ข้ามไปเนื้อหา

พชร นริพทะพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พชร นริพทะพันธุ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2528 (39 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
ไทยรักษาชาติ
คู่สมรสศิวพร หล่อวิจิตร
บุพการี
อาชีพนักธุรกิจ
นักการเมือง

พชร นริพทะพันธุ์ (เกิด 30 กันยายน พ.ศ. 2528) เป็นนักการเมืองและนักธุรกิจชาวไทย เป็นที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช. ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคมแห่งชาติ[1] และอดีตกรรมการบริหารและคณะกรรมการเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย[2]

ประวัติ

[แก้]

นายพชร นริพทะพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็นบุตรของนาย พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนปัจจุบัน และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสมัยนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสมัย นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี มีมารดา ชื่อ นางนันทนา แสงหลี เป็นนักธุรกิจในจังหวัดภูเก็ต ด้านครอบครัว พชร สมรสกับ นางสาว ศิวพร หล่อวิจิตร [3]

การศึกษา

[แก้]

พชร สำเร็จการศึกษา ที่ โรงเรียนอัสสัมชัญ ในระดับประถมศึกษา และระดับ Internartional Baccalaureate ที่ โรงเรียนนานาชาติ ดัลลิช จังหวัด ภูเก็ต ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต ที่ University of Southern California ด้าน รัฐศาสตร์ กฎหมายและการเมืองระหว่างประเทศ ต่อมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ที่ Boston University ด้านอาชญวิทยาและกระบวนการยุติธรรม และ สาขาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตจาก Columbia University ด้านการยุติความขัดแย้งและเจรจาต่อรอง และได้รับทุน CSC เพื่อศึกษาในระดับปริญญาเอกในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ Shanghai Jiao Tong University[4]ในปี พ.ศ. 2567 ได้เข้าศึกษาที่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต เพื่อนร่วมรุ่น อาทิ รัดเกล้า สุวรรณคีรี แพทองธาร ชินวัตร

การทำงาน

[แก้]

พชร เริ่มต้นฝึกงานที่ สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2545 กับ นาย สุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น หลังจากนั้นได้ทำหน้าที่ผู้ติดตาม รองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ คุณกิตติ จนกระทั่งไปศึกษาต่อที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2547 พชร เริ่มเข้าสู่การทำงานทางการเมืองอย่างเต็มตัวด้วยการเป็นเลขานุการนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร[5] และได้มีโอกาสลงไปปฎิบัติหน้าที่ส่วนหน้าในเขตภัยพิบัติสึนามิ โดยได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์ภัยพิบัติส่วนหน้าพื้นที่ตะกั่วป่า ประจำที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า โดยจากการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนั้นทำให้เขาได้รับ เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ ในขณะมีอายุเพียง 19 ปี [6]

ในปี พ.ศ. 2551 หลังจากที่รัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มาจากการ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้จัดเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปหลังจากรัฐธรรมนูญปี 50 เสร็จสิ้น เขาได้รับตำแหน่ง รองโฆษก พรรคเพื่อแผ่นดิน โดยมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรค[7] และต่อมาในรัฐบาลนาย สมัคร สุนทรเวช ได้ปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาของ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น โดยทำหน้าที่ในส่วนงานบริหารงานและส่งเสริม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI

หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะในครั้งนั้น โดยมีมี นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้ปฎิบัติหน้าที่เป็น โฆษกกระทรวงพลังงาน โดยมีนาย พิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน [8] ในการปฏิบัติงานในครั้งนั้นได้มีบทบาทสำคัญในฐานะโฆษกและในช่วงวิกฤต อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ยังได้ทำหน้าที่ในการช่วยบริหารจัดการศูนย์ วิกฤติ น้ำท่วม กทม. เพื่อช่วยแก้ไขสถานการณ์ในครั้งนั้น

หลังการรัฐประหารปี 2557

[แก้]

พชร ได้ผันตัวเองเป็น วิทยากรและผู้ฝึกสอน โดยทำงาน ร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สถาบัน พอยท์แมน ลีดเดอร์ชิฟ จากประเทศสหรัฐอเมริกา และในประเทศไทยได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการให้กับ นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร นักศึกษาสถาบันป้องกันประเทศ ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2562 ทำงานในบทบาทคอมเมนเตเตอร์ ในรายการ ทูไนท์ ไทยแลนด์ ในช่อง วอยซ์ ทีวี [9] กับ เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี ศลิษา ยุกตะนันท์ และ นิติธร สุรบัณฑิต และต่อมาในระหว่างการทำงาน ช่องวอยซ์ทีวี ได้รับคำสั่งปิดโดยรัฐบาล คสช.ด้วยเหตุผลจากการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล

พชร นริพทะพันธุ์ในงานสัมมนา International conference on cyber dilomacy เมื่อปี 2566

ขณะที่งานในฐานะวิทยากรและการเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ พชร ได้เข้าไปร่วมงาน กับ FOSSASIA ในการงาน Opensource summmit เพื่อช่วยส่งเสริม เทคโนโลยี ดิจิตัล แบบเปิดกว้าง ให้สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะ ด้านการส่งเสริมความปลอดภัย จากการบริหารข้อมูลแบบ [10]และในปี 2566 เขาได้เข้าร่วมเป็นองค์ประชุม ผู้บริหารด้าน Cyberdiplomacy ที่ประเทศโรมาเนีย โดย เป็นศูนย์รวมของ ยุโรปตะวันออก และ สหภาพยุโรป ใน การพัฒนาความสัมพันธ์ทางดิจิตัล และ ความมั่นคง[11] นอกจากนั้นยังได้มีโอกาส ร่วมบรรยาย ในหัวข้อ การ ร่วมมือกันระหว่างประเทศในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐาน ในงาน CIP Forum VI [12]

สำหรับในด้านการเมือง ก่อนเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2562 พชร ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย และ ร่วมเป็นสมาชิก พรรคไทยรักษาชาติ ที่มี ร้อยโท ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค โดยในขณะร่วมงานที่พรรค พชร พยายามสร้างการตื่นตัวด้านการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ด้วย แคมเปญ "โค้ดประเทศไทย" หวังเปิดกว้างให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถช่วยกันปรับแก้ประเทศไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีการเขียนโค้ด ซึ่งได้รับต้นแบบมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแคมเปญที่สำคัญของพรรคก่อนที่พรรคถูกคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคการเมืองในเวลาต่อมา

หลังการยุบ พรรคไทยรักษาชาติ พชร ได้สมัครเป็น สมาชิกพรรคเพื่อไทย ในปี พ.ศ. 2564 และ เป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยในปี พ.ศ. 2564 ในชุดนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นหัวหน้าพรรค[13] โดยทำหน้าที่ใน ทีมเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย ก่อนจะลาออกเพื่อดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำประธานกสทช ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคมแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดชื่อ 9 ผู้สมัครชิงเก้าอี้เลขาธิการ กสทช.
  2. ทีมเศรษฐกิจเพื่อไทย โต้ 'ประยุทธ์' ส่งโฆษกฯ ให้ข้อมูลมั่ว แนะ ศึกษาข้อเสนอช่วยค่าครองชีพของพรรค
  3. ลูกรมว.พลังงานแต่งงาน
  4. นาย พชร นริพทะพันธุ์
  5. 'โอ๊ค'ว่าไง!ลูกพิชัยอวดประสบการณ์15ปีเป็นคนแบบนี้ไม่รู้จะมีโอกาสรึเปล่า?
  6. [https://www.voicetv.co.th/read/467463 เปิดมุมมอง 'พชร นริพทะพันธุ์' จากลูกนักการเมืองสู่คอมเม้นเตเตอร์ ]
  7. เจาะธุรกิจ'พิชัย'กระเป๋าเงินพท.
  8. อ่านแล้วจี๊ด
  9. [https://www.voicetv.co.th/read/467463 เปิดมุมมอง 'พชร นริพทะพันธุ์' จากลูกนักการเมืองสู่คอมเม้นเตเตอร์ ]
  10. OpenTechSummit Thailand 2019 - Oct.1, Day 1
  11. INTERNATIONAL CONFERENCEON CYBER DIPLOMACY
  12. Critical Infrastructure Protection Forum - CIP FORUM VI 2023 – Day 2_Session 3
  13. พรรคเพื่อไทย เมื่อหัวหน้าใหม่ชื่อชลน่าน ศรีแก้ว และลูกสาวทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษา
  14. ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ ตามเอกสารราชกกิจจา เล่มที่ 122/23ข]"สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2023-05-17., เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]