องนำวง ไฮดร้า คู่กับ ปอนด์ ธนา ลวสุต เพื่อนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเป็นศิลปินเดี่ยวในสังกัดค่าย โซนี่ มิวสิก, จีราฟเรคอร์ดส และ จีนี่เรคอร์ดส ตามลำดับ ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ
ประวัติ[แก้]
นครินทร์จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ (รุ่น99) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น45) ระดับปริญญาตรีจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการตลาด
การทำงาน[แก้]
วงไฮดร้า (2535–2537)[แก้]
นครินทร์ กิ่งศักดิ์ เคยเป็นสมาชิกวง ไฮดร้า ในปี พ.ศ. 2535 ร่วมกับ ปอนด์ ธนา ลวสุต ทั้งคู่ได้รู้จักกันขณะที่เรียนอยู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีโอกาสร่วมเล่นในงานรับน้อง โดยป้างได้เคยเป็นแฟนเพลงของ วง ฟีดแบค ของปอนด์และเพื่อนในโรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล และทั้งคู่ก็ได้ก่อตั้งวงไฮดร้าขึ้นมาและปล่อยอัลบั้มชุดแรกและชุดเดียวของวงอย่าง "อัศเจรีย์" มีเพลงดังอย่าง "ไกลเท่าเดิม" "ตัวปลอม"
ค่ายโซนี่ มิวสิค (2537–2545)[แก้]
ในปี พ.ศ. 2537 ป้างได้เซ็นสัญญากับค่ายโซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และออกสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดแรก "ไข้ป้าง" มีเพลงดังอย่าง "สบายดี" "เอื้อมไม่ถึง" "ประตู" และ "คำตอบ"
อีกทั้งในยังได้รับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เพลงไทย บริษัท โซนี่มิวสิค (ประเทศไทย) อีกด้วย และใน พ.ศ. 2538 ได้นำผลงานอัลบั้ม "ไข้ป้าง" ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีโตเกียวที่ประเทศญี่ปุ่น
ในปี พ.ศ. 2540 ป้างได้ทำอัลบั้มชุดที่ 2 "ฉลองครบรอบ 30 ปี" เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีกับเส้นทางดนตรี มีเพลงดังอย่าง "คนฉลาด" และ "หัวล้านใจน้อย"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้วางจำหน่ายอัลบั้มชุดที่ 3 "ขายหน้า" มีเพลงดังอย่าง "ผู้ชายร้องไห้" และถูกยกย่องว่าเป็นอัลบั้มที่ได้รับคุณภาพจากนักวิจารณ์จำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2543 ป้างได้ทำอัลบั้มพิเศษ "รวบรวม" โดยรวบรวมผลงานเพลงในหลาย ๆ อัลบั้มของป้าง มาไว้ในอัลบั้มชุดนี้จำนวน 18 เพลง
สู่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2545–2550)[แก้]
ในปี พ.ศ. 2545 ป้างได้ออกจากค่ายโซนี่ มิวสิค และเซ็นสัญญากับค่ายจีราฟเรคอร์ดส สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2545 ได้ออกอัลบั้ม " หัวโบราณ " โดยหน้าปกของอัลบั้มชุดนี้ได้เลือกนำเต่ามาเป็นสัญลักษณ์ โดยมีที่มาจากไดโนเสาร์เต่าล้านปี เพลงที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มนี้ ได้แก่ เพลง "อากาศ" "เธอมีจริง"
ในปี 28 กันยายน พ.ศ. 2547 ป้างออกอัลบั้ม "เลี่ยมทอง" โดยเนื้อหาและดนตรีในอัลบั้มนี้ค่อนข้างจัดจ้าน เป็นดนตรีภาคเร็ว ฉูดฉาด เพลงที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มนี้ ได้แก่ เพลง "ทำอะไรสักอย่าง" "คบไม่ได้" "แมน"
ค่ายจีนี่เรคอร์ดส (2550–2565)[แก้]
ในปี พ.ศ. 2550 ป้างได้ย้ายมาเซ็นสัญญากับค่ายจีนี่เรคอร์ดส สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ป้างได้ออกอัลบั้ม "ดอกเดียว" โดยอัลบั้มนี้เน้นดนตรีออกแนวฟังสบายแต่เข้มข้นด้วยเนื้อหา และรายละเอียดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดที่ใช้ในเพลง
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ป้างได้ออกซิงเกิล "เล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่" ที่แสดงความเป็นป้างได้อย่างชัดเจน
พ.ศ. 2556 ป้างได้ปล่อยมินิอัลบั้ม "กลางคน" เพลงที่ได้รับความนิยมจากอัลบั้มนี้ เช่น "ภูมิแพ้กรุงเทพ"
พ.ศ. 2559 ป้างได้ปล่อยเพลง''คนมีเสน่ห์''
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
สมรสแล้วกับครูสอนเปียโน แอน มีบุตร-ธิดา 1 คน ชื่อ ขมิ้น [1]
ผลงานเพลง[แก้]
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
ในนามวงไฮดร้า | ||
อัศเจรีย์ | พ.ศ. 2535, นิธิทัศน์ |
|
ศิลปินเดี่ยว | ||
ไข้ป้าง | พ.ศ. 2537, โซนี่ มิวสิก |
|
ฉลองครบรอบ 30 ปี | พ.ศ. 2540, โซนี่ มิวสิก |
|
ขายหน้า | พ.ศ. 2542, โซนี่ มิวสิก |
|
หัวโบราณ | พ.ศ. 2545, จีราฟเรคอร์ดส |
|
เลี่ยมทอง | พ.ศ. 2547, จีราฟเรคอร์ดส |
|
ดอกเดียว | พ.ศ. 2550, จีนี่เรคอร์ดส |
|
ไม่มีชื่อ | พ.ศ. 2553, จีนี่เรคอร์ดส |
|
ไม่มีชื่อ | พ.ศ. 2559–2562, จีนี่เรคอร์ดส |
|
อีพี[แก้]
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
มินิอัลบั้ม กลางคน EP | พ.ศ. 2556, จีนี่เรคอร์ดส |
|
อัลบั้มบันทึกการแสดงสด[แก้]
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
ไฮไลท์ ไอซียู | พ.ศ. 2538, โซนี่ มิวสิก |
|
ขุนช้างขอบคุณ | พ.ศ. 2541, โซนี่ มิวสิก |
|
อัลบั้มรวมฮิต[แก้]
ชื่ออัลบั้ม | ปีที่วางแผง, สังกัด | รายการเพลง |
---|---|---|
รวบรวม 2535-2543 | พ.ศ. 2543, โซนี่ มิวสิก |
|
The Best Hits of ป้าง | พ.ศ. 2549, จีราฟเรคอร์ดส |
|
Best of ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ | พ.ศ. 2554, จีนี่เรคอร์ดส | แผ่นที่ 1
แผ่นที่ 2
|
คอนเสิร์ต[แก้]
- ปี 2538 แสดงคอนเสิร์ตเดี่ยว "ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต" ที่ MBK Hall มาบุญครอง โดยมีท้วม ทรนง เป็นแขกรับเชิญ
วันที่ 14 ตุลาคม 2538 " ได้จัดคอนเสิร์ต ไอ ซี ยู คอนเสิร์ต ขึ้นที่ เอ็ม บี เค ฮอลล์ โดยป้างได้ออกมาในชุดคนไข้ โรงพยาบาลมิชชั่น เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็บของคอนเสิร์ตที่จัดขึ้น พร้อมกันนี้ยังได้มีการจัดทำ CD บันทึกส่วนไฮไลท์ของคอนเสิร์ตโดยใช้ชื่อว่า "ไฮไลท์ ไอซียู นครินทร์ กิ่งศักดิ์" ซึ่งคอนเสิร์ตนี้จัดได้ว่าเป็น คอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรกของ ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์
- ปี 2540 คอนเสิร์ต "ขุนช้างตกมัน" ที่ MCC Hall เดอะมอลล์บางกะปิ
- ปี 2546 ร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับใหม่ เจริญปุระ ในคอนเสิร์ต "ป้าง-ใหม่ พี่ขอร้อง น้องขอเต้น" ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
- ปี 2546 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "Highlight"
- ปี 2546 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "เทศกาลดนตรี พัทยา พัทยา มิวสิก เฟสติวัล"
- ปี 2547 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "Infinite 8"
- ปี 2548 เป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ต "Peacemaker Panorama Concert"
- ปี 2550 เป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ต "เหตุเกิดที่...เฉลียง"
- ปี 2551 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "เพลงแบบประภาส" ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- ปี 2551 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "อารมณ์ดี้ ตอน ทุ่งหญ้า สายลม และนมวัว"
- ปี 2553 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "First Live Concert"
- ปี 2553 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "The Famous Five A Tribute To Hydra"
- ปี 2553 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "มันใหญ่มาก 2"
- ปี 2553 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "big mountain music festival"
- ปี 2554 ร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับดา เอ็นโดรฟิน ในคอนเสิร์ต "Green Concert No.14: Da & The Idol Unbreak My Heart" ที่รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน
- ปี 2554 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “The heroes"
- ปี 2555 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “Hurt Rocker"
- ปี 2556 คอนเสิร์ต “บรรลุนิติภาวะ 21 ปีป้าง.นครินทร์.กิ่งศักดิ์” จัดที่ อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
- ปี 2556 เป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ต "Bodyslam นั่งเล่น"
- ปี 2556 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "Big Mountain Music Festival 5"
- ปี 2556 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "Rock in the City"
- ปี 2557 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “G16"
- ปี 2557 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “Trang Music Festival 2"
- ปี 2557 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า"
- ปี 2557 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “Big Mountain Music Festival 6"
- ปี 2558 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “big mountain music festival 7"
- ปี 2558 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “90’s Concert First Album กำเนิดอินดี้ รุ่นพี่ออกเทป"
- ปี 2558 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “It's Sound Ghost Halloween Music Festival"
- ปี 2559 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “Khonkaen Songkran Festival 2016"
- ปี 2559 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “Food Fun Fest"
- ปี 2559 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “Legend of the Rock Stars"
- ปี 2560 คอนเสิร์ต “ป้าง นครินทร์ กิ่งศักดิ์ 50 ปี พรีแซยิด” จัดที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
- ปี 2560 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “เอเชียทีค เคาน์ดาวน์ ปี 2018"
- ปี 2560 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต “The Legend Music Festival"
- ปี 2561 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "G19"
- ปี 2561 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "Food Fun Fest"
- ปี 2561 ร่วมแสดงคอนเสิร์ต "เราไปกัน มิวสิคเฟสติวัล 2018 Close to Nature"
ผลงานเพลงพิเศษ[แก้]
- ปี 2547 เพลง ขวานไทยใจหนี่งเดียว
- ปี 2554 เพลง ครองแผ่นดินโดยธรรม
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
ปี | รางวัล | ส่วนเกี่ยวข้อง |
---|---|---|
พ.ศ. 2535 | วงดนตรี หน้าใหม่ยอดเยี่ยม รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ |
วงไฮดร้า |
พ.ศ. 2545 | ศิลปินชายยอดเยี่ยม และอัลบั้มเพลงร็อคยอดเยี่ยม รางวัลแฮมเบอร์เกอร์อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1[2] |
อัลบั้ม "หัวโบราณ" |
พ.ศ. 2547 | นักร้องเพลงไทยสากลชายที่ประชาชนชอบมากที่สุด (อันดับที่ 2) "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต |
— |
17 มีนาคม พ.ศ. 2548 | ศิลปินชายร็อกยอดเยี่ยม รางวัลสีสันอะวอร์ดส์ครั้งที่ 17 |
อัลบั้ม "เลี่ยมทอง" |
พ.ศ. 2557 | เพลงยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี Seed Awards ครั้งที่ 9[3] |
เพลง "ภูมิแพ้กรุงเทพ" |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ “ภูมิแพ้น้องขมิ้น” ทายาทนักดนตรีเพลงร็อก “ป้าง - นครินทร์ กิ่งศักดิ์”
- ↑ HAMBURGER AWARDS#1, นิตยสารHAMBURGER ปีที่1 ฉบับที่ 9, ปักษ์หลัง ธันวาคม 2545, หน้า 30-41
- ↑ "ป้าง"ส่ง "ภูมิแพ้กรุงเทพ" คว้าเพลงสุดซี๊ด สีสัน Seed Awards
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ที่เฟซบุ๊ก
- ชีวประวัติ จาก www.eotoday.com
- จีนี่ เรคคอร์ดส
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักดนตรีออลเทอร์นาทิฟร็อกชาวไทย
- นักร้องไทย
- นักร้องชายชาวไทย
- นักดนตรีชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิลปินสังกัดนิธิทัศน์ โปรโมชั่น
- ศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- ชาวไทยเชื้อสายจีน