ข้ามไปเนื้อหา

อัษฏลักษมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อัษฏะลักษมี)
อัษฏลักษมี
เทวีแห่งโชคลาภและความงาม
อัษฏลักษมีตามขนบอินเดียในปัจจุบันแบบรุ่นเก่า
ส่วนเกี่ยวข้องพระลักษมี
ลัทธิไวษณพ
มหาเทวี
ที่ประทับไวกูณฐ์, มณีทวีป
มนตร์โอมฺ ไอมฺ หรีมฺ ศรีมฺ
อาวุธพระขรรค์, ธนูและศร, ตรีศูล , คฑา , อังกุศะ (ขอสับช้าง) , โล่
พาหนะดอกบัว, นกเค้า), นกอินทรี, สิงโต, ช้าง
คู่ครองพระวิษณุ
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในกรีกแอโฟรไดที
เทียบเท่าในโรมันวีนัส

อัษฏลักษมี (สันสกฤต: अष्टलक्ष्मी, IAST: Aṣṭalakṣmī; lit. "พระลักษมีแปดปาง") หรือ อัฐลักษมี คือกลุ่มอวตารภาคของพระลักษมี ทั้งแปดภาคอันเป็นบุคลาธิษฐานแห่งความมั่งคั่งมงคลทั้งแปดประการบริบูรณ์ได้แก่: จิตวิญญาณ, ความมั่งคั่งทางวัตถุ, เกษตรกรรม, อำนาจวาสนาบารมี, ความรู้, ความกล้าหาญ, บุตรหลาน และชัยชนะ[1][2]อัษฏลักษมีมักได้รับการสักการะบูชาและประดับตกแต่งในเทวสถานโดยทั่วไป[3]

เทพีประติมานวิทยา

[แก้]
สาทิสลักษณ์ นาม ประติมานวิทยา
พระอาทิลักษมี ศิลปะตามขนบอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระอาทิลักษมี พระอาทิลักษมี (ปางบรรพ์แห่งลักษมี) เป็นปฐมแรกเบื้องต้นเริ่มของนางลักษมี[3][1] ภาคพระอาทิลักษมีเป็นการสำแดงฤทธานุภาพแก่บรรดาผู้บำเพ็ญพรตเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสารหรืออาตมัน ทิพยประติมาสื่อว่านางเป็นผู้ประทานธยานัม (การบำเพ็ญสมาธิ) ซึ่งเป็นสภาวะแห่งความสงบสุขและสันติสุขอย่างแท้จริง เทวปฏิมามาตรฐานกำหนดไว้ คือ มีสี่กร กรบนทรงดอกบัว ธงไชยสีแดง และกรล่างทรงอภัยมุทรา (หันไปด้านหน้าโดยยกกรหงายขึ้น) และวรมุทรา (หันไปด้านหน้าโดยยกกรหงายลง)
พระธนลักษมี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระธนลักษมี พระธนลักษมี (ปางโภคทรัพย์แห่งลักษมี) เป็นพระลักษมีในฐานะเป็นเทพีแห่งความมั่งคั่งทางโลก[3] เทวปฏิมามาตรฐานกำหนดไว้ของ คือ พระธนลักษมี มีหกกร มักทรงอาภรณ์สีแดง ทรงกงจักร หอยสังข์ หม้อกลัศ (บายศรีแขก) หรืออมฤตกลัศ (โถน้ำอมฤต) คันธนูและลูกธนู ดอกบัว และทรงอภัยมุทรา โดยมีเหรียญกษาปณ์โปรยปรายปรากฏออกมา
พระธัญญลักษมี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระธัญญลักษมี พระธัญญลักษมี (พระแม่โพสพในศาสนาฮินดู) เป็นพระลักษมีในฐานะเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางพืชพันธู์ธัญญาหาร ผลาหาร มังสาหาร ภักษาหารและผลผลิตภาคเกษตรกรรม หรือ นางโพสพในศาสนาฮินดู (คนละองค์กับแม่พระโพสพในศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของไทย)[3]พระธัญญะลักษมียังเป็นเทวลักษณะของเทพีผู้อุปถัมป์ชาวเกษตร ผู้ประกอบการกสิกรรมทั้งปวง
พระคชลักษมี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระคชลักษมี
พระสันตนลักษมี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระสันตนะลักษมี
พระวิชัยลักษมี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระวิชัยลักษมี
พระวีรลักษมี/พระไทรยะลักษมี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระวีรลักษมี/พระไทรยะลักษมี
พระวิทยาลักษมี ศิลปะแบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน ณ เวงกเฏศวรมนเทียร - นารายณะติรุมาลา แขวงศรีกาลุลัม เขตศรีกาลุลัม รัฐอานธรประเทศ อินเดียภาคใต้
พระวิทยาลักษมี

ภาคอื่น ๆ

[แก้]

ในภาคทั้งแปดของอัฐลักษมีอาจมีภาคอื่น ๆ แตกต่างบ้างตามท้องที่ อาทิเช่น:

  1. ไอศวรรยลักษมี (ศิริสวัสดิ์แห่งลักษมี) : เทพีผู้ประทานพรให้,[3] เป็นภาคเดียวแห่งพระลักษมีอาจประทับม้าเป็นอาสน์ มักถูกแทนที่ด้วยภาคพระวิทยาลักษมีในอัฐลักษมี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Parashakthi temple, Michigan. "Ashta Lakshmi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12.
  2. Vasudha Narayanan in: John Stratton Hawley, Donna Marie Wulff p.104
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Flipside of Hindu Symbolism (Sociological and Scientific Linkages in Hinduism) by M. K. V. Narayan; published 2007 by Fultus Corporation; 200 pages; ISBN 1-59682-117-5; p.93