ภาษาทางการของอินเดีย
ภาษาที่พูดกันในประเทศอินเดียอยู่ในตระกูลภาษาหลายตระกูล โดยตระกูลหลักคือภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่มีชาวอินเดียพูดถึง 78.05% และตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีชาวอินเดียพูดถึง 19.64%[6][7] บางครั้งทั้งสองตระกูลถูกเรียกเป็นกลุ่มภาษาอินเดีย[8][9][10] ส่วนกลุ่มภาษาที่มีผู้พูด 2.31% ของประชากรทั้งหมดได้แก่ออสโตรเอเชียติก, จีน-ทิเบต, ไท–กะได และกลุ่มภาษาขนาดเล็กจำนวนน้อยกับโดดเดี่ยว[11]: 283 ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีภาษามากเป็นอันดับ 4 ของโลก (447) เป็นรองเพียงไนจีเรีย (524), อินโดนีเซีย (710) และปาปัวนิวกินี (840)[12] นอกจากนี้ อนุทวีปอินเดียยังเป็นที่ตั้งของภาษาฮินดี-อูรดู ภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ภาษาเบงกอล ภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 6 ของโลก และภาษาปัญจาบ ภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก[12]
รัฐธรรมนูญอินเดีย มาตราที่ 343 ระบุว่าภาษาราชการของสหภาพคือภาษาฮินดีในอักษรเทวนาครี ส่วนภาษาอังกฤษจะยังคงมีสถานะเดิมเป็นเวลา 15 ปีนับตั้งแต่ ค.ศ. 1947 ต่อมามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในพระราชบัญญัติภาษาราชการ ค.ศ. 1963 อนุญาตให้ใช้ภาษาอังกฤษร่วมกับภาษาฮินดีในรัฐบาลอินเดียอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง[2] รูปแบบตัวเลขที่ใช้ในทางราชการเป็น "รูปแบบเลขอินเดียสากล"[13][14] ซึ่งในโลกที่พูดภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เรียกเป็นตัวเลขอารบิก[1] ภาษาฮินดีไม่ได้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย รัฐธรรมนูญอินเดียไม่ได้ให้สถานะพิเศษแก่ภาษาใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะมีความเข้าใจผิดบ้างก็ตาม[15][16]
กำหนดรายการที่แปดในรัฐธรรมนูญอินเดียระบุภาษาเพียง 22 ภาษา[17] ซึ่งได้รับการกล่าวถึงเป็นภาษาที่ ถูกกำหนด และได้รับการยอมรับ สถานะ และการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียยังให้รางวัลความโดดเด่นของภาษาคลาสสิก เช่น ภาษากันนาดา, มลยาฬัม, โอริยา, สันสกฤต, ทมิฬ และเตลูกู
รายงานจากสำมะโนอินเดีย ค.ศ. 2001 ประเทศอินเดียีภาษาหลัก 122 ภาษา และภาษาอื่น ๆ 1599 ภาษา อย่างไรก็ตาม จำนวนภาษาตามข้อมูลต่าง ๆ นั่นไม่เหมือนกัน โดยหลักเนื่องจากความแตกต่างในการตีความคำว่า "ภาษา" และ "ภาษาย่อย" สำมะโน ค.ศ. 2001 บันทึก 30 ภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากกว่าหนึ่งล้านคน และ 122 ภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 10,000 คน[18] ภาษาในการติดต่อที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อินเดียมีอยู่สองภาษา: ภาษาเปอร์เซีย[19] และภาษาอังกฤษ[20] ภาษาเปอร์เซียเคยเป็นภาษาของราชสำนักในอินเดียสมัยราชวงศ์โมกุล ถือเป็นภาษาเชิงบริหารเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนที่อังกฤษเข้ามาล่าอาณานิคม[21] ภาษาอังกฤษยังคงมีบทบาทสำคัญในอินเดีย ซึ่งมีการใช้งานในการศึกษาระดับอุดมศึกษาและในบางพื้นที่ของรัฐบาลอินเดีย ภาษาฮินดีมีจำนวนผู้พูดเป็นภาษาแม่ในประเทศอินเดียในปัจจุบันมากที่สุด[22] ทำหน้าที่เป็นภาษากลางทั่วอินเดียตอนเหนือและตอนกลาง รองลงมาคือภาษาเบงกอลซึ่งเป็นที่เข้าใจในอินเดียตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาอีกคือภาษามราฐีที่มีผู้พูดในภาคตะวันตกเฉียงใต้[23] อย่างไรก็ตาม มีความกังวลว่ามีการทอดทิ้งภาษาฮินดีในอินเดียตอนใต้ โดยเฉพาะในรัฐทมิฬนาฑูและรัฐกรณาฏกะ[24][25] รัฐมหาราษฏระ รัฐเบงกอลตะวันตก รัฐอัสสัม รัฐปัญจาบ และภูมิภาคอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษาหลักก็เริ่มแสดงความกังวลต่อภาษาฮินดีด้วย[26]
ภาษาราชการ (รัฐบาลกลาง)
[แก้]- ภาษาฮินดี
- ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการเพิ่มเติม)
ภาษาราชการอื่น ๆ ของอินเดีย
[แก้]- ภาษากอนกานี (Konkani, ภาษาราชการของกัว)
- ภาษากันนาดา (Kannada, ภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ)
- ภาษาคุชราต (Gujarati, ภาษาราชการของดาดราและนครหเวลี ดามันและดีอู และคุชราต)
- ภาษาแคชเมียร์ (Kashmiri)
- ภาษาโดกรี (Dogri, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัศมีร์)
- ภาษาเตลูกู (Telugu, ภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ)
- ภาษาทมิฬ (Tamil, ภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑูและพอนดิเชอร์รี)
- ภาษาเนปาลี (Nepali, ภาษาราชการของรัฐสิกขิม)
- ภาษาเบงกอล (Bengali ภาษาราชการของรัฐตรีปุระและรัฐเบงกอลตะวันตก)
- ภาษาโบโด (Bodo, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
- ภาษาปัญจาบ (Punjabi, ภาษาราชการของ รัฐปัญจาบ)
- ภาษามราฐี (Marathi, ภาษาราชการของรัฐมหาราษฏระ)
- ภาษามลยาฬัม (Malayalam, ภาษาราชการของรัฐเกรละและลักษทวีป)
- ภาษามณีปุระ (ภาษาไมไต) (Manipuri, Meithei, ภาษาราชการของรัฐมณีปุระ)
- ภาษาไมถิลี (Maithili, ภาษาราชการของรัฐพิหาร)
- ภาษาสันตาลี (Santali)
- ภาษาสันสกฤต (Sanskrit)
- ภาษาสินธี (Sindhi)
- ภาษาอัสสัม (Assamese, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
- ภาษาอูรดู (Urdu, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
- ภาษาโอริยา (Oriya, ภาษาราชการของรัฐโอริศา)
- ภาษาฮินดี (Hindi, ภาษาราชการของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ รัฐพิหาร รัฐฉัตตีสครห์ กรุงนิวเดลี รัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐฌาร์ขันท์ รัฐมัธยประเทศ รัฐราชสถาน รัฐอุตตรประเทศ และรัฐอุตตรขันท์)
ภาษาอื่น ๆ ที่นิยมพูดในอินเดีย
[แก้](มีคนพูดมากกว่า 5 ล้านคน แต่ไม่มีฐานะทางราชการ)
- ภาษาโคณฑี (Gondi, ชนเผ่ากอนด์ Gond)
- ภาษากาเนาจี (Kanauji, ภาษาของรัฐอุตตรประเทศ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาคุตชี (Kutchi, ภาษาของคุตช์)
- ภาษาฉัตตีสครห์ (Chhattisgarhi, ภาษาของรัฐฉัตตีสครห์ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาตูลู (Tulu, พูดโดยชาวตูเล Tule ของรัฐกรณาฏกะและรัฐเกรละ)
- ภาษาบุนเดลี (Bundeli, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาโภชปุรี (Bhojpuri, ภาษาของพิหาร มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาภิล (Bhili, ชนเผ่าภิล Bhil)
- ภาษามคธี (Magadhi, หรือ ภาษามคธ ภาษาของรัฐพิหารตอนใต้ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษามาร์วารี (Marwari, ภาษาของรัฐราชสถาน มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาหริยนวี (Haryanvi, ภาษาของรัฐหรยาณา มักถือว่าประเภทย่อยของ ภาษาฮินดี)
- ภาษาอวาธี (Awadhi, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
- ภาษาฮินดูสตานี (Hindustani, การผสมระหว่างภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ส่วนใหญ่พูดในตอนเหนือของอินเดีย)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Constitution of India". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2012.
- ↑ 2.0 2.1 "Official Language Act | Government of India, Ministry of Electronics and Information Technology". meity.gov.in (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-01-24.
- ↑ Salzmann, Zdenek; Stanlaw, James; Adachi, Nobuko (8 July 2014). Language, Culture, and Society: An Introduction to Linguistic Anthropology. Westview Press. ISBN 9780813349558 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "Official Language – The Union -Profile – Know India: National Portal of India". Archive.india.gov.in. สืบค้นเมื่อ 28 December 2017.
- ↑ "India". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 May 2019.
- ↑ "Indo-Aryan languages". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
- ↑ "Hindi languages". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 10 December 2014.
- ↑ Kak, Subhash. "Indic Language Families and Indo-European". Yavanika.
The Indic family has the sub-families of North Indian and Dravidian
- ↑ Reynolds, Mike; Verma, Mahendra (2007), Britain, David (บ.ก.), "Indic languages", Language in the British Isles, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 293–307, ISBN 978-0-521-79488-6, สืบค้นเมื่อ 2021-10-04
- ↑ Kak, Subhash. "On The Classification Of Indic Languages" (PDF). Louisiana State University.
- ↑ Moseley, Christopher (10 March 2008). Encyclopedia of the World's Endangered Languages. Routledge. ISBN 978-1-135-79640-2.
- ↑ 12.0 12.1 "What countries have the most languages?". Ethnologue. 22 May 2019.
- ↑ Aadithiyan, Kavin (10 November 2016). "Notes and Numbers: How the New Currency May Resurrect an Old Language Debate". สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ "Article 343 in The Constitution Of India 1949". สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ Khan, Saeed (25 January 2010). "There's no national language in India: Gujarat High Court". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 5 May 2014.
- ↑ Press Trust of India (25 January 2010). "Hindi, not a national language: Court". The Hindu. Ahmedabad. สืบค้นเมื่อ 23 December 2014.
- ↑ Languages Included in the Eighth Schedule of the Indian Constution เก็บถาวร 4 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Census Data 2001 : General Note". Census of India. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
- ↑ Abidi, S.A.H.; Gargesh, Ravinder (2008). "4. Persian in South Asia". ใน Kachru, Braj B. (บ.ก.). Language in South Asia. Kachru, Yamuna & Sridhar, S.N. Cambridge University Press. pp. 103–120. ISBN 978-0-521-78141-1.
- ↑ Bhatia, Tej K and William C. Ritchie. (2006) Bilingualism in South Asia. In: Handbook of Bilingualism, pp. 780-807. Oxford: Blackwell Publishing
- ↑ "Decline of Farsi language – The Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2015-10-26.
- ↑ "Hindi mother tongue of 44% in India, Bangla second most spoken – The Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
- ↑ "The World Factbook". www.cia.gov. สืบค้นเมื่อ 2015-10-25.
- ↑ Nehru, Jawaharlal; Gandhi, Mohandas (1937). The question of language: Issue 6 of Congress political and economic studies. K. M. Ashraf.
- ↑ Hardgrave, Robert L. (August 1965). The Riots in Tamilnad: Problems and Prospects of India's Language Crisis. Asian Survey. University of California Press.
- ↑ News, Nagpur. "Maharashtra to join 'anti – Hindi' stir at Bengaluru". www.nagpurtoday.in.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Linguistic map of India with a detailed map of the Seven Sister States (India) at Muturzikin.com
- Languages and Scripts of India
- Diversity of Languages in India
- A comprehensive federal government site that offers complete info on Indian Languages
- Technology Development for Indian Languages, Government of India เก็บถาวร 2019-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Languages Spoken in Himachal Pradesh - Himachal Pariksha เก็บถาวร 2023-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน